Skip to main content

 
 
ลอยกระทงหลายปีมานี้ ผมรู้สึกว่ามีความ "ดราม่า" อย่างพิลึก ๆ ทั้งที่เรื่องที่เถียง ๆ กันก็ไม่ได้เกิดขึ้นวันสองวันนี้ เกิดขึ้มาเป็นสิบ ๆ คือ การเถียงกันว่าอันไหนเก่า/อันไหนใหม่ อันไหนจริง/อันไหนปลอม ระหว่างกระทง ปล่อยโคม จุดผางประทีป เทศมหาชาติ ฯลฯ สำหรับตัวผมไม่ค่อยเชื่อว่าอะไรดั้งเดิมจริงแท้ แต่ประเพณีพิธีกรรม ต่างเกิดขึ้นมาเพื่อรับใช้ยุคสมัยหนึ่ง มีหน้าทีสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ปรับสัมพันธภาพเชิงอำนาจของคนกลุ่มต่าง ๆ ฉะนั้น เมื่อเวลา บริบทเปลี่ยน ประเพณีพิธีกรรมมันก็เปลี่ยน และมีหน้าที่แบบใหม่ มันจึงไม่มีอะไรดั้งเดิม หยุดนิ่ง ไม่แปรเปลี่ยน 
 
ความคิดหนึ่งที่สามารถนำมาศึกษาความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นได้ คือ การโหยหาอดีต (nostalgia) ในสังคมไทยเป็นการสร้าง "อดีตที่คิดว่าจริง" ซึ่งมักเอ่ยอ้างความดั่งเดิม เก่าแก่ ซึ่งไม่ก็กำหนดไม่ได้ว่าเกิดเมื่อไหร่ สร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้ หรือมีประโยชน์อะไร ล้าสมัย หรือหมดหน้าที่ในปัจจุบันไปแล้ว ทั้งที่ส่วนหนึ่งของอดีตเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นมา หรือที่เราเรียกว่า "วัฒนธรรมประดิษฐ์" (invention of tradition) สร้างอดีตจากที่เรา "รับรู้" เพื่อสนองอารมณ์ของเราในปัจจุบัน การสร้างใหม่ หรือการปรับแต่งทำให้วัฒนธรรมไม่ตาย มีพลวัตอย่างต่อเนื่อง
 
วัฒนธรรมประดิษฐ์จึงไม่ใช่ “ความจริง" ทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้นภายใต้ยุคสมัย ต่างเกิดภายใต้บริบทของเวลา ซึ่งอย่าถามว่าอะไรคือ ลอยกระทง ตามผางประทีป ฮีตเก่าฮอยเดิม ฯลฯ เพราะมันไม่เก่า ไม่เดิม แต่วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นต่างหยิบยืม แลกเปลี่ยน ปรับใช้เพื่อถักทอความสัมพันธ์ทางสังคมแบบหนึ่ง ๆ ขึ้นมา 
 
ผมเห็นด้วยกับความพยายามของคนหลากหลายกลุ่มที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งตามประทีป ทั้งจัดซุ้มประตูป่า จัดรณรงค์ต่าง ๆ นานา ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลล้วนดีงามหมด แต่มันก็มิได้เป็นของเก่าแล้วไปใส่ป้ายว่าคนอื่น/วัฒนธรรมอื่นเป็นสิ่งแปลกปลอม เพราะสิ่งที่ท่านทั้งหลาย "สร้าง" ก็เกิดขึ้นเพื่อสร้าง Functions อะไรบางอย่างให้สังคม เป็นการต่อสู้ แย่งชิงการให้ความหมายต่อประเพณียี่เป็ง ลอยกระทง เพื่อสร้างพื้นที่และปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์บางอย่างในสังคม 
 
ปล. 1 ส่วนใครที่บอกว่ามีแต่โคมควัน ปล่อยวัดละลูกก็สร้างความจริง (มโน) ความเป็นชุมชนอีกแบบ ทั้งที่ไม่เป็นเช่นนั้นเสียทุกที่ 
ปล. 2 บ้านผมปล่อยเป็นสิบ ๆ ลูกครับตอนเด็ก ๆ เพราะเดือนยี่ หรือเดือนสิบสองนี้ เป็นเดือนที่ต้องเกี่ยวข้าวมีกิจกรรมเยอะเเยะเป็นกระบวนการ มิใช่วันสองวันอย่างตำรวจวัฒนธรรมอธิบาย
 
 

 

บล็อกของ ชัยพงษ์

ชัยพงษ์
รำพึงเพียงลำพัง ความทุกข์ของคนเล็กคนน้อยในสังคมไทยเป็นความทุกข์ที่เรื้อรังสะสมมาอย่างยาวนาน เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สัมพันธ์กับองค์กรอื่น ๆ อย่างหลากหลาย มีความซับซ้อนของปัญหามากกว่าที่คนทั่วไปเข้าใจโดยเฉพาะทหาร การใช้อำนาจเข้ากดปราบ เบียดขับ หรือเอาเพียงเงินสักก้อนไปกองไว้ตรงหน้าเขาแล้วบอกให้ปัญห
ชัยพงษ์