Skip to main content

ชื่อหนังสือ : ร่างกายที่เหนืออายุขัย จิตใจที่ไร้กาลเวลา

                 Ageless Body, Timeless Mind

เขียน : โชปรา ดีปัก

แปล : เรืองชัย รักศรีอักษร

พิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2551

 

แสนกว่าปีมาแล้วที่มนุษย์พัฒนากายภาพมาถึงขีดสุด ต่อนี้ไปการพัฒนาทางจิตจะต้องก้าวล้ำ มีหนังสือมากมายที่กล่าวถึงวิธีการพัฒนาทักษะทางจิต เพื่อให้อำนาจของจิตนั้นบันดาลถึงความมหัศจรรย์แห่งชีวิต หนึ่งในนั้นมีหนังสือที่กล่าวอย่างจริงจังถึงอายุขัยของมนุษย์ ว่าด้วยกระบวนการรังสรรค์ชีวิตให้ยืนยาว


เล่มนี้เป็นหนังสือขายดีที่เขียนโดยนายแพทย์หนุ่มชาวอินเดียนาม โชปรา ดีปัก ผู้ยืนยันว่า

มนุษย์สามารถมีอายุยืนยาวเกินกว่า 100 ปี


ก่อนอื่นเราควรระงับคำถามที่ว่า เราอยากจะมีอายุยืนยาวไปทำไมกันเสียก่อน


หมอโชปรา ดีปัก เรียนจบแพทย์จากอินเดียแล้วย้ายไปต่อที่สหรัฐฯ ศึกษาวิชาโรคภายใน endocrinology เขาไม่เลื่อมใสการใช้ยาอย่างแพทย์แผนปัจจุบันทั่วไป แต่สนใจศึกษาอายุรเวทอย่างจริงจัง โลกทัศน์เช่นนี้ทำให้เขาค้นพบ “หลักสูตร” อันจะนำพาเราไปสู่ดินแดนที่ไม่มีผู้ใดแก่เฒ่า


ในหนังสือเล่มนี้ หมอโชปราได้จับกระบวนทัศน์ของควอนตัมมาผสมเข้ากับวิถีอย่างโยคีอินเดีย


โดยจับไปที่สาเหตุแท้จริงของความชรา นั่นคือ “วิธีคิด” ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมของเรา และที่สำคัญที่สุด ตัวเรานั่นเองที่จะเป็นผู้กีดขวางไม่ใช่ตัวเราก้าวไปสู่ดินแดนแห่งนี้


เคยสงสัยไหมว่า จินตนาการของเรามาจากไหน


เป็นไปได้ไหม จินตนาการคือรูปแบบหนึ่งของเชาวน์ปัญญา ซึ่งแฝงอยู่ภายในจิตใต้สำนึก และถูกส่งผ่านจากบรรพบุรุษรุ่นแล้วรุ่นเล่านับแต่บรรพกาล มาถึงรุ่นลูกหลานในรูปของรหัสทางพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ


นักพันธุกรรมศาสตร์ได้วางเชาวน์ปัญญาไว้เป็นอันดับแรกภายในดีเอ็นเอ ขณะที่อินเดีย กระแสของเชาวน์ปัญญานี้เรียกว่า ปราณ Pran แปลว่า พลังชีวิต สามารถเพิ่มหรือลดลงได้ตามเจตจำนง ส่วนแพทย์แผนปัจจุบันบอกว่าสารเคมีจะเดินทางไปพร้อมกับความคิด เช่น ทำไมหญิงที่เพิ่งเป็นม่ายจึงมีแนวโน้มเกิดมะเร็งเต้มนมมากกว่าหญิงอื่นถึง 2 เท่า


ดังนั้น “ตัวตน” ของเรา จึงประกอบด้วยกระแสเชาวน์ปัญญาและวิธีคิด มันกำหนดและกะเกณฑ์ทุกสิ่ง

ทั้งที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว


หากเราคิดและเชื่อว่า ร่างกายแยกออกจากจิตใจ เชื่อว่าเราเป็นเครื่องจักรทางกายภาพที่รู้จักคิด

คำว่า เครื่องจักร ย่อมแสดงให้เห็นความเสื่อมถอยหรือชราภาพในวาระหนึ่งด้วย หากเราเป็นเชลยของความสัมบูรณ์ (เวลาเป็นสิ่งสัมบูรณ์) ไม่มีใครรอดพ้นจากการทำลายล้างของเวลาได้ เชื่อว่าความทุกข์ทรมานเป็นสิ่งจำเป็น เราไม่หลีกเลี่ยงได้ …

หากเราเป็นเช่นนั้น ดินแดนที่ไม่มีผู้ใดแก่เฒ่าจะไม่มีวันถูกค้นพบ


ซึ่งเท่ากับ กระแสเชาวน์ปัญญาในรูปแบบของจินตนาการ อันเป็นพลังชีวิตของเรา ถูกวิธีคิดสะกดให้ตายด้าน ยิ่งเฉพาะกับยุคสมัยที่ สังคมมนุษย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวาทกรรมนับร้อยพัน เช่นนี้


เมื่อเราถูกสะกดจิตจากวาทกรรมเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ วิธีคิดของเราจะเต็มไปด้วยข้อจำกัดและขอบเขตอันยุ่งเหยิงและซับซ้อน จินตนาการของเรากลายเป็นแค่เรื่องเพ้อฝัน ไร้สาระ นั่นเท่ากับว่า มนุษย์ได้ปิดประตูชีวิตของตนแล้ว


เราจะก้าวต่อไปได้อย่างไร



เริ่มแรกมนุษย์ได้ตัดแบ่งความเป็นนิรันดร์ออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย (วินาที นาที ชั่วโมง)


ศาสตร์ทุกแขนงต่างตั้งข้อสันนิษฐานขึ้นมาตีกรอบสนามชีวิตของเรา พร้อมกับปฏิเสธความกว้างอย่างไร้ขอบเขตของชีวิตด้วย และเราต่างย่ำวนอยู่ในข้อสันนิษฐานเหล่านี้อย่างไม่ลืมหูลืมตา กระทั่งหลงลืมศักยภาพที่แท้จริงของตัวเอง และกระทั่งควอนตัมฟิสิกส์ได้นำพาเราไปทำความรู้จักกับจิตวิญญาณให้มากกว่าความเหลวไหลไร้สาระ ไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

ต่อแต่นี้ไป วิทยาศาสตร์ยุคนี้จะไม่ใช่การค้นพบอย่างเป็นเอกเทศอีกแล้ว แต่จะเป็นการค้นพบซึ่งโลกทัศน์ใหม่


ทุกโลกทัศน์รังสรรค์โลกของตัวเองทั้งสิ้น

ประสบการณ์ของเราที่มีต่อเวลามีผลโดยตรงต่อการทำงานของนาฬิกาชีวิตของเรา ถ้ารู้สึกว่าเวลากำลังจะหมดไป นาฬิกาชีวภาพของเราจะเดินเร็วขึ้น ถ้าเรามีเวลาทั้งหมดในโลก นาฬิกาชีวภาพของเราจะหยุดเดิน ดังนั้นโลกทัศน์ที่มีต่อเวลาหรือต่อโลก ย่อมสร้างตัวตนของเราขึ้น

โดยให้ชีวิตเป็นได้ทั้งมีข้อจำกัดและเป็นอิสระ ขึ้นอยู่กับโลกทัศน์ของเรา


หมอโชปราเชื่อว่า จิตวิญญาณเป็นอาณาจักรของจิตสำนึกของเราซึ่งไร้เวลา เวลาเป็นความต่อเนื่องของความทรงจำ ซึ่งใช้อีโก้เป็นจุดอ้างอิงภายใน เมื่อเราหลุดพ้นจากอีโก้ของเราเข้าสู่ปริมณฑลของจิตวิญญาณ เราจะทำลายเครื่องกีดขวางของเวลา ถึงที่สุดแล้ว ทั้งคุณภาพและปริมาณของชีวิตจะขึ้นอยู่กับความเข้าใจของเราที่มีต่อความเป็นเอกลักษณ์ ถ้าเรามีความหมายและจุดหมายในชีวิตและเอกลักษณ์ของเราไม่ผูกติดกับ “อีโก้” ที่ห่อหุ้มด้วยผิวนอก จะทำให้ทั้งคุณภาพและปริมาณของชีวิตดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ


กล่าวได้ว่า หมอโชปราเชื่อว่า โลกและวิญญาณเป็นของเที่ยง ไม่เสื่อมสูญ เป็นสัสตทิฏฐิในทางพุทธศาสนา ดังนั้นจึงเป็นการแย้งกับหลักพุทธธรรม แต่จะขัดแย้งจริงหรือไม่ เราควรมองให้ลึกลงไปถึงกุศโลบายแห่งพุทธรรมอีกด้วย


ฉะนั้นแล้วคำถามที่ว่า เราอยากจะมีอายุยืนยาวไปทำไมกัน นั้น อาจมีคำตอบอยู่ในบัญญัติแห่งพุทธธรรม เพราะบางครั้งเราอาจไม่ได้อยากมีอายุยืนยาวหรอก เราเพียงแค่อยากเป็นชีวิตที่มีชีวิต ไม่ใช่ชีวิตที่ตายแล้วทั้งเป็น.

 

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
  นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           พ.๒๗ สายลับพระปกเกล้าฯ ผู้เขียน               :           อ.ก. ร่งแสง (โพยม โรจนวิภาต)ประเภท              :           สารคดีประวัติศาสตร์          พิมพ์ครั้งที่ 2  พ.ศ.…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ฝรั่งคลั่งผี ผู้เขียน : ไมเคิล ไรท จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก : กรกฎาคม 2550 อ่าน ฝรั่งคลั่งผี ของ ไมเคิล ไรท จบ ฉันลิงโลดเป็นพิเศษ รีบนำมา “เล่าสู่กันฟัง” ทันที จะว่าร้อนวิชาเกินไปหรือก็ไม่ทราบ โปรดให้อภัยฉันเถิด ในเมื่อเขาเขียนดี จะตัดใจได้ลงคอเชียวหรือ
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เด็กบินได้ ผู้เขียน : ศรีดาวเรือง ประเภท : นวนิยายขนาดสั้น พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2532 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์กำแพง มาอีกแล้ว วรรณกรรมเพื่อชีวิต เขียนถึงบ่อยเหลือเกิน ชื่นชม ตำหนิติเตียนกันไม่เว้นวาย นี่ฉันจะจมอยู่กับปลักเพื่อชีวิตไปอีกกี่ทศวรรษ อันที่จริง เพื่อชีวิต ไม่ใช่ “ปลัก” ในความหมายที่เราชอบกล่าวถึงในแง่ของการย่ำวนอยู่ที่เดิมแบบไร้วัฒนาการไม่ใช่หรือ เพื่อชีวิตเองก็เติบโตมาพร้อมพัฒนาการทางสังคม ปลิดขั้วมาจากวรรณกรรมศักดินาชน เรื่องรักฉันท์หนุ่มสาว เรื่องบันเทิงเริงรมย์…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : คนซื้อฝัน ผู้เขียน : ศุภร บุนนาค ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 2 กรกฎาคม 2537 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย ตามสัญญาที่ให้ไว้ว่าจะอ่านหนังสือของนักเขียนไทยให้มากกว่าเดิม ฉันดำเนินการแล้วล่ะ อ่านแล้ว อิ่มเอมกับอรรถรสแบบที่หาจากวรรณกรรมแปลไม่ได้ หาจากภาษาของนักเขียนไทยรุ่นใหม่ก็ไม่ค่อยจะได้ จนรู้สึกไปว่า คุณค่าของภาษาได้แกว่งไกวไปกับกาละด้วย
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เพลงกล่อมผี ผู้เขียน : นากิบ มาห์ฟูซ ผู้แปล : แคน สังคีต จาก Wedding Song ภาษาอังกฤษโดย โอลีฟ อี เคนนี ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2534 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์รวมทรรศน์ หนาวลมเหมันต์แห่งพุทธศักราช 2552 เยียบเย็นยิ่งกว่า ผ้าผวยดูไร้ตัวตนไปเลยเมื่อเจอะเข้ากับลมหนาวขณะมกราคมสั่นเทิ้มด้วยคน ฉันขดตัวอยู่ในห้องหลบลมลอดช่องตึกอันทารุณ อ่านหนังสือเก่า ๆ ที่อุดม ไรฝุ่นยั่วอาการภูมิแพ้ โรคประจำศตวรรษที่ใครก็มีประสบการณ์ร่วม อ่านเพลงกล่อมผีของนากิบ มาห์ฟูซ ที่แคน สังคีต ฝากสำนวนแปลไว้อย่างเฟื่องฟุ้งเลยทีเดียว…
สวนหนังสือ
นายยืนยง สวัสดีปี 2552 ขอสรรพสิ่งแห่งสุนทรียะจงจรรโลงหัวใจท่านผู้อ่านประดุจลมเช้าอันอ่อนหวานที่เชยผ่านเข้ามา คำพรคงไม่ล่าเกินไปใช่ไหม ตลอดเวลาที่เขียนบทความใน สวนหนังสือ แห่ง ประชาไท นี้ ความตื่นรู้ ตื่นต่อผัสสะทางวรรณกรรม ปลุกเร้าให้ฉันออกเสาะหาหนังสือที่มีแรงดึงดูดมาอ่าน และเขียนถึง ขณะเดียวกันหนังสืออันท้าทายเหล่านั้นได้สร้างแรงบันดาลใจให้วาวโรจน์ขึ้นกับหัวใจอันมักจะห่อเหี่ยวของฉัน
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : เงาสีขาวผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทองประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน น้ำเน่าในคลองต่อให้เน่าเหม็นปานใดย่อมระเหยกลายเป็นไออยู่นั่นเอง แต่การระเหิด ไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกับการระเหย  ระเหย คือ การกลายเป็นไอ จากสถานภาพของของเหลวเปลี่ยนสถานภาพกลายเป็นก๊าซระเหิด คือ การเปลี่ยนสถานภาพเป็นก๊าซโดยตรงจากของแข็งเป็นก๊าซ โดยไม่ต้องพักเปลี่ยนเป็นสถานภาพของเหลวก่อน ต่างจากการระเหย แต่เหมือนตรงที่ทั้งสองกระบวนการมีปลายทางอยู่ที่สถานภาพของก๊าซสอดคล้องกับความน่าเกลียดที่ระเหิดกลายเป็นไอแห่งความงามได้
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : เงาสีขาว ผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทอง ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน ปกติฉันไม่นอนดึกหากไม่จำเป็น และหากจำเป็นก็เนื่องมาจากหนังสือบางเล่มที่อ่านค้างอยู่ มันเป็นเวรกรรมอย่างหนึ่งที่ดุนหลังฉันให้หยิบ เงาสีขาว ขึ้นมาอ่าน เวรกรรมแท้ ๆ เชียว เราไม่น่าพบกันอีกเลย คุณแดนอรัญ แสงทอง ฉันควรรู้จักเขาจาก เรื่องสั้นขนาดยาวนาม อสรพิษ และ นวนิยายสุดโรแมนติกในนามของ เจ้าการะเกด เท่านั้น แต่กับเงาสีขาว มันทำให้ซาบซึ้งว่า กระบือย่อมเป็นกระบืออยู่วันยังค่ำ (เขาชอบประโยคนี้นะ เพราะมันปรากฏอยู่ในหนังสือของเขาตั้งหลายครั้ง)…
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร   ผลงานของนักเขียนไทยในแนวของเมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ หรือสัจนิยมมายา ที่ได้กล่าวถึงเมื่อตอนที่แล้ว ซึ่งจะนำมาเขียนถึงต่อไป เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นถึงข้อเปรียบเทียบระหว่างงานที่แท้กับงานเสแสร้ง เผื่อว่าจะถึงคราวจำเป็นจะต้องเลือกที่รักมักที่ชัง แม้นรู้ดีว่าข้อเขียนนี้เป็นเพียงรสนิยมส่วนบุคคล แต่ฉันคิดว่าบางทีรสนิยมก็น่าจะได้รับคำอธิบายด้วยหลักการได้เช่นเดียวกัน…
สวนหนังสือ
เมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือที่แปลเป็นไทยว่า สัจนิยมมายา หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ เป็นแนวการเขียนที่นักเขียนไทยนำมาใช้ในงานเรื่องสั้น นวนิยายกันมากขึ้น ไม่เว้นในกวีนิพนธ์ โดยส่วนใหญ่จะได้แรงบันดาลใจมาจาก ผลงานของกาเบรียล การ์เซีย มาเกซ ซึ่งมาเกซเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก ฮวน รุลโฟ (ฆวน รุลโฟ) จากผลงานนวนิยายเรื่อง เปโดร ปาราโม อีกทอดหนึ่ง เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์วรรณกรรมแนวนี้ถูกตัดตอน ขอกล่าวถึงต้นธารของงานสกุลนี้สักเล็กน้อย กล่าวถึงฮวน รุลโฟ ซึ่งจริงๆ แล้วควรเขียนเป็นภาษาไทยว่า ฆวน รุลโฟ ทำให้หวนระลึกถึงผลงานแปลฉบับของ ราอูล ที่ฉันตกระกำลำบากในการอ่านอย่างแสนสาหัส…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครนA SHORT HISTORY OF TRACTORS IN UKRAINIAN ผู้เขียน : MARINA LEWYCKA ผู้แปล : พรพิสุทธิ์ โอสถานนท์ ประเภท : นวนิยายแปล พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน และแล้วฉันก็ได้อ่านมัน ไอ้เจ้าแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เมียงมองอยู่นานสองนานแล้วได้สมใจซะที ซึ่งก็สมใจจริงแท้แน่นอนเพราะได้อ่านรวดเดียวจบ (แบบต่อเนื่องยาวนาน) จบแบบสังขารบอบช้ำเมื่อต่อมขำทำงานหนัก ลามไปถึงปอดที่ถูกเขย่าครั้งแล้วครั้งเล่า ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เป็นนวนิยายสมัยใหม่ที่ใช้ภาษาง่าย ๆ แต่ดึงดูดแบบยุคทุนนิยมเสรี…