Skip to main content
ฉากหลังเห็นควันบุหรี่จากทหารนายหนึ่ง ในขณะที่ทหารอีกนายหนึ่งคาบบุหรี่อยู่ ภาพจาก ECPAD
 

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 บุหรี่ที่ยุโรปนั้น "ฝืดเคืองหายากทั้งราคาก็แพงนัก" ทหารสยามที่มาร่วมสงครามคงทุกข์ทรมานมาก กระทรวงกลาโหมจึงจัดการส่งบุหรี่ไปฝรั่งเศสทุกเดือน "เป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า ๓๐๐๐๐๐ มวน" โดยใช้เงินที่ได้รับบริจาคจากราษฎรในขณะนั้น

ต่อมา ผู้บังคับกองทหารบกรถยนต์สยามในประเทศฝรั่งเศส ชื่อพันตรีหลวงรามฤทธิ์รงค์เขียนจดหมายขอบคุณในนาม "บันดานายทหาร, นายสิบและพลทหารในกองทหารบกรถยนต์ไทย" ว่า "พวกข้าพเจ้านักเลงบุหรี่ทั้งหลาย...มีความปีติยินดีจนจะนำมาพรรณาไม่ถูก...เมื่อจุดบุหรี่มวนใดยอมต้องสูบโดยความรฦกถึงคุณท่านผู้บริจาคทรัพย์ทางบ้านอยู่เสมอ"*
 
 
บุหรี่อาจจะเป็นเรื่องเล็ก แต่สำหรับคนติดบุหรี่คงจะเข้าใจถึงความทุกข์ทรมาน หากเป็นตามจริงตรงดังเอกสารนี้ ทหารสยามจำนวนประมาณ 1,200 คน ได้บุหรี่เดือนละ 300,000 มวน ก็นับว่่าได้สูบเฉลี่ยคนละประมาณ 10 มวนต่อวัน ถือว่าเป็นความหรูในสมัยนั้นก็ว่าได้เพราะบุหรี่เป็นของฟุ่มเฟือยที่สำคัญ เห็นได้จากการที่ในสมรภูมิรบนั้น บางทีในหมู่ทหารก็เอาบุหรี่ไปแลกเปลี่ยนกับของบริโภคอื่น ๆ เช่น อาหาร หรือเนื้อสัตว์ เป็นต้น
 
*ข้อมูลจากหนังสือประวัติกองทหารอาสา พิมพ์แจกงานพระศพเจ้าฟ้าจักรพงษ์

บล็อกของ ดิน บัวแดง

ดิน บัวแดง
วันที่ 14 กรกฎาคม 1790 หลังจากเหตุการณ์ทลายคุกบาสตีย์เป็นเวลา 1 ปี มีการเฉลิมฉลอง "สหพันธรัฐ" (Fête de la Fédération) คือการมารวมตัวกันของตัวแทนจากท้องถิ่น เทศบาลและภูมิภาคต่าง ๆ ที่ Champs-de-Mars (ลานหน้าหอไอเฟล) เพื่อประกาศความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความภักดีต่อ "ช
ดิน บัวแดง
วันที่ 14 กรกฎาคม ของปีนี้ เป็นวันครบรอบ 225 ปี ของการปฏิวัติฝรั่งเศส แต่เช่นเดียวกับการปฏิวัติหลายแห่งในโลก เมื่อมองย้อนกลับไปจากมุมมองปัจจุบัน จะเห็นว่าหลายอย่างยังคงไม่เข้ารูปเข้ารอย ในฝรั่งเศสเองยังถกเถียงกันว่า อุดมการณ์ของการปฏิวัติคืออะไรและการปฏิวัติสิ้นสุดลงหรือยัง?