Skip to main content

    1.นอยด์ เป็นคำแสลงที่ถือกำเนิดได้มานานหลายปีแล้ว มาจากคำว่า noid กร่อน (โดยคนไทยเอง) จากศัพท์อังกฤษ  paranoid ซึ่งแปลว่า ความวิตกกังวลว่าคนอื่นไม่ชอบหรือพยายามจะทำร้ายตัวเองแม้ว่าจะไม่มีเหตุผลก็ตาม หากความรู้สึกนี้รุนแรงก็จะกลายเป็นโรคทางจิตไป  อย่างไรก็ตามศัพท์ที่ใกล้เคียงกับคำว่านอยด์แบบไทย ๆ เสียมากกว่าน่าจะเป็น  overanxious หรือวิตกกังวลมากจนเกินไป

 

      After the royal cremation ceremony, many people are increasingly overanxious about Thai political situation.

     ภายหลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ  ใครหลายคนต่างนอยด์ขึ้นเรื่อยๆ กับสถานการณ์ทางการเมืองไทย

 

     2.แห้ว แม้ว่าผลไม้ชื่อนี้ (ภาษาอังกฤษจริง ๆ คือ water chestnut) จะเปลี่ยนเป็น "สมหวัง" แล้ว ชื่อของมันก็ยังถูกใช้ในด้านลบอยู่ดี และมักจะถูกนำมาใช้ในกรณีที่ใครบางคนจีบบุคคลที่หมายปองไม่ติด โดยมีสำนวนยอดนิยมคือ "รับประทานแห้ว" หรือ be disappointed with love แต่ถ้าจะให้ความรู้สึกแรงกว่านั้น ก็คือ be broken-hearted หรืออกหัก  กระนั้นคำว่า “แห้ว” ก็อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับความรักเสมอไป อย่างเช่น

     

           Many Good People has expected NCPO to be the benevolent and competent ruler of Thailand , but they are eventually disappointed.

          “คนดี” หลายคนคาดหวังว่าคสช.จะเป็นผู้ปกครองกะลาแลนด์ที่มีเมตตาและทรงประสิทธิภาพ แต่ในที่สุดพวกเขาก็ต้องแห้วไป

 

     3.ผักชี คำสแลงนี้ก็โบราณไม่แพ้คำว่าแห้วและยังมาจากสุภาษิตไทยที่ว่า ผักชีโรยหน้า ความหมายก็คือ "การทำดีเพียงผิวเผินเพื่อเอาหน้า"คำว่าผักชีที่เป็นผักจริงๆ ภาษาอังกฤษคือ coriander แต่ถ้าเป็นภาษาอังกฤษสำหรับคำสแลงนี่ผมได้ไปเจอของคุณ แอนดรูว์ บริกส์ในคอลัมน์ของหนังสือพิมพ์ คม ชัดลึก มาโดยบังเอิญจึงต้องขอยืมความคิดของท่านมานั้นคือ window dressing ซึ่งผมขอนำมาแปลเองว่า "บางสิ่งบางอย่างที่ดูน่าจะประทับใจแต่ก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรจริง ๆ" เช่น

 

           Thailand is still a developing country because many of official projects has been merely window dressing.

           ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศกำลังพัฒนาเพราะโครงการจากรัฐจำนวนมากเป็นเพียงผักชี (โรยหน้า) มากกว่า

 

    4.เจ๊ง คำสแลงโบราณที่เรารู้จักมาตั้งแต่เด็ก คำนี้น่าจะยืมมาจากภาษาจีนนั้นคือ ขาดทุน ยุติกิจการ ภาษาอังกฤษมีหลายคำที่พบบ่อยก็คือ to flop ,to go broke หรือ shut down เช่น

 

         As a result of social media's influence , many of traditional media such as magazine have shut down.

        เพราะอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย สื่อที่นิยมก่อนหน้านี้จำนวนมากดังเช่นนิตยสารต้องเจ๊งไป

 

     5.วัดเรตติ้ง คำนี้หยิบยืมมาจากละครหรือรายการโทรทัศน์มาใช้กับคนทั่วไป นั้นคือการหยั่งดูว่าคนรอบข้างเช่นเพื่อน ๆ หรือสาธารณชนว่าชอบหรือนิยมในตัวเองหรือไม่มากน้อยเพียงใดโดยการปล่อยข่าวว่าตัวเองแกล้งป่วยหรือหายไปตัวพักใหญ่ ๆ ภาษาอังกฤษก็น่าจะเป็น check one’s popularity

      

      Some websites post the picture of Prayut shedding tears while walking in the Royal funeral procession to check his popularity.

      บางเว็บไซต์แสดงภาพพลเอกประยุทธ์หลั่งน้ำตาขณะเดินอยู่ในขบวนพระบรมราชอิสริยยศเพื่อวัดเรตติ้งของ ฯพณฯ

 

      6.โดนเท เป็นคำสแลงที่เพิ่งได้รับความนิยมเมื่อไม่นานมานี้ หมายถึงโดนทิ้ง หลายคนในอินเทอร์เน็ตบอกว่า got dumped สำหรับอาจารย์อดัมแกบอกว่า got ditched

      

        Democracy of Thailand is now crying, because it has got ditched by Thai people.

        ประชาธิปไตยไทยตอนนี้กำลังร้องไห้เพราะโดนเทโดยคนไทย

 

       7.หัวร้อน เป็นคำสแลงที่เพิ่งได้รับความนิยมในระยะเวลาใกล้เคียงกับโดนเท น่าจะแปลมาจากภาษาอังกฤษคือ hothead หากเป็นคำคุณศัพท์ก็คือ hotheaded หมายถึงอารมณ์ร้อน หงุดหงิดง่าย

 

        Recently many Thais become hotheaded.They will get extremely furious when seeing someone with the colorful dress.

        ช่วงนี้คนไทยจำนวนมากหัวร้อน พวกเขาจะโมโหหนักมากเมื่อเห็นใครสักคนใส่ชุดมีสีสัน

 

       8.  รักพ่อ / โหนเจ้า   เป็นคำยอดฮิตถูกนำมาใช้กับ hashtag อันเป็นที่นิยมของคนไทย รักพ่อ ภาษาอังกฤษแปลแบบทื่อๆ ก็คือ Love the king หรือที่สละสลวยกว่าก็คือ to be an avid royalist อันหมายถึงการเป็นผู้นิยมเจ้าอย่างเปี่ยมล้น มีเป็นจำนวนมากที่รักพ่ออย่างแท้จริง แต่คงมีจำนวนไม่น้อยที่อาศัยกระแสรักพ่อเพื่อสร้างภาพให้กับตัวเอง ดังคำศัพท์ที่ว่า โหนเจ้าหรือ exploit the royalism อันหมายถึง ใช้ประโยชน์จากลัทธิราชานิยม  ตัวอย่างมีมากมาย นอกจากการร่ำไห้ของ ฯพณฯ แล้วยังได้แก่  

    

      Some family exploited the royalism by showing them standing in the rain near the Grand Palace.

      บางครอบครัวโหนเจ้าโดยการแสดงภาพพวกเขายืนตากฝนใกล้กับพระบรมมหาราชวัง

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เขียนงานเขียนในรูปแบบต่างๆ  คือนวนิยาย เรื่องสั้นหรือแม้แต่บทละครมานานก็เลยอยากจะชี้แจ้งให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าเนื่องจากเป็นงานเขียนแบบงานดิเรกหรือแบบนักเขียนสมัครเล่นอย่างผม จึงต้องขออภัยที่มีจุดผิดพลาดอยู่ เพราะไม่มีคนมาตรวจให้ ถึงผมเองจะพยายามตรวจแล้วตรวจอีกก็ยังมีคำผิดและหลักไวยากรณ์อยู่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The Spook Radio (part 2)ภาค 2 ของดีเจอ้นซึ่งเป็นดีเจรายการที่เปิดให้ทางบ้านมาเล่าเรื่องสยองขวัญหรือเรื่องเหนือธรรมชาติ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Shock และ The Ghost  (Facebook คนเขียนคือ Atthasit Muang-in)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น