Skip to main content

ปารีสช่วงเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่เลื่องลือเรื่องอากาศแปรปรวน เอาแน่เอานอนไม่ได้ หลายวันก่อนแดดออกทั้งวัน อุณหภูมิขึ้นสูงถึง 19 องศา ถือว่าเป็นอุณหภูมิที่พบได้ปลายเดือนเมษายน ปรากฎว่ามาวันนี้อากาศกลับเย็น เมฆครึ้ม ลมพัดแรง

แต่อากาศเช่นนี้ ดูเหมือนจะไม่มีผลกระทบอะไรมากนักต่อชาวทิเบตทั่วยุโรป ที่นัดหมายกันมาเดินขบวนที่ปารีส เนื่องในโอกาสวันครบรอบการลุกฮือของชาวทิเบตเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 1959 มาถึงปีนี้ก็นับเป็นปีที่ 56 แล้ว

จากการได้คุยกับผู้ลี้ภัยชาวทิเบตจากเนเธอร์แลนด์ เขาบอกว่ากิจกรรมนี้จัดทุกปีในแต่ละประเทศ สำหรับระดับยุโรปจะจัด 2-3 ปีต่อครั้ง ครั้งนี้เขานั่งรถมาถึงตอนเช้าเพื่อเข้าร่วมการเดินขบวนโดยเฉพาะ และจะกลับเนเธอร์แลนด์ในวันรุ่งขึ้น ทั้งนี้ในเนเธอร์แลนด์มีผู้ลัยภัยอยู่ราว 500 คน มาร่วมได้เพียงส่วนน้อยเพราะติดภาระส่วนตัว

ขบวนเริ่มออกเดินจากลานสิทธิมนุษยชนไปยังลาน Champ de Mars หน้าหอไอเฟลราว 11.00 น. มีการจัดขบวนกันอย่างรู้งาน คงเป็นเพราะจัดกันเป็นประจำ มีการ์ดหรือสต๊าฟชาวทิเบตอยู่ข้างขบวนคอยดูแลความเรียบร้อยอยู่ตลอด คาดการณ์โดยสายตาคิดว่าน่าจะมีผู้เข้าร่วมทั้งหมดราวพันกว่าคนได้ แบ่งออกเป็นขบวนย่อย ๆ ของหลายประเทศในยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร นอร์เวย์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน เป็นต้น รวมทั้งยังมีขบวนขององค์กรต่าง ๆ เช่น กลุ่มเยาวชนทิเบตในยุโรป


งานครั้งนี้ใหญ่เป็นพิเศษ เพราะมีนายกรัฐมนตรีพลัดถิ่นของทิเบต ชื่อ Lobsang Sangay ผู้เป็นบัณฑิตมหาวิทยาลัย Harvard มาร่วมเดินด้วย ในวันสองวันก่อนเดินขบวน เขาได้ไปแถลงข่าวที่รัฐสภา และได้เข้าพบเทศมนตรีเขตที่ 2 ของปารีส นอกจากนี้ยังมีศิลปินชาวทิเบต Loten Namling และน้องสาวของดาไลลามะ Jetsun Pema มาร่วมเดินด้วย

(ภาพ Lobsang Sangay คนที่สามจากขวามือ ถือป้ายนำขบวน ถ่ายโดย Patrick Bonnassieux)

น่าสนใจว่าผู้เข้าร่วมนั้นนอกจากมาจากหลายชาติแล้ว ยังมาจากหลายรุ่นหลายวัยด้วย ทำให้เห็นว่าการเมืองของทิเบตนั้นมีความเข้มข้น เป็นการต่อสู้ที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน


คำขวัญของการเดินขบวน ดูราวกับว่ารู้กันอยู่แล้ว เพราะแทบทุกขบวนย่อยมักจะตะโกนประโยคคล้าย ๆ กันหมด เช่น Shame on China, Tibet is burning: Help Help! ส่วนบรรยากาศนั้นเป็นไปอย่างคึกคัก โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ถนนสายเล็ก ๆ เครื่องกระจายเสียงก็ดูจะมีพลังมากขึ้น เสียงจึงก้องไปเป็นบริเวณกว้าง บวกกับธงชาติทิเบตที่ต้องลมแรงชูอยู่เต็มขบวน ทำให้นักท่องเที่ยวและคนผ่านไปมาในบริเวณนั้นให้ความสนใจการประท้วงเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องน่าแปลกที่ผู้เขียนไม่พบเห็นนักท่องเที่ยวชาวจีนมากนัก

มีผู้ร่วมชุมนุมเล่าว่า ระหว่างที่ขบวนเดินไปยัง Champ de Mars นั้น ได้เข้าใกล้บริเวณสถานทูตจีน แต่ปรากฎว่าเส้นทางถูกกั้นไว้โดยเจ้าหน้าที่ทหารของฝรั่งเศส ทำให้มีการตะโกนด่าทอจีนจากไกล ๆ ก่อนจะเดินขบวนไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ต่อไป

สุดท้าย ขบวนเมื่อสิ้นสุดที่ Champs de Mars มีการกล่าวปราศรัยบนเวที และมีการแสดงคอนเสิร์ต ก่อนจะแยกย้ายกันกลับในช่วงเย็น

(ภาพจาก Patrick Bonnassieux)

ตัวผู้เขียนนั้นไม่ได้อยู่ถึงตอนท้ายเพราะหิว จึงได้ไปลองทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารทิเบต เมื่อไปถึงร้านราว 14.00 น. ปรากฎว่าได้เป็นลูกค้ากลุ่มท้าย ๆ เพราะเขาจะไม่ขายแล้วในวันนี้ เหตุผลก็เพราะตัวเจ้าของร้านนั้นอยากจะไปร่วมกิจกรรมชุมนุม สามีของเจ้าของร้านนี้ไปร่วมก่อนแล้ว ทิ้งให้เขาดูแลร้านคนเดียว ผู้เขียนกับสหายรับประทานอยู่นาน จนเหลืออยู่โต๊ะสุดท้าย จึงได้คุยกับเขาบ้าง เขาบอกว่าจริง ๆ การเดินขบวนระดับยุโรปนี้มีทุกปี และเวียนกันจัดในแต่ละประเทศ เช่น ปีที่แล้วจัดที่บรัสเซล ก่อนหน้านั้นจัดที่สวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น พวกเราแซวว่าน่าจะมาลองเดินที่ประเทศไทยดูบ้าง เขาครุ่นคิดซักพักแล้วตอบกลับมาว่า ไม่เอาดีกว่า Situation in Thailand is same-same (with Tibet)

ส่วนอาหารอาหารนั้นเป็นประเภทเกี๊ยวทอดหรือนึ่งและมีแกงกะหรี่ ที่เด็ดคือมีชา Butter tea ซึ่งมีรสเค็ม ผู้เขียนพบว่าแปลกประหลาดแต่ก็ไม่เลวเลยทีเดียว!

บล็อกของ ดิน บัวแดง

ดิน บัวแดง
มิเชล ฟูโกต์, อิหร่าน, และพลังของจิตวิญญาณ: บทสัมภาษณ์ในปี 1979 ที่ไม่เคยเผลแพร่มาก่อน* เอกสารที่น่าทึ่งชิ้นนี้ถูกค้นพบในหอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส เมื่อปีที่แล้ว เป็นบทสัมภาษณ์โดยหนังสือพิมพ์ Obs เมื่อปี 1979 ที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน ในบทสัมภาณ์นี้ มิเชล ฟูโกต์อธิบายความสนใจของเขาในเรื่องการปฏิวัติอิหร่าน และเรื่อง “จิตวิญญาณ” ในฐานะพลังทางการเมือง
ดิน บัวแดง
ผมได้ยินชื่ออาจารย์ยิ้มครั้งแรก เมื่ออาจารย์ถูก “ศอฉ.” คุมตัว หลังการสลายการชุมนุมเดือนพฤษภาคม 2553 ขณะนั้นผมเป็นนิสิตปีที่ 2 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ไม่ได้สนใจการเมืองเป็นพิเศษ แต่เริ่มรู้สึกว่าการเมืองเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้นทุกที ตั้งแต่เสียงยิงกันและการชุมนุมปิดถนนใกล้มหาวิทยาลัย จนกระทั่งการคุมตัวอ
ดิน บัวแดง
ลาน Place de la République ขึ้นชื่อเรื่องการเป็นที่จัดชุมนุมต่าง ๆ เพราะเป็นลานใหญ่ อยู่กลางกรุงปารีส ตรงกลางของลานมีอนุสาวรีย์ la République หรือ Marianne ถือคบเพลิง เป็นสัญลักษณ์ของระบอบสาธารณรัฐ อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ.
ดิน บัวแดง
ผู้เขียนโชคดีมาก ๆ ที่ไปเล่นเกมส์ตอบคำถามออนไลน์ แล้วดันเป็นผู้โชคดี ได้รับบัตรดูหนังที่โรงหนัง Louxor ฟรีตลอดปี ไปกี่ครั้ง ดูกี่เรื่องก็ได้ พาเพื่อนไปได้ฟรีอีกคนนึงอีกต่างหาก แต่แล้วก็ไม่เคยได้ยินชื่อโรงหนังนี้มาก่อนเลย วันนี้เลยไปลองดูหนังมาซักเรื่อง พอกลับบ้านก็ลองมาค้นประวัติโรงหนังดู พบว่าน่
ดิน บัวแดง
ปารีสช่วงเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่เลื่องลือเรื่องอากาศแปรปรวน เอาแน่เอานอนไม่ได้ หลายวันก่อนแดดออกทั้งวัน อุณหภูมิขึ้นสูงถึง 19 องศา ถือว่าเป็นอุณหภูมิที่พบได้ปลายเดือนเมษายน ปรากฎว่ามาวันนี้อากาศกลับเย็น เมฆครึ้ม ลมพัดแรง
ดิน บัวแดง
หลังจากเกิดเหตุการณ์สังหารโหด Charlie Hebdo ก็มีปฏิกิริยาตอบโต้จากสถานศึกษาต่าง ๆ ในฝรั่งเศสแทบจะทันที ในแง่หนึ่ง ระบบการศึกษาของฝรั่งเศสก็กลายเป็น "แพะรับบาป" เพราะฆาตกรที่ก่อเหตุนั้น เป็นชาวฝรั่งเศสและเป็นผลผลิตของความล้มเหลวในการปลูกฝัง "คุณค่าของสาธารณรัฐ" ผ่านระบบการศึกษาในฝรั่งเศสเอง หนึ่งใ
ดิน บัวแดง
ฉากหลังเห็นควันบุหรี่จากทหารนายหนึ่ง ในขณะที่ทหารอีกนายหนึ่งคาบบุหรี่อยู่ ภาพจาก ECPAD
ดิน บัวแดง
Charb นักเขียนการ์ตูนแนวเสียดสีชื่อดังของ Charlie Hebdo เพิ่งเขียนการ์ตูนแซวเหล่าผู้ก่อการร้ายในหนังสือพิมพ์ฉบับล่าสุด มีข้อความว่า "ยังไม่มีการก่อการร้ายในฝรั่งเศส (?) เดี๋ยว ๆ, เรายังมีเวลาถึงปลายเดือนมกราคมเพื่อที่จะ 'ให้พร' เหล่านั้น" (ประเพณีฝรั่งเศส คือการอวยพรปีใหม่สามารถยืดไปได้ถึงปลายเดื
ดิน บัวแดง
ทหารสยามมาถึงฝรั่งเศสปลายเดือนกรกฎาคมปี 1918 และบางหน่วยออกไปแนวหน้าช่วงกลาง ๆ กันยายน แต่เล็ก ๆ เรื่องหนึ่งที่ดูไม่ลงตัว คือเรื่องของอาหาร*
ดิน บัวแดง
วิชาปรัชญาเป็นวิชาบังคับในระดับมัธยมปลายในฝรั่งเศสมายาวนานตั้งแต่สมัยจักรวรรดิที่ 1 ในปี 1808 แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ในยุโรปขณะนี้ที่อาจจะไม่บังคับ หรือไม่มีเลย ถ้าบังคับก็จะมีบางประเทศ เช่น สเปน แต่ก็ไม่ใช่ปรัชญาโดยตรง แต่เป็นประวัติศาสตร์ปรัชญามากกว่า
ดิน บัวแดง
วันที่ 7 พฤษภาคม 2014 Google ฝรั่งเศสนำเสนอภาพหญิงยุโรปคนหนึ่ง แต่งกายแบบชนชั้นกลางสมัยศตวรรษที่ 18 กำลังอภิปรายอยู่บนแท่นปราศรัย
ดิน บัวแดง
"Violer le droit, supprimer l’Assemblée, abolir la constitution, étrangler la république, terrasser la nation, salir le drapeau, déshonorer l’armée, prostituer le clergé et la magistrature, réussir, triompher, gouverner, administrer, exiler, bannir, dé­porter, ruiner, assassiner, régner, avec des