Skip to main content

วันที่ 14 กรกฎาคม 1790 หลังจากเหตุการณ์ทลายคุกบาสตีย์เป็นเวลา 1 ปี มีการเฉลิมฉลอง "สหพันธรัฐ" (Fête de la Fédération) คือการมารวมตัวกันของตัวแทนจากท้องถิ่น เทศบาลและภูมิภาคต่าง ๆ ที่ Champs-de-Mars (ลานหน้าหอไอเฟล) เพื่อประกาศความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความภักดีต่อ "ชาติ" แบบใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น

เพราะจริง ๆ แล้วหลัง 1789 นั้น การปกครองของ "ระบอบเก่า" ในท้องถิ่นต่าง ๆ ก็สูญสลายไปด้วย จึงจำเป็นต้องสร้างรัฐบาลส่วนท้องถิ่นอันใหม่ขึ้นแทนที่ ตัวแทนทั้งหมดจาก 84 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 14,000 - 50,000 คน มารวมตัวกันที่ปารีสเพื่อก่อตั้งชาติฝรั่งเศส (ปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดสมัยรัชกาลที่ 1 แม้ไม่เกี่ยวกันแต่ทำให้นึกถึงหลังอยุธยาแตก เกิดชุมนุมต่าง ๆ มากมาย สุดท้ายพระเจ้าตากก็รวบรวมชุมนุมต่าง ๆ สำเร็จ )

ในสมัยนั้นคือช่วงเวลาแห่งการประนีประนอม ยังไม่แตกหักกับระบอบกษัตริย์ ลาฟาแยต แม่ทัพคนสำคัญที่ช่วยประกาศเอกราชอเมริกา และหัวหน้า Garde nationale ในขณะนั้น ได้นำปฏิญาณตนต่อระบบใหม่ โดยเริ่มต้นว่า "พวกเราสาบานว่าจะจงรักภักดีต่อชาติ ต่อกฎหมาย และต่อกษัตริย์"

ในขณะที่พระเจ้าหลุยส์ตอบว่า "ข้าพเจ้า, กษัตริย์ของชาวฝรั่งเศส, ข้าพเจ้าสาบานว่าจะใช้อำนาจที่มอบให้ข้าพเจ้าผ่านทางกฎหมายรัฐธรรมนูญของรัฐ ในการรักษารัฐธรรมนูญที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งข้าพเจ้ายอมรับ, และบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ" พระนางมารี อองตัวเน็ต ก็กล่าวคำปฏิญาณด้วยว่า "นี่คือบุตรของข้าพเจ้า, เขาร่วมด้วย, เช่นเดียวกับข้าพเจ้า, ในความรู้สึกเดียวกัน"

เรามักไม่ค่อยพูดถึงเหตุการณ์นี้ แต่จริง ๆ แล้ว "วันชาติ" ของฝรั่งเศส ซึ่งออกเป็นกฎหมายเมื่อ ค.ศ. 1880 นั้น มีจุดประสงค์เพื่อระลึกถึงสองเหตุการณ์ คือระลึกถึงการบุกทลายคุกบาสตีย์ในปี 1789 แล้ว และระลึกถึง Fête de la Fédération ในปี 1790 นี้ด้วย

 

อ้างอิง:
en.wikipedia.org/wiki/Fête_de_la_Fédération
http://www.universalis.fr/encyclopedie/federation-de-1790/

(ภาพ Fête de la Fédération ที่ Musée Carnavalet, Paris)

บล็อกของ ดิน บัวแดง

ดิน บัวแดง
มิเชล ฟูโกต์, อิหร่าน, และพลังของจิตวิญญาณ: บทสัมภาษณ์ในปี 1979 ที่ไม่เคยเผลแพร่มาก่อน* เอกสารที่น่าทึ่งชิ้นนี้ถูกค้นพบในหอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส เมื่อปีที่แล้ว เป็นบทสัมภาษณ์โดยหนังสือพิมพ์ Obs เมื่อปี 1979 ที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน ในบทสัมภาณ์นี้ มิเชล ฟูโกต์อธิบายความสนใจของเขาในเรื่องการปฏิวัติอิหร่าน และเรื่อง “จิตวิญญาณ” ในฐานะพลังทางการเมือง
ดิน บัวแดง
ผมได้ยินชื่ออาจารย์ยิ้มครั้งแรก เมื่ออาจารย์ถูก “ศอฉ.” คุมตัว หลังการสลายการชุมนุมเดือนพฤษภาคม 2553 ขณะนั้นผมเป็นนิสิตปีที่ 2 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ไม่ได้สนใจการเมืองเป็นพิเศษ แต่เริ่มรู้สึกว่าการเมืองเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้นทุกที ตั้งแต่เสียงยิงกันและการชุมนุมปิดถนนใกล้มหาวิทยาลัย จนกระทั่งการคุมตัวอ
ดิน บัวแดง
ลาน Place de la République ขึ้นชื่อเรื่องการเป็นที่จัดชุมนุมต่าง ๆ เพราะเป็นลานใหญ่ อยู่กลางกรุงปารีส ตรงกลางของลานมีอนุสาวรีย์ la République หรือ Marianne ถือคบเพลิง เป็นสัญลักษณ์ของระบอบสาธารณรัฐ อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ.
ดิน บัวแดง
ผู้เขียนโชคดีมาก ๆ ที่ไปเล่นเกมส์ตอบคำถามออนไลน์ แล้วดันเป็นผู้โชคดี ได้รับบัตรดูหนังที่โรงหนัง Louxor ฟรีตลอดปี ไปกี่ครั้ง ดูกี่เรื่องก็ได้ พาเพื่อนไปได้ฟรีอีกคนนึงอีกต่างหาก แต่แล้วก็ไม่เคยได้ยินชื่อโรงหนังนี้มาก่อนเลย วันนี้เลยไปลองดูหนังมาซักเรื่อง พอกลับบ้านก็ลองมาค้นประวัติโรงหนังดู พบว่าน่
ดิน บัวแดง
ปารีสช่วงเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่เลื่องลือเรื่องอากาศแปรปรวน เอาแน่เอานอนไม่ได้ หลายวันก่อนแดดออกทั้งวัน อุณหภูมิขึ้นสูงถึง 19 องศา ถือว่าเป็นอุณหภูมิที่พบได้ปลายเดือนเมษายน ปรากฎว่ามาวันนี้อากาศกลับเย็น เมฆครึ้ม ลมพัดแรง
ดิน บัวแดง
หลังจากเกิดเหตุการณ์สังหารโหด Charlie Hebdo ก็มีปฏิกิริยาตอบโต้จากสถานศึกษาต่าง ๆ ในฝรั่งเศสแทบจะทันที ในแง่หนึ่ง ระบบการศึกษาของฝรั่งเศสก็กลายเป็น "แพะรับบาป" เพราะฆาตกรที่ก่อเหตุนั้น เป็นชาวฝรั่งเศสและเป็นผลผลิตของความล้มเหลวในการปลูกฝัง "คุณค่าของสาธารณรัฐ" ผ่านระบบการศึกษาในฝรั่งเศสเอง หนึ่งใ
ดิน บัวแดง
ฉากหลังเห็นควันบุหรี่จากทหารนายหนึ่ง ในขณะที่ทหารอีกนายหนึ่งคาบบุหรี่อยู่ ภาพจาก ECPAD
ดิน บัวแดง
Charb นักเขียนการ์ตูนแนวเสียดสีชื่อดังของ Charlie Hebdo เพิ่งเขียนการ์ตูนแซวเหล่าผู้ก่อการร้ายในหนังสือพิมพ์ฉบับล่าสุด มีข้อความว่า "ยังไม่มีการก่อการร้ายในฝรั่งเศส (?) เดี๋ยว ๆ, เรายังมีเวลาถึงปลายเดือนมกราคมเพื่อที่จะ 'ให้พร' เหล่านั้น" (ประเพณีฝรั่งเศส คือการอวยพรปีใหม่สามารถยืดไปได้ถึงปลายเดื
ดิน บัวแดง
ทหารสยามมาถึงฝรั่งเศสปลายเดือนกรกฎาคมปี 1918 และบางหน่วยออกไปแนวหน้าช่วงกลาง ๆ กันยายน แต่เล็ก ๆ เรื่องหนึ่งที่ดูไม่ลงตัว คือเรื่องของอาหาร*
ดิน บัวแดง
วิชาปรัชญาเป็นวิชาบังคับในระดับมัธยมปลายในฝรั่งเศสมายาวนานตั้งแต่สมัยจักรวรรดิที่ 1 ในปี 1808 แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ในยุโรปขณะนี้ที่อาจจะไม่บังคับ หรือไม่มีเลย ถ้าบังคับก็จะมีบางประเทศ เช่น สเปน แต่ก็ไม่ใช่ปรัชญาโดยตรง แต่เป็นประวัติศาสตร์ปรัชญามากกว่า
ดิน บัวแดง
วันที่ 7 พฤษภาคม 2014 Google ฝรั่งเศสนำเสนอภาพหญิงยุโรปคนหนึ่ง แต่งกายแบบชนชั้นกลางสมัยศตวรรษที่ 18 กำลังอภิปรายอยู่บนแท่นปราศรัย
ดิน บัวแดง
"Violer le droit, supprimer l’Assemblée, abolir la constitution, étrangler la république, terrasser la nation, salir le drapeau, déshonorer l’armée, prostituer le clergé et la magistrature, réussir, triompher, gouverner, administrer, exiler, bannir, dé­porter, ruiner, assassiner, régner, avec des