Skip to main content

ภาพของปัจจุบันและอดีตของทะเลสาบในตะวันออกเฉียงเหนือของ Aotea


มีคนบอกว่า ชิลี เป็นประเทศที่มีเรื่องน่าตื่นเต้นไม่น้อยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ อย่างเช่น ทะเลสาบที่สวยงามในเขตแมกกัลลันส์ ห่างจากกรุงซานดิอาโก้ ไปประมาณ 2,000 กิโลเมตร ที่นั่นเคยมีน้ำอยู่เต็มทะเลสาบ มีสิ่งมีชีวิต มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม และดำรงอยู่เช่นนั้นมานานร่วม 30 ปี ด้วยพื้นที่ 10-12 เอเคอร์ หรือประมาณ 10 เท่าของสนามฟุตบอล


แต่แล้ววันหนึ่ง อยู่ๆ ทะเลสาบนั้นก็แห้งเหือด อันตรธานหายไปเสียเฉยๆ ทั้งที่คนยืนยันว่าก่อนหน้าที่ทะเลสาบจะหายไปไม่ถึง 1 เดือน ก็ยังเห็นน้ำมีอยู่เต็มทะเล


สิ่งที่เหลืออยู่แทนที่ความงามของทะเลสาบ คือแอ่งขรุขระขนาดใหญ่ เหลือเพียงก้อนน้ำแข็ง ดิน หิน ทราย แห้งๆ ราวกับว่าที่นี่ไม่เคยเป็นทะเลสาบมาก่อน

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นข่าวครึกโครมไปแล้ว ซึ่งตามมาด้วยโครงการวิจัยโดยนักวิทยาศาสตร์และนักธรณีวิทยาที่ทำการสำรวจโดยละเอียด แล้วพวกเขาก็ค้นพบทฤษฎีหนึ่งที่มีสมมุติฐานว่า ชิลี มีแผ่นดินไหวเล็กๆ อยู่บ่อยครั้ง ทำให้เกิดรอยแยกใต้แผ่นดิน ดังนั้น น้ำในทะเลสาบ ก็ไหลออกไปตามรอยแยก ตามรูใต้ดิน จนกระทั่งน้ำแห้งเหือดไปในที่สุด

สมมุติฐานอันนี้ อ้างอิงจากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งของชิลี ซึ่งทำให้เกิดคำถามที่ว่า ทะเลสาบที่แห้งเหือดไปนั้นเป็นตัวบอกถึงการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกในระดับรุนแรงหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่น่าตกใจต่อมาก็คือ นั่นไม่ใช่ทะเลสาบที่เดียวเท่านั้นที่หายไป แต่มีทะเลสาบอีกหลายแห่งที่แห้งเหือดหายไปเช่นกัน




ภาพการเปลี่ยนแปลงของทะเลสาบอารัล (Aralzee)


ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอารัล” ซึ่งอดีตเป็นทะเลที่มีพื้นที่
68,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นทะเลที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก เป็นทะเลปิดอยู่ในเอเชียกลาง ระหว่างประเทศคาซัคสถานและคารคัลปัคสถาน ซึ่งต่อมาน้ำในทะเลก็ลดลงเรื่อยๆ จนทะเลถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ทะเลอารัลเหนือ ทะเลอารัลใต้ส่วนตะวันออก และ ทะเลอารัลใต้ส่วนตะวันตก


ในเวลาต่อมา ทะเลอารัลก็ลดขนาดลงเรื่อยๆ จนเหลือพื้นที่แค่ 25% ของขนาดเดิม มีความเค็มมากขึ้น พืชและสัตว์น้ำก็ตายลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุด เมื่อปี พ..2550 ที่ผ่านมา ทะเลอารัลเหลือแค่ 10% เท่านั้น และส่วนที่เหลือก็มีสภาพเป็นเพียงสุสานการประมง อย่างภาพที่เห็น


ภาพทะเลสาบอารัล (Aralzee) ในปัจจุบัน


ส่วนภาพข้างบนนี้ คือทะเลสาบภูเขาน้ำแข็งของเทือกเขาแอนทีส ในประเทศชิลี ซึ่งได้อันตรธานหายไปเช่นกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ เป็นทะเลสาบสีครามที่สวยงามมาก มีน้ำเย็นจัด และมีก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ลอยไปมาอยู่บนผิวน้ำเป็นช่วงๆ ในปี 2550 ที่ผ่านมาก็กลายสภาพเป็นแอ่งหินที่ปราศจากน้ำ มีเพียงก้อนน้ำแข็งเกาะตามเทือกเขาเป็นส่วนๆ เท่านั้น

 

สำหรับทะเลสาบ
Chad ในอัฟริกา ซึ่งเคยเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมพื้นที่ 4 ประเทศ คือหนึ่งในทะเลสาบที่แห้งเหือดหายไป ซึ่งมีกราฟแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี ค..1963 –2001 และในปี 2007 ก็เหลือปริมาณน้ำอยู่เพียงน้อยนิด ซึ่งคาดว่าไม่เกิน 10 ปีจะแห้งไปทั้งหมด





ทะเลสาบ Chad ในอดีต และภาพปัจจุบัน จากภาพถ่ายทางอากาศ

โดย Jacques Descloitres องค์การ NASA/GSFC


สำหรับทะเลที่มีชื่อเสียงอย่าง มัลดีฟส์
(Maldives) นั้นได้ถูกทำนายโดยนักธรณีวิทยาว่า มีโอกาสจะสูญหายและจมลงไปในมหาสมุทรอินเดีย เช่นเดียวกับทะเลสาบ เดดซี (Dead Sea) ทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะแห้งเหือดหายไปในอีก 50 ปีข้างหน้า เพราะขณะนี้มีปริมาณน้ำที่ลดลงเฉลี่ยปีละมากกว่า 1 เมตร ซึ่งขณะนี้ปริมาณน้ำก็หายไปแล้ว 1 ใน 3 ส่วน โดยวิธีแก้ไขที่มีการเสนอขณะนี้คือ ให้ขุดคลองยาว 200 กิโลเมตร เชื่อมต่อกับทะเลแดงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ



นอกเหนือจากทฤษฎีของ ฮวน โฮเซ่ โรเมโร่ หัวหน้าอุทยานป่าสงวนของชิลีและทีมของเขา ที่เชื่อว่า มีรอยแยกอยู่ในใต้ดินทำให้น้ำไหลออกไปจนหมดแล้ว ยังมีทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องภูเขาไฟใต้ทะเล และเรื่องของ ปัญหาการพัฒนาระบบชลประทาน ซึ่งในข้อมูลจาก
An Inconvenient Truth โดย อัล กอร์ นั้นบอกว่าการแปรสภาพแม่น้ำ และผันน้ำมาใช้มากเกินไปนั่นเอง ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปรากฎการณ์เช่นนี้ เช่นเดียวกับกรณีที่เกิดในสหภาพโซเวียต ซึ่งผันน้ำจากสายเอเชียกลาง คือ แม่น้ำอมูดาร์ยา และไซร์ดาร์ยา ที่เคยหล่อเลี้ยงทะเลอารัล นำไปใช้ในการชลประทานไร่ฝ้าย นั่นคือสาเหตุที่ทะเลอารัลเหือดแห้งไปนั่นเอง


ภาพถ่ายทางอากาศ ถึงทะเลสาบน้อยใหญ่ ใน Siberia ที่หายไป



ส่วน ลอเรนซ์ สมิท
( Laurence Smith) หัวหน้าทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งลอสแองเจลลิส ได้เปิดเผยในนิตยสาร Science ว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นคือการแสดงถึงภาวะโลกร้อน ซึ่งทำให้น้ำแข็งทั่วโลกละลาย หากแต่น้ำที่เกิดขึ้นกลับถูกดูดซึมลงไปในชั้นหินและดินแทนที่จะเพิ่มปริมาณน้ำให้มากกว่าเดิม


มันเหมือนการดึงที่อุดอ่างอาบน้ำ เมื่อไม่มีอะไรขัดขวางน้ำจากทะเลสาบจึงไหลซึมผ่านดินลงไปสู่วัตถุธาตุต่างๆ ที่อยู่ข้างใต้” นั่นคือสิ่งที่เขาอธิบายพร้อมกับบอกจุดหมายไว้ว่า นี่เป็นเส้นทางหายนะทางนิเวศวิทยานั่นเอง

ขณะนี้ ในเวบไซต์ space.com นั้นได้รวบรวมจำนวนของทะเลสาบที่สูญหายไปในขณะนี้ มีตัวเลขที่สำรวจได้รวมทะเลสาบที่หายไปทั้งสิ้น 125 แห่งแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ อย่างที่ไม่มีอะไรจะหยุดยั้งได้




ภาพทะเลสาบ Cerknica Lake ใน Slovenia ที่หายไป



ภาพทะเลสาบ Cerknica Lake ใน Slovenia ที่หายไป



ข้อมูลอ้างอิง

http://strangemaps.wordpress.com

http://www.new7wonders.com/nature/en/nominees/africa/c/LakeChadLake/

http://visibleearth.nasa.gov/view_rec.php?id=2187

http://www.jezerski-hram.si/eng/index.html
http://www.teara.govt.nz
http://science.howstuffworks.com/disappearing-lake.htm/printable
http://seagrant.uaf.edu/news/05ASJ/06.10.05arctic-lakes.html
http://www.livescience.com
http://earthobservatory.nasa.gov/Newsroom/NewImages/images.php3?img_id=16986


บล็อกของ dinya

dinya
ใครกำลังรู้สึกเหมือนฉันไหมว่า ความรุนแรงและมหันตภัยไร้ระเบียบ กำลังรอถล่มเราอยู่? ไม่รู้จะพูดเกินเหตุไปไหมนะ ไม่ถึงกับหวาดผวา แต่ว่าหวั่นนิดๆ หลังจากเกิดพายุนาร์กิสถล่ม แผ่นดินไหวที่จีน น้ำท่วมต่อมา แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น แล้วตอนนี้ยังมีพายุที่ฟิลิปปินส์อีก เชื่อว่าตัวเลขผู้เสียชีวิต 87,000 คนและสูญหายอีก 5 ล้านคนจากแผ่นดินไหวที่จีน ยังเป็นเรื่องที่ช็อกเราอยู่ จนน่าตั้งคำถามว่า ก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวนั้น มีอะไรเตือนล่วงหน้ากันบ้างไหม ? ว่ากันว่า ลางสังหรณ์ หรือ Omen ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้น เป็นสิ่งที่ใครหลายๆ คนที่จีน ใช้เป็นข้อเสนอให้มีการหยุดงานเพื่อเตรียมรับมือกับธรณีพิบัติ…