Skip to main content

โดย ‘นายยืนยง’

book

ชื่อหนังสือ      :    ภาพเหมือน  ( The Portrait )
ประเภท    :        วรรณกรรมแปล
จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ คมบาง
พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    ตุลาคม ๒๕๔๔
ผู้เขียน        :    นิโคไล  โกโกล
ผู้แปล        :    ดลสิทธิ์  บางคมบาง   
จากต้นฉบับภาษาอังกฤษของ  CHRISTOPHER  ENGLISH

 

หากเคยจ้องมองเข้าไปในดวงตาที่เปล่งประกายของชีวิตจากภาพเหมือน คุณอาจจะได้สัมผัสกับบุคลิกภาพของคนในภาพนั้น แต่กับ “ภาพเหมือน” รหัสคดีเล่มบางของนิโคไล โกโกล  นอกจากจะขนพองสยองเกล้าไปกับลูกนัยน์ตาอันน่าสะอิดสะเอียดของชายแก่ร่างโทรมเซียว ที่จ้องเขม็งกลับมายังดวงตาของคุณแล้ว  มันอาจปลุกสัญชาติญาณที่ซ่อนลึกอยู่ในซอกหลืบหัวใจคุณได้อย่างง่ายดาย แม้เพียงเสี้ยวสัมผัส  ราวกับมันเป็นซาตานที่โผล่ออกมาจากขุมนรก เพื่อฉุกกระชากตัวตนของคุณออกไปจากชะตากรรมอันสามัญที่เคยเป็นอยู่...

ใครก็ตามที่ครอบครองภาพเหมือนนั้นไว้ ล้วนประสบชะตากรรมอันน่าสังเวช... เริ่มตั้งแต่ศิลปินไส้แห้งที่กำลังจะถูกตะเพิดออกจากห้องเช่าโกโรโกโส เมื่อเขานำภาพเหมือนนี้เข้ามาในห้อง  ชีวิตก็เปลี่ยนดั่งพลิกฝ่ามือ ไม่ใช่แค่สถานภาพภายนอก แต่ในส่วนลึกของจิตใจ เขาก็เป็นคนใหม่  จวบกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่ามันน่าสมเพทเพียงใด

นิโคไล  โกโกล เขียนวรรณกรรมเล่มนี้ขึ้นราวกับเพื่อประกาศให้โลกศิลปะได้ตระหนักว่า  ผลสะท้อนจากงานศิลป์แต่ละชิ้นนั้น เป็นสิ่งที่ศิลปินควรจริงจังและรอบคอบยิ่ง เสมือนหนึ่งว่างานศิลปะนั้น เปี่ยมด้วยพลังบางอย่างของศิลปินที่ถ่ายทอด ถั่งเทออกมาจากจิตวิญญาณ ใส่ลงไปในงานศิลป์นั้น หากแต่พลังอันนั้นมิได้สิ้นสุดลง ณ จุดสมบูรณ์ของผลงานเท่านั้น เพราะพลังลึกลับดังกล่าวยังคงดำรงอยู่ เมื่อมีผู้คนได้สัมผัสกับมัน พลังนั้นก็กลับสำแดงอำนาจอีกครั้ง โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นอำนาจด้านดีหรือชั่วร้ายประการใด

จากโครงสร้างของวรรณกรรมรัสเซียเรื่องนี้  องค์ประกอบที่สำคัญยิ่งก็คือตัวละคร ซึ่งล้วนโดดเด่นเป็นพิเศษ ในด้านที่โกโกลได้สร้างให้เห็นถึงการพัฒนาของแต่ละตัวละครอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้น พลิกผัน และจบนิ่งลง เช่น ศิลปินหนุ่มชาร์ทคอฟผู้สะดุดตากับภาพเหมือนที่มีดวงตาลึกลับดึงดูดใจอย่างประหลาด ขณะความสับสนในชีวิตศิลปินผู้แร้นแค้น และทัศนคติเรื่องศิลปะสองขั้วที่ยื้อเขาไว้จนเลือกไม่ถูกว่าจะตัดสินใจไปทางใดแน่ กระทั่งภาพเหมือนของชายแก่เหมือนคนซมพิษไข้นั้นได้เปลี่ยนเขาเป็นศิลปินผู้รุ่มรวยรสนิยม มั่งคั่งและมีชื่อเสียงในชั่วพริบตา แต่สุดท้ายชีวิตเขาก็ต้องจบสิ้นเมื่อถูกหลอกหลอนจากคู่ดวงตาน่ากลัวในภาพนั้น  ดังหน้า ๕๒

ภาพเหมือนนี้เองที่เป็นเหตุทำให้เกิดการลอกคราบขึ้นกับตัวเขา โชคอันเขาได้รับมาอย่างน่าอัศจรรย์นั่นแหละที่ชักพาให้เขาหลงทางไปกับการไข่วคว้าอันเปล่าไร้ทั้งปวง และจึงทำลายพรสามารถของเขาจนสิ้น

อีกตัวละครคือ ศิลปินผู้สร้างภาพเหมือนนั้นขึ้นมาเมื่อถูกว่าจ้างจากชายชราประหลาด เจ้าของกิจการปล่อยเงินกู้ที่เต็มไปด้วยรัศมีแห่งความน่าประหวั่นพรั่นพรึง  เมื่อนั้นชีวิตอันเรียบง่ายของเขาก็เปลี่ยนไป ขณะที่ศิลปินหนุ่มชาร์ทคอฟไม่อาจเอาชนะอำนาจเหนือภาพเหมือนนั้นได้ แต่ศิลปินผู้สร้างมันขึ้นมาสามารถรับมือ ต่อต้านทำลายอำนาจชั่วร้ายนั้นออกไปจากตัวเขาได้สำเร็จ

ขณะพัฒนาการของแต่ละตัวละครเป็นเรื่องที่น่าศึกษายิ่ง ภาพเหมือนเต็มไปด้วยทัศนคติในด้านศิลปะอันละเอียดลึกซึ้ง และเต็มไปด้วยอารมณ์แห่งชีวิตในแบบฉบับของจิตวิญญาณชาวรัสเซีย ซึ่งจะเห็นได้จากวรรณกรรมแทบทุกเล่มของประเทศนี้ ดังหน้า ๔๕

ชื่อเสียงไม่อาจให้ความพึงใจยินดีได้กับคนผู้มาสู่มันโดยไม่สุจริต โดยไม่พึงได้รับ มันก่อความตื่นเร้าได้อย่างสืบเนื่องก็แต่กับคนผู้ควรค่ากับมัน   

สิ่งสำคัญยิ่งที่ต้องกล่าวถึงคือสำนวนการถ่ายทอดของดลสิทธิ์ บางคมบาง  ที่พยายามรักษารูปประโยคความอันซับซ้อนไว้ และคงเอกลักษณ์ลีลาตามต้นฉบับเดิม ด้วยภาษาไทยที่ชัดถ้อยชัดคำ กระชับ และเต็มด้วยชีวิตชีวา หากแต่เราจะไม่อาจละสายตาจากอารมณ์ที่เกี่ยวโยงของตัวละครได้เลยแม้สักนาทีเดียว กระทั่งในจุดพลิกผันสำคัญของภาคหนึ่ง ซึ่งได้ทิ้งน้ำหนักลงอย่างเจ็บปวดแม้นในอักษรตัวสุดท้าย  

ผู้แปลยังได้เกริ่นนำไว้ว่า  “ภาพเหมือน” เป็นเสมือนงานที่โกโกลมองเข้าไปในงานของตัวเอง เขาทำมันออกมาได้ดีอย่างถึงขนาดของความเหมือน  ฯลฯ

แม้รายละเอียดที่สำคัญอื่นจะไม่ได้ถูกกล่าวถึง ณ ที่นี้  แต่สำหรับผู้ที่ทำงานศิลปะทั้งหลายน่าจะหาโอกาสหยิบภาพเหมือนเล่มนี้มาอ่าน ไม่แน่ว่าชั่วเวลาเพียงคืนเดียวที่คุณได้อยู่กับมัน ชีวิตของคุณอาจไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปก็เป็นได้.

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
  นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           พ.๒๗ สายลับพระปกเกล้าฯ ผู้เขียน               :           อ.ก. ร่งแสง (โพยม โรจนวิภาต)ประเภท              :           สารคดีประวัติศาสตร์          พิมพ์ครั้งที่ 2  พ.ศ.…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ฝรั่งคลั่งผี ผู้เขียน : ไมเคิล ไรท จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก : กรกฎาคม 2550 อ่าน ฝรั่งคลั่งผี ของ ไมเคิล ไรท จบ ฉันลิงโลดเป็นพิเศษ รีบนำมา “เล่าสู่กันฟัง” ทันที จะว่าร้อนวิชาเกินไปหรือก็ไม่ทราบ โปรดให้อภัยฉันเถิด ในเมื่อเขาเขียนดี จะตัดใจได้ลงคอเชียวหรือ
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เด็กบินได้ ผู้เขียน : ศรีดาวเรือง ประเภท : นวนิยายขนาดสั้น พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2532 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์กำแพง มาอีกแล้ว วรรณกรรมเพื่อชีวิต เขียนถึงบ่อยเหลือเกิน ชื่นชม ตำหนิติเตียนกันไม่เว้นวาย นี่ฉันจะจมอยู่กับปลักเพื่อชีวิตไปอีกกี่ทศวรรษ อันที่จริง เพื่อชีวิต ไม่ใช่ “ปลัก” ในความหมายที่เราชอบกล่าวถึงในแง่ของการย่ำวนอยู่ที่เดิมแบบไร้วัฒนาการไม่ใช่หรือ เพื่อชีวิตเองก็เติบโตมาพร้อมพัฒนาการทางสังคม ปลิดขั้วมาจากวรรณกรรมศักดินาชน เรื่องรักฉันท์หนุ่มสาว เรื่องบันเทิงเริงรมย์…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : คนซื้อฝัน ผู้เขียน : ศุภร บุนนาค ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 2 กรกฎาคม 2537 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย ตามสัญญาที่ให้ไว้ว่าจะอ่านหนังสือของนักเขียนไทยให้มากกว่าเดิม ฉันดำเนินการแล้วล่ะ อ่านแล้ว อิ่มเอมกับอรรถรสแบบที่หาจากวรรณกรรมแปลไม่ได้ หาจากภาษาของนักเขียนไทยรุ่นใหม่ก็ไม่ค่อยจะได้ จนรู้สึกไปว่า คุณค่าของภาษาได้แกว่งไกวไปกับกาละด้วย
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เพลงกล่อมผี ผู้เขียน : นากิบ มาห์ฟูซ ผู้แปล : แคน สังคีต จาก Wedding Song ภาษาอังกฤษโดย โอลีฟ อี เคนนี ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2534 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์รวมทรรศน์ หนาวลมเหมันต์แห่งพุทธศักราช 2552 เยียบเย็นยิ่งกว่า ผ้าผวยดูไร้ตัวตนไปเลยเมื่อเจอะเข้ากับลมหนาวขณะมกราคมสั่นเทิ้มด้วยคน ฉันขดตัวอยู่ในห้องหลบลมลอดช่องตึกอันทารุณ อ่านหนังสือเก่า ๆ ที่อุดม ไรฝุ่นยั่วอาการภูมิแพ้ โรคประจำศตวรรษที่ใครก็มีประสบการณ์ร่วม อ่านเพลงกล่อมผีของนากิบ มาห์ฟูซ ที่แคน สังคีต ฝากสำนวนแปลไว้อย่างเฟื่องฟุ้งเลยทีเดียว…
สวนหนังสือ
นายยืนยง สวัสดีปี 2552 ขอสรรพสิ่งแห่งสุนทรียะจงจรรโลงหัวใจท่านผู้อ่านประดุจลมเช้าอันอ่อนหวานที่เชยผ่านเข้ามา คำพรคงไม่ล่าเกินไปใช่ไหม ตลอดเวลาที่เขียนบทความใน สวนหนังสือ แห่ง ประชาไท นี้ ความตื่นรู้ ตื่นต่อผัสสะทางวรรณกรรม ปลุกเร้าให้ฉันออกเสาะหาหนังสือที่มีแรงดึงดูดมาอ่าน และเขียนถึง ขณะเดียวกันหนังสืออันท้าทายเหล่านั้นได้สร้างแรงบันดาลใจให้วาวโรจน์ขึ้นกับหัวใจอันมักจะห่อเหี่ยวของฉัน
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : เงาสีขาวผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทองประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน น้ำเน่าในคลองต่อให้เน่าเหม็นปานใดย่อมระเหยกลายเป็นไออยู่นั่นเอง แต่การระเหิด ไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกับการระเหย  ระเหย คือ การกลายเป็นไอ จากสถานภาพของของเหลวเปลี่ยนสถานภาพกลายเป็นก๊าซระเหิด คือ การเปลี่ยนสถานภาพเป็นก๊าซโดยตรงจากของแข็งเป็นก๊าซ โดยไม่ต้องพักเปลี่ยนเป็นสถานภาพของเหลวก่อน ต่างจากการระเหย แต่เหมือนตรงที่ทั้งสองกระบวนการมีปลายทางอยู่ที่สถานภาพของก๊าซสอดคล้องกับความน่าเกลียดที่ระเหิดกลายเป็นไอแห่งความงามได้
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : เงาสีขาว ผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทอง ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน ปกติฉันไม่นอนดึกหากไม่จำเป็น และหากจำเป็นก็เนื่องมาจากหนังสือบางเล่มที่อ่านค้างอยู่ มันเป็นเวรกรรมอย่างหนึ่งที่ดุนหลังฉันให้หยิบ เงาสีขาว ขึ้นมาอ่าน เวรกรรมแท้ ๆ เชียว เราไม่น่าพบกันอีกเลย คุณแดนอรัญ แสงทอง ฉันควรรู้จักเขาจาก เรื่องสั้นขนาดยาวนาม อสรพิษ และ นวนิยายสุดโรแมนติกในนามของ เจ้าการะเกด เท่านั้น แต่กับเงาสีขาว มันทำให้ซาบซึ้งว่า กระบือย่อมเป็นกระบืออยู่วันยังค่ำ (เขาชอบประโยคนี้นะ เพราะมันปรากฏอยู่ในหนังสือของเขาตั้งหลายครั้ง)…
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร   ผลงานของนักเขียนไทยในแนวของเมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ หรือสัจนิยมมายา ที่ได้กล่าวถึงเมื่อตอนที่แล้ว ซึ่งจะนำมาเขียนถึงต่อไป เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นถึงข้อเปรียบเทียบระหว่างงานที่แท้กับงานเสแสร้ง เผื่อว่าจะถึงคราวจำเป็นจะต้องเลือกที่รักมักที่ชัง แม้นรู้ดีว่าข้อเขียนนี้เป็นเพียงรสนิยมส่วนบุคคล แต่ฉันคิดว่าบางทีรสนิยมก็น่าจะได้รับคำอธิบายด้วยหลักการได้เช่นเดียวกัน…
สวนหนังสือ
เมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือที่แปลเป็นไทยว่า สัจนิยมมายา หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ เป็นแนวการเขียนที่นักเขียนไทยนำมาใช้ในงานเรื่องสั้น นวนิยายกันมากขึ้น ไม่เว้นในกวีนิพนธ์ โดยส่วนใหญ่จะได้แรงบันดาลใจมาจาก ผลงานของกาเบรียล การ์เซีย มาเกซ ซึ่งมาเกซเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก ฮวน รุลโฟ (ฆวน รุลโฟ) จากผลงานนวนิยายเรื่อง เปโดร ปาราโม อีกทอดหนึ่ง เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์วรรณกรรมแนวนี้ถูกตัดตอน ขอกล่าวถึงต้นธารของงานสกุลนี้สักเล็กน้อย กล่าวถึงฮวน รุลโฟ ซึ่งจริงๆ แล้วควรเขียนเป็นภาษาไทยว่า ฆวน รุลโฟ ทำให้หวนระลึกถึงผลงานแปลฉบับของ ราอูล ที่ฉันตกระกำลำบากในการอ่านอย่างแสนสาหัส…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครนA SHORT HISTORY OF TRACTORS IN UKRAINIAN ผู้เขียน : MARINA LEWYCKA ผู้แปล : พรพิสุทธิ์ โอสถานนท์ ประเภท : นวนิยายแปล พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน และแล้วฉันก็ได้อ่านมัน ไอ้เจ้าแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เมียงมองอยู่นานสองนานแล้วได้สมใจซะที ซึ่งก็สมใจจริงแท้แน่นอนเพราะได้อ่านรวดเดียวจบ (แบบต่อเนื่องยาวนาน) จบแบบสังขารบอบช้ำเมื่อต่อมขำทำงานหนัก ลามไปถึงปอดที่ถูกเขย่าครั้งแล้วครั้งเล่า ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เป็นนวนิยายสมัยใหม่ที่ใช้ภาษาง่าย ๆ แต่ดึงดูดแบบยุคทุนนิยมเสรี…