Skip to main content
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่องนี้ด้วยความรักและชื่นชมเพราะมันสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการอะไรบางอย่างทางจิตวิญญาณของพวกเขาในสังคมโลกยุคโลกาภิวัฒน์ที่กำลังทวีความซับซ้อนมากขึ้นทุกขณะจนคนจำนวนมากก้าวตามไม่ทัน
 
 
It's A Wonderful Life ถูกนำออกฉายเป็นครั้งแรกในปี 1946 เป็นเรื่องของชายจิตใจดีงามคนหนึ่งนามว่าจอร์จ เบเลย์  ผู้รู้สึกแปลกแยกกับชีวิตและการทำงานในเมืองเล็กๆ วันหนึ่งจอร์จได้พบกับปัญหาชีวิตคิดจะฆ่าตัวตาย สวรรค์ได้ส่งเทวดามาช่วยให้เขาได้ตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับตอนจบที่ถือว่า "ต้นร้ายปลายดี"คนดูสามารถเดินออกจากโรงด้วยคราบน้ำตาปนรอยยิ้มแล้วกลับไปนอนบ้านด้วยใจอิ่มเอม (อ่านเนื้อเรื่องขยายได้ข้างล่าง) ฟังดูคุ้นๆ ไหม อย่างที่บอกไว้ว่า It's A Wonderful Life  สร้างความประทับใจต่อผู้กำกับรุ่นหลังๆ จนต้องทำหนังที่มีเนื้อเรื่องคล้ายๆ กันหรือไม่ก็รีเม็คแบบกลาย ๆ และหลายเรื่องเราได้ดูมาแล้ว ไว้เฉลยตอนหลังว่ามีเรื่องอะไรบ้าง อย่างไรก็ตามการที่หนังเรื่องนี้จะออกมาโผล่โฉมมาสู่โลกได้ต้องขอบคุณยอดผู้กำกับนามว่าแฟรงค์ คาปรา ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในช่วงกลางศตวรรษที่ยี่สิบจากหนังที่ถึงระดับขึ้นหิ้งไม่ว่า It Happened One Night ,Mr.Deeds Goes to Town , Mr.Smith Goes to Washington , You Can't Take It with You (ไม่ได้เรียงตามปีที่ออกฉาย) ที่สำคัญมากที่ต้องกล่าวถึงคือในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คาปราได้สร้างหนังสารคดีในลักษณะโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองให้รัฐบาลอเมริกาเพื่อต่อสู้กับพวกอักษะ หนังสารคดีเป็นชุด ๆ ชื่อว่า Why We Fight เพื่อต่อสู้กับหนังเรื่อง Triumph of The Will ของเลนี รีเฟนสตาห์ลของพวกนาซี ภาพยนตร์ที่ได้กล่าวมานี้ทำให้คาปรารู้จักคุ้นเคยกับเวทีรางวัลออสการ์เป็นยิ่งนัก ชนิดที่ว่าต้องลุกจากเก้าอี้มารับรางวัลจนเมื่อยขา หนังของคาปราส่วนใหญ่จะเป็นหนังเชิงอุดมคติ แม้ตัวเอกที่เป็นคนดีศรีสังคมจะต้องฝ่าฟันกับความชั่วร้ายอยู่บ้างแต่สุดท้ายก็จบเรื่องอย่างมีความสุข ถือได้ว่าเขาเป็นผู้กำกับหนังที่มองโลกในแง่ดีที่สุดในโลกคนหนึ่ง
 
 
                      
 
                     ภาพจาก www. Rottentomatoes.com
 
 
 
สำหรับ It's A Wonderful Life เรายังต้องขอบคุณใครหลายคนที่ช่วยเขียนเนื้อเรื่องให้ โดยเฉพาะฟิลิป ฟาน ดอเรน สเติร์น ผู้ให้กำเนิดที่แท้จริงในรูปแบบของนวนิยาย ตอนแรกเขาตั้งใจจะส่งให้โรงพิมพ์ แต่เมื่อถูกปฏิเสธ เขาจึงเอามันแนบไปกับการ์ดอวยพรวันคริสต์มาสอันมีชื่อว่า "The Greatest Gift" แจกให้กับเพื่อนฝูง แต่ค่ายหนัง RKO เกิดไปสะดุดตาเข้าก็ได้ซื้อลิขสิทธิ์ของเรื่องด้วยเงินที่ถือว่าสูงมากในยุคนั้นคือหมื่นเหรียญ แต่ก็ต้องพับโครงการไปเพราะประสบปัญหาหลายอย่าง ต่อมาคาปราประทับใจกับหนังเรื่องนี้จึงปัดฝุ่นมาสร้างอีกครั้ง ถึงแม้ค่ายหนังจะเคยคิดถึงแครี แกรนท์ แต่คาปรากลับไปเลือกพระเอกหน้าตาที่หล่อน้อยกว่าที่เคยร่วมงานกับเขามาแล้วในเรื่อง Mr.Smith Goes to Washington คือเจมส์ สจ๊วต ผู้มีความสามารถในการแสดงหนังชีวิตไปพร้อมๆ กับหนังตลก และยังแสดงในหนังสืบสวนสอบสวนหลายเรื่องของอัลเฟรด ฮิตช์ค็อก เขาสามารถแสดงบทของจอร์จแกนหลักของเรื่องที่ต้องแสดงบทบาททั้ง ตลก ชีวิตเศร้า โรแมนติกได้อย่างมีพลัง (แม้ส่วนที่สามจะดูขัด ๆ อยู่บ้างเพราะจอร์จไม่ใช่คนประเภทโรแมนติกเท่าไรนัก) ส่วนนางเอกนั้นคาปราได้ดอนนา รีด  สาวสวยผู้ต่อมาจะได้รางวัลออสการ์จากบทบาทโสเภณีในหนังเรื่อง From Here to Eternity แต่ถ้าได้ดู It's A Wonderful Life  จบแล้วจะรู้สึกได้ว่าเธอน่าจะได้ตุ๊กตาทองจากหนังเรื่องนี้เสียด้วยซ้ำ ด้วยบทบาทของหญิงสาวผู้ตกหลุมรักจอร์จมาตลอดชีวิตและหลังแต่งงานก็ได้สนับสนุนและช่วยเหลือสามีอย่างน่าชมเชย นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าทึ่งว่าหนังเรื่องนี้ใช้ฉากเกือบทั้งหมดในไร่กว้างและเมืองจำลองของ RKO ในแคลริฟอร์เนีย และน่าจะมีบางส่วนเป็นสตูดิโอเพราะมีฉากหิมะตก 
 
แน่นอนว่าเบลฟอร์ด ฟอลล์ส เมืองที่พระเอกอาศัยอยู่จึงเป็นเมืองในจินตนาการแต่ด้วยใช้ทุนมหาศาลเช่นนี้ ภาพยนตร์จึงสามารถเนรมิตมาอย่างสมจริงทำให้เมืองดูมีชีวิตชีวา ผสมผสานกับการดำเนินเรื่องเป็นไปอย่างสนุกสนานมีเอกภาพแม้จะต้องพยายามนำตัวละครที่เกี่ยวข้องกับพระเอกมาให้ผู้ชมได้เห็นให้มากที่สุด แต่ก็มีฉากที่ดูแล้วสะดุดอยู่บ้างเช่นตอนที่น้องชายของจอร์จออกรบ คาปราก็เอาภาพของน้องชายที่เป็นทหารไปตัดต่อกับภาพยนตร์ข่าวตัวจริง ซึ่งอันนี้อาจจะเป็นเรื่องธรรมดาของหนังสมัยทศวรรษที่สี่สิบเหมือน Casablanca ที่เอาภาพยนตร์ข่าวเยอรมันบุกปารีสมาในตอนต้นเรื่องหรือว่าคาปราอาจจะไม่อยากหมดเงินไปกับฉากเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ต้องใช้เงินมากมาย ชะรอยว่าภาพยนตร์ปัจจุบันหากจะดำเนินเรื่องคล้ายคลึงกัน จึงมักจะสร้างฉากเสียใหม่ หรือไม่ก็เอาภาพยนตร์ข่าวมาสลับกับหนังตัวเองโดยให้หนังตัวเองเป็นขาวดำเหมือนกันเพื่อให้เกิดความกลมกลืม แต่ไม่ให้ตัวผู้แสดงเข้าไปทับในฉากของข่าวเป็นอันขาดด้วยเห็นว่าถ้าใช้เทคนิคแบบนี้คงจะเชยน่าดู
 
 
สาเหตุที่It's A Wonderful Life  เป็นที่ชอบใจของคนอเมริกันเพราะเป็นหนังประวัติศาสตร์กลาย ๆ นั้นคือได้แบ่งชีวิตของจอร์จออกเป็นสี่ส่วน ในแต่ละส่วนได้แสดงให้เห็นถึงสังคมอเมริกันในแต่ละทศวรรษไม่ว่า ตอนเป็นเด็กในทศวรรษที่ยี่สิบ ตอนวัยรุ่นทศวรรษที่สามสิบ ตอนเป็นผู้ใหญ่คือทศวรรษที่สี่สิบนั้นคือช่วงสงคราม และช่วงหลังสงคราม ซึ่งหนังบรรยายเหตุการณ์เหล่านี้ผ่านดวงตาของพวกเทวดาบนสวรรค์ (ที่ตอนแรกคาปราให้เป็นกลุ่มดาวแทนที่จะเป็นคนมีปีก) จอร์จเป็นเด็กที่นิสัยดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เช่นช่วยไม่ให้น้องชายต้องจมน้ำตาย จนตัวเองต้องหูติดเชื้อไม่สามารถได้ยินไปข้างหนึ่ง และเขายังช่วยเหลือไม่ยอมเอายาที่นายจ้างคือเจ้าของร้านยาปรุงยาผิดไปให้คนไข้ที่เป็นเด็ก นอกจากนี้หนังได้แสดงถึงลักษณะเศรษฐกิจของอเมริกานั่นคือความเป็นทุนนิยมจ๋าแต่มีความขัดแย้งในตัวเองนั้นคือปีเตอร์ เบลลี บิดาของจอร์จเป็นนักธุระกิจฐานะปานกลางแต่จิตใจดีงามชอบช่วยเหลือชาวเมือง และต้องมาปะทะกับหุ้นส่วนใหญ่ซึ่งเป็นนักธุระกิจเฒ่าผู้ชั่วร้าย คือคุณพ็อตเตอร์ ( Mr. Potter) ดังที่ได้กล่าวแต่ต้นว่าจอร์จนั้นมีความไม่พอใจชีวิตของตัวเองตั้งแต่เด็กนับตั้งแต่ต้องการออกไปเผชิญโลกภายนอกทว่าบิดามาเสียชีวิตเสียก่อน เขาจึงต้องอยู่ดูแลกิจการ ให้น้องชายไปเรียนมหาวิทยาลัยเอง จนเมื่อได้มาแต่งงานกับสาวที่เขารู้จักตั้งแต่เด็กคือมารี แฮช  (ดอนนา รีด) ทั้งที่ความจริงแล้วเขาไม่ต้องการมีครอบครัวเพราะจะเป็นการผูกตัวเองไว้กับเมืองนี้ตลอดไป แต่สุดท้ายเขาก็กลายเป็นผู้ชายที่ถูกล่ามไว้กับคุณค่าเท่าที่ชนชั้นกลางของอเมริกาพึงจะมี นั้นคือมีเมียมีลูกเป็นโขยง (สมัยนั้นคงธรรมดาเพราะเป็นยุค Babyboom หรือจำนวนประชาการสหรัฐ ฯขยายตัวหลังสงครามแต่เดี๋ยวนี้คนมีลูกน้อยลง) เป็นประธานบริษัทเงินกู้ ธุรกิจรัดตัว แต่เขาก็ยังคงรักษาอุดมการณ์ในการเอื้ออาทรต่อคนจนไว้อย่างดี แม้จะจวนเจียนจะล้มละลายอยู่ครั้งหนึ่ง 
 
 
แต่ด้วยอุบัติเหตุที่เกิดจากความซุ่มซ่ามของน้าที่เป็นผู้ช่วยของเขาคือลุงบิลลี ทำให้จอร์จต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก หากหาเงินมาไม่ทันการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ ธุรกิจต้องล้มละลายและเขาอาจติดคุก จอร์จจมอยู่ในความทุกข์ ดื่มเหล้าจนเมามายและคิดจะโดดลงในแม่น้ำท่ามกลางหิมะกำลังตกหนักในคืนวันคริสต์มาส แน่นอนว่าเป็นภาระกิจของเทวดาชั้นสองคือคลาเรนซ์ ที่จะมาช่วยเขาโดยมีรางวัลจากเทวดาที่มีศักดิ์สูงกว่าคือปีกทั้งสองข้าง เขาได้แปลงร่างจากดวงดาวมาเป็นชายชราต๊องนิด ๆ และแกล้งทำเป็นตกน้ำจนจอร์จต้องมาช่วยแทนที่จะฆ่าตัวตายและเขาก็ให้พรแก่จอร์จตามคำตัอพ้อของตัวชายหนุ่มเองที่ว่า "ไม่อยากจะเคยเกิดมาบนโลกนี้" เมื่อกลับเข้าไปในเมืองอีกครั้ง จอร์จก็ตกใจและเสียใจจนแทบคลั่งที่พบว่าคนรอบข้างปฏิบัติต่อเขาราวกับว่าเขาไม่เคยมีตัวตนมาก่อน แถมทำให้ทุกอย่างในเมืองเปลี่ยนไปเพราะเขาไม่เคยเกิดบนโลกนี้มาก่อน เขาจึงได้รู้แจ้งว่าชีวิตที่แม้กำลังถึงจุดต่ำสุดของเขานั้นคือชีวิตที่แสนอัศจรรย์ ชีวิตอันแสนอัศจรรย์คือการได้มีความสัมพันธ์ ได้รัก ถูกรัก และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (ในขณะที่ พ็อตเตอร์คือภาพตรงกันข้าม เขาไม่ได้แต่งงานและไม่รักผู้อื่นเลย) ที่น่าซาบซึ้งใจจนน้ำตาไหลตอนจบนั้น เมื่อคลาเรนซ์ได้ทำให้โลกเดิมของจอร์จกลับมาอีกครั้ง ชาวเมืองที่รักใคร่จอร์จก็ได้มาช่วยเหลือให้เขาพ้นจากวิกฤตการณ์นั้นไปได้พร้อมกับเพลง Auld Lang Syne ที่ทุกคนร้องในปาร์ตี้ที่จัดในบ้านของจอร์จนั้นเอง
 
 
 
                          
                                            ภาพจาก www.rogerebert.com
 
 
เนื้อเรื่องของ It's A Wonderful Life  อันซาบซึ้งใจนี้ย่อมมีอิทธิพลมากมายต่อหนังหลายเรื่อง เช่น Back to The Future ภาคสองที่มาร์ตี้พระเอกกลับมาจากโลกในอนาคตและพบว่าตาเฒ่าบิฟได้กลายเป็นเศรษฐีที่เปลี่ยนให้เมืองที่เขาอยู่กลายเป็นเมืองอันเลวร้าย และชีวิตของเขาและคนรู้จักได้เปลี่ยนไป  แต่ที่ชัดเจนที่สุดคือหนังเรื่อง Bruce Almighty ที่มีดาราจอมทะเล้นคือจิม แคร์รี ที่ตัวหนังแสดงความเคารพต่อ It's A Wonderful Life  อย่างออกหน้าออกตาโดยให้มีฉากตัวเอกดูหนังเรื่อง It's A Wonderful Life ทางโทรทัศน์ด้วย และหากพิจารณ์ธีมแล้วเหมือนกัน ส่วนหนึ่งราวกับเป็นหนังรีเม็คเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีหนังเรื่อง Dave ที่เอาส่วนผสมของ Mr.Smith Goes to Washington และ It's A Wonderful Life  กลายเป็นประธานาธิบดีตัวปลอมผู้รักและทำทุกอย่างเพื่อประชาชน หรือหนังเรื่อง Family Man ที่ นิโคลัส เคจ แสดงก็เดินเรื่องแบบเดียวกัน นั้นคือ เคจเป็นนักธุรกิจหนุ่มผู้กลัวการแต่งงานแต่ก็มาเปลี่ยนใจเพราะการช่วยเหลือของเทวดาผิวดำ จนมาถึงหนังเรื่องล่าสุดที่พวกเราชาวไทยแลนด์ได้ดูคือเรื่อง Click ที่แสดงโดยอดัม แซนด์เลอร์ ฯลฯ 
 
ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจว่าทำไมมีนักวิชาการบอกว่าIt's A Wonderful Life  เป็นการจำลองหรือภาพของสังคมอเมริกันในจินตนาการที่ตอบสนองความต้องการเช่นนี้ของอเมริกันชนได้ในยามที่คนจำนวนมากอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่ต้องใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่นับตั้งแต่ทศวรรษที่ห้าสิบเป็นต้น เช่นเดียวกับชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ที่ถวิลหาสังคมของ ปีติ มานะวีระ ฯลฯ จากหนังสือเรียนภาษาไทยที่เขาเคยเรียนตอนเด็ก ๆ ผมไม่ทราบเหมือนกันว่านายทุนอเมริกันจะมีนิสัยเช่นเดียวกับจอร์จหรือพ่อของเขามากน้อยแค่ไหน ทราบแต่ว่าเมื่อ It's A Wonderful Life ออกฉาย ฝ่ายขวาหรือพวกอนุรักษ์นิยมจำนวนมากถือว่าหนังของคาปรานี้มีสารสื่อไปทางคอมมิวนิสต์อยู่มาก เพราะเห็นว่าแนวคิดหลักของเรื่องคือการโจมตีระบบทุนนิยมโดยมีสัญลักษณ์คือ พ็อตเตอร์เป็นนายทุนที่เห็นแก่ได้ หากเป็นพรรครีพับริกันแล้วคงจะเกลียดหนังเรื่องนี้เหมือนกันเพราะรัฐบาลนายโดนัลด์ ทรัมป์สนับสนุนนายทุนและกำลังพยายามผลักดันให้ออกกฏหมายเอื้อต่อนายทุนมากมาย 
 
 
It's A Wonderful Life แตกต่างจากหนังหลายเรื่องของคาปราถึงแม้จะเป็นหนังสุดรักของเขา และตัวสจ๊วต พระเอกของเรื่อง และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ถึง ห้าสาขา รวมไปถึงสาขานักแสดงนำฝ่ายชายและผู้กำกับยอดเยี่ยม ทว่า It's A Wonderful Life พลาดหมด แถมรายได้ก็แสนจะน่าเศร้า จากทุนที่ลงไปถึง อาจเพราะถูกเข้าชิงในปีเดียวกับหนังที่ทรงพลังอย่างเช่น The Best Years of Our Lives  ของวิลเลียม ไวย์เลอร์ ที่นำเสนอชีวิตของทหารผ่านศึกอเมริกันสามคนที่ต้องพบกับเหตุการณ์ชีวิตอันผันผวนหลังจากกลับมาใช้ชีวิตแบบพลเรือนในบ้านเกิดเมืองนอนหลังสงครามสิ้นสุดลง The Best Years of Our Lives สามารถโกยรางวัลออสการ์ได้ถึงเจ็ดสาขา ความแตกต่างของหนังทั้งสองเรื่องอยู่ที่ว่าThe Best Years of Our Lives มีลักษณะเป็นสัจนิยม นำเสนอเรื่องปัญหาของทหารผ่านศึกช่วงหลังสงคราม ในขณะที่ It's A Wonderful Life ใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายทางปรัชญาอันลึกซึ้งนั้นความมหัศจรรย์ของชีวิตคือการมีชีวิตอยู่ร่วมกันด้วยความรักและความเอื้ออาทร หรือปัญหาทางจริยธรรมแบบอ้อม ๆ ที่ว่า นายทุนควรจะรับผิดชอบอย่างไรต่อชุมชน
 
กระนั้นหากนำมาเปรียบเทียบกันชนิดนิ้วต่อนิ้วแล้ว It's A Wonderful Life ไม่ได้ด้อยไปกว่า The Best Years of Our Lives เลย แต่การที่ The Best Years of Our Lives ประสบความสำเร็จก็เพราะคณะกรรมการเห็นว่าควรจะให้ความสำคัญแก่หนังที่สร้างความประทับใจให้กับทหารผ่านศึกหลายล้านคนที่เพิ่งกลับบ้าน และแล้วกาลเวลาก็ทำให้เห็นว่ารางวัลออสการ์นึกถึงสถานการณ์ทางการเมืองมากกว่าคุณสมบัติของตัวหนังจริง ๆ เพราะถึงแม้ The Best Years of Our Lives จะถูกจัดให้เป็นหนึ่งในร้อยภาพยนตร์ยอดเยี่ยมรอบร้อยปีและได้คะแนนความนิยมในรายการอื่นมากมายเช่นเดียวกับ It's A Wonderful Life  แต่เมื่อพูดถึงหนังที่ทำให้เกิดความอิ่มเอมใจต่อความงดงามของชีวิต (โดยเฉพาะช่วงวันคริสต์มาส) อเมริกันชนทุกคนน่าจะเอ่ยถึงชื่อ It's A Wonderful Life เป็นชื่อแรกก่อน The Best Years of Our Lives หรือแม้แต่หนังเรื่องอื่น ๆ ที่เคยถูกทำขึ้นมาบนโลกนี้เสียด้วยซ้ำ
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ตัวละครบางตัวได้แรงบันดาลใจมาจากอิ๊กคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา The Abbot and The Noble           (1) In our village , Abbot Akisada was enormously respected by most of our
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องความแค้นของผีตายทั้งกลม This (real) horror short story is partly inspired by the ghost tale told by the popular YouTuber like Ajarn Yod. Or it is in fact from the amateurish storytellers participating in Ghost Radio or The Shock more or less.