dialogue's picture
ระหว่างทางของการเรียนรู้ แสวงหา และสร้างสรรค์เสรีภาพ

<p align="center"><font size="3" color="#333399"><em>เพราะเสรีภาพไม่ได้ลอยเปล่าดายในอากาศ </em></font></p><p align="center"><font size="3" color="#333399"><em>เพราะเสรีภาพไม่ได้ได้มาจากการร้องขอ (ฟัง คุ้น ๆ มั้ย)</em></font></p><p align="center"><font size="3" color="#333399"><em>เพราะเสรีภาพไม่ใช่สิ่งที่จับจองและยึดไว้เป็นของส่วนตัวของใครได้</em></font></p><p align="center"><font size="3" color="#333399"><em>หากเสรีภาพเป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ผ่านกระบวนการชีวิต ทั้งชีวิต</em></font></p><p align="center"><font size="3" color="#333399"><em>ด้วยจิตวิญญาณอันเป็นอิสระจากความกลัว การถูกข่มเหง บังคับ</em></font></p><p align="center"><font size="3" color="#333399"><em>เสรีภาพจึงเป็นอาภรณ์ห่มคลุมที่เราต่างต้องถักทอด้วยมือของเราเอง ด้วยกัน&nbsp; </em></font></p><p align="center">&nbsp;</p><p align="center"><font color="#808000">&gt;&lt;&gt;&lt;&lt;&gt;&lt;&gt;&lt;&gt;&lt;&gt;&lt; </font></p><p>&nbsp;</p><p><strong>เสรีภาพ </strong>น. ความสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ได้ตามที่ตนปรารถนาโดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง เช่น เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการนับถือศาสนา, ความมีสิทธิที่จะทำจะพูดได้ได้โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น.</p><p><em>(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒) </em></p><div id="mwEntryData" class="entry misc"> <dl><dt class="pron"><a href="http://www.merriam-webster.com/dictionary/freedom"></a><span class="variant"><strong>free&middot;dom</strong></span> <a href="http://www.merriam-webster.com/cgi-bin/audio.pl?freedo01.wav=freedom%27" class="audio" onclick=" popWin('/cgi-bin/audio.pl?freedo01.wav=freedom'); return false; "><img src="http://www.merriam-webster.com/images/audio.gif" alt=" Listen to the pronunciation of freedom" title=" Listen to the pronunciation of freedom" /></a>&nbsp; Pronunciation:<span class="pronchars"><span class="unicode">&#712;</span>fr&#275;-d&#601;m</span>&nbsp; Function:<em> noun</em></dt><dd class="func"> <br /></dd><dt class="date">Date: before 12th century</dt><dt class="date">&nbsp;</dt></dl> <div class="defs"><span class="sense_label start">1</span><span class="sense_content"><strong>:</strong> the quality or state of being free: as</span> <span class="sense_label">a</span><span class="sense_content"><strong>:</strong> the absence of necessity, coercion, or constraint in choice or action</span> <span class="sense_label">b</span><span class="sense_content"><strong>:</strong> liberation from slavery or restraint or from the power of another <strong>:</strong> <a href="http://www.merriam-webster.com/dictionary/independence" class="lookup">independence</a></span> <span class="sense_label">c</span><span class="sense_content"><strong>:</strong> the quality or state of being exempt or released usually from something onerous <span class="vi">&lt;<em>freedom</em> from care&gt;</span></span> <span class="sense_label">d</span><span class="sense_content"><strong>:</strong> <a href="http://www.merriam-webster.com/dictionary/ease" class="lookup">ease</a>, <a href="http://www.merriam-webster.com/dictionary/facility" class="lookup">facility</a> <span class="vi"><em>freedom</em>&gt;</span></span> <span class="sense_label">e</span><span class="sense_content"><strong>:</strong> the quality of being frank, open, or outspoken <span class="vi"><em>freedom</em>&gt;</span></span> <span class="sense_label">f</span><span class="sense_content"><strong>:</strong> improper familiarity</span> <span class="sense_label">g</span><span class="sense_content"><strong>:</strong> boldness of conception or execution</span> <span class="sense_label">h</span><span class="sense_content"><strong>:</strong> unrestricted use <span class="vi"><em>freedom</em> of their home&gt;</span> </span><span class="sense_label start">2 a</span><span class="sense_content"><strong>:</strong> a political right</span> <span class="sense_label">b</span><span class="sense_content"><strong>:</strong> <a href="http://www.merriam-webster.com/dictionary/franchise" class="lookup">franchise</a>, <a href="http://www.merriam-webster.com/dictionary/privilege" class="lookup">privilege</a></span></div><div class="defs">&nbsp;</div> <div class="synonym"><strong><em><a href="http://www.merriam-webster.com/dictionary/freedom">(Webster) </a></em></strong> <br /></div> </div><p>&nbsp;</p><p><font color="#800080"><strong>หมายเหตุ:</strong> ภาพประจำบล็อก ไม่ใช่ทั้งภาพถ่ายตัวเอง หรือ ภาพที่ตัวเองเป็นผู้ถ่าย แต่เป็นภาพที่ถูกใจเป็นอย่างยิ่ง ต้องขอบคุณ 410YALA ผู้ถ่ายภาพ ที่ใจดีอนุญาตให้นำมาใช้ (^ ^) </font></p><p><font color="#993300">ชื่อบลอกได้แรงบันดาลใจจาก</font> <a href="http://www.indexoncensorship.org/2009/04/22/we-expect-a-bias-for-freedom... color="#ff0000">&lsquo;We expect a bias for freedom&rsquo;</font></strong></a> </p><p>&nbsp;</p>

บล็อกของ dialogue

แจ้งเรื่องปิดเว็บบอร์ดเพื่อปรับปรุง

เรียน เพื่อนสมาชิกและผู้อ่านเว็บบอร์ดประชาไท

ทางประชาไทมีความจำเป็นที่จะต้องมีปิดการใช้งานเว็บบอร์ดเป็นการชั่วคราว (2-3 วัน) เพื่อปรับเปลี่ยนโปรแกรมเว็บบอร์ด ซึ่งเป็นแผนการปรับปรุงที่กำหนดไว้แต่เดิม และเคยตั้งใจว่าก่อนการปรับเปลี่ยนจะเรียนแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า แต่เนื่องจากมีการแจ้งปัญหาเกี่ยวกับการที่โปรแกรมมีช่องโหว่เรื่องการ เปลี่ยน user name ได้ ที่สำคัญสามารถปรับเปลี่ยนไปเป็น user name ของสมาชิกท่านอื่นที่มีอยู่แล้ว ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ต่างจาก กรณีของการตั้ง user name ให้ดู คล้าย ดังกรณีของคุณ mom_ ดังนั้นทางทีมงานจึงตัดสินใจปรับเปลี่ยนระบบก่อนแผนการที่กำหนด อย่างไรก็ตามเมื่อปรับเปลี่ยนแล้วเพื่อนสมาชิกและผู้อ่านก็อาจจะมีทั้งที่ ถูกใจและไม่ถูกใจ รวมทั้งปัญหาความไม่คุ้นชินต่อระบบ ทางประชาไทก็ยินดีรับฟังข้อวิจารณ์ติชมนะคะ อาจจะแก้ไขได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เร็วบ้าง ช้าบ้าง ก็หวังว่าเพื่อนสมาชิกจะกรุณาให้ความอดทนดังที่เคยเป็นมา

สำหรับกรณีเรื่องการให้สมาชิกสามารถปิดกระทู้และข้อความได้นั้น ยังคงเป็นมาตรการที่จะยังคงใช้ต่อไป เพราะในสังคมประชาธิปไตย เราคงไม่ได้หวังให้ทุกอย่างสงบเงียบเรียบร้อยปราศจากความขัดแย้ง และดิฉันยังคงเชื่อว่าสังคมออนไลน์ใดๆ จะมีคุณภาพหรือไม่เพียงใด องค์ประกอบสำคัญนอกเหนือจากการจัดทำโครงสร้างและระบบให้ดีแล้ว สมาชิกในสังคมและชุมชนนั้นๆคือผู้มีส่วนร่วมในการกำหนด

หลักการเรื่องการให้สมาชิกมีสิทธิ์และเสียงในการปิดกระทู้/ข้อความจึงยังคงไว้ โดยจะพยายามดำเนินการปรับปรุงระบบให้รัดกุมขึ้น

ต้องขอบคุณสำหรับทุกข้อวิจารณ์และการแนะนำติชม ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุง (หวังว่าจะเป็นเช่นนั้นนะคะ)

นับถือ

จีรนุช เปรมชัยพร
ผู้ดูแลเว็บบอร์ดประชาไท

 

หมายเหตุ: (1 พ.ย.2552, เวลา 04.00 น.)

ได้รับรายงานจากทีมงานที่กำลังเร่งให้การแก้ไขปรับปรุงลุล่วงโดยเร็วว่า คาดว่ากว่าจะเริ่มเปิดใช้งานได้คงเป็นรุ่งเช้าค่ะ

เพือนสมาชิกที่รอจะใช้งานคืนนี้ ก็อาจจะเก้อได้ ต้องขออภับทุกท่านด้วยค่ะ

 

ประชาชน VS สื่อ

มีเพื่อนแนะนำให้อ่านบทความในบลอก BioLawCom.De เรื่องเกี่ยวกับสื่อและประชาชน คลิกไปอ่านแล้ว น่าสนใจดีค่ะ ขออนุญาตเก็บมาฝากทุกท่านนะคะ ยกมาเฉพาะหนังตัวอย่างพอเป็นน้ำจิ้ม อยากอ่านฉบับเต็มๆ แนะนำให้คลิกไปอ่านที่เว็บต้นทางเลยนะคะ

เคยมีคนกล่าวว่า "นอกเหนือจากอำนาจสามเสาในหลักการแบ่งแยกอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แล้ว สื่อ ยังเปรียบเสมือนอำนาจที่สี่ แห่งรัฐสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐในยุคข้อมูลข่าวสาร"

...และด้วยพลังอำนาจ และความทรงประสิทธิภาพเช่นนี้นี่เอง ในด้านหนึ่ง สื่อจึงไม่ควรถูกใช้เป็นเครื่องมือ หรือตกอยู่ภายใต้ "อำนาจรัฐ" ทั้งปวง รวมทั้งของ "ผู้กุมอำนาจอื่น ๆ" ในรัฐ (เช่น ทุน, ความจงรักภักดี ฯลฯ) และถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมี "กฎหมาย" คุ้มครองความเป็นอิสระ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ควรมีเครื่องมือในการ "ตรวจสอบ" บทบาท และการทำหน้าที่ของสื่อ

เชกูวารา พูดถึงสื่อพลเมืองไว้น่าสนใจด้วยค่ะ แต่ว่าการพูดถึงมิติสัมพันธ์ของเสรีภาพสื่อ vs เสรีประชาชน ก็น่าสนใจจนไม่ยกมาให้อ่านเป็นน้ำจิ้มไม่ได้

แต่เรื่องที่เขียนในบล็อกตอนนี้ เป็นเหตุผลในแง่  "เสรีภาพแห่งสื่อ" (Freedom of the Press) อันเป็นเรื่องที่ "สื่อหรือคนทำงานสื่อ สู้กับอำนาจรัฐ (รวมทั้งอำนาจอื่นใด)" ไม่ให้พวกเขาต้องทำงานด้วยเจตจำนงค์อันไม่เป็น "อิสระ" ตัวอย่างที่ชัดเจน ก็เช่น การต่อสู้ของไอทีวีในยุคจะถูกควบกลืนโดยรัฐ รวมทั้งการต่อสู้ของ "พนักงาน" ไอทีวีในยุคทุนทักษิณ เป็นต้น  สิ่งที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเหตุผลแรก กับเหตุผลหลัง ก็คือ เสรีภาพอย่างหลัง ซึ่งน่าจะเรียกเต็ม ๆ ได้ว่า "เสรีภาพในการ (จัดการ) สื่อสาร (สู่มวลชน)" นี้ ไม่ได้ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ จะ หรือ ควรจะได้รับ "ความคุ้มครอง" โดยตัวมันเอง เสมอ  แต่ "ความคุ้มครอง" จะมาพร้อม ๆ กับ "การทำหน้าที่" เท่านั้น กล่าวให้ง่ายก็คือ "สิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครอง" ในกรณีนี้ไม่ใช่ "ตัวสื่อ หรือตัวคนทำสื่อ" แต่คือ "บทบาท และหน้าที่ของสื่อ"  ต่างหาก โดยมีเป้าหมายซ่อนอยู่เบื้องหลังอีกที ก็คือ เพื่อให้ „การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน“ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานมี „เสรีภาพ“ อย่างแท้จริง คือ ได้รับข้อมูลทุกแง่มุม  ไม่ถูกปิดบัง หรือกระทั่งถูกบิดเบือนไป เพราะความไม่อิสระของสื่อ หรือด้วยการใช้อำนาจในทางมิชอบโดยตัวสื่อเอง

ภายใต้แนวคิดเช่นนี้ จึงย่อมเป็นเรื่องเข้าใจได้นะครับ ว่าสื่อที่ไม่ทำหน้าที่แห่งสื่อที่แท้จริง หรือพูดให้ง่าย ก็คือ "สื่อที่ไม่มีจรรยาบรรณ" ย่อมมีโอกาส หรือควรต้องถูก "คนรับสื่อ" ตรวจสอบ เพื่อจำกัดความคุ้มครอง และลงโทษได้เช่นกัน โดยอาจอาศัยกฎหมาย หรือการเรียกร้องในเชิงสังคม เพราะสื่อแบบนั้นนั่นแหละ คือ ตัวการในการทำลาย "เสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร“ ของประชาชนเสียเอง ดังนั้น คำว่า "เสรีภาพแห่งสื่อ" หรือ "สื่อเสรี" ในที่นี้จึงเป็น "ภาพสองมิติ"  ที่นอกจาก "คุ้มครองเสรีภาพสื่อจากอำนาจรัฐ" (สื่อ VS. รัฐ) แล้ว ยังหมายถึง "คุ้มครองเสรีภาพผู้รับจากอำนาจสื่อ" (ประชาชน VS. สื่อ) ด้วย

อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องน่าเสียดายทีเดียวที่คำนี้ ที่ผ่านมาในบ้านเราถูกจำกัดให้แคบ และแสดงให้เห็นภาพมิติแรกเพียง "มิติเดียว"

อ่านเต็มๆแบบครบถ้วนกระบวนความคลิกที่นี่เลย

เรื่องเล่าของคนมีคดี

26 มิถุนายน 2552 เป็นอีกวันที่ต้องตื่นเช้า เพื่อเตรียมพบกับประสบการณ์ใหม่ การรายงานตัวที่สำนักงานอัยการตามนัดหมายการสั่งคดี หลังจากที่เจ้าพนักงานสอบสวน(ตำรวจกองปราบ) ได้นัดหมายส่งสำนวนคดีให้กับอัยการเมื่อวันทีี่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา ประสบการณ์การรายงานตัวเพื่อรับฟังการสั่งคดี รวดเร็วเสร็จสิ้นภายในเวลาไม่ถึง 5 นาที เนื่องด้วยอัยการได้สั่งสอบข้อมูลเพิ่มเติม จึงได้เลื่อนการสั่งคดีออกไปเป็นวันที่ 29 กรกฎาคม แทน (เร็วชนิดที่เพื่อนๆที่จะตามมาเป็นเพื่อนมาให้กำลังใจมากันไม่ทันค่ะ เลยต้องเปลี่ยนเป็นการกินอาหารเช้าร่วมกันแทน)

ในฐานะที่ตกเป็นผู้ต้องหา และต้องเข้าไปข้องเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ใกล้ชิดแบบคิดไม่ถึงเช่นนี้ ถือเป็นโอกาสที่จะบันทึกเป็นเรื่องเล่าและเรื่องราว เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้าง สำหรับท่านอื่นๆที่ต้องจับพลัดจับผลูไปอยู่เฉียด ๆ คุกตะราง

นับจากวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2552 วันยากจะลืมของตัวเองจากประสบการณ์ถูกบุกจับถึงสำนักงานประชาไท เป็นปฏิบัติการเงียบชนิดที่ตัวเองยังงง ๆ เลยว่า จากสถานะของการเป็นพยานอยู่ดี ๆ ได้แปรเปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาไปเสียแล้ว ด้วยข้อหากระทำความผิดตามมาตรา 15 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คือ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมา

โชคดีที่การจับกุมตัวเองได้รับอนุญาตให้ประกันตัวแล้วเสร็จภายในสองทุ่มเศษของวันนั้นจึงไม่ต้องไปแกร่วค้างคืนในห้องขัง เนื่องจากหมดเวลาราชการและตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์พอดี ดังที่ได้ยินเรื่องเล่าในลักษณะสะเทือนขวัญมามาก (มีเพื่อนต่างชาติบอกด้วยว่า ทริคแบบนี้มีเกือบทุกประเทศ ไม่เฉพาะเมืองไทยของเรา..ฟังแล้วเศร้า)

อันที่จริงการได้สิทธิประกันตัวโดยไม่ติดเงื่อนไขระบบราชการควรเป็นสิทธิพื้นฐานปกติที่ไม่ต้องให้ผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหาต้องสวดภาวนาหาโชคเป็นการพิเศษ

ผ่านไปเกือบเดือนพนักงานสอบสวนแจ้งผ่านมาทางทนายความเพื่อนัดหมายไปพบอีกครั้ง โดยทั้งทนายและตัวเองสะดวกวันที่ 7 เมษายน จึงแจ้งยืนยันว่าจะไปพบตามที่พนักงานเจ้าของคดีแจ้งมา

แล้วก็เป็นอีกครั้งที่ต้องเกิดอาการเข็มขัดสั้น เพราะจากที่คิดว่าคงเป็นการสอบปากคำเพิ่มเติมเท่านั้น กลับกลายเป็นแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มอีก 9 กระทง โดยสาเหตุมาจากกระทู้ในเว็บบอร์ดประชาไทจำนวน 9 กระทู้ ที่โพสต์ไว้ตั้งแต่ช่วง เมษายน-สิงหาคม 2551 และทั้งหมดก็ถูกลบออกไปนานแล้ว รวมทั้งสิ้นข้อกล่าวหาที่มีติดตัวทั้งหมดมี 10 กระทง ในข้อหาเดียวกัน (ลองนับนิ้วดูกับเพื่อน ๆ ถ้าถูกตัดสินด้วยโทษสูงสุดชนิดคูณสิบ ก็จะได้ประมาณว่าจำคุกไม่เกิน 50 ปี และปรับเต็มที่ไม่เกินล้านบาท - -" โชคดีได้ยินมาว่าเขาไม่ใช้วิธีคูณหรือบวกโทษแบบนี้)

ล่วงเลยมาอีกเดือนเศษพนักงานสอบสวนได้แจ้งผ่านมาทางทนายเพื่อจะนัดหมายส่งสำนวนคดีและผู้ต้องหา(ซึ่งคือข้าพเจ้าเอง -_-' ) ให้แก่อัยการ โดยตกลงกับทางพนักงานสอบสวนได้วันที่ตรงกับวันสะดวกผู้ต้องหา, ทนาย และที่สำคัญของอาจารย์ฉันทนา บรรพศิริโชค หวันแก้ว ผู้กรุณาเป็นนายประกันให้ตั้งแต่ในชั้นพนักงานสอบสวน ได้ข้อสรุปว่าจะไปรายงานตัวให้พนักงานสอบสวนส่งมอบตัวให้อัยการแต่โดยดีในวันที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา

บ่ายสองโมงวันที่ 1 มิถุนายน ตัวเองพร้อมทนายความ, อ.ฉันทนา ผู้เป็นนายประกัน, พี่สาวที่เตรียมหลักฐานมาเผื่อจะต้องเป็นนายประกันสำรอง หากมีการกำหนดวงหลักประกันในชั้นอัยการเพิ่มขึ้นจากในชั้นพนักงานสอบสวน และเพื่อน ๆ ที่มาเป็นกำลังใจอีกกว่าสิบคน กระบวนการเริ่มต้นจากการไปลงลายมือชื่อเพื่อรายงานตัว พร้อมนายประกัน โดยทางสำนักงานอัยการได้ดำเนินการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นอัยการ รออยู่ที่สำนักงาน(จำชื่อฝ่ายงานไม่ได้แล้ว) ที่ดูเหมือนจะเป็นด่านหน้าของการรับคดีและจ่ายคดีไปยังฝ่ายย่อย ๆ ให้ดำเนินการอีกที

ผ่านไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้ไปติดต่อที่สำนักงานอัยการพิเศษผ่ายคดีอาญา 8 ซึ่งเป็นส่วนงานที่จะรับผิดชอบในคดี  นิติกรของฝ่ายอาญา 8 รับสำนวนและดำเนินการทั้งการประกันตัว พร้อมนัดหมายเพื่อมารายงานตัวในการนัดสั่งคดี ได้ข้อสรุปว่าเป็น 9 โมงเช้า วันที่ 26 มิถุนายน 2552 กระบวนการทั้งหมดแล้วเสร็จในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมงอีกเช่นกัน

ก่อนหน้าวันนัดสั่งคดีหนึ่งวันได้เดินทางไปยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด ซึ่งอยู่แถวสนามหลวง อันที่จริงตั้งใจจะดำเนินการยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมให้เร็วกว่านี้ แต่เนื่องจากภารกิจงานที่ติดพันทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้ลุล่วงได้เร็วกว่านี้ สิ่งที่ได้เรียนรู้และยังงง ๆ อยู่บ้างกับการยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม เนื่องจากมีประสบการณ์ขลุกขลักบางประการ เพราะทันทีที่หนังสือร้องความเป็นธรรมเรียบร้อยพร้อมยื่น ตัวเองก็ได้เดินทางไปที่สำนักงานอัยการ ในฝ่ายที่รับผิดชอบคดีเพื่อยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม โดยในหนังสือระบุ "เรียน อัยการสูงสุด (ผ่านพนักงานอัยการเจ้าของคดี)" ซึ่งเจ้าหน้าที่ของฝ่ายในขณะนั้น แจ้งว่า หากยื่นถึงอัยการสูงสุด ต้องไปยื่นที่สำนักงานอัยการสูงสุด ที่อยู่ใกล้กับสนามหลวง แต่ถ้ายื่นที่นี่ต้องเป็นการยื่นตัวหัวหน้าสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 หลังจากโทรปรึกษากับทนายและเห็นว่ายังน่าจะทันเวลาทำการของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงตัดสินใจเดินทางดิ่งตรงจากอัยการที่ถนนรัชดาภิเษกสู่สำนักงานอัยการสูงสุด ที่ใกล้สนามหลวง ก่อนยื่นหนังสือเพื่อให้เอกสารเรียบร้อย เดินข้ามคลองหลอด (ครั้งแรกอีกเช่นกัน ให้ความรู้สึกแปลก ๆ) มุ่งตรงสู่ 7-11 เพื่อซื้อปากกาน้ำยาลบความผิด เอ๊ยย !!! คำผิด เพื่อมาลบข้อความวงเล็บต่อท้ายในเอกสาร

บ่ายสามโมงนิด ๆ เอาหนังสือร้องขอความเป็นธรรมไปยื่น เจ้าหน้าที่ถามหาเอกสาร 'สำเนาคู่ฉบับ' ชี้ให้เจ้าหน้าที่ดู เขาก็หยิบมาประทับตรารับเรื่อง ส่งสำเนากลับคืนมาให้ ทั้งหมดเสร็จสิ้นในเวลาไม่ถึงนาที (ไม่นับรวมการเดินทางและตามหาซื้อน้ำยาลบคำผิดอีกเกือบชั่วโมง) ก่อนที่จะมาได้รับคำชี้แจงจากนิติกรของฝ่ายคดีอาญา 8 ว่า "ยื่นที่นี่ได้ เพราะยื่นอัยการสูงสุดก็ต้องส่งมาที่อัยการเจ้าของคดีอยู่ดี" ในที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าหนังสือร้องขอความเป็นธรรมถึงมืออัยการแน่ ๆ เลยถ่ายสำเนา และยื่นสำเนาต่ออัยการเจ้าของคดีอีกทางหนึ่งไว้ด้วย)

บทเรียน ผู้ต้องหา 101 พอสรุปได้คร่าว ๆ ว่า:

เบื้องต้นหากมีเจ้าพนักงานตำรวจมาแสดงตัวและแสดงหมายค้น หรือหมายจับจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขอให้เจ้าหน้าที่แสดงบัตรประจำตัว การให้แสดงบัตรเป็นการป้องกันไม่ให้มีการหลอกลวงเกิดขึ้นได้ และเจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าใจในสิทธินี้ย่อมไม่รู้สึกโกรธ หรือคิดว่าเป็นเรื่องไม่ไว้ใจ ในวันที่มีการจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งสองท่านซึ่งเป็นผู้ดำเนินการหลักในการสอบสวนและจับกุมได้แสดงบัตรประจำตัวเจ้าที่โดยที่ไม่ต้องรอให้ถามหา และถ้าสามารถทำได้การขอให้มีทนายความมาอยู่ร่วมด้วยในระหว่างการตรวจค้น หรือจับกุม ช่วยทำให้อุ่นใจขึ้น ยังไม่รวมถึงเพื่อน ๆ พี่ ๆ ที่มาเป็นกำลังใจ ก็ช่วยให้อบอุ่นใจอย่างมาก และเรื่องยาก ๆ หนัก ๆ ในวันนั้นก็ผ่อนคลาย เป็นเครื่องประกันสิ่งที่ใครบางคนพูดไว้ว่า "ความทุกข์มันแบ่งเบากันได้"

สิทธิอีกประการที่ผู้ต้องหาทุกท่านควรรู้ว่ามีคือในการสอบปากคำ ผู้ต้องหาสามารถยืนยันที่จะให้มีทนายมาอยู่ร่วมในการสอบปากคำ และยืนกรานที่จะไม่ให้ปากคำหากไม่มีทนายอยู่ด้วยได้ ที่สำคัญเป็นสิทธิที่สามารถร้องขอทนายประชาชน ซึ่งเป็นทนายอาสาที่รัฐมีหน้าที่จัดหาให้ ในกรณีที่ผู้ต้องหาไม่มีทนายของตนเอง ทั้งด้วยไม่รู้จักใคร หรือไม่มีเงินค่าทนาย

กระบวนการยุติธรรมแบ่งเป็นขั้นตอนตามลำดับ เริ่มจากขั้นพนักงานสอบสวนซึ่งดำเนินการจับกุมและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อสรุปสำนวนคดีและผู้ต้องหาส่งต่ออัยการ(เข้าใจว่ามีระยะเวลากำหนดไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีการจับกุมว่าต้องสรุปสำนวนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้) จากนั้นพนักงานอัยการก็จะรับสำนวนคดีพร้อมรับตัวผู้ต้องหา ซึ่งก็ต้องมีการดำเนินการขอปล่อยตัวชั่วคราวใหม่ในขั้นของอัยการ ตามปกติวินิจฉัยก็จะเป็นไปในทางเดียวกับขั้นพนักงานสอบสวน รวมทั้งสามารถใช้หลักประกัน/นายประกันเดิมได้ ในขั้นของอัยการสิ่งที่ผู้ต้องหาสามารถกระทำได้ ก็คือการทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรมจากอัยการสูงสุดได้ หลังจากที่อัยการรับคดีมาจากพนักงานสอบสวนแล้ว ก็จะนัดผู้ต้องหาพร้อมนายประกันมาตามนัดการสั่งคดี จนกว่าอัยการจะตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใด คือสั่งไม่ฟ้อง หรือสั่งฟ้อง หากมีการสั่งฟ้องก็จะต้องไปดำเนินกระบวนการต่าง ๆ ในขั้นศาลต่อไป รวมถึงการยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวอีกครั้ง

ประสบการณ์ร่วมสี่เดือนของการเป็นผู้ต้องหามีคดี ท่ามกลางวิถีชีวิตการงานที่เป็นอยู่และเป็นไปตามปกติ ตอบอย่างซื่อสัตย์กับตัวเองก็ต้องบอกว่าไม่อาจรู้สึกเป็นปกติสุข และเข้าใจชัดเจนถึงความรู้สึกของคนที่มีหนี้แบกไว้บนบ่า แต่แม้รู้สึกยากจะเป็นสุข ทว่าการทำใจยอมรับให้ได้ว่านี้คือราคาที่ต้องจ่ายของเสรีภาพ..ก็น่าจะคุ้มกัน

ประชาไท..ไม่มี ย.ยักษ์

สวัสดีค่ะ (*_*)

ถือฤกษ์รัฐบาลประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงมาทักทายทุกท่าน พร้อมกับยกป้ายคำเตือนตัวโตๆสีดำ    
 

"ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" 

ออกไปด้วยแล้ว คงช่วยลดความรำคาญใจของผู้อ่านและเพื่อนสมาชิกเว็บบอร์ดลงไปบ้าง

 

นับย้อนหลังไปเกือบห้าปี..

หลายคนคงไม่รู้ว่ากว่าจะมาเป็น 'ประชาไท' ในโลกของสื่อใหม่ (์New Media) กรรมการและทีมงานถกเถียงกันอยู่นานว่าจะตั้งชื่อ 'สื่อใหม่' ที่หวังให้เป็นสื่อทางเลือกว่าอะไรดี

จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้ก่อตั้งคนสำคัญนำเสนอชื่อ 'ประชาไท' ขึ้นมา ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของทีมงานส่วนใหญ่ เหตุผลที่ขัดแย้งก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าความรู้สึกว่า "มันเชย" แต่ในที่สุดเมื่อไม่มีใครเสนอตัวเลือกใหม่ที่ดีกว่า และเชยน้อยกว่านี้ได้ ประกอบกับเวลาที่สื่อใหม่จะต้องปรากฎโฉมในไซเบอร์เวิรล์ด ก็ไล่หลังมาชนิดหายใจรดต้นคอ

แล้วความ 'เชย' ก็ชนะ และระบาดเรื่อยเปื่อยมาจนถึงหน้าตาของเว็บ (อาจรวมไปถึงหน้าตาทีมงานด้วยก็เป็นได้ :P)

"ประชาไท ไม่มี ย.ยักษ์" เป็นถ้อยคำติดปากทีมงานที่ต้องคอยพร่ำและย้ำกับคนที่ไปพบปะติดต่อ  จนถึงบัดนี้ก็ยังมี 'ประชาไท' ให้เห็นอยู่เนืองๆ

สำคัญอย่างไรที่ประชาไทต้องไม่มี ย.ยักษ์

ต้องยืนยันว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะความตั้งใจในการสื่อความหมายระหว่าง 'ไท' และ 'ไทย' นั้่นเป็นคนละเรื่องเดียวกันโดยสิ้นเชิง ขณะที่คำว่า 'ไท' ให้นัยยะแห่งการสื่อความถึง 'อิสระ, ความเป็นอิสระ' คำว่า 'ไทย' ก็เป็นคำเรียกขาน 'คน และ ประเทศ แห่งหนึ่งในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้' อันมีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการสร้างส่วนต่อขยายความที่คุ้นหูกันในนามของ 'ความเป็นไทย'

บ่อยครั้งที่ได้พบว่า 'ความเป็นไทย' ที่ี่ยังอยู่ในระหว่างการถกเถียงหาความหมายอันแท้จริงชัดเจนนั้น กลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแบ่งแยก กีดกัน ผลักไสหยิบยื่นความเป็นอื่น หรือความด้อยกว่าไปให้กับคนบางกลุ่มที่วันดีคืนดีอาจไ้ด้พบกับประสบการณ์ ถูกไม้บรรทัด(อันไม่เที่ยง) ไล่ล่าวัดเพื่อบอกว่า "เรามีความเป็นไทยมากน้อยเพียงใด หรือซ้ำร้ายไปกว่านั้นอาจได้โบนัสด้วยข้อหา ทำลายความเป็นไทย"

การใช้ 'ความเป็นไทย' ในลักษณะนี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของการทำลายและสร้างข้อจำกัดต่อความเป็น'ไท' หรือนัยหนึ่งก็คือทำลายความอิสระให้กร่อนลงไป

โดยส่วนตัวไม่ได้ตั้งแง่กับ 'ความเป็นไทย' นัก หากเจ้าความเป็นไทยที่ว่านี้ ไม่ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการแอบอ้างเพื่อทำลายล้างความเป็นอิสระที่มนุษย์ทุกคนควรมีเป็นต้นทุนในชีวิต

เมื่อความเป็นอิสระคือหัวใจสำคัญที่จะสูบฉีดให้เป็นดุจอณูหนึ่งในมนุษย์ทุกผู้นาม โดยไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ หรือเพศใด ๆ ยังเป็นองค์ประกอบอันขาดไม่ได้ของสื่อสารมวลชนที่จะนำเสนอสาระ ข่าวสาร และทัศนะต่าง ๆ ได้โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลแห่งความกลัว ความรัก หรือ ความชัง

สำหรับประชาไทเกือบห้าปีที่ผ่านมา เราอาจทำหน้าที่บกพร่องไปในหลายสิ่ง ทั้งด้วยข้อจำกัดทางประสบการณ์ สติปัญญา ความสามารถ, ทุนและบุคคลากรที่มีอยู่จำกัด

แต่สิ่งหนึ่งที่มั่นใจได้ว่าเราไม่เคยมีน้อยไป และไม่เคยถูกทำให้มีน้อยลง คือความเป็นอิสระ

สื่ออิสระอย่างประชาไท มีฝันเล็ก ๆ ที่เรากำลังเรียนรู้ในระหว่างทาง ในการเป็นส่วนหนึ่งของหน่ออ่อนแห่งต้นอิสรภาพที่จะได้งอกงาม แม้เพียงแปลงเล็ก ๆ ในสังคมไทยก็ยังดี

จึงสำคัญเช่นนี้เองที่..ประชาไท ต้อง ไม่มี ย.ยักษ์  :-)

 

 

Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ dialogue