Skip to main content

5 องค์กรที่รณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า จัดเวทีเสวนา 'สนธิสัญญาปางโหลง กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศพม่า' ด้วยการเชิญผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และตัวแทนจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพม่า อาทิ รัฐฉาน คะฉิ่น และอะรากัน มาร่วมพูดคุยถึงทิศทางและความเป็นไปได้ ในการเปิดโต๊ะเจรจาระหว่างรัฐบาลทหารพม่าและชนกลุ่มน้อย หลังการปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี ครั้งแรกในรอบ 3 ทศวรรษ

 

สาเหตุที่ 'สนธิสัญญาปางโหลง' หรือที่คนไทยเรียกว่า 'ปางหลวง' ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยอีกครั้ง เนื่องจากตัวแทนชนกลุ่มน้อย ที่เคยถูกรัฐบาลทหารริดรอนสิทธิและเสรีภาพ เห็นถึงสัญญาณสำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองการปกครอง หลังจากที่พม่า จัดให้มีการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ในรอบ 20 ปี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 รวมถึงการปล่อยตัวนางซูจี ในเวลาไล่เลี่ยกัน

 

เจ้าคืนใส ใจเย็น บรรณาธิการสำนักข่าวฉาน ตัวแทนจากรัฐฉาน กล่าวว่า การเรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่า รื้อสนธิสัญญาปางโหลงขึ้นมาพิจารณาใหม่ เป็นหนึ่งในการต่อสู้ของชนกลุ่มน้อย ที่มีชีวิตแบบไร้สิทธิไร้เสียงมานาน ซึ่งในวันที่ 12 กุมภาพันธ์นี้ จะครบรอบ 64 ปี การลงนามสนธิสัญญาปางโหลง ที่ปลดแอกชนกลุ่มน้อย จากการปกครองของรัฐบาลทหาร และมีชีวิต เช่นเดียวกับอิสรชนทั่วไป

 

ด้านนักวิชาการ มองว่าเป็นไปได้ยากที่สนธิสัญญาจะถูกหยิบขึ้นมาใช้ เพราะหากศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองในพม่าจะพบว่า รัฐบาลทหารกุมอำนาจไว้ทุกทาง และประกาศชัดเจนว่า ต้องการให้พม่าเป็น'รัฐเดี่ยว' ไม่ใช่ 'สหพันธรัฐ' และถึงแม้ว่า ผู้นำพรรคฝ่ายค้านคนสำคัญอย่างนางออง ซาน ซูจี จะได้รับอิสรภาพ แต่ก็ไม่มีเครื่องการันตีว่า เธอจะไม่ถูกคุมขังอีก

 

ขณะที่ ผู้ร่วมเสวนาส่วนใหญ่มองว่า ปัญหาการเมืองพม่า เป็นปัญหาที่เรื้อรัง เพราะมีกลุ่มคนหลายชาติพันธุ์ จึงเสนอให้ทั้งสองฝ่ายประนีประนอม และเปิดโต๊ะเจรจาเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้ง โดยเฉพาะฝ่ายรัฐบาลพม่าต้องลดความตึงเครียด ด้วยการถอนกองกำลังติดอาวุธ ที่ประจำการตามเมืองต่าง ๆ ที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ เพื่อแสดงความจริงใจ ในการร่วมแก้ปัญหาและยุติความรุนแรง

 

Produced by VoiceTV

 

    
          

 

บล็อกของ FOB

FOB
เครื่องบินลงจอดที่เมืองย่างกุ้งในเวลาใกล้มืด  เพื่อนที่พูดภาษาอังกฤษได้ดีเดินเข้าไปถามจุดบริการรถแท๊กซี่ของเอกชนว่ามีรถโดยสารประจำทางไปพุกามในเย็นวันนี้ไหม  คนขับรถแท๊กซี่ไม่เข้าใจในสิ่งที่เพื่อนฉันถาม  และ
FOB
 ประเทศพม่าในการรับรู้ของประชาคมโลกคือประเทศที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารที่ได้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนประชาชนพม่าอย่างร้ายแรงติดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาม  จนทำให้หลายคนมีจิตนาการถึงประเทศพม่าไปต่างๆนานๆ  ตัวฉันก็มีจิตนาการว่าการเดินทางไปเที่ยวประเทศพม่าน่าจะเป็นอะไรที่ยาก
FOB
5 องค์กรที่รณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า จัดเวทีเสวนา 'สนธิสัญญาปางโหลง กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศพม่า' ด้วยการเชิญผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และตัวแทนจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพม่า อาทิ รัฐฉาน คะฉิ่น และอะรากัน มาร่วมพูดคุยถึงทิศทางและความเป็นไปได้ ในการเปิดโต๊ะเจรจาระหว่างรัฐบาลทหาร