Skip to main content

นายยืนยง

20080310 ภาพปก ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไป

ชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไป
ประเภท    :    เรื่องสั้น    
ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตร
จัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์
พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    

 

รวมเรื่องสั้น เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ๑๕ เรื่องสั้น ผลงานล่าสุดของ จำลอง  ฝั่งชลจิตร ที่กำลังวางแผง อ่านแล้วต้องยอมรับในกลวิธีการเล่าเรื่องของเขา ที่ก้าวนำนักเขียนแนวเพื่อชีวิตไปหลายขุม ขณะรวมเรื่องสั้น ลิกอร์  พวกเขาเปลี่ยนไป ผลงานเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ๒๕๔๘  ก็ยังมีข้อสังเกตควรกล่าวถึงต่อกลวิธีการเล่าเรื่องของจำลอง ถึงเครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบรอบตัวอันนำมาซึ่งการปรุงแต่งรสเรื่องสั้นให้ชวนอ่าน

เคยกล่าวถึงวรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตมาพอสมควรแล้ว หากจะชื่นชมนักเขียนคนใดกว่าใคร หาใช่เพราะรู้จักใกล้ชิด สนิทพิศวาสแต่อย่างใดทั้งสิ้น เหตุผลเดียวคือต้องการบอกเล่าถึงวิธีการเขียนที่น่าสนใจเป็นสำคัญ

ขอยกตัวอย่างเรื่องสั้น ชื่อ ทำบุญบ้าน (หน้า ๓๓) ที่มุ่งสะท้อนวิถีชีวิตของสังคม (ไม่เฉพาะเมืองลิกอร์) ที่เปลี่ยนไป จากหน้ามือเป็นหลังมือ

เรื่องสั้นชุดนี้ จำลองทำหมันการวางโครงเรื่องเดี่ยวทิ้งไป โดยเลือกใช้วิธีการวางกับดัก เปิดจุดชนวนความขัดแย้งย่อย ๆ ที่ผูกร้อยกับความขัดแย้งใหญ่ที่ครอบอยู่อย่างคร่าว ๆ  นำตัวละครใหม่เข้ามาพร้อมดึงชนวนความขัดแย้งย่อยให้ระเบิดต่อเนื่องกันไปกระทั่งจบเรื่อง ทั้งนี้เขาก็ไม่หลงลืมที่จะให้ความสำคัญกับแก่นของเรื่อง

ทำบุญบ้าน – เริ่มเรื่องจากความฝัน ความเชื่อ ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญหนึ่งของวิถีชีวิตในชุมชน  เมื่อนางสะอาดฝันถึงพ่อแม่ที่ตายจากไปแล้ว นางคิดฝังใจต่อความฝัน (ตามแบบแผนความเชื่อ) ว่าพ่อแม่มาขอให้ทำบุญส่งอุทิศกุศลไปให้ในยมโลก การทำบุญตามคตินิยมต้องอาศัยเงินเป็นปัจจัยส่งให้ได้บุญ ต้องนิมนต์พระ เชิญเพื่อนบ้านญาติพี่น้องมาร่วมงาน ทำอาหารคาวหวานเลี้ยงแขกคน ขณะที่นางเองก็มีชีวิตยากลำบาก ต้องอาศัยญาติพี่น้องจุนเจือ

ดังหน้า ๓๖ --- วันไหนครัวโหรงเหรง  หลานสาวจะขี่จักรยานยนต์เก่าคร่ำคร่าไปหาน้องสาวพี่เลี้ยงเด็ก  ไม่ต้องบอกเล่าอะไร  เห็นหลานมาหาก็เป็นที่รู้กัน..ฯลฯ.. บางวันน้องสาวฝากมาให้ห้าร้อย  หลานชายอีกสามร้อย ทุกข์ยากบรรเทาลงไปสักเก้าวันสิบวัน  แล้ววนกลับมาเริ่มรอบใหม่  เป็นวงรอบเล็ก ๆ วนเวียนซ้ำ ๆ อยู่อย่างนั้น  ไม่รู้สักอีกกี่รอบถึงจะหลุดพ้นวงเวียนกรรมไปอีกคน ---

โชคดีน้องชายที่เป็นข้าราชการออกปากช่วยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำบุญบ้านครั้งนี้เอง  จากนั้นก็เป็นฉากชุลมุนของการตระเตรียมงาน ซึ่งแสดงออกชัดเจนถึงวิถีชีวิตที่เกื้อกูล เอื้ออาศัยซึ่งกันและกัน  

จำลองบรรยายละเอียดลออถึงวิธีล้างผัก หั่นสะตอ พร้อมเติมทัศนคติของชุมชนเข้าไปอย่างแนบเนียน ดังบทพูดในหน้า ๓๙ -- เม็ดไหนหนอนฝังตัวข้างใจ  แกะทิ้งไปก่อน  บาปกรรมจะได้ไม่เปื้อนปากพระเณร

ขณะเดียวกันปมขัดแย้งย่อยก็เดินเข้ามาพร้อมบทสนทนาในวิถีชีวิตแบบที่จำลองนำเสนอ (แบบอวดนิด ๆ ) “ข้าวสารซื้อกินกูไม่เคยถูกปากเหมือนทำนาเอง”   (หน้า ๔๐)

เรื่องดำเนินต่อในบรรยากาศของงานบุญ และเพิ่มปมผูกเข้ามาใหม่ด้วยเรื่องของบทบาท หน้าที่ สถานภาพทางเพศระหว่างชาย – หญิง  ที่กำลังจะแปรสภาพจากหน้ามือเป็นหลังมือ  เช่น  งานหุงข้าวเลี้ยงแขกที่ต้องหุงในกระทะใบบัวขนาดใหญ่ ที่เมื่อก่อนเคยเป็นงานของพวกผู้ชาย  แต่เมื่อคนเป็นงานตายไปแล้วก็ไร้คนสานต่อ  นางศรีต้องรับมือเอง แม้ยากเย็นในช่วงแรกแต่ต่อมานางก็ทำได้ดี

เมื่อฝ่ายผู้ใหญ่ในบ้านต่างเร่งมือช่วยงานนั่นนี่จนไม่หยุดมืออย่างรู้หน้าที่ ฝ่ายคนรุ่นลูกหลานก็รู้ว่าไม่ใช่หน้าที่ของตัว จึงตั้งวงเหล้าแยกไปต่างหาก  จนนางสะอาดนึกตำหนิอยู่ในใจ  นี่เป็นปมขัดแย้งระหว่างคนสองรุ่น หัวเก่า – หัวใหม่ ที่เชื่อมรัดเข้ามาในเรื่องอีกข้อ

อีกปมหนึ่งคือ เรื่องบ่อนไก่ชน ที่เมื่อก่อนเคยผิดกฎหมาย แต่เดี๋ยวนี้กลับเป็นเรื่องถูกกฎหมาย เล่นกันเปิดเผยทุกชนชั้น  พวกผู้ชายได้โอกาสเข้าบ่อนสะดวกขึ้น บางคนไม่เป็นอันทำมาหากิน

สุดท้าย บทบาทของผู้ที่ต้องรับหน้าที่ประเคนถาดอาหารถวายพระ ก็ตกมาเป็นของพวกผู้หญิง  บทสนทนาระหว่างพระกับโยมในหน้า ๔๔ ที่ว่า
“ เดี๋ยวนี้พวกผู้ชายบ้านเราเขาไม่ทำเรื่องพวกนี้กันแล้ว ”  
“ หมู่บ้านไหน ๆ ก็คล้ายกันแหละโยมช่วย  เด็กเดี๋ยวนี้มันไม่เอากันแล้ว  อย่าว่าแต่เด็กเลย  ผู้ใหญ่บางคนก็ไม่เอา... หลายที่ผู้หญิงเป็นคนนำไหว้พระขออาราธนาศีล  อาราธนาพระปริตรเสียเอง ”
“ แล้วผิดไหม ”
“ ไม่ผิดนะโยม  ผู้หญิงก็อาราธนาพระปริตรได้  แต่โยมลองนึกให้ดี ๆ เมื่อก่อนเป็นหน้าที่ผู้ชาย  โดยเฉพาะคนที่เคยบวชเรียนมาแล้ว  เดี๋ยวนี้ผู้หญิงไม่ได้บวชเรียนต้องทำแทน ...ฯลฯ ...”


ลักษณะมุมมองของจำลองในเรื่องนี้ นอกจากการวางจุดขัดแย้งย่อย ๆ ให้สัมพันธ์เกี่ยวโยงกันแล้ว มุมมองดังกล่าวยังสำแดงให้เห็นว่า กลไกการเคลื่อนไหวของสังคมนั้นเกี่ยวโยงกันไปหมด ดังที่เราเคยชินกับคำว่า  “ พลวัต ”

ขณะเดียวกัน มุมมองของเรื่องไม่ได้มาจากมุมเดียวอย่างที่เราเคยชิน  แต่เป็นการมองจากหลายที่ หลายมุม และพยายามกวาดต้อนให้รอบด้านมากที่สุด  

จากมุมมองแบบตาสัปปะรดนี่เอง  ที่สามารถสะท้อนภาพซ้อน ที่เหลื่อมล้ำกันอยู่ตามมุมต่าง ๆ ในสังคมออกมาอย่างมากมาย บางครั้งหากนักเขียนควบคุมจังหวะจะโคน และการเชื่อมโยงเข้า - ออก ของปมขัดแย้งย่อยไม่อยู่มือ อาจทำให้เรื่องล้นหละหลวม สุดท้ายจะล่มไม่เป็น  

มุมมองดังกล่าวนั้นเมื่อนำมาผสมผสานอยู่ในเรื่อง ทำให้เราได้ยินเสียง มองเห็นทัศนคติที่พุ่งเข้ามารอบด้าน รู้จักอารมณ์ของเรื่องได้จากตัวละครแทบทุกตัวที่เดินเข้ามาสู่เรื่องราว

วิธีการเช่นนี้ทำให้เรื่องมีชีวิตและไม่แล้งแห้งขอดดั่งเช่นวรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตอื่น  ทำให้เราตีความได้ครอบคลุม รอบด้านมากขึ้น ไม่กระตุ้นให้เราด่วนสรุป ตัดสิน คาดโทษกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งจากคนในสังคม ทั้งจากนายทุน หรือรัฐ  เท่ากับเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้ผู้อ่านได้เข้าไปมีส่วนร่วมพิจารณาถึงข้อปัญหาที่กำลังก่อตัวขึ้น หรือได้เกิดขึ้นแล้ว และไม่ใช่ปัญหาข้อเดียว เดี่ยว ๆ  

จำลองสามารถใช้ศิลปะของเรื่องสั้นแสดงศักยภาพของตัวเองได้มากกว่าหลายคน  นี่กระมังที่ทำให้เขายืนหยัดมาได้ถึง ๓๐ ปี  ในผลงานเล่มใหม่ของเขาจะเป็นอย่างไร  คำว่าประสบการณ์ ๓๐ ปี จะมีเรื่องให้ต้องเปรียบเทียบระหว่าง  ระยะเวลา  คุณภาพ  ปริมาณ ได้อย่างสมเหตุสมผลหรือไม่  แล้วเรื่องสั้น
“อย่างว่าจะคลี่คลาย”  ของจำลองจะมีจริงหรือไม่? ต้องหามาอ่านเพื่อพิสูจน์  .

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ถอดรหัสอ่านเร็ว HI-SPEED READING ผู้แต่ง : ลุงไอน์สไตน์ พิมพ์ครั้งที่ 1 : สำนักพิมพ์บิสคิต ตุลาคม 2551
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           824ผู้เขียน               :           งามพรรณ เวชชาชีวะประเภท              :           นวนิยาย  พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2552จัดพิมพ์โดย        :      …
สวนหนังสือ
ป่านนี้แล้ว (พ.ศ. 2552) ใครไม่เคยได้ยินเสียงขู่ หรือคำร้องขอเชิงคุกคามให้ร่วมชุบชูจิตวิญญาณสีเขียว ให้ร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ให้ตระหนักในปัญหาวิกฤตอาหารถาวร โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ฉันว่าคุณคงมัวปลีกวิเวกนานเกินไปแล้ว
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : ลิงหลอกเจ้า ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา ผู้เขียน : เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ผู้แปล : วีระ สมบูรณ์ และ พจนา จันทรสันติ จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม พ.ศ.2528   เวลานี้เราต้องยอมรับเสียแล้วละว่า หนังสือธรรมะ เป็นหนังสือแนวสาระที่ติดอันดับขายดิบขายดี และมีทีท่าว่าจะคงกระแสความแรงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย   เดี๋ยวนี้ ฉันเจอใครเข้า เขามักสนทนาประสาสะแบบปนธรรมะนิด ๆ มีบางคนเข้าขั้นหน่อย ก็เทศน์ได้ทุกสถานการณ์ อย่างนี้ก็มี ไม่แน่ว่าถ้าคนนิยมอ่านหนังสือธรรมะกันหนาตาเข้า สังคมไทยอาจแปรสภาพเป็นสังคมแห่งนักบวชนอกเครื่องแบบก็เป็นได้…
สวนหนังสือ
  เรียน คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการ ช่อการะเกด ที่นับถือฉันผู้ใช้นามแฝงว่า นายยืนยง คนเขียนคอลัมน์ สวนหนังสือ ในเว็บไซต์ประชาไท ที่มีบทความชื่อ ช่อการะเกด 45 เวลาช่วยให้อะไร ๆ ดีขึ้นจริงหรือ? อยู่ในรายการของบทความทั้งหมด ได้อ่าน กถาบรรณาธิการ ใน ช่อการะเกด 47 ฉบับวางแผงปัจจุบันแล้ว ทราบว่าคุณสุชาติ บรรณาธิการนิตยสารเรื่องสั้นช่อการะเกดได้ให้ความสนใจต่อบทความนี้ ฉันในนามของนายยืนยงจึงเขียนจดหมายแล้วจัดพิมพ์ส่งตู้ ป.ณ. 1143 เพื่อเล่าถึงความเป็นมาคร่าว ๆ…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ :       เดอะซีเคร็ต ผู้เขียน :            รอนดา เบิร์นผู้แปล :             จิระนันท์ พิตรปรีชาพิมพ์ครั้งที่ 54 :  มีนาคม 2551จัดพิมพ์โดย :    สำนักพิมพ์อมรินทร์
สวนหนังสือ
ใกล้เปิดภาคเรียนใหม่ ปีการศึกษา 2552 แล้ว ภายใต้นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาลนี้ ถ้าใครได้ดูทีวีคงได้เห็นข่าวประชาสัมพันธ์ หรือได้เห็นสำนักข่าวไปสัมภาษณ์ผู้ปกครองที่ได้รับเงินอุดหนุนค่าเครื่องแบบนักเรียนแล้วไปเลือกซื้อชุดนักเรียนให้ลูก ๆ เป็นที่น่าชื่นอกชื่นใจสำหรับคนเป็นพ่อแม่ที่มีโอกาสเป็นครั้งแรกในการได้รับ "ของฟรี" จากรัฐบาล แม้จะไม่สามารถซื้อได้ครบทั้งชุดก็ตาม เช่น นักเรียนประถม 5 ได้รับเงินเพื่อการนี้คนละ 360 บาทต่อปี คือ 2 ภาคเรียน ๆ ละ 180 บาท บางคนอาจจะได้กางเกงนักเรียน 1 ตัว และ ถุงเท้า 1 คู่ ก็ยังดีฟะ.. กำขี้ดีกว่ากำตดไม่ใช่เรอะ
สวนหนังสือ
นายยืนยง   นิตยสารรายเดือน             :           ควน ป่า นา เล  4 เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ปลายมีนาคมจนถึงวันนี้ 9 เมษายน ฉันอาศัยทีวีและหนังสือพิมพ์ อันเป็นสื่อกระแสหลักที่นำเสนอข่าวสารที่เป็นกระแสหลัก คือ ข่าวการเมือง เหมือนกับทุกครั้งที่อุณหภูมิการเมืองเดือดขึ้น ฉันดูข่าวเกินพิกัด อ่านหนังสือพิมพ์จนแว่นมัวหมอง ตื่นระทึกไปกับทุกจังหวะก้าวย่างของมวลชนเสื้อแดง มีอารมณ์ร่วมกับภาคการเมืองส่วนกลางในฐานะผู้เสพข่าวสารเท่านั้นเองจริง ๆ เท่านั้นเองไม่มากกว่านั้น …
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เราติดอยู่ในแนวรบเสียแล้ว แม่มัน! วรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ 6 จัดพิมพ์โดย : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2551 ก่อนอื่นขอแจ้งข่าว เรื่องวรรณกรรมการเมือง รางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2552 นี้ สักเล็กน้อย งานนี้เป็นการจัดประกวดครั้งที่ 8 เปิดรับผลงานวรรณกรรมการเมือง 2 ประเภท คือ เรื่องสั้น และ บทกวี ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2552
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : เด็กเก็บว่าว The Kite Runner ผู้เขียน : ฮาเหล็ด โฮเซนี่ ผู้แปล : วิษณุฉัตร วิเศษสุวรรณภูมิ ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม พ.ศ.2548 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ The One Publishing เด็กเก็บว่าว นวนิยายสัญชาติอเมริกัน-อัฟกัน ขนาดสี่ร้อยกว่าหน้า ที่โปรยปก มหัศจรรย์แห่งนวนิยายที่สร้างปรากฏการณ์ปากต่อปากจนติดอันดับเบสต์เซลเลอร์ เล่มนี้ กล่าวถึงเรื่องราวของอะไรหรือ ทำไมผู้คนจึงให้ความสนใจกับมันมากมายนัก ฉันถามตัวเองก่อนจะหยิบมันมาอ่าน
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง ผู้เขียน : ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ประเภท : วรรณกรรมวิจารณ์ พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ การตีความนัยยะศัพท์แสงทางวรรณกรรมจะว่าเป็นศิลปะแห่งการเข้าข้างตัวเอง ก็ถูกส่วนหนึ่ง ความนี้น่าจะเชื่อมโยงกับเรื่อง “รสนิยมส่วนตัว” หรือ อัตวิสัย หากมองในแง่ดี เราจะถือเป็นบ่อเกิดของกระบวนการสร้างสรรค์ได้ด้วย มิใช่หรือ
สวนหนังสือ
นายยืนยงเมื่อการอ่านประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น ฉันว่าควรมีการเขียนหนังสือแนะนำ (How to) เป็นขั้นเป็นตอนเลยจะดีกว่าไหม เพราะมันนอกจากจะปวดเศียรเวียนเกล้ากับผู้แต่งแต่ละท่านแล้ว (ผู้แต่งบางท่านก็ชี้ชัดลงไปเลย เจตนาจะเข้าข้างฝ่ายไหน แต่บางท่านเน้นวิเคราะห์วิจารณ์ โดยที่หากผู้อ่านมีความรู้เชิงประวัติศาสตร์น้อยกว่าหางอึ่งอย่างฉัน ต้องกลับไปลงทะเบียนเรียนวิชานี้อีกหลายเล่ม) ยังทำให้ใช้เวลาอย่างมหาศาลไปกับหนังสือที่เกี่ยวเนื่องกันอีกหลายเล่ม ไม่เป็นไร ๆ เราไม่ได้อ่านเพื่อพิพากษาใครเป็นถูกเป็นผิดมิใช่หรือ อ่านเพื่อได้อ่าน แบบกำปั้นทุบดินก็ไม่เสียหายอะไรนี่นา…