Skip to main content

ทหารสยามมาถึงฝรั่งเศสปลายเดือนกรกฎาคมปี 1918 และบางหน่วยออกไปแนวหน้าช่วงกลาง ๆ กันยายน แต่เล็ก ๆ เรื่องหนึ่งที่ดูไม่ลงตัว คือเรื่องของอาหาร*

เรื่องอาหารนั้น มีระบุไว้ตั้งแต่ต้นปี 1918 แล้วว่าให้เหมือนกับกองทัพฝรั่งเศส เพียงแต่ลดจำนวนขนมปังและเพิ่มข้าวเข้าไป "เหมือนพวกอินโดจีน" เรื่องค่าอาหารนี้รัฐบาลฝรั่งเศสออกให้ก่อน แล้วรัฐบาลสยามค่อยจ่ายคืนทีหลัง

แต่แล้วช่วงต้นเดือนตุลาคม มีจดหมายจากผู้บัญชาการทหารของฝรั่งเศสไปถึงกระทรวงกลาโหม บอกว่าผู้นำทหารของสยาม ไม่ต้องการให้มีไวน์อยู่ในเมนูอาหาร เพราะไม่อยากให้ทัพสยาม "ติดเป็นนิสัย" จึงขอให้เปลี่ยนเป็นชากับน้ำตาลแทน แม้แต่เรื่องข้าวเองก็ดูจะมีปัญหา เอกสารระบุไว้ไม่แน่ชัดโดยกล่าวว่ามีความยุ่งยากบางประการเกี่ยวกับการจ่ายอาหารตามอัตราส่วนนี้ โดยเฉพาะในช่วงเคลื่อนย้ายกำลังพล

สรุปว่าตั้งแต่ราว 21 ตุลาคม ทหารสยามต้องจิบชาแทนไวน์ และก็ไม่แน่ว่าจะได้กินข้าวทุกมื้อหรือเปล่า อาจจะต้องกินแต่ขนมปังแบบเดียวกับทหารฝรั่งเศส ตามที่ระบุไว้อาหารทั้งหมดประกอบด้วย ขนมปัง 600 กรัม, เนื้อ 350 กรัม, น้ำตาล 0.32 กรัม, กาแฟ 0.24 กรัม, ผักแห้ง 0.60 กรัม, ไขมัน (เบค่อน?) 0.30 กรัม, เกลือ 0.20 กรัม, ชา 0.005 กรัม, และน้ำตาล 0.10 กรัม

พอราวหนึ่งเดือนผ่านไป ผู้นำหน่วยยานยนต์ของสยามชื่อ หลวงรามา เขียนจดหมายลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 1918 บอกว่าทหารสยามล้มป่วยกันมากเพราะอากาศหนาว และก็อาจจะป่วยเพิ่มขึ้นอีกหากไม่มีการป้องกัน ทีนี้เขาได้ปรึกษากับนายพลชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่ง จึงได้รู้ว่าไวน์มีสรรพคุณช่วยให้ร่างกายอบอุ่นได้ด้วยปริมาณแอลกอฮอล์ที่พอเหมาะ แตกต่างจากชาที่ไม่ช่วยอะไรเท่าไหร่ เขาจึงเขียนจดหมายนี้เพื่อขอให้ยกเลิกนโยบายเรื่องชา แล้วให้มีไวน์กลับมาในเมนูอาหารดังเดิม มิเช่นนั้นกองกำลังของสยามจะต้องทนทุกข์กับความหนาวที่พวกเขาไม่คุ้นเคย

เห็นได้ว่าแม้จะเซ็นยุติสงครามแล้วตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน แต่การเบิกจ่ายอาหารก็ยังคงดำเนินไปตามปกติ (แต่เราก็สันนิษฐานเอาได้ว่า พวกเขาคงมีทางเลือกส่วนตัวในการเลือกจับจ่ายบริโภคเองมากกว่าในสถานการณ์สงคราม) ในปีถัดมามีการเซ็นสนธิสัญญาแวร์ซายและมีการเดินขบวนของประเทศผู้ชนะสงคราม ทหารสยามก็ได้เข้าร่วมด้วยก่อนจะกลับสยามในที่สุด


ภาพกองทหารสยามเดินขบวนผ่านประตูชัย (l'Arc de Triomphe) ณ กรุงปาริสในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) เพื่อฉลองการชัยชนะภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (จาก http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Firstworldwar.jpg)

*ข้อมูลเรียบเรียงจากเอกสารหอจดหมายเหตุการทหาร ณ กรุงปารีส รวบรวมโดยสถานทูตฝรั่งเศสในประเทศไทยเนื่องในวาระเฉลิมฉลองความร่วมมือทางการทหารไทย-ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 (เข้าถึงได้จาก http://www.ambafrance-th.org/IMG/pdf/DOSSIER_11_NOV.pdf?3163/21093bb52920e3ff868b5fe5d38115adbb2da93c)

บล็อกของ ดิน บัวแดง

ดิน บัวแดง
มิเชล ฟูโกต์, อิหร่าน, และพลังของจิตวิญญาณ: บทสัมภาษณ์ในปี 1979 ที่ไม่เคยเผลแพร่มาก่อน* เอกสารที่น่าทึ่งชิ้นนี้ถูกค้นพบในหอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส เมื่อปีที่แล้ว เป็นบทสัมภาษณ์โดยหนังสือพิมพ์ Obs เมื่อปี 1979 ที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน ในบทสัมภาณ์นี้ มิเชล ฟูโกต์อธิบายความสนใจของเขาในเรื่องการปฏิวัติอิหร่าน และเรื่อง “จิตวิญญาณ” ในฐานะพลังทางการเมือง
ดิน บัวแดง
ผมได้ยินชื่ออาจารย์ยิ้มครั้งแรก เมื่ออาจารย์ถูก “ศอฉ.” คุมตัว หลังการสลายการชุมนุมเดือนพฤษภาคม 2553 ขณะนั้นผมเป็นนิสิตปีที่ 2 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ไม่ได้สนใจการเมืองเป็นพิเศษ แต่เริ่มรู้สึกว่าการเมืองเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้นทุกที ตั้งแต่เสียงยิงกันและการชุมนุมปิดถนนใกล้มหาวิทยาลัย จนกระทั่งการคุมตัวอ
ดิน บัวแดง
ลาน Place de la République ขึ้นชื่อเรื่องการเป็นที่จัดชุมนุมต่าง ๆ เพราะเป็นลานใหญ่ อยู่กลางกรุงปารีส ตรงกลางของลานมีอนุสาวรีย์ la République หรือ Marianne ถือคบเพลิง เป็นสัญลักษณ์ของระบอบสาธารณรัฐ อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ.
ดิน บัวแดง
ผู้เขียนโชคดีมาก ๆ ที่ไปเล่นเกมส์ตอบคำถามออนไลน์ แล้วดันเป็นผู้โชคดี ได้รับบัตรดูหนังที่โรงหนัง Louxor ฟรีตลอดปี ไปกี่ครั้ง ดูกี่เรื่องก็ได้ พาเพื่อนไปได้ฟรีอีกคนนึงอีกต่างหาก แต่แล้วก็ไม่เคยได้ยินชื่อโรงหนังนี้มาก่อนเลย วันนี้เลยไปลองดูหนังมาซักเรื่อง พอกลับบ้านก็ลองมาค้นประวัติโรงหนังดู พบว่าน่
ดิน บัวแดง
ปารีสช่วงเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่เลื่องลือเรื่องอากาศแปรปรวน เอาแน่เอานอนไม่ได้ หลายวันก่อนแดดออกทั้งวัน อุณหภูมิขึ้นสูงถึง 19 องศา ถือว่าเป็นอุณหภูมิที่พบได้ปลายเดือนเมษายน ปรากฎว่ามาวันนี้อากาศกลับเย็น เมฆครึ้ม ลมพัดแรง
ดิน บัวแดง
หลังจากเกิดเหตุการณ์สังหารโหด Charlie Hebdo ก็มีปฏิกิริยาตอบโต้จากสถานศึกษาต่าง ๆ ในฝรั่งเศสแทบจะทันที ในแง่หนึ่ง ระบบการศึกษาของฝรั่งเศสก็กลายเป็น "แพะรับบาป" เพราะฆาตกรที่ก่อเหตุนั้น เป็นชาวฝรั่งเศสและเป็นผลผลิตของความล้มเหลวในการปลูกฝัง "คุณค่าของสาธารณรัฐ" ผ่านระบบการศึกษาในฝรั่งเศสเอง หนึ่งใ
ดิน บัวแดง
ฉากหลังเห็นควันบุหรี่จากทหารนายหนึ่ง ในขณะที่ทหารอีกนายหนึ่งคาบบุหรี่อยู่ ภาพจาก ECPAD
ดิน บัวแดง
Charb นักเขียนการ์ตูนแนวเสียดสีชื่อดังของ Charlie Hebdo เพิ่งเขียนการ์ตูนแซวเหล่าผู้ก่อการร้ายในหนังสือพิมพ์ฉบับล่าสุด มีข้อความว่า "ยังไม่มีการก่อการร้ายในฝรั่งเศส (?) เดี๋ยว ๆ, เรายังมีเวลาถึงปลายเดือนมกราคมเพื่อที่จะ 'ให้พร' เหล่านั้น" (ประเพณีฝรั่งเศส คือการอวยพรปีใหม่สามารถยืดไปได้ถึงปลายเดื
ดิน บัวแดง
ทหารสยามมาถึงฝรั่งเศสปลายเดือนกรกฎาคมปี 1918 และบางหน่วยออกไปแนวหน้าช่วงกลาง ๆ กันยายน แต่เล็ก ๆ เรื่องหนึ่งที่ดูไม่ลงตัว คือเรื่องของอาหาร*
ดิน บัวแดง
วิชาปรัชญาเป็นวิชาบังคับในระดับมัธยมปลายในฝรั่งเศสมายาวนานตั้งแต่สมัยจักรวรรดิที่ 1 ในปี 1808 แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ในยุโรปขณะนี้ที่อาจจะไม่บังคับ หรือไม่มีเลย ถ้าบังคับก็จะมีบางประเทศ เช่น สเปน แต่ก็ไม่ใช่ปรัชญาโดยตรง แต่เป็นประวัติศาสตร์ปรัชญามากกว่า
ดิน บัวแดง
วันที่ 7 พฤษภาคม 2014 Google ฝรั่งเศสนำเสนอภาพหญิงยุโรปคนหนึ่ง แต่งกายแบบชนชั้นกลางสมัยศตวรรษที่ 18 กำลังอภิปรายอยู่บนแท่นปราศรัย
ดิน บัวแดง
"Violer le droit, supprimer l’Assemblée, abolir la constitution, étrangler la république, terrasser la nation, salir le drapeau, déshonorer l’armée, prostituer le clergé et la magistrature, réussir, triompher, gouverner, administrer, exiler, bannir, dé­porter, ruiner, assassiner, régner, avec des