Skip to main content
นี่คือเว็บไซต์ที่ชวนคนมา "เอา" กัน

เรื่องราวเริ่มต้น เมื่อหนุ่มน้อยไอทีสองนาย กล้า (กล้า ตั้งสุวรรณ) และออย (ณัฐวัฒน์ ปาลกะวงษ์ ณ อยุธยา) เกิดแรงบ้าขึ้นมา อยากลองของว่าถ้าจู่ๆ ลุยทำ ‘ทีวีออนไลน์' ขึ้นมา เริ่มต้นแบบง่ายๆ ตั้งแต่ยุคที่ไม่ค่อยมีใครทำ แถมคนทำก็โนเนม ผลการทดลองนั้นจะเป็นอย่างไร

Duocore.tv จึงเกิดขึ้น ภายใต้สโลแกนที่ว่า "ผลักดันวงการไอทีในบ้านเรา" เป็นรายการ IT แนวใหม่สำหรับยุค Hi-Speed สะท้อนมุมมองของวงการ IT บ้านเราและต่างประเทศ พร้อมข่าวสาร Update เจ๋งๆ ในรอบสัปดาห์

เนื้อหาดูโอคอร์ ที่ผ่านมา ค่อนข้างเน้นไปทางข่าวไอที ด้วยหลายๆ สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเพราะข่าวไอทีที่ให้ติดตามได้สนุกๆ ยังมีน้อย ทุกวันนี้มีเพียง blognone.com นอกจากนี้ อาจเพราะวงการทีวีออนไลน์ยังถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนส่วนใหญ่ การบุกตลาดช่วงแรกจึงเป็นที่สนใจในหมู่คนแวดวงไอทีโดยเฉพาะ

มาปัจจุบัน duocore มีอายุ 36 สัปดาห์ กับวิดีโอทั้งหมด 36 ตอน การถ่ายทำเริ่มขึ้นอย่างง่ายๆ จัดโซฟา หามุมเหมาะภายในบ้าน ตั้งกล้อง แล้วเริ่มถ่ายทำ ! ทีมงานทั้งหมดรวม 4 คน คือ กล้า (พิธีกร), ออย (พิธีกร), ตาล (ตากล้อง), จิ้งจุ่น (ตัดต่อ)

กล้าเล่าว่า ผ่านพ้นมา 36 เทป ในวันนี้ถ้าย้อนไปดูที่เทปแรก "อายมาก ทำออกมาได้ยังไง" เขาเล่าว่าอัดรายการช่วงแรกๆ นั้น ทั้งฝืด ทั้งเกร็ง แถมเดดแอร์เต็มไปหมด เพราะส่งมุขกันไม่ทัน

แต่เรื่องน่าสนใจที่เปลี่ยนไป นับจากเทปแรกมาจนเทปล่าสุดคือ ที่มาของเนื้อหา จากเดิมที่จะหยิบข่าวจากต่างประเทศมาพูด ซึ่งเป็นข่าวที่ถูกคัดมาจากทีมงานเท่านั้น แนวทางช่วงหลังก็เปลี่ยนมาเปิดพื้นที่ให้สมาชิกคนอ่านช่วยกัน "ส่งข่าว" ได้ แต่แค่เข้ามาอ่าน ไม่พอ

เพราะต้องมา "เอา" กันด้วย

นั่นคือ อ่านข่าวไหน ชอบข่าวไหน ก็ช่วยกันคลิก "เอา" ข่าวที่คนนิยมที่สุดจะถูกดันเด้งมาที่หน้าแรก ซึ่งพบว่านี่เป็นระบบที่ทำให้เนื้อหาข่าวหลากหลายกว่าจากเดิม

"ผมกับออย หาเรื่องได้ไม่ดีเท่ากับที่ทุกๆ คนช่วยกันหาหรอก" กล้าบอก นอกจากนี้ การมีพื้นที่ให้คนส่งข่าวเอาข่าว ยังเพิ่มกิจกรรมให้คนมีส่วนร่วมได้มากขึ้น แทนที่เว็บ duocore จะเป็นเพียงรายการรายสัปดาห์ที่ดูได้เพียงครึ่งชั่วโมงต่ออาทิตย์ เมื่อเป็นแบบนี้ คนดูก็จะได้ทำอะไรมากกว่านั้น ได้นั่งดู ได้ร่วมคอมเม้นท์

ข่าวที่มีคน ‘เอา' มากที่สุด ทีมงานจะหยิบไปเล่าต่อในรายการรายสัปดาห์

ทุกวันนี้ ดูโอคอร์ แม้จะมีข่าวด้านไอทีเยอะ แต่ก็แทรกเนื้อหาหลากหลาย ประเด็นอย่างเรื่อง "ค่าตัวนักเตะพรีเมียร์ลีกส์" หรือเรื่อง "มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ" ก็เคยเป็นประเด็นในรายการของสองหนุ่มนี้มาแล้ว

กล้าตั้งข้อสังเกตว่า ช่วงครึ่งปีให้หลัง มีคนสนใจทีวีออนไลน์มากขึ้น พบว่ามีคนทำวิดีโออัพขึ้นเว็บด้วยตัวเองมากขึ้น เว็บไซต์รายการทีวีก็มีให้เห็นมากขึ้นด้วย

กล้าและออย เริ่มทำดูโอคอร์ โดยได้แรงบันดาลใจมาจากเว็บไซต์ diggnation ซึ่งก็เป็นรายการทีวีออนไลน์ว่าด้วยข่าวสารไอที ซึ่งมักหยิบประเด็นมาจากเรื่องที่ได้รับความสนใจจากการโหวตในเว็บไซต์ digg.com ในหมวดเทคโนโลยี

ถามกล้าว่า คนธรรมดาถ้าอยากทำทีวีออนไลน์บ้าง เขาต้องมี "อะไร"

กล้าตอบทันทีว่า "พลังอึด เวลา และความสม่ำเสมอ" หาใช่เรื่องเทคนิค อุปกรณ์ เพราะเรื่องเทคนิค และอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ได้เป็นเรื่องยากอย่างที่คิด แถมยังสรรหาได้จากเพื่อนรอบข้าง (หรือจากห้างพันธุ์ทิพย์)

จะรออยู่ใย ลองเยี่ยมชม ดูโอคอร์ หรือ ดูรายการย้อนหลัง รับรองฮา !

บล็อกของ new media watch

new media watch
  ใครที่เป็นแฟนประจำนิตยสาร ‘สารคดี' ย่อมรู้ว่า ‘วัน ตัน' เป็นนามปากกาของ บก.วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ - ผู้เป็นทั้งนักคิด นักเขียน และคนทำหนังสือผู้คร่ำหวอดในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ของไทยนอกเหนือจากบทบาทการเป็นนักคิดนักเขียน วันชัยยังเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเป็นนักเคลื่อนไหวด้านกิจกรรมเพื่อสังคมอีกนับไม่ถ้วน บท บก.ของวันชัย จึงเป็นสิ่งที่หนอนหนังสือ ‘ต้องอ่าน' พอๆ กับคอลัมน์ที่ ‘วัน ตัน' เขียนถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนโลกสีเขียวใบนี้ แง่มุมดีๆ และความคิดที่ชวนให้เก็บไปต่อยอด มักมีที่มาจากงานเขียนหลายๆ ชิ้นบนพื้นที่หน้ากระดาษที่ว่ามาแล้วทั้งสิ้น ตอนนี้สารคดีเปิดพื้นที่ ‘บล็อก'…
new media watch
ประกาศตัวเป็น 'นิตยสารออนไลน์' รายล่าสุดที่เปิดให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตดาวน์โหลดเนื้อหาข้างในเล่มมาอ่านกันได้ฟรีๆ ทุกหน้า ที่ www.modepanya.com ด้วยความตั้งใจของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ไฟแรง คือ ณ พงศ์ วรัญญานนท์, เวสารัช โทณผลิน และ ศิริพร ฤกษ์สิรินุกูล ที่อยากสร้างสรรค์สารคดีเสริมปัญญาให้นักอ่านได้เสพสาระและความบันเทิงกันแบบไม่ต้องอาศัยทุนรอนมากนัก (ที่สำคัญ-ไม่ต้องตัดต้นไม้มาทำหนังสือ ช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนไปได้อีกนิดหน่อย)แม้จะไม่ใช่หนังสือทำอาหาร แต่บทความหลายชิ้นช่วยบำรุงสมองนักอ่านได้ดี มีสรรพคุณด้านการกระตุ้นความคิด ซึ่งอาจจะฟังดูขัดแย้งกับชื่อ 'หมดปัญญา' ที่เป็นหัวนิตยสารอยู่บ้าง…
new media watch
เรื่องหุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ และเรื่องเงินๆ ทองๆ อาจเป็นยาขมสำหรับคนไม่ชอบตัวเลขหรือไม่มีพื้นฐานความรู้ทางด้านนี้ แต่ถ้าเข้าไปที่ http://1001ii.wordpress.com อาจเปลี่ยนใจไปเลย เพราะจะได้อะไรดีๆ เป็นอาหารสมองกลับมาให้คิดต่อกันอีกเพียบจากที่จั่วหัวว่าเป็น 'บล็อกเล็กๆ ว่าด้วยเรื่องเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ' ตามด้วยพื้นที่โฆษณาหนังสือ (เผื่อใครสนใจจะไปซื้อหามาอ่าน) แต่บทความของ 'นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์' เจ้าของผลงานหนังสือเศรษฐศาสตร์อ่าน (เข้าใจ) ง่ายหลายต่อหลายเล่ม ถูกโพสต์ให้อ่านกันฟรีๆ ในบล็อกแห่งนี้ แม้ว่าจะอุดมไปด้วยศัพท์เทคนิค อาทิ Short Call Options, Externality, Purchasing-Power…
new media watch
  http://www.sapparod.com/ด้วยเหตุว่า sapparod.com มีหูตาเป็นสัปปะรด คอยรายงานความเคลื่อนไหว ตอบคำถาม และรวบรวมเกร็ดความรู้นานาสารพันมาให้นักท่องเน็ตได้ตามอ่านกันอย่างจุใจ เรื่องราวที่หาอ่านได้จากสัปปะรด (เนื้อแน่น) ออนไลน์ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับ ‘คอมพิวเตอร์' ที่แทบจะกลายเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของคนบางกลุ่มไปแล้ว บล็อกเกอร์ผู้ปลูกสัปปะรดบอกว่า บางครั้งข้อมูลที่เอามาโพสต์ "อาจจะไม่ใช่ข้อมูลทางเทคนิคขั้นสูงนัก แต่ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่ยังไม่รู้" (อันนี้มันแน่นอนอยู่แล้ว -ไม่มากก็น้อย) ถ้าดูจากความสม่ำเสมอในการอัพบล็อก ก็เชื่อได้ว่าสัปปะรดดอทคอมมีเรื่องน่าสนใจมาให้บล็อกเกอร์อื่นๆ…
new media watch
http://culturegap.wordpress.com เรื่องเล็กของบางคน อาจเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับอีกหลายคน ด้วยเหตุผลที่มาจาก "ความแตกต่างทางวัฒนธรรม" เรื่องวุ่นๆ ของการมองต่างมุมจึงเกิดขึ้นเสมอบนโลกใบนี้ เมื่อเกิดการถกเถียงกันโดยใช้มุมมองและเหตุผลคนละชุด ช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมยิ่งถูกถ่างกว้างออกไป แต่พื้นที่ของความเข้าใจกัน--กลับหดแคบลงอาจเพราะเหตุนี้ บล็อกเกอร์ช่างคิดแห่งเวิร์ดเพรสคนหนึ่ง จึงรวบรวมเรื่องราวนานาสารพันให้คนช่างสงสัยติดตามอ่านกันตามอัธยาศัย ไล่มาตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตำนาน 'เตาอั้งโล่' หรือ 'กำแพงคร่ำครวญ' ในดินแดนพันธสัญญา รวมถึงที่มาของสุภาษิตนานาชาติ เรตหนัง…
new media watch
อยากรู้ไหมว่าตัวคุณเป็น 'ซ้ายไร้เดียงสา' หรือ 'ขวาตกขอบ' เป็น 'จอมเผด็จการ' หรือ 'อนารยชน' ที่ politicalcompass.com หรือ 'เข็มทิศการเมือง' มีคำตอบ! แค่คุณตอบแบบสอบถามที่ให้มา แล้วระบบจะประมวลผลจากคำตอบที่เลือก เพื่อหาว่าจุดยืนและแนวคิดทางการเมืองของคุณเป็นอย่างไร...เพียงแค่ตอบคำถามง่ายๆ ไม่กี่สิบข้อ (แต่มีข้อแม้ว่าต้องสันทัดภาษาอังกฤษพอสมควร หรือถ้าไม่เชี่ยวชาญ และอยากรู้จริงๆ แนะนำให้ทำแบบทดสอบโดยเปิดดิกชีนนารีไปด้วย ไม่งั้นผลที่ได้อาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง) และคำถามส่วนใหญ่ออกแนวลองเชิงลองใจว่าคุณให้ความสำคัญกับเรื่องไหนบ้าง มีทั้งศีลธรรมจรรยา ระบบถ่วงดุลและตรวจสอบ…
new media watch
อาจดูเหมือนไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กลุ่มผู้ก่อตั้งสถานีอินเทอร์เน็ตแห่งนี้บอกชัดเจนว่า "ไม่ใช่การนำรายการที่ออกอากาศในโทรทัศน์มาฉายซ้ำในช่องทางอินเทอร์เน็ต" แต่เป็นช่องทางนำเสนอรายการแบบ on-demand ที่เน้นความสร้างสรรค์ แตกต่าง และหลากหลาย ที่สำคัญ มีการจัดอบรมวิธีผลิตรายการบนสถานีอินเตอร์เน็ตด้วย...หัวเรี่ยวหัวแรงหลักๆ ของสถานี suki flix มีแค่ 3 คนเท่านั้น คือ บารมี นวนพรัตน์สกุล, ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์, ชัยณรงค์ อุตตะโมท - 3 หนุ่ม 3 สามมุมที่แปรรูปความฝันให้กลายเป็นสิ่งที่มองเห็นและจับต้องได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่นอกจากรายการเกี่ยวกับไอที (Geek Freak) ไลฟ์สไตล์ ( Story of the Month) ศิลปะ บันเทิง…
new media watch
เรื่องราวเกี่ยวกับ iPod, iPhone ทั้งข่าวสาร ข้อมูลอัพเดท ข่าวลือ สามารถหาได้จากเว็บบล็อกแห่งนี้ siampod.com เริ่มต้นให้บริการประมาณต้นปี 2006 โดยเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับ iPod จากต่างประเทศโดยเฉพาะ - แต่บางครั้งก็มีข่าวของ Apple Macintosh หลงมาบ้างประปราย
new media watch
กระแส 'ถุงผ้า' อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังมาแรง แต่ชาวญี่ปุ่นมีวิธีประหยัดถุงพลาสติก ถุงผ้า หรือแม้แต่กระเป๋าเดินทาง มาตั้งนานแล้ว!เวบ 'กระทรวงสิ่งแวดล้อม' สัญชาติญี่ปุ่น ขอนำเสนอ Furoshiki หรือ วิธีพับผ้าเป็นสัมภาระบรรจุสิ่งของที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ หรือคนยุคปัจจุบันจะดัดแปลงเป็นการห่อของขวัญก็ได้ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษาญี่ปุ่นก็สามารถเข้าใจ 'ฟุโรชิกิ' เพราะเวบนี้เขาใช้ 'ภาษาภาพ' เป็นเครื่องมือสื่อสาร ลองเข้าไปดูแล้วทำตามยามว่างๆ ก็คงเพลินดีhttp://www.env.go.jp/en/focus/attach/060403-5.html
new media watch
"divland.com" สำหรับเว็บบล็อกที่จะแนะนำคราวนี้ อาจจะเป็นบล็อกเชิงเทคนิคสักนิด แต่สำหรับคนที่ออกแบบเว็บไซต์น่าจะพอเข้าใจชื่อ divland.com มาจากคำสั่ง <div> และ </div> ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ใช้บ่อยมาก ในการออกแบบเว็บไซต์ด้วยภาษาโปรแกรม XHTML และ CSS ในการออกแบบเว็บไซต์ ที่ผ่านมาในอดีตไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือการเขียนเว็บเพจด้วยโปรแกรม Text Editor มีการใช้งาน HTML ที่ไม่ควรใช้เยอะมากจนเกินความจำเป็น ปัจจุบันการออกแบบเว็บไซต์ทำได้ง่ายขึ้น โดยการใช้ภาษาโปรแกรมรุ่นใหม่ XHTML และ CSS เพื่อช่วยลดความซับซ้อน…
new media watch
ใครว่าบล็อกยี่ห้อ WordPress ใช้งานยาก "keng.com" ขอเถียง สำหรับคนที่เพิ่งเคยได้ยินชื่อ keng.com (เก่งดอทคอม) คงนึกไปว่าเว็บนี้เป็นเว็บบล็อกส่วนตัวของนายเก่งคำตอบคือ ถูกครึ่งเดียว...เพราะนี่คือเว็บของ เก่ง - กติกา สายเสนีย์ ที่ไม่ใช่เว็บบล็อกส่วนตัวอย่างเดียว แต่เป็นเว็บบล็อกสอนการใช้งาน WordPress ที่เป็นระบบเว็บบล็อกที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน * keng.com เริ่มเปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี 1999 ในช่วงแรกๆ เป็นการบันทึกข้อมูลทั่วไป แต่อยู่มาวันหนึ่ง keng.com ก็ปรับเปลียนตัวเอง ให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเป็นการเขียนบทความเกี่ยวกับการใช้งานบล็อกเป็นหลักไม่ว่าคุณจะเพิ่งศึกษาหาข้อมูล เพิ่งเริ่มใช้งาน…
new media watch
ไม่ใช่ 'เชลล์ชวนชิม' ออนไลน์ แต่เป็นพื้นที่ส่วนตัวของ 'มนตรี ศรียงค์' กวีหนุ่ม เจ้าของรางวัลซีไรต์ประจำปี 2550 ที่ใช้เวลานอกเหนือจากการแต่งกวี ในฐานะ 'เจ้าของร้านบะหมี่เป็ดแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา'เนื้อหาข้างในบล็อกไม่ได้สอนวิธีทำบะหมี่เป็ดหรือขายแฟรนไชส์ แต่มีทั้งบทกวีและคำทักทายมิตรรักแฟน (คลับ) กวี รวมไว้ให้นักอ่านได้ลิ้มรสไม่ว่าวิวาทะเรื่องรางวัลซีไรต์จะลงเอยอย่างไร ถ้าสุภาษิตที่ว่า "ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน" ยังใช้การได้ ขอเชิญไปทัศนาและพินิจพิเคราะห์กันเอาเองที่ http://www.softganz.com/meeped/index.php