Skip to main content


ภาพของวัฒน์ ปราศัยบนกระบะรถหน้ารัฐสภาในกิจกรรม ครก.112
ยื่นรายชื่อขอแก้ไข กม.อาญา ม.112 เมื่อ  29 พฤษภาคม 2555

 


ผมอ่านวรรณกรรมไทยแนวสะท้อนสังคมไม่เยอะนัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันมันไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผม

ในช่วงวัยแห่งการแสวงหา (ใช้คำว่าแสวงหาแล้วอยากจะอ้วก ถ้าไม่มีเงินค่าอยู่กิน เล่าเรียนจากพ่อและแม่ ก็คงไม่มีโอกาสได้แสวงหาหรอก) มีนักเขียนสองคนที่ผมตามอ่านงานของเขา วิมล ไทรนิ่มนวล เป็นนักเขียนคนแรก เรื่อง "งู" ของวิมล เนื้อหาโหดสัส เข้มขม เหมือนเหล้าขาวราคาถูกที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเกษตร

มันสะท้อนภาพสังคมของคนชั้นล่าง ขณะเดียวก็สะท้อนความเน่าเหม็น ฉาวโฉ่ เช้าฉุ่ย ในระดับโครงสร้างอย่างปิดบังแบบพอเป็นพิธี

งานของวิมลเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผมมีปัญหากับธรรมกายจนเกือบเรียนไม่จบ (รายละเอียด)

น่าเสียดายที่สุดท้ายแล้วนักเขียนคนหนึ่งที่มีความกล้าวิพากษ์ระบบสังคมกลับยอบตัวอยู่ใต้ระบบสถาบันที่ตัวเองเคยวิพากษ์

นักเขียนคนที่สองก็คือเขาล่ะ วัฒน์ วรรยางกูร หรือ สหายร้อย นักปฏิวัติ ศิลปินจากเขตงาน 333 พื้นที่ที่ผมลงหลักเคยเป็นพื้นที่ที่เขาเคยหยัดยืน

เกือบสามสิบปีก่อน อ้วน กิตติชัย งามชัยพิสิฐ แนะนำให้ผมอ่าน ปลายนาฟ้าเขียว งานของวัฒน์หวานกว่าของวิมล เป็นความหวานแบบเฉิ่มๆ คล้ายกับงานที่เผยแพร่ในนิตยสารทั่วไป มันหวานแบบบ้านนอกคอกนา หวานเหมือนข้าวหมากห่อใบบัว กินเล่นๆ พอได้อารมณ์ครึ้มๆ แต่ผมดันชอบ

ชอบจนถึงกับชวนคู่ชีวิตมาปักหลักในชนบท ซึ่งสุดท้ายถึงแม้จะไม่มีแม่นกเขาไพร แต่ก็มีเจ้าไก่เถือนมาเป็นที่รักถึงสองตัว

งานอีกชิ้นที่ชอบมากก็คือ "ฉากและชีวิต" เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน ประสบการณ์ที่ถมทับทำให้งานของวัฒน์เปลี่ยนไป มันขมขึ้น แต่ก็ยังเป็นความขมปนความหวานแต่ก็มีกลิ่นหอมอ่อนๆของเม็ดข้าว เหมือนกับเหล้าสาโทที่หมักจนแก่กล้าพร้อมที่จะถูกนำไปต้มกลั่นเป็นสุราใส

แต่ที่มากกว่านวนิยายหรือสิ่งที่เรียกให้หรูว่าวรรณกรรม ก็คือชีวิตของวัฒน์เอง

วัฒน์ ไม่ได้ยุติชีวิตในวัย 61 ปี ลงอยู่ตรงที่การเป็นผู้ประกอบการรายเล็กหรือรายใหญ่ วัฒน์เขียนชีวิตของตัวเองให้โลดแล่นอยู่บนเส้นทางการต่อสู้ของประชาชนตลอดมา ชีวิตของวัฒน์ได้กลายเป็นวรรณกรรมชั้นดีไม่ต่างจากงานที่วัฒน์ผลิตออกมา

เขียนเนื่องในโอกาสที่วัฒน์อายุครบรอบ 61 ปี 2 วัน

14 มกราคม 2559

 

หมายเหตุ: แก้ไขเพิ่มเติมเล็กน้อยจาก https://www.facebook.com/sarayut.tangprasert/posts/1088802967830520?pnref=story

บล็อกของ gadfly

gadfly
ฟันธง กกต.แค่ปราม หรือให้ลึกกว่านั้นคือรักษาหน้าแสดงอำนาจเหนือชัชชาติแล้วก็จบ 
gadfly
ผมอ่านวรรณกรรมไทยแนวสะท้อนสังคมไม่เยอะนัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันมันไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผม  ในช่วงวัยแห่งการแสวงหา (ใช้คำว่าแสวงหาแล้วอยากจะอ้วก ถ้าไม่มีเงินค่าอยู่กิน เล่าเรียนจากพ่อและแม่ ก็คงไม่มีโอกาสได้แสวงหาหรอก) มีนักเขียนสองคนที่ผมตามอ่า
gadfly
 ประยุทธ์บอกให้ประชาชนเลี้ยงไก่สองตัวเพื่อกินไข่ แต่สงสัยว่าประยุทธ์เคยเลี้ยงไก่รึเปล่า ไก่ใช่ไก่ทุกตัวที่จะออกไข่ได้ ต้องเป็นไก่แม่สาวที่อายุสี่เดือนขึ้นไปเท่านั้นที่จะสามารถออกไข่ และจะออกไปได้จนอายุประมาณสองปีหรือกว่านั้นเล็กน้อย 
gadfly
 โจน จันได ปราชญ์ชาวบ้าน ต้นแบบการรณรงค์ใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียงสุดฮิป ขวัญใจไอดอลของคนชั้นกลาง คนเมืองกลุ่มใหญ่ ถูกพูดถึงอีกครั้งเมื่ออพยพย้ายรกรากลี้ภัยโควิดไปอยู่ศูนย์กลางประเทศทุนนิยมอย่างสหรัฐอเมริกา พูดถึงโจน จันได ก็ต้องพูดถึงบ้านดิน ที่โจนใช้ในการสร้างชื่อใ
gadfly
 พฤษภา 53 เขตอภัยทาน ได้ถูกนักศาสนา นักสันติวิธีผลักดันให้มีขึ้น 4 จุด คือ วัดปทุมฯ บ้านเซเวียร์ สำนักงานกลาง นร.คริสเตียน แล้วก็ รร.
gadfly
เสาร์อาทิตย์ ตั้งใจจะต่อเติมบ้านส่วนที่ทำค้างไว้ให้แล้วเสร็จ ต้องจ้างช่างชาวบ้านและลูกมือเป็น นร ม ปลายมาทำ เพราะงานปูนทำเองไม่ไหวแล้วช่างไม่มา ส่วนลูกมือไปเฝ้าเบ็ดตกปลาที่อ่างเก็บน้ำ เสียเวลารอ เสียหัวสองวันเต็มๆ วันหยุดด้วย
gadfly
กรณีหมุดคณะราษฎรที่ผ่านมาผมโพสต์เฟซบุ๊กเล่นๆ แบบฮาๆ แต่ก็เริ่มรู้สึกว่ามันอาจเป็นปัญหาได้เหมือนกันในเฟซบุ๊ก หลายคนเปรยว่า ที่ผ่านมาหลักฐานวัตถุทางประวัติศาสตร์ในยุคของคณะราษฎรได้ถูกเคลื่อนย้าย ทุบทำลาย หรือลดทอนความหมายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลงไปหลายสิ่งอย่างแล้ว จะฟูมฟายอะไรนักหนา
gadfly
============================ ปากหมาหาเรื่อง บ่นบ้า (อย่าถือสาหาสาระ) ============================