ปฏิกิริยาของสถาบันการศึกษาในฝรั่งเศสต่อกรณี Charlie Hebdo

หลังจากเกิดเหตุการณ์สังหารโหด Charlie Hebdo ก็มีปฏิกิริยาตอบโต้จากสถานศึกษาต่าง ๆ ในฝรั่งเศสแทบจะทันที ในแง่หนึ่ง ระบบการศึกษาของฝรั่งเศสก็กลายเป็น "แพะรับบาป" เพราะฆาตกรที่ก่อเหตุนั้น เป็นชาวฝรั่งเศสและเป็นผลผลิตของความล้มเหลวในการปลูกฝัง "คุณค่าของสาธารณรัฐ" ผ่านระบบการศึกษาในฝรั่งเศสเอง หนึ่งในรัฐมนตรีที่ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อบ่อยที่สุดหลังเกิดเหตุการณ์ จึงเป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ

ความล้มเหลวดังกล่าวของระบบการศึกษา ถูกตอกย้ำอีกเมื่อมีข่าวว่านักเรียนจำนวนมากไม่ยอมไว้อาลัยให้กับเหตุการณ์สังหารโหดครั้งนั้นตามนโยบายของรัฐบาลในวันที่ 8 มกราคม รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการมีปฏิกิริยาตอบโต้ทันที โดยการวางนโยบายการศึกษาใหม่ ให้เน้นปลูกฝังเรื่องคุณค่าสาธารณรัฐต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกและเรื่องความเป็นโลกวิสัย ประเด็นหลังนี้ ที่ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า la laïcité ซึ่งหมายถึงการแยกพื้นที่สาธารณะกับพื้นที่ทางศาสนาออกจากกันอย่างชัดเจนนั้น จะถููกเน้นย้ำเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น จะมีการอบรมครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้อย่างถ่องแท้และสามารถอธิบายให้เด็กฟังได้, ต่อไปนี้การสอบเป็นครูจะประเมินจาก "ความสามารถในการถ่ายทอดคุณค่าของสาธารณรัฐ", จะให้มีการเฉลิมฉลอง "วันโลกวิสัย" ในวันที่ 9 ธันวามคม ของทุกปี เป็นต้น (ดูรายละเอียดที่ http://tempsreel.nouvelobs.com/attentats-charlie-hebdo-et-maintenant/201...)

แต่แล้วในวันที่ 29 มกราคม โรงเรียนก็ตกเป็นเป้าของสังคมอีกครั้ง เมื่อมีครูไปแจ้งตำรวจว่านักเรียนอายุ 8 ขวบมีความคิดรุนแรง เห็นด้วยกับการก่อการร้ายและกล่าวว่าพวก Charlie Hebdo นั้นสมควรแล้วที่จะโดนอย่างนั้น ครูจึงฟ้องร้องพ่อของเด็กว่าเป็นต้นเหตุ ตำรวจดำเนินการอย่างรวดเร็ว พ่อของเด็กถูกเรียกไปสอบสวน เขายืนยันว่าลูกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าการก่อการร้ายคืออะไร และเขาก็ฟ้องครูกลับด้วย อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาก็ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อในกรณีนี้แล้วว่าครูทำถูกต้อง ควรได้รับการชื่นชม

ในที่นี้ ผู้เขียนซึ่งเรียนอยู่คณะภูมิศาสตร์, ประวัติศาสตร์, และศาสตร์แห่งสังคม (GHSS) ของมหาวิทยาลัย Paris Diderot - Paris 7 จึงลองแปลบางส่วนของแถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยและของคณะ เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นคร่าว ๆ ว่าสถานศึกษาในฝรั่งเศสนั้นมีปฏิกิริยาต่อเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งในขณะเดียวกันก็สะท้อนอุดมการณ์ของระบอบการศึกษาที่หาได้ยากในประเทศไทย

 

สารจากอธิการบดี*

"พวกเราถอนตัวหลุดออกมาจากความป่าเถื่อนได้อย่างไร? โชคดีที่เมื่อตอนนั้นมีผู้คนที่รักความจริงมากกว่าจะเกรงกลัวการลงทัณฑ์ มันแน่นอนเลยทีเดียวว่าพวกเขาไม่ใช่พวกขี้ขลาดตาขาว แต่แล้วเราทุกวันนี้จะเรียกขานพวกเขาว่าพวกคนบ้าอย่างนั้นหรือ?"

เดอนี ดิเดอโร

มหาวิทยาลัยของเรา, ที่ใช้นามว่าเดอนี ดิเดอโร, บิดาของสารานุกรมหรือพจนานุกรมที่เติมเต็มไปด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์, ศิลปะและการงานอาชีพ, สัญลักษณ์แห่งจิตวิญญาณของยุคแสงสว่าง, ขอยึดมั่นในประวัติศาสตร์แห่งชาติแม้ในวันอันมืดมิดนี้ เพื่อที่จะยืนยันว่าภารกิจหลักอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัย คือการสรรค์สร้างจิตวิญญาณของพลเมืองให้มีลักษณะเสรีและวิพากษ์วิจารณ์ สามารถที่จะแสดงออกต่อต้านการปิดกั้นทางความรู้และการกดขี่ทุกรูปแบบ

การที่เรากล่าวว่าในวันนี้ว่าพวกเราทุกคนคือชาร์ลี หมายถึงพวกเรากำลังปฏิบัติการต่อสู้เป็นประจำทุกวันที่มหาวิทยาลัย เพื่อเสรีภาพในการคิด การพูด การเขียน การวาดและเพื่อต่อต้านตรรกะของความรุนแรงทั้งปวง การยึดถือแนวทางปฏิบัติเช่นนี้ เป็นการแสดงออกว่าพวกเราจะไม่มีวันยอมแพ้ต่อคุณค่าอันรุนแรงสุดโต่ง

แม้ว่าเหล่านักฆ่าอาจจะสังหารนักข่าวเหล่านั้นได้สำเร็จ, นักข่าวที่เป็นผู้สรรค์สร้างเสียงหัวเราะอันชาญฉลาดมานานกว่าครึ่งศตวรรษ, ผู้เป็นตัวแทนของเสียงหัวเราะที่จิกกัดและไร้ซึ่งความปราณี, ผู้เป็นตัวแทนของการล้อเลียนและศิลปะแห่งการวาดภาพ, แต่ความมุ่งมั่นของพวกเราที่จะปกปักรักษาคุณค่าของประชาธิปไตย อันเป็นคุณค่าซึ่งนักข่าวเหล่านั้นยึดถือเอาไว้ มีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกวัน

การบุกฆาตรกรรมเมื่อวันพุธที่ผ่านมานั้นมีเป้าหมายเพื่อแพร่กระจายความหวาด กลัว, เพื่อปลุกระดมความเกลียดชัง, และเพื่อสร้างภัยคุกคามต่อการอยู่ร่วมกันอันเป็นคุณค่าที่สาธารณรัฐของพวกเรายึดถือ, ก็เหลือเพียงแต่การรวมตัวเคลื่อนไหวของพวกเราชาวสาธารณรัฐทุกคนเท่านั้น ที่จะช่วยให้เราปกป้องประชาธิปไตยของเราเอาไว้ได้

 

*หมายเหตุ: แถลงการณ์นี้ออกโดยอธิการบดีของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2015 หลังการบุกยิงกองบรรณาธิการ Charlie Hebdo เป็นเวลาหนึ่งวัน แถลงการณ์นี้เห็นได้ทั่วไปตามบอร์ดของภาควิชาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ผู้เขียนได้แปลส่วนใหญ่ของแถลงการณ์ แถลงการณ์เต็มสามารถดูได้ที่ http://www.univ-paris-diderot.fr/sc/site.php?bc=accueil&np=pageActu&ref=...

 

แถลงการณ์จากคณะภูมิศาสตร์, ประวัติศาสตร์, และศาสตร์แห่งสังคม (U.F.R. Géographie, Histoire, Sciences de la Société)**

คณะภูมิศาสตร์, ประวัติศาสตร์, และศาสตร์แห่งสังคม ขอแสดงความรู้สึกอันท่วมท้นต่อเหตุการณ์ในวันที่ 7, 8, และ 9 มกราคม 2015 และขอร่วมขบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ อันแสดงออกซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเหล่าเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย

ด้วยความที่พวกเราผูกพันอย่างลึกซึ้งกับประชาธิปไตย, กับเสรีภาพในการแสดงออกพร้อมกับการเคารพกฎหมาย, กับความเป็นรัฐโลกวิสัย, กับความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน, กับการต่อสู้กับลัทธิต่อต้านยิว รวมถึงการต่อต้านลัทธิเชื้อชาตินิยมทุกรูปแบบ ความรังเกียจชาวต่างชาติ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน, คุณค่าทั้งหมดเหล่านี้จึงเป็นพื้นฐานของอาชีพการงานของพวกเรา

ถ้าหากเราเชื่อว่า การมีปฏิกิริยาตอบโต้การกระทำอันละเมิดหลักมนุษยธรรมนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในแวดวงนักวิชาการ พวกเราจะต้องพยายามคิดวิเคราะห์สถานการณ์ สาเหตุ และผลลัพธ์กันอย่างลึกซึ้ง ด้วยวิธีการที่หลากหลายและในทุก ๆ มิติ (ลำดับเหตุการณ์, สื่อ, สังคม, การเมือง, ปรัชญา, ประวัติศาสตร์, ภูมิยุทธศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, อุดมการณ์, ฯลฯ) โดยเฉพาะในหมู่นักศึกษานั้นควรจะพยายามเป็นพิเศษ

เชื่อกันว่า ภารกิจในการบริการสาธารณะของคณะภูมิศาสตร์, ประวัติศาสตร์, และศาสตร์แห่งสังคม คิอการช่วยให้ประชาชนเข้าใจความซับซ้อนของโลก คณะของเราอันประกอบด้วยคณะกรรมการด้านวิชาการ และภาควิชาต่าง ๆ จึงตั้งใจจะปฏิบัติงานตามแผนระยะกลาง เพื่อให้บรรลุซึ่งภารกิจดังกล่าว ทางคณะจะร่วมปฏิบัติภารกิจลักษณะเดียวกันนี้ในระดับมหาวิทยาลัยที่อาจจะมีขึ้นในเร็ว ๆ นี้ด้วย

 

**หมายเหตุ: ผู้เขียนได้รับแถลงการณ์ข้างต้นทางอีเมล ซึ่งส่งมาจากเลขานุการของภาควิชาประวัติศาสตร์ แถลงการณ์ฉบับจริงสามารถดูได้ที่เว็ปไซต์ของสมาคมนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ในมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส (AHMUF) เว็ปไซต์ดังกล่าวยังรวบรวมปฏิกิริยาและแถลงการณ์ขององค์กรรวมถึงนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไว้จำนวนหนึ่งอีกด้วย ซึ่งน่าสนใจอย่างยิ่ง ดูได้ที่ http://ahmuf.hypotheses.org/3385

 

 

มิเชล ฟูโกต์, อิหร่าน, และพลังของจิตวิญญาณ: บทสัมภาษณ์ในปี 1979 ที่ไม่เคยเผยแพร่มาก่อน

มิเชล ฟูโกต์, อิหร่าน, และพลังของจิตวิญญาณ: บทสัมภาษณ์ในปี 1979 ที่ไม่เคยเผลแพร่มาก่อน*

 

เอกสารที่น่าทึ่งชิ้นนี้ถูกค้นพบในหอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส เมื่อปีที่แล้ว เป็นบทสัมภาษณ์โดยหนังสือพิมพ์ Obs เมื่อปี 1979 ที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน ในบทสัมภาณ์นี้ มิเชล ฟูโกต์อธิบายความสนใจของเขาในเรื่องการปฏิวัติอิหร่าน และเรื่อง “จิตวิญญาณ” ในฐานะพลังทางการเมือง

แด่อาจารย์ยิ้มผู้เป็นครูและราษฎร์บัณฑิต

ผมได้ยินชื่ออาจารย์ยิ้มครั้งแรก เมื่ออาจารย์ถูก “ศอฉ.” คุมตัว หลังการสลายการชุมนุมเดือนพฤษภาคม 2553 ขณะนั้นผมเป็นนิสิตปีที่ 2 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ไม่ได้สนใจการเมืองเป็นพิเศษ แต่เริ่มรู้สึกว่าการเมืองเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้นทุกที ตั้งแต่เสียงยิงกันและการชุมนุมปิดถนนใกล้มหาวิทยาลัย จนกระทั่งการคุมตัวอ

หนึ่งปีรัฐประหารคสช. : กิจกรรมที่ Place de la République เมืองปารีส

ลาน Place de la République ขึ้นชื่อเรื่องการเป็นที่จัดชุมนุมต่าง ๆ เพราะเป็นลานใหญ่ อยู่กลางกรุงปารีส ตรงกลางของลานมีอนุสาวรีย์ la République หรือ Marianne ถือคบเพลิง เป็นสัญลักษณ์ของระบอบสาธารณรัฐ อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ.

ประวัติอันโชกโชนของโรงหนัง Louxor แห่งเมืองปารีส

ผู้เขียนโชคดีมาก ๆ ที่ไปเล่นเกมส์ตอบคำถามออนไลน์ แล้วดันเป็นผู้โชคดี ได้รับบัตรดูหนังที่โรงหนัง Louxor ฟรีตลอดปี ไปกี่ครั้ง ดูกี่เรื่องก็ได้ พาเพื่อนไปได้ฟรีอีกคนนึงอีกต่างหาก แต่แล้วก็ไม่เคยได้ยินชื่อโรงหนังนี้มาก่อนเลย วันนี้เลยไปลองดูหนังมาซักเรื่อง พอกลับบ้านก็ลองมาค้นประวัติโรงหนังดู พบว่าน่

ครบรอบ 56 ปีการลุกฮือของทิเบต: ชุมนุมใหญ่ของชาวทิเบตในยุโรป ณ กรุงปารีส

ปารีสช่วงเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่เลื่องลือเรื่องอากาศแปรปรวน เอาแน่เอานอนไม่ได้ หลายวันก่อนแดดออกทั้งวัน อุณหภูมิขึ้นสูงถึง 19 องศา ถือว่าเป็นอุณหภูมิที่พบได้ปลายเดือนเมษายน ปรากฎว่ามาวันนี้อากาศกลับเย็น เมฆครึ้ม ลมพัดแรง