ประวัติอันโชกโชนของโรงหนัง Louxor แห่งเมืองปารีส

ผู้เขียนโชคดีมาก ๆ ที่ไปเล่นเกมส์ตอบคำถามออนไลน์ แล้วดันเป็นผู้โชคดี ได้รับบัตรดูหนังที่โรงหนัง Louxor ฟรีตลอดปี ไปกี่ครั้ง ดูกี่เรื่องก็ได้ พาเพื่อนไปได้ฟรีอีกคนนึงอีกต่างหาก แต่แล้วก็ไม่เคยได้ยินชื่อโรงหนังนี้มาก่อนเลย วันนี้เลยไปลองดูหนังมาซักเรื่อง พอกลับบ้านก็ลองมาค้นประวัติโรงหนังดู พบว่าน่าสนใจมาก สะท้อนประวัติศาสตร์ภาพยนตร์และประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมของฝรั่งเศสไปในตัว

โรงหนังนี้สร้างในช่วงทศวรรษที่ 1920 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หนังกำลังบูมมาก ๆ หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โรงหนังสมัยนั้นเป็นโรงเดี่ยวขนาดใหญ่ เช่นที่ Gaumant Palace แถว ๆ Montmatre ในช่วงทศวรรษที่ 1910 เป็นโรงหนังที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถรองรับคนได้ถึง 5,000 คน สำหรับโรงหนัง Louxor นี้เริ่มสร้างเมื่อปี 1920 รองรับคนได้ทั้งหมด 1,195 คน มีสองชั้นเหมือนโรงละคร ทั้งภายในและภายนอกโรงหนังตกแต่งสไตล์ Art déco แบบอียิปต์โบราณ เพราะตอนนั้นกำลังตื่นเต้นเรื่องการค้นพบหลุมศพกษัตริย์ตุตันคาเมน และแน่นอนว่าชื่อโรงหนัง Louxor ก็มาจากอดีตเมืองหลวงของอียิปต์ด้วย

ภาพ Le Louxor ในปี 1922

โรงหนังนี้มีการพัฒนาไปตามกระแสของหนัง ช่วงแรกมีการฉายพวกหนังสั้นและหนังเป็นตอน ๆ ต่อมาหนังขนาดยาวเริ่มได้รับความนิยม ส่วนใหญ่เป็นหนังฝรั่งเศส อิตาเลียน เยอรมัน และอเมริกัน (ช่วงที่นาซียึดปารีส โรงหนังนี้ก็เป็นแหล่งฉายหนัง propaganda) พอเวลาผ่านไป แฟชั่นการตกแต่งแบบอียิปต์ไม่ฮิตแล้ว โรงหนังก็เปลี่ยนเป็นแบบนีโอกรีกแทน

ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปลายทศวรรษที่ 1950 โรงหนังได้รับความนิยมสูงสุด ปี 1946 มีคนไปดูหนังถึง 7 แสนกว่าคน แต่หลังช่วงเวลาดังกล่าว โรงหนังขนาดใหญ่ตกต่ำเป็นอย่างมากเพราะผู้คนหันไปดูหนังโรงเล็กแทน ผู้บริหารพยายามหามาตรการแก้ไข เช่น ลดจำนวนที่นั่ง ปรับปรุงอุปกรณ์ ตกแต่งเพิ่มเติม ฯลฯ แต่ไม่เป็นผล ปลายทศวรรษ 1960 โรงหนังจึงต้องลดราคาตั๋วและเปลี่ยนโปรแกรมหนังทั้งหมด เอาพวกหนังฝรั่งเศสราคาถูกและหนังอื่น ๆ จากเอเชียมาฉายแทน

ภาพโรงหนัง Le Louxor ในปี 1953

ช่วงทศวรรษที่ 1970 เริ่มเอาหนังอียิปต์และอาฟริกาเหนือมาฉาย เพื่อตอบสนองความต้องการของคนที่อพยพเข้ามาในบริเวณนั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ (บริเวณ Barbès - Rochechouart ทุกวันนี้ขึ้นชื่อเรื่องการเป็นชุมชุนของชาวอาฟริกันและอาหรับ) ช่วงทศวรรษที่ 1980 เริ่มมีหนังอินเดียเข้ามาฉายเพราะบริเวณใกล้ ๆ นั้นเป็นชุมชนอินเดียเช่นกัน

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 มีการพยายามจดทะเบียนโรงหนังนี้ให้เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ แต่มาสำเร็จจริง ๆ เมื่อปี 1981 ถึงกระนั้น ธุรกิจก็ดำเนินไปอย่างย่ำแย่จนต้องปิดตัวลงไปในปี 1986 กลายเป็นสถานที่เที่ยวกลางคืน ครั้งหนึ่งเคยเป็นผับเกย์ที่ใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส แต่สุดท้ายก็ต้องปิดกิจการไปเช่นกัน

โรงหนังอยู่ในสภาพทรุดโทรมจนเวลาล่วงเลยไปถึงปี 2001 มีกลุ่มชื่อ Action Barbès ทำการล่ารายชื่อคนในวงการวัฒนธรรมและภาพยนตร์ เพื่อเรียกร้องให้เทศบาลเมืองปารีสเข้าซื้อสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์นี้ การรณรงค์สำเร็จทำให้ปารีสกลายเป็นเจ้าของโรงหนังตั้งแต่ปี 2003

การดำเนินการเป็นไปอย่างเชื่องช้า ในปี 2007 เทศบาลตัดสินใจว่าจะทำให้สถานที่นี้กลับมาเป็นโรงหนังเหมือนจุดประสงค์แรกเริ่มของมัน อีกทั้งต้องการทำให้การประดับตกแต่งสถานที่เป็นแบบอียิปต์โบราณเหมือนดังตอนแรกเริ่มด้วย สถาปนิกจึงต้องค้นคว้าข้อมูลประวัติของโรงหนังและบางทีถึงขั้นต้องค้นคว้าข้อมูลทางโบราณคดีด้วยเพื่อให้การบูรณะออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด



การบูรณะที่เรียกได้ว่าสร้างใหม่เลยก็ได้นี้เริ่มต้นเมื่อปี 2010 ห้องใหญ่สุดมี 334 ที่นั่งและยังเก็บจอโบราณที่สุดของโรงหนังไว้อยู่ นอกจากนี้ยังมีอีกสองโรงขนาดเล็กกว่าอยู่ห้องใต้ดิน มีบาร์และห้องโถงให้นั่งรอด้วย โรงหนังใหม่นี้เรียกว่า LOUXOR – PALAIS DU CINEMA เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อปี 2013 หนังส่วนใหญ่ที่ฉายเป็นหนังฝรั่งเศสและหนังสำหรับเด็ก



ถึงทุกวันนี้โรงหนังนี้มีอายุเกือบ 100 ปีแล้ว ประวัติโชกโชนและน่าสนใจมาก แต่ดูท่าแล้วจะสู้โรงหนังแบบสมัยใหม่ไม่ได้อยู่ดี ความรู้สึกส่วนตัวคือระบบเสียงยังไม่ดีเท่าไหร่ และที่นั่งเท่ากันหมดทำให้ทุกคนต้องเงยหน้าดูจอที่อยู่สูงขึ้นไป ภาพที่เห็นจึงเป็นมุมเงย หน้าจอก็ค่อนข้างเล็กเทียบกับที่นั่งที่มีถึง 300 กว่าที่ วันนี้ที่เข้าไปดู มีคนไม่มากเลย และส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ สงสัยว่าขณะนี้ถึงวิกฤติของโรงหนังนี้อีกครั้งแม้จะเพิ่งเปิดก็ตาม (เขาจึงมีการจับฉลากแจกบัตรฟรี!)

อย่างไรก็แล้วแต่ คนที่มาคงจะเข้าใจกันว่า การมาที่นี่ไม่ใช่เพียงมาเสพย์ภาพยนตร์ แต่เป็นการเสพย์ประวัติศาสตร์ไปในตัว

อ้างอิง:

http://www.cinemalouxor.fr/histoire-du-louxor/

http://www.pumain.fr/

มิเชล ฟูโกต์, อิหร่าน, และพลังของจิตวิญญาณ: บทสัมภาษณ์ในปี 1979 ที่ไม่เคยเผยแพร่มาก่อน

มิเชล ฟูโกต์, อิหร่าน, และพลังของจิตวิญญาณ: บทสัมภาษณ์ในปี 1979 ที่ไม่เคยเผลแพร่มาก่อน*

 

เอกสารที่น่าทึ่งชิ้นนี้ถูกค้นพบในหอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส เมื่อปีที่แล้ว เป็นบทสัมภาษณ์โดยหนังสือพิมพ์ Obs เมื่อปี 1979 ที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน ในบทสัมภาณ์นี้ มิเชล ฟูโกต์อธิบายความสนใจของเขาในเรื่องการปฏิวัติอิหร่าน และเรื่อง “จิตวิญญาณ” ในฐานะพลังทางการเมือง

แด่อาจารย์ยิ้มผู้เป็นครูและราษฎร์บัณฑิต

ผมได้ยินชื่ออาจารย์ยิ้มครั้งแรก เมื่ออาจารย์ถูก “ศอฉ.” คุมตัว หลังการสลายการชุมนุมเดือนพฤษภาคม 2553 ขณะนั้นผมเป็นนิสิตปีที่ 2 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ไม่ได้สนใจการเมืองเป็นพิเศษ แต่เริ่มรู้สึกว่าการเมืองเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้นทุกที ตั้งแต่เสียงยิงกันและการชุมนุมปิดถนนใกล้มหาวิทยาลัย จนกระทั่งการคุมตัวอ

หนึ่งปีรัฐประหารคสช. : กิจกรรมที่ Place de la République เมืองปารีส

ลาน Place de la République ขึ้นชื่อเรื่องการเป็นที่จัดชุมนุมต่าง ๆ เพราะเป็นลานใหญ่ อยู่กลางกรุงปารีส ตรงกลางของลานมีอนุสาวรีย์ la République หรือ Marianne ถือคบเพลิง เป็นสัญลักษณ์ของระบอบสาธารณรัฐ อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ.

ประวัติอันโชกโชนของโรงหนัง Louxor แห่งเมืองปารีส

ผู้เขียนโชคดีมาก ๆ ที่ไปเล่นเกมส์ตอบคำถามออนไลน์ แล้วดันเป็นผู้โชคดี ได้รับบัตรดูหนังที่โรงหนัง Louxor ฟรีตลอดปี ไปกี่ครั้ง ดูกี่เรื่องก็ได้ พาเพื่อนไปได้ฟรีอีกคนนึงอีกต่างหาก แต่แล้วก็ไม่เคยได้ยินชื่อโรงหนังนี้มาก่อนเลย วันนี้เลยไปลองดูหนังมาซักเรื่อง พอกลับบ้านก็ลองมาค้นประวัติโรงหนังดู พบว่าน่

ครบรอบ 56 ปีการลุกฮือของทิเบต: ชุมนุมใหญ่ของชาวทิเบตในยุโรป ณ กรุงปารีส

ปารีสช่วงเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่เลื่องลือเรื่องอากาศแปรปรวน เอาแน่เอานอนไม่ได้ หลายวันก่อนแดดออกทั้งวัน อุณหภูมิขึ้นสูงถึง 19 องศา ถือว่าเป็นอุณหภูมิที่พบได้ปลายเดือนเมษายน ปรากฎว่ามาวันนี้อากาศกลับเย็น เมฆครึ้ม ลมพัดแรง