Skip to main content

เราจะเลือกตั้งภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ 2540 ได้อย่างไร?

 

ถ้าให้ตอบแบบอุดมคติหน่อยก็คือ ประชาชนลุกฮือ ตั้งตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แล้วใช้อำนาจนั้นยกเลิก รธน. 60 เอารัฐธรรมนูญ 40 กลับมาใช้ อะไรทำนองนั้น

ซึ่งแม้จะยากส์ส์ส์ส์ หลายคนอาจจะได้แต่แอบฝันถึง แต่มันก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้เลย

 

อย่างไรก็ตาม ถ้าให้ตอบแบบ realistic กว่านั้นก็ตอบได้ครับ ก็คือประชาชนต้องบีบให้ สนช. แก้รัฐธรรมนูญ 60 
เอาเนื้อหา รธน. 40 มาใส่ไว้แทน

 

ตาม รธน. 60 ม.256 การแก้ไข รธน.ทำโดยรัฐสภา ซึ่งองค์กรที่ทำหน้าที่รัฐสภาในตอนนี้ (ตามบทเฉพาะกาลของ รธน.60 ม.263) ก็คือ สนช. นั่นเอง

ผมคิดว่าสามารถแก้ได้โดยไม่แตะหมวด 1 ทั่วไป, หมวด 2 กษัตริย์ และหมวด 15 การแก้รัฐธรรมนูญ ได้ด้วยซ้ำไป
แต่ที่ไม่แน่ใจก็คือ เรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามต่างๆ

 

คือแปลว่าอาจจะแก้โดยไม่ต้องลงประชามติได้ด้วยซ้ำ
หรือต่อให้ต้องลง เอาเข้าจริงก็ยังมีเวลาให้ทันภายในปีนี้ (นี่เพิ่งจะกุมภา)

 

ถ้าเราคิดว่าเราจะใช้การเคลื่อนไหวของประชาชนเพื่อกดดันให้ คสช. เลือกตั้งเร็ว ได้ แล้วทำไมเราถึงคิดว่าเราไม่สามารถกดดันให้ สนช. แก้รัฐธรรมนูญ ได้ล่ะ?

 

แน่นอนว่ามันไม่ง่าย
ซึ่งมันก็ไม่ง่ายทั้งคู่ไม่ใช่เหรอ? ไม่ใช่ว่าอันนึงง่ายกว่าอีกอันอย่างเห็นได้ชัดซะหน่อย

คำถามคือ ถ้างั้นทำไมถึงเลือกอีกอัน ปฏิเสธอีกอัน ?
 

ถ้ามองว่าข้อเรียกร้องนี้ (เลือกตั้งภายในกรอบ รธน. 40) ไม่จูงใจคนให้ออกมาเคลื่อนไหว 
ผมนี่มองตรงข้ามเลย


คนที่สนใจการเมือง โดยเฉพาะคนที่ต้องการประชาธิปไตย ต่างก็รู้ดีว่าการเลือกตั้งภายใต้กติกา รธน. 60 มีปัญหายังไงบ้าง
เราต่างก็รู้ดีว่า ต่อให้เลือกตั้งกันไปแล้ว มันยังมีปัญหาอะไรอีกบ้าง ไม่ว่าจะเป็น สว. ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. และมีอำนาจเลือกนายกฯตลอดช่วง 5 ปีแรก หรือสภาขับเคลือนการปฏิรูป หรืออื่นๆ


การชูการเลือกตั้ง โดยที่ทุกคนรู้อยู่เต็มอกว่า รธน.60 มันมีปัญหา ทั้งต่อการเลือกตั้งและต่อสังคมไทยหลังเลือกตั้ง นั่นต่างหากที่คนจำนวนหนึ่งรู้สึกว่าไม่คุ้ม


แต่ถ้าเป็นการเลือกตั้งภายใต้กรอบ รธน. 40 ล่ะ?

ปัญหาก็คือ มันมีคนจำนวนหนึ่งคิดไปแล้วว่ามันเป็นไปไม่ได้ (ทั้งที่ก็อยากให้เป็นยังงั้น)

แต่อย่างที่ผมได้ชี้ให้เห็นแล้วในตอนต้น ว่ามันเป็นไปได้
เป็นไปได้แบบ realistic ด้วย ไม่ใช่แค่ในระดับอุดมคติ


- - - -

หมายเหตุ (1)

ข้อเขียนนี้เขียนขึ้นเพื่อตอบข้อวิจารณ์ของ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่วิจารณ์ข้อเสนอในแถลงการณ์ของกลุ่มสหายสังคมนิยม (Grop of Comrades: GoC)
ดูแถลงการณ์ของกลุ่มสหายสังคมนิยมได้ ที่นี่ (ข้อวิจารณ์บางส่วนของ อ.สมศักดิ์ เป็นคอมเม้นต์อยู่ในโพสต์ดังกล่าว)
และดูข้อวิจารณ์ของ อ.สมศักดิ์ เพิ่มเติมได้ ที่นี่ (เป็นคอมเม้นต์อยู่ในโพสต์เช่นกัน)

สนใจสมัครสมาชิก Group of Comrades คลิกดูรายละเอียดได้ ที่นี่

หมายเหตุ (2)
รูปประกอบ: ป้ายผ้าของกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง ในวันกรรมกรสากล 1 พฤษภาคม 2560

 

บล็อกของ Chotisak