ตามความจริง คำว่า Godfather เป็นคำที่ดีมาก หมายถึงพ่อทูนหัว ของศาสนาคริสต์ที่หมายถึงใครสักคนหนึ่งยอมรับเป็นพ่อทูนหัวของเด็กซึ่งเป็นลูกของคนอื่นในพิธีศีลจุ่มหรือ Baptism เขาก็จะเป็นผู้ประกันว่าเด็กคนนั้นจะได้รับการศึกษาทางศาสนาและถ้าพ่อแม่ของเด็กคนนั้นตายก็ต้องรับอุปการะ นอกจากนี้ยังหมายถึงฝ่ายหญิงก็ได้คือ Godmother แต่ด้วยอิทธิพลของหนังเรื่องนี้ ความหมายจึงเปลี่ยนเป็นเจ้าพ่อมาเฟีย
ภาพยนตร์เรื่อง The Godfather สมควรอย่างยิ่งที่ได้รับเลือกว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก ไปพร้อมๆ กับ ภาคสอง ทุกอย่างสมบูรณ์แบบไม่ว่าการลำดับ ภาพ เนื้อเรื่อง การแสดงที่ยอดเยี่ยมของมาร์ลอน แบรนโดในบทบาทของดอน วีโต คอร์ลีโอเน (ได้รับเลือกจากผู้ชมทั่วโลกว่าเป็นตัวละครที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลกภาพยนตร์ โดยเฉพาะฉากที่นั่งอุ้มแมวเหมียวเหมือน ดร.โนในหนังเจมส์ บอนด์) และอัลปาชิโนกับโรเบิร์ต เดอ นีโรก็ได้แจ้งเกิดกันเต็มๆ จากเรื่องนี้ (เพราะหน้าแบบชาวเกาะซิซีเลี่ยน)จะว่าด้วยบุคลิกส่วนตัวหรืออะไรก็แล้วแต่ ภาพของเจ้าพ่อยังคงติดตัวไปกับ เดอนีโรเพียงคนเดียว จนมาถึงปัจจุบัน
แน่นอนว่าฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา นอกจากจะได้รับคำชมแล้ว ก็ต้องถูกกล่าวหาว่า Glorify หรือเชิดชูพวกมาเฟียให้เป็นพระเอก โดยที่ในภาคแรกไม่มีการเอ่ยคำว่ามาเฟียแม้แต่คำเดียว คาดว่าน่าจะเพราะคำสั่งของพวกมาเฟีย อย่างไรก็ตาม ในภาคสอง คอปโปลาก็ได้แสดงให้เห็นถึงวิถีอันยิ่งใหญ่ของมาเฟียว่าแท้ที่จริงเปรียบได้กับคนบ้า หรือคนสิ้นหวังที่สร้างกำแพงขึ้นกักขังตัวเองออกจากคนรอบข้างที่ตนรัก (พร้อมกับมีคำว่ามาเฟียโผล่มาด้วย)
นอกจากความสมบูรณ์ในตัวหนังแล้ว เหตุใดหนังเรื่อง The Godfather ภาคหนึ่งและสอง จึงได้รับคำนิยมอย่างมากมาย ? (ภาคสามไม่ต้องไปพูดเพราะออกมหาสมุทรแปรซิฟิกไปโน้น แต่ความจริงก็มีส่วนดีอยู่บ้าง ไม่ว่าแสดงถึงความเก็บกดของไมเคิลจากการฆ่าพี่ชายตัวเอง การพยายามฟอกขาวให้กับตัวเองผ่านกิจกรรมทางศาสนา จนไปถึงการตายของเขาแบบสูงสุดกลับสู่สามัญ)
หลังจากดูหนังเรื่องนี้มาหลายรอบ ผมก็ได้เรียนรู้สัจธรรมอะไรหลายอย่างในชีวิต ที่เด่นชัดที่สุดคือสัญชาติญาณด้านมืดของมนุษย์ที่มุ่งเน้นในการประหัตประหารกันเพื่อที่ตัวเองจะได้ขึ้นเป็นใหญ่ และความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน แม้แต่เพื่อนที่กอดคอกันมาด้วยกัน ก็ยังต้องกำจัดเพราะว่าหักหลังกัน (เช่นเทสซิโอซึ่งร่วมมือกับเจ้าพ่ออีกแก๊งค์เพื่อกำจัดไมเคิล แต่โดนเล่นงานเสียก่อน) ในภาคหนึ่งยังไม่มีการฆ่ากันระหว่างพี่กับน้อง แต่มีภาคสองที่พระเอกจำต้องสังหารพี่ชายคือเฟรโด ที่ไม่ได้เรื่องและทรยศน้องของตัวเอง (ถือว่าเป็นฉากการฆ่าที่ค่อนข้างคลาสสิกมากคือให้ลูกน้องฆ่าพี่ชายตอนออกไปตกปลาด้วยกันและไมเคิลดูอยู่ห่างๆ จากบ้านพัก) จะว่าไปแล้ว ไมเคิลไม่ต่างอะไรจาก ฮิตเลอร์หรือสตาลินเลย
แน่นอนว่าคนดูตาดำๆ เช่นเราและสังคมย่อมไม่บูชา สรรเสริญคนชั่วแบบฮิตเลอร์ (ความจริงคนชั่วแบบโจรเสื้อนอกยังมีเยอะแยะไปที่สามารถเป็นฮิตเลอร์ได้) แต่ก็แน่นอนที่ว่าคนดูทั่วไปมีสิทธิ์ว่าตัวเองจะฝันเฟื่องว่าตัวเองเปรียบได้ดังเจ้าพ่อที่สุขุมลุ่มลึกแบบไมเคิลในขณะที่ความเป็นจริงตัวเองเป็นลูกน้องต้องให้เจ้านายด่าเช้าด่าเย็น หรือว่าไปติดต่อหน่วยงานราชการไหนก็ช้าเอื่อยเฉื่อย ไม่ได้รับความยุติธรรมจากสังคม (อย่างเช่นสัปเหร่อที่มาขอความช่วยเหลือจาก คอร์ลีโอเนในตอนต้นเรื่อง) หากมาจินตนาการว่าตัวเองมีอำนาจ สั่งคนโน้นคนนี้ที่เราเหม็นขี้หน้าได้ ก็คงจะดี ดังคำพูดที่ว่า "ข้าจะยื่นข้อเสนอที่แกปฏิเสธไม่ได้" หรือ "แกปฏิเสธข้าได้ครั้งเดียว และข้าจะไม่เซ้าซี้อีก" (เพราะแกจะได้ไปนอนเป็นเพื่อนปลาอยู่ใต้ทะเลโน้น) บรรดานักการเมือง ตำรวจ พ่อค้าใหญ่ (ที่เราทั้งเหม็นขี้หน้าและทึ่งในอำนาจของคนเหล่านั้น) จะมาซุกใต้ปีกของเรา
ฉากที่น่าสะใจคนดูก็คงเป็นตอนที่ไมเคิลเล่าให้แฟนสาวฟังถึงตอนที่พ่อของเขากับลูกน้องไปเล่นงานผู้จัดการที่ไม่ยอมรับ จอห์นนี ฟอนแทนมาเป็นนักร้องในสังกัด โดยจะให้เลือกเอาว่าจะมีลายเซ็นต์รับจอห์นมาเป็นนักร้องหรือว่ามันสมองของเขาอยู่บนกระดาษ (แน่นอนคนที่โกรธหนังเรื่องนี้ที่สุดก็ได้แก่แฟรงค์ ซิเนตรา ที่ ว่ากันว่าเป็นต้นแบบของ จอห์น ซึ่งได้รับการอุปถัมน์ จาก ดอน คอร์ลีโอเน ดังนั้นเมื่อปู่แฟรงค์ได้พบกับพูโซก็ไม่ยอมพูดด้วย) หรือฉากโหด ๆที่ผู้กำกับผู้ไม่ยอมรับจอห์นเป็นดาราต้องพบกับหัวม้าที่แสนจะรักอยู่บนเตียงนอนของตัวเองตอนใกล้รุ่ง ย่อมทำให้ผู้ดูสะใจเพราะได้คิดเล่นๆว่า ถ้าได้ทำเช่นนั้นกับคนที่รู้สึกว่าเรื่องมากด้วย สีหน้าหมอนั้นจะเป็นอย่างไร (ข้าไม่ต้องเซ้าซี้แกแล้ว ใช้ปืนดีกว่า ง่ายดี)
นอกจากนี้ The Godfather ยังมีคุณสมบัติอันสุดแสนน่าประทับใจสำหรับเจ้าพ่อ คือทำให้เจ้าพ่อมีเนื้อหนัง มีอารมณ์ มีความรักเหมือนคนทั่วไป ความน่าเกรงขามของ ดอนวีโต้และความสง่างามของไมเคิลทำให้คนดูประทับใจ ถึงขนาดส่งผลกระทบถึงภาพพจน์ของมาเฟียตัวจริง ว่ากันว่า แต่เดิมไม่เคยจูบมือกันเลย ก็หันมาเลียนแบบหนังบ้าง หรือว่า อิทธิพลที่มีต่อหนังเจ้าพ่อฮ่องกง ซึ่งเราคงจะจำเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้กันได้ ผมเคยอ่านหนังสือและเห็นภาพของเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (แก๊งเขียว) ตัวจริงแล้ว หน้าเหมือนกับซีอุยใส่ชุดหรูหรา ดังนั้นอย่าได้ประหลาดใจว่าติงลี่นั้นไซร์คือไมเคิลนั่นเอง นอกจากนี้หนังยังเชิดชูตระกูลคอร์ลีโอเนเช่น ทั้ง วีโตและไมเคิลต่างรักและซื่อสัตย์กับครอบครัว (ตรงกันข้ามกับ เฟรโดที่มีอะไรกับสาวเสิร์ฟพร้อมกันถึงสองคน) ตระกูลนี้ไม่ค้ายาเสพติด แต่เน้นการพนัน (ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังพอยอมรับกันได้)ในขณะที่ ตัววีโต้เองดูเป็นคนมีสัจจะ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณแต่รู้ทันคน และพัฒนาการอันแสนน่าทึ่งของไมเคิลจาก College boy (เด็กมหา'ลัย) ที่ไร้เดียงสามาเป็นเจ้าพ่อที่ร้ายลึกกว่าพ่อและซานติโนพี่ชายเสียอีก
สิ่งที่พิสูจน์ความร้ายลึกของไมเคิ้ลคือตอนที่เขาร่วมพิธีศีลจุ่มในโบสถ์เพื่อรับเป็น godfather ของหลานชาย สลับไปพร้อมๆ กับการเข่นฆ่าพวก 5 ตระกูล ทำให้ภาพดูขัดแย้งกัน อย่างมีเสน่ห์ เมื่อบาทหลวงถามเขาว่า "Do you renounce Satan ?" (ท่านไม่ยุ่งเกี่ยวกับซาตานใช่ไหม) และไมเคิลตอบยอมรับด้วยสีหน้าเรียบๆ ไปพร้อมกับมือปืนของเขาเข่นฆ่าฝ่ายตรงกันข้ามอย่างเมามัน กลายเป็นแรงบันดาลใจให้หนังจำนวนนับไม่ถ้วนต้องเลียนแบบ
สำหรับหนังไทยดูเหมือนไม่ค่อยเลียนแบบเท่าไร ผู้ร้ายในหนังไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่เจ็ดจนไปถึงทศวรรษที่สิบและ ยี่สิบ เจ้าพ่อก็จะเป็นไทยแท้ หัวเราะอย่างไม่มีเหตุผล ชอบเตะลูกน้องและฆ่าคนเล่นสามเวลาหลังอาหาร จะมาเหมือน The Godfather บ้างก็หนังเรื่อง อุบัติโหดที่มีลิขิต เอกมงคลกุล และหนุ่มเสกเล่น เจ้าพ่อดูคลาสสิกและสมจริงดีหรือไม่ก็ละครช่องเจ็ดเรื่องสารวัตรใหญ่ ที่เจ้าพ่อเหมือนจะลอกมาจาก The Godfather ภาคสองมาเลย
สิ่งสำคัญที่สุดของหนังอีกอย่างหนึ่งคือเพลงประกอบของนีโน โรตา ซึ่งดูจะมีมิติที่ลุ่มลึกมากทำให้คนดูรู้สึกถึงความอลังการ ความลึกลับและความเศร้าสร้อยได้ในธีม ๆเดียวกัน
ชู้รักเก่าของซัดดัม ฮุซเซนอดีตจอมเผด็จการของอิรัก เปิดเผยว่าถึงแม้ซัดดัมจะเกลียดอเมริกา (โดยเฉพาะตอนบุชเป็นประธานาธิบดี)แต่เขาก็ชอบของอเมริกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ The Godfather (คิดว่าทั้งสองภาค) เพราะคอร์ลีโอเนมีชีวิตเหมือนกับเขานั่นคือทั้งคู่ขึ้นมาเป็นใหญ่โดยมีอดีตที่เท่ากับศูนย์ แต่ซัมดัมอาจจะลืมบอกไปว่า เพราะทั้งคู่ต่างขึ้นเป็นใหญ่โดยปีนหัวกระโหลกคนด้วย
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เขียนงานเขียนในรูปแบบต่างๆ คือนวนิยาย เรื่องสั้นหรือแม้แต่บทละครมานานก็เลยอยากจะชี้แจ้งให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าเนื่องจากเป็นงานเขียนแบบงานดิเรกหรือแบบนักเขียนสมัครเล่นอย่างผม จึงต้องขออภัยที่มีจุดผิดพลาดอยู่ เพราะไม่มีคนมาตรวจให้ ถึงผมเองจะพยายามตรวจแล้วตรวจอีกก็ยังมีคำผิดและหลักไวยากรณ์อยู่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The Spook Radio (part 2)ภาค 2 ของดีเจอ้นซึ่งเป็นดีเจรายการที่เปิดให้ทางบ้านมาเล่าเรื่องสยองขวัญหรือเรื่องเหนือธรรมชาติ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Shock และ The Ghost (Facebook คนเขียนคือ Atthasit Muang-in)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด Chapter 1
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert) พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557 ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น