Skip to main content

หลายคนเคยบอกว่า ไม่น่าเชื่อที่ชื่อสวยๆ อย่าง นากรี รูซา นิดา เกศนา สาลิกา คัมมุริ ฯลฯ และอีกหลายชื่อที่มีความหมายน่ารักๆ ถึง ต้นไม้ ดอกไม้ ภูเขา ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ เหล่านี้จะเป็นชื่อของพายุไปได้ อาจเพราะความจริงแล้วพายุ หรือวาตภัยส่วนใหญ่นั้นมีพิษสงทำลายล้าง ทำความน่าสะพรึงกลัวกับพวกเราชาวโลกไม่น้อยนั่นเอง เรื่องน่ารู้ฯ ตอนนี้เลยอยากเอาชื่อพายุมาเล่าสู่กันฟังค่ะ


12_8_01
ภาพเมฆฝนและพายุในจังหวัดเชียงใหม่ ปลายเดือน กรกฎาคม 2551


ชื่อของพายุนั้น ว่ากันว่า เดิมทีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ตั้งชื่อพายุทั่วโลกมาโดยตลอด เพราะสมัยก่อนสหรัฐนั้นถือว่าเป็นผู้นำด้านนี้ มีอุปกรณ์พร้อมในการตรวจสภาพอากาศ ดูพายุเคลื่อนไหว ชื่อที่ใช้ตั้งในอดีตบางครั้งมาจากนักเดินเรือที่เจอพายุในทะเล ก็จะตั้งชื่อเป็นคนรักเพื่อคลายความคิดถึงแฟน ชื่อก็เลยออกมาหวานๆ สวยๆ เป็นชื่อของผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ ฟังดูแล้วไม่รุนแรง ไม่น่ากลัวอย่างที่เป็นจริง โดยพายุโซนร้อนลูกแรกถูกตั้งชื่อว่า จูเลียต (Juliet)


แต่ความจริงก็คือความจริงวันยังค่ำ ต่อให้ชื่อสวยหวานแค่ไหน พายุก็มีแรงมหาศาลที่จะคร่าชีวิตผู้คนไปได้มากในแต่ละปี จนต่อมานักสิทธิสตรีในสหรัฐฯ ประท้วงว่า ชื่อพายุผู้หญิงทำให้ภาพลักษณ์ของผู้หญิงดูโหดร้ายอยู่ฝ่ายเดียว ดังนั้น ควรจะมีชื่อผู้ชายด้วยเช่นกัน


ปี 2000 หรือ 8 ปีที่แล้วนี้เอง ที่เริ่มมีการเสนอชื่อพายุ ให้แต่ละประเทศตั้งได้ 10 ชื่อ เป็นภาษาถิ่น รวมทั้งไทยเราด้วย พอรวมกันทั้งหมดแล้วได้ 140 ชื่อ ก็แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม คละกันไป กลุ่มละ 28 ชื่อ เรียงตามลำดับอักษร จากกัมพูชาไปจนถึงเวียดนาม ไทยอยู่อันดับที่ 12 พอใช้ครบก็วนกลับมาใช้กลุ่มต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งสำหรับไทยนั้น กรมอุตุนิยมวิทยาเสนอชื่อเข้าไปได้แก่ พระพิรุณ ทุเรียน วิภา รามสูร เมขลา มรกต นิดา ชบา กุหลาบและขนุน


มาดูวิธีการตั้งชื่อพายุกันค่ะ 5 หลักการตั้งชื่อคือ


ข้อที่ 1 เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 นอต หรือ 62 กม./ชม. พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ

ข้อที่ 2 ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ที่คอลัมน์ที่หนึ่งตัวบนสุดก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. เป็นตัวแรกของปี พายุนั้นจะมีชื่อว่า ดอมเรย์ (Damrey) เป็นชื่อจากกัมพูชา หรืออักษรตัวแรก (ก ไก่) มีความหมายถึง ช้าง

ข้อที่ 3 เมื่อมีพายุตัวต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. พายุนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมาในคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุตัวที่สองจะมีชื่อว่า หลงหวาง (Longwang) หมายถึง พญามังกร มาจากประเทศจีน

ข้อที่ 4 เมื่อใช้จนหมดกลุ่มแรก ก็ให้ใช้ชื่อแรกของกลุ่มถัดไป

ข้อที่ 5 เมื่อใช้จนหมดกลุ่มที่ 5 แล้ว ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 วนแบบนี้ไปเรื่อยๆ


สำหรับชื่อพายุที่เสนอเข้าไปนั้นมีถึง 140 ชื่อ ซึ่งคงมากมายเกินกว่าจะเอามาเล่าได้หมด เรามาดูเฉพาะในปี 2549-2551 ก็แล้วกันค่ะว่าพายุที่ถล่มไปประเทศไทยเรานั้น มีชื่อและความหมายถึงอะไรกันบ้าง



12_8_02
ภาพความเสียหายจากพายุทุเรียน

12_8_03
ภาพถ่ายพายุช้างสาร


ปี 2549 หรือ 2 ปีก่อน ในไทยมีพายุลูกใหญ่ 2 ลูกคือ ทุเรียน (Durain : 26 พย.-5 ธค.2550) ชื่อผลไม้ไทยๆ ของเราเอง และ ช้างสาร (Xangsange: 25 กย.-2 ตค. 2550) ชื่อจากประเทศลาว 25 กย.-2 ตค. 2550


 



12_8_04 
 
12_8_05
ภาพพายุและความเสียหายจาก เพผ่า (Peipah)




ปี
2550 ปีที่แล้วมีก็มี 2 ลูกใหญ่ๆ ที่ถล่มชุมพรกับระนอง คือ พายุ เพผ่า (Peipah: 3-9 พย.2550) ชื่อจากมาเก๊า หมายถึงปลาสวยงาม และ เลกีมา (Lekima : 30 กย.-3 ตค.2550) ชื่อจากเวียดนาม หมายถึงผลไม้ชนิดหนึ่ง


สำหรับปี 2551 เราเจอพายุเข้าไป 3 ลูกแล้วได้แก่ พายุ ฟงเฉิน (Fengshen) ชื่อจากจีน หมายถึง เทพเจ้าแห่งลม ถล่มไปเมื่อปลายเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ตามด้วย พายุ ฟองวอง (Fung-wong) ชื่อจากจีน หมายถึง ยอดเขา ถล่มไปเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม


และขณะนี้ต้นเดือนสิงหาคม บ้านเรากำลังได้รับอิทธิพลจากพายุที่ชื่อ คัมมุริ (Kumuri) ชื่อจากญี่ปุ่น ที่หมายถึงมงกุฎอันสวยงาม ซึ่งทำผู้เสียชีวิตไปแล้วมากกว่า 100 คนในขณะนี้



สำหรับชื่อของพายุ
นาร์กีส ที่ก่อความเสียหายมหาศาลไปช่วงก่อนนั้น เป็นชื่อจากปากีสถาน หมายถึง ดอกไม้ ซึ่งมาจากชื่อเด็กหญิงชาวมุสลิมนั่นเอง


ข้อมูลอ้างอิงจาก :

http://www.usatoday.com/weather/hurricane/2006-12-05-durian-vietnam_x.htm

http://news.bbc.co.uk

http://commons.wikimedia.org

http://www.china.org
http://th.wikipedia.org

http://www.tmd.go.th/storm_tracking.php กรมอุตุนิยมวิทยา

http://www.ketathai.com


บล็อกของ dinya

dinya
ใครกำลังรู้สึกเหมือนฉันไหมว่า ความรุนแรงและมหันตภัยไร้ระเบียบ กำลังรอถล่มเราอยู่? ไม่รู้จะพูดเกินเหตุไปไหมนะ ไม่ถึงกับหวาดผวา แต่ว่าหวั่นนิดๆ หลังจากเกิดพายุนาร์กิสถล่ม แผ่นดินไหวที่จีน น้ำท่วมต่อมา แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น แล้วตอนนี้ยังมีพายุที่ฟิลิปปินส์อีก เชื่อว่าตัวเลขผู้เสียชีวิต 87,000 คนและสูญหายอีก 5 ล้านคนจากแผ่นดินไหวที่จีน ยังเป็นเรื่องที่ช็อกเราอยู่ จนน่าตั้งคำถามว่า ก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวนั้น มีอะไรเตือนล่วงหน้ากันบ้างไหม ? ว่ากันว่า ลางสังหรณ์ หรือ Omen ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้น เป็นสิ่งที่ใครหลายๆ คนที่จีน ใช้เป็นข้อเสนอให้มีการหยุดงานเพื่อเตรียมรับมือกับธรณีพิบัติ…