Skip to main content
หลายวันก่อนผู้เขียนเถียงกันเล่นๆ กับเพื่อน เรื่อง "ดวงตาของควาย" ที่บอกว่ามันตื่นกลัวสีแดงเป็นพิเศษ สามารถตกมันได้เหมือนช้าง เวลาเห็นสีแดงจัดๆ ในอากาศร้อนๆ แต่อีกคนบอกว่าไม่จริงเลย ควายน่ะมองเห็นทุกอย่างแค่สีขาวดำ ก็เลยมีมุกขำๆ กันเล่นว่า "แล้วเคยเป็นควายด้วยเหรอ" :P


จะว่าไปแล้วเรื่องนี้เถียงกันให้ตายก็คงไม่มีใครชนะ ก็เราไม่ใช่สัตว์เหล่านั้น แต่ด้วยความพยายามของมนุษย์ จึงมีการวิจัยและศึกษามากมายเกี่ยวกับความเป็นไปของสัตว์ชนิดต่างๆ และมีข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้สึก การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้รส กลิ่น สี ของสัตว์ประเภทต่างๆ จนได้ข้อสรุปที่น่าสนใจหลายประการ


เป็นเรื่องเล็กๆ ของธรรมชาติที่น่าทึ่ง ต่างจากมนุษย์อย่างเราๆ หลายเรื่องทีเดียวค่ะ
--
break--

ในเว็บไซต์ faculty.washington.edu ซึ่งจัดทำโดย Eric H. Chudler, Ph.D. นั้น ได้จัดทำเว็บไซต์ "ระบบประสาทน่ารู้เกี่ยวกับสัตว์สำหรับเด็ก" หรือ Neuroscience for Kids ซึ่งเป็นข้อมูลสนุกๆ เกี่ยวกับสัตว์ไว้มากมายตอนนี้เลยรวบรวมเอา "ดวงตาและการมองเห็น" ของเจ้าตัวเล็กๆ เหล่านั้น แบบฉบับย่อๆ มาฝากค่ะ


1. มด
: สัตว์ตัวเล็กๆ ที่สามารถมองเห็นและสืบเสาะสิ่งที่ค้นหาในระยะ 5 เซนติเมตร และสามารถมองเห็นได้ดีในแสงแดดจ้า

2. ผึ้ง : สามารถมองเห็นแสงที่อยู่ในระหว่างความยาวของคลื่น 300 -650 นาโนเมตร ดวงตาของผึ้งแต่ละตาประกอบด้วยเลนส์จำนวน 5,500 อันอยู่ในนั้น ส่วนผึ้งงาน มีช่องท้องที่สามารถสัมผัสหาพื้นที่แม่เหล็กเพื่อใช้นำทางได้

3. อีแร้ง : มีจุดรับแสงจำนวน 1 ล้านอัน ในจอเรติน่าของดวงตา ทำให้สามารถมองเห็นสัตว์ตัวเล็กๆ เช่น หนู จากความสูงที่พวกมันอาศัยอยู่บนต้นไม้ ถึง 15,000 ฟุต

4. กิ้งก่า : มีความสามารถในการกรอกตาไปมาในระยะกว้างจากซ้ายไปขวา ดังนั้นมันจึงสามารถเห็นทิศทางที่แตกต่างกันถึง 2 ทิศในเวลาเดียวกัน

5. ปู : มีเส้นผมอยู่บนร่างกายและส่วนอื่นๆ สามารถค้นหากระแสน้ำและสัมผัสถึงแรงสั่น ด้วยดวงตาที่อยู่จุดท้ายสุดของร่างกาย



6. ปลา
: ปลาส่วนใหญ่มีระบบประสาทที่ไวมาก สามารถรับรู้ถึงแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้ๆ ได้จากสารเคมีที่อยู่บนฟิว และปลาบางชนิดสามารถมองเห็นเข้าไปในความยาวของคลื่นอินฟราเรด ประเภทแสงเจ็ดสีได้

7. ปลาทะเล : โดยเฉพาะปลาในทะเลลึก มีอุปกรณ์ที่เหมือนท่อนไม้ (rods) อยู่ในตาของพวกมันจำนวน 25 ล้าน อันต่อ 1 ตา ที่ไวต่อแสงและสามารถวัดระดับความลึกของมหาสมุทรได้ โดยเฉพาะเวลาต้องการเดินทางและหาทางออกจากทะเลลึก

8. ปลาน้ำจืด บางชนิดสามารถมองเห็นได้ทั้งในอากาศและในน้ำ โดยสามารถแยกแยะประสาทในการมองเห็นให้ตาข้างหนึ่งมองได้ในอากาศ ตาอีกข้างมองได้ในน้ำไปพร้อมๆ กัน

9. กบ : มีเยื่อแก้วหูพิเศษที่อยู่ภายนอกร่างกาย บริเวณหลังดวงตา

10. เหยี่ยว : มีจุดรับแสงจำนวน 1 ล้านอันในจอตาแต่ละข้าง

 

  


11. แมงกะพรุน
: แมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish) แต่ละตัว มีดวงตาอยู่ตัวละ 24 คู่ หรือ 48 ลูกตา

12. เพนกวิน : มีดวงตาตั้งอยู่อยู่ใกล้กับศีรษะมาก ซึ่งสามารถลืมตาในน้ำได้เวลาดำน้ำ เพราะมีเยื่อบุป้องกันตา แต่เมื่อขึ้นบก จะกลายเป็นสายตาสั้น มองเห็นได้ไม่ดี แต่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ใน 340 ระดับ ยกเว้นสิ่งที่อยู่เหนือศีรษะของมันเอง

13. ม้าน้ำ : สามารถเคลื่อนย้ายลูกตาไปมาได้เพื่อให้เห็นมุมที่กว้างขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง

14. แมงป่อง : สามารถมีลูกตาได้มากที่สุดถึง 12 คู่

15. งู : มีอวัยวะที่ไวต่อความรู้สึกมากที่อยู่ระหว่างตาและรูจมูกประมาณ 0.5 เซนติเมตร งูไม่มีหูภายนอก จึงไม่ได้ยินเสียงจากหู แต่สามารถรับรู้คลื่นเสียงผ่านกระดูกในหัว และมีลูกตาที่เคลื่อนที่ไม่ได้ และสามารถกะระยะสิ่งที่มองเห็นจากเกล็ดที่อยู่เหนือลูกตาอีกที

16. แมงมุม : แมงมุมจำนวนมากมีตาถึง 8 คู่

17. แมลงปอ : มีดวงตาแต่ละข้างที่บรรจุเลนส์เอาไว้ ข้างละ 30,000 เลนส์

 

 

18. แมลงวัน : มีดวงตาและข้างบรรจุเลนส์ไว้ 3,000 อัน สามารถหรี่ตาเพื่อมองเห็นได้เร็ว 300 ครั้งต่อวินาที ขณะที่มนุษย์ทำได้ที่ 60 ครั้งต่อนาทีในแสงสว่างและ 24 ครั้งต่อนาที ในแสงสลัว

19. ยุง : มีจุดรับแสงจำนวน 20 ล้าน แห่งบนจอตา

20. ฉลาม : ฉลามบางชนิด มองเห็นลำแสงได้โดยตรงจากอวัยวะในกะโหลกศีรษะ และขยายดวงตาได้ถึง 5-12.5 นิ้ว ของเส้นผ่าศูนย์กลาง

ตอนหน้ามาติดตามเรื่องของการได้ยินที่พิเศษของสัตว์ต่างๆ กันนะคะ

 

 

.....................................

 

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.faculty.washington.edu/

http://www.earthsci.org/
http://www.azooptics.com/Details.asp?NewsID=3010
http://www.lostingpixels.hu/

 

แนะนำหนังสือเพื่อค้นเพิ่มเติม

John Downer, Supersense. Perception in the Animal World, Holt and Co., New York, 1988, pp. 160. (Grades 9-12).

Howard C. Hughes, Sensory Exotica. A World Beyond Human Experience, The MIT Press, Cambridge, 1999, pp. 345. (Grades 9-12).

Sandra Sinclair, How Animals See. Other Visions of Our World, Facts on File Publications, New York, 1985, pp. 146 (Grades 7-12).

Jillyn Smith, Senses & Sensibilities, John Wiley & Sons, New York, 1989, pp. 230 (Grades 9-12).

บล็อกของ dinya

dinya
ใครกำลังรู้สึกเหมือนฉันไหมว่า ความรุนแรงและมหันตภัยไร้ระเบียบ กำลังรอถล่มเราอยู่? ไม่รู้จะพูดเกินเหตุไปไหมนะ ไม่ถึงกับหวาดผวา แต่ว่าหวั่นนิดๆ หลังจากเกิดพายุนาร์กิสถล่ม แผ่นดินไหวที่จีน น้ำท่วมต่อมา แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น แล้วตอนนี้ยังมีพายุที่ฟิลิปปินส์อีก เชื่อว่าตัวเลขผู้เสียชีวิต 87,000 คนและสูญหายอีก 5 ล้านคนจากแผ่นดินไหวที่จีน ยังเป็นเรื่องที่ช็อกเราอยู่ จนน่าตั้งคำถามว่า ก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวนั้น มีอะไรเตือนล่วงหน้ากันบ้างไหม ? ว่ากันว่า ลางสังหรณ์ หรือ Omen ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้น เป็นสิ่งที่ใครหลายๆ คนที่จีน ใช้เป็นข้อเสนอให้มีการหยุดงานเพื่อเตรียมรับมือกับธรณีพิบัติ…