Skip to main content

...การที่รัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมา รวมถึงรัฐบาลชุดนี้กำลังจะขึ้นภาษีทางอ้อมจาก 7 เป็น 10% นั้นถือว่าเป็นการเปิดศึกทางชนชั้นกับชนชั้นกรรมกรและคนระดับล่างของสังคมโดยตรง คือ โยนภาระก้อนโตให้คนระดับล่างเป็นผู้จ่าย โดยที่คนร่่ำรวยลอยตัว...

 

โดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

กลุ่มประกายไฟ

ล่าสุดรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกาลังจะออกกฎหมายขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT จาก 7% เป็น 10 % ซึ่งเป็นนโยบายที่สืบทอดมาจากข้อเสนอของรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มาจากการทารัฐประหารในปี 2549 – คำถามที่ผู้ใช้แรงงานควรสนใจคือ การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มส่งผลดีหรือเสียอย่างไรต่อชนชั้นผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และระบบภาษีที่เป็นธรรมต่อผู้ใช้แรงงานควรจะเป็นอย่างไร

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ภาษี คืออะไร – กล่าวอย่างรวบยอดภาษีเป็นเครื่องมือในการแสวงหารายได้หลักของรัฐ นอกจากนี้ ภาษียังเป็นเครื่องมือของรัฐในการเพิ่ม/ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการบริหารจัดการเศรษฐกิจด้วย – ระบบภาษีที่มีอยู่ในโลกนี้มีหลายประเภท บางประเภทส่งผลเสียต่อคนระดับล่างของสังคม บางประเภทมีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำและนำมาซึ่งชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนระดับล่างของสังคมได้ด้วย

โดยทั่วไป เราสามารถจำแนกระบบการเก็บภาษีออกได้เป็น 2 ประเภท หนึ่ง ระบบภาษีอัตราก้าวหน้า (progressive) คือ เก็บจากคนรวยในอัตราที่สูงกว่าคนจน ในบางประเทศอัตราภาษีที่เก็บจากคนรวยอาจสูงถึง 40% ของรายได้ ส่วนที่เก็บจากคนจนหรือมีรายได้น้อยจะลดต่ำลงไปหรือไม่เสียภาษีเลยในกรณีที่มีรายได้น้อยมาก และสอง ระบบภาษีอัตราถอยหลัง (regressive) คือ การที่รัฐอาจตั้งเกณฑ์อัตราภาษีที่เท่ากันของทุกคนในสังคม ไม่ว่าคนรวยหรือคนจนต้องจ่ายภาษีเท่าๆกัน หรือในบางแห่งซึ่งมีน้อยแล้ว คนรวยอาจจ่ายอัตราภาษีน้อยกว่าคนจนหรือคนระดับกลางๆ

เป้าหมายของระบบภาษี 2 ประเภทนี้แตกต่างกัน ในขณะที่ระบบภาษีอัตราก้าวหน้ามุ่งเน้นในการลดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นในสังคม คือรัฐทาหน้าที่เก็บภาษีจากคนรวย นายทุน คนที่มีรายได้เยอะเพื่อนาเงินดังกล่าวมากาหนดเป็นนโยบายสวัสดิการในทุกๆด้านให้ประชาชนในสังคม เช่น การรักษาพยาบาลฟรี การศึกษาฟรี ระบบขนส่งมวลชนมีคุณภาพและราคาถูก เป็นต้น แต่ระบบภาษีอัตราถอยหลังนั้นมีเป้าหมายเพื่อผลักภาระให้แก่คนที่มีรายได้น้อย โดยรัฐจะทาหน้าที่ช่วยเหลือให้กลุ่มคนรวย นักธุรกิจ บรรษัทขนาดใหญ่สามารถสะสมทุนและความมั่งคั่งได้ ผ่านการทาให้กลุ่มธุรกิจหรือบุคคลร่ารวยจ่ายภาษีให้น้อยที่สุด – รัฐบาลที่เอาใจนายทุนมากๆมักจะสนับสนุนภาษีอัตราถอยหลัง ส่วนรัฐบาลที่มีแนวโน้มเข้าข้างชนชั้นกรรมกร หรือในประเทศที่ขบวนการกรรมกรเข้มแข็ง รัฐมักจะถูกกดดันให้ต้องมีมาตรการภาษีที่ก้าวหน้าคือเก็บจากคนรวยมากกว่าคนจน และนาเงินดังกล่าวมาจัดสวัสดิการ

มากไปกว่านั้น ภาษียังสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 2 ประเภท คือ

หนึ่ง ภาษีทางตรง (direct tax) ที่เก็บโดยตรงจาก “เงินรายได้” ที่แต่ละคนได้รับ คือ ยิ่งมีรายได้มาก ก็จะจ่ายมาก หากมีรายได้น้อย ก็จะจ่ายน้อยหรือไม่จ่ายเลย – การมุ่งเน้นการเก็บภาษีทางตรงแบบนี้จึงสอดคล้องกับการใช้ระบบภาษีอัตราก้าวหน้าที่มีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

ส่วนประเภทที่สอง คือ ภาษีทางอ้อม (indirect tax) ภาษีประเภทนี้จะเก็บในอัตราที่เท่าๆกันทุกคนทุกชนชั้น โดยไม่สนใจสถานะทางเศรษฐกิจของผู้จ่ายภาษี เช่น ภาษี VAT ซึ่งหมายถึงภาษีมูลค่าเพิ่มที่ “คนทุกคน” ต้องจ่ายทุกๆครั้งที่บริโภคสินค้าในตลาด เช่น เราไปซื้อขนมที่เซเว่นอีเลเว่นทุกครั้ง ร้านค้าจะบวกภาษีลงไปอีก 7% จากราคาขายจริง นั่นหมายความว่า ราคาของสินค้าที่เราซื้อในทุกๆครั้งจะถูกบวกเพิ่มอีกร้อยละ 7 – ภาษีประเภทนี้มีสอดคล้องกับระบบภาษีแบบอัตราถอยหลัง คือ โยนภาระให้กับคนจนที่ต้องจ่ายภาษีเท่ากับคนรวย คือ 7-10% ทุกครั้งที่เราจับจ่ายซื้อของ – และนี่คือสิ่งที่รัฐและชนชั้นนาของไทยรวมหัวกันโยนภาระให้คนระดับล่างตลอดมา และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น เมื่อรัฐบาลแทบทุกชุดพยายามเพิ่มอัตราจาก 7 เป็น 10 %

มองในแง่ประวัติศาสตร์ ภาษีทางตรงระบบอัตราก้าวหน้า ได้กลายมาเป็นบรรทัดฐานของรัฐอุตสาหกรรมในยุโรปและในหลายประเทศทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือที่เรียกกันว่า “รัฐสวัสดิการ” ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น และเพื่อดูแลด้านสวัสดิการให้แก่ประชาชนทุกระดับชั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ฐานเสียงสนับสนุนของนโยบายด้านภาษีและรูปแบบของรัฐประเภทนี้ก็คือ สหภาพแรงงาน และพรรคการเมืองแนวสังคมนิยม โดยที่ชนชั้นนายทุนจานวนมากต่อต้าน เพราะเท่ากับพวกเขาต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น เมื่อเขาได้กาไรจากการขูดรีดคนงานมากขึ้น

ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา ชนชั้นนายทุนในโลกรวมหัวกันทำลายรัฐสวัสดิการที่มุ่งเน้นการเก็บภาษีทางตรงอัตราก้าวหน้า โดยหันมาใช้แนวคิดเสรีนิยมใหม่ หรือนีโอลิเบอรัล ที่เชื่อว่า รัฐไม่ควรเข้ามาจัดสวัสดิการให้คนระดับล่างอีกต่อไป รัฐควรลดภาษีทางตรง และเพิ่มภาษีทางอ้อมให้มากขึ้น พูดง่ายๆก็คือ รัฐจะไม่ทำหน้าที่ลดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นอีกต่อไป แต่รัฐจะทาหน้าที่ในการปกป้องชนชั้นนายทุนให้พวกเขาสามารถหากำไรได้มากขึ้น ผ่านการจ่ายภาษีที่ลดลง และโยนภาระภาษีไปให้คนระดับล่างจ่ายแทน

การขยายตัวของแนวคิดเสรีนิยมใหม่กลายเป็นหัวใจของการรื้อฟื้นอัตรากำไรของชนชั้นนายทุนที่เผชิญหน้ากับความเข้มแข็งและเติบโตของสหภาพแรงงานทั่วโลกในทศวรรษ 1970 หนึ่งในมาตรการรื้อฟื้นกำไรของนายทุนคือการลดสวัสดิการของแรงงาน ซึ่งหมายถึงการลดรายจ่ายของนายทุนที่จะต้องเสียภาษีราคาแพงให้แก่รัฐ เพื่อให้รัฐเอาไปช่วยคนจน มาตรการสาคัญของลัทธิเสรีนิยมใหม่คือ การปรับระบบภาษีแบบทางตรงอัตราก้าวหน้า ให้เป็นภาษีทางอ้อมและมีระบบอัตราถอยหลัง

โครงสร้างภาษีในประเทศไทยที่ผ่านมาผสมผสาน มีการเก็บภาษีทางตรงอัตราก้าวหน้า แต่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะอัตราภาษีที่เก็บจากคนรวยอยู่ในระดับที่ไม่สูง กับทั้งคนรวย/นายทุนยังมีวิธีการหลีกเลี่ยงภาษี ส่งผลให้รายได้รัฐที่มาจากภาษีส่วนใหญ่เป็นการขูดรีดเอาจากคนที่มีรายได้ประจา โดยเฉพาะคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมและคนงานคอปกขาวทั่วไปที่ทางานในออฟฟิศ ยิ่งไปกว่านั้น รายได้รัฐกว่า 30% มาจากการเก็บภาษีทางอ้อม ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่รับภาระในการจ่ายภาษีพวกนี้ก็คือ คนจนที่ซื้อของกินของใช้ประทังชีพอยู่ในทุกวัน

การที่รัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมา รวมถึงรัฐบาลชุดนี้กำลังจะขึ้นภาษีทางอ้อมจาก 7 เป็น 10% นั้นถือว่าเป็นการเปิดศึกทางชนชั้นกับชนชั้นกรรมกรและคนระดับล่างของสังคมโดยตรง คือ โยนภาระก้อนโตให้คนระดับล่างเป็นผู้จ่าย โดยที่คนร่่ำรวยลอยตัว

การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมและประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจของชนชั้นกรรมกรและคนระดับล่างจะเป็นไปไม่ได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “รัฐสวัสดิการ” ซึ่งหมายถึง รัฐที่ทาหน้าที่ลดความเหลื่อมล้ำและเข้ามาจัดสวัสดิการให้แก่คนทุกระดับอย่างเท่าเทียมกัน ผ่านการเก็บภาษีจากคนรวยมาอุดช่องโหว่ของความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นในสังคมจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากเรายอมรับให้มีการขึ้นและขยายฐานของภาษีทางอ้อม ดังเช่นนโยบายภาษี VAT ที่กาลังผลักดันกันอยู่ในปัจจุบัน

ปล.ฉบับหน้าพบกับความรู้เรื่อง “อาเซียน” กับผลกระทบที่มีต่อผู้ใช้แรงงาน

(หมายเหตุ : บทความนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกใน “วารสารสหายแรงงาน” ประจำเดือนกันยายน วารสารดังกล่าวถูกจัดทำขึ้นโดยการร่วมมือกันระหว่าง กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มนักศึกษาสภากาแฟ(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต) และกลุ่มประกายไฟ )

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
รายการประกายTalk โดย DJ Bus กับ ป้าอุ๊ ภรรยาอากง SMS (23-05-2012) แขกรับเชิญ ป้าอุ๊ ภรรยา ของ อากง SMS หรือ นายอำพล ทีสามีเป็นผู้ต้องขังคดี ม.112 และเสียชีวิตในคุกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus กับ สมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) 16-05-2012 แขกรับเชิญ สมบัติ บุญงามอนงค์ (ชื่อเล่น: หนูหริ่ง, หรือนามแฝงที่ใช้ในอินเตอร์เน็ท: บ.ก.ลายจุด) แกนนอนกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง พิธีกรร่วมรายการ: DJ.Bus @KonthaiUK ประเด็น การปั่นกระแส"แพงทั้งแผ่นดิน"กับการกดชีวิตอากงให้ถูก
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus "วันกรรมกรสากล" 02-05-2012 แขกรับเชิญ คุณ พัชนี คำหนัก ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย  
ประกายไฟ
เสวนาหัวข้อ "วิวัฒนาการรัฐทุนนิยมไทย" วิทยากร เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ณัฐพล ใจจริง. อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เก่งกิจ กิติเรียงลาภ กลุ่มประกายไฟ ดำเนินรายการโดย วีรนันท์ ฮวดศรี กลุ่มประกายไฟ
ประกายไฟ
เสวนาหัวข้อ “New Social Media กับการเคลื่อนไหวทางเมืองไทย” วิทยากร อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต เทวฤทธิ์ มณีฉาย กลุ่มประกายไฟ ดำเนินรายการโดย ปาลิดา ประการะโพธิ์ กลุ่มประกายไฟ ( วันเสาร์ที่ 28 ม.ค.55)   
ประกายไฟ
วันเสาร์ที่ 28 ม.ค.55 มาร์กซิสม์ 101 A ว่าด้วยทฤษฎีมาร์กซิสม์ เบื้องต้น บรรยาย เพื่อให้ความรู้พื้นฐาน มาร์กซิสต์   วิทยากร พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการ ณัชชา ตินตานนท์ กลุ่มประกายไฟ  
ประกายไฟ
  บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียงดนตรีแห่งทาสผิวดำได้ถือกำเนิดขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 19 พร้อมๆกับสถานภาพของคนผิวดำซึ่งมีสถานะ เป็นเพียงเป้าหมายของการทำให้ผู้อื่นเป็นปัจเจกชน เนื่องจากการเป็นเสรีชนและเสรีภาพในอเมริกานั้นต้องเป็นปัจเจกชนที่มีทรัพย์สินส่วนตัวและต้องเป็นพลเมืองผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง  แต่ในความเป็นจริงทาสผิวดำเป็นเพียงทรัพย์สินของนายทาส เป็นเครื่องมือของการผลิต ซึ่งส่งผลให้นายทาสเป็นปัจเจกชน คนผิวดำ จึงไม่มีศักยภาพที่จะสร้างหรือทำให้เสรีภาพแบบอเมริกันเป็นคุณสมบัติของตนเอง แม้ว่าคนผิวดำจะมีส่วนร่วมในการปฏิวัติอเมริกา…
ประกายไฟ
  "แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง" ทิพรดา ตากดำรงศ์กุลท่ามกลางข้อเสนอที่มากมาย ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือง ความล้มเหลวของระบบตัวแทน อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งวุ่นวายของการเมืองไทย เมื่อคิดถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่คอยอยู่ข้างหน้าแล้ว ข้อเสนอเกี่ยวกับต้นตอปัญหา วิธีการแก้ ผุดออกมาเป็นดอกเห็ด เป็นเรื่องของประสบการณ์ของผู้ที่อ้างตนว่าเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้ง หรือนักวิชาการต่างๆที่พยายามอธิบายด้วยนามธรรมที่ไร้ความหมาย หรือะไรที่ดูซับซ้อน บทความชิ้นนี้จึงมุ่งชี้ชวนใหเห็นว่า…
ประกายไฟ
แถลงการณ์"การเมืองใหม่ต้องเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ระบบลูกขุนลดงบประมาณทหาร และสร้างรัฐสวัสดิการ"ณ  อนุสรณ์สถาน ญาติวีรชน 14 ตุลาวันอาทิตย์ที่  28 กันยายน 2551 ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เสนอ "การเมืองใหม่" โดยอ้างว่าเป็นผู้จุดประกายการปฏิรูปการเมืองผ่าทางตัน "การเมืองแบบเก่า" ที่เต็มไปด้วยนักการเมืองซื้อเสียง การคอร์รัปชั่นกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็น "เจ้าภาพ" เพื่อการสร้างประชาธิปไตย เพราะการเคลื่อนไหวและเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรฯที่ผ่านมาล้วนลดบทบาทและไม่เชื่อมั่นในอำนาจและความคิดของประชาชนคนธรรมดา…
ประกายไฟ
  แถลงการณ์ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษาต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้1 กันยายน 2551จากเหตุการณ์การชุมนุมยืดเยื้อและความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการปะทะกันระหว่างรัฐบาลพรรคพลังประชาชน และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาอันเป็นความขัดแย้งทางการเมืองของฝ่ายชนชั้นนายทุน มิใช่การต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของชนชั้นล่างอย่างแท้จริง กลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษาที่ลงนามในแถลงการณ์ฉบับนี้มีความคิดเห็นและข้อเรียกร้องต่อสังคม ดังต่อไปนี้1. เราคัดค้านการใช้ความรุนแรงโดยรัฐ…