Skip to main content

..นักสหภาพหลายๆคนมักมาสอบถามกับผู้เขียนบ่อยๆว่า ทำไมฝ่ายบุคคลมักมีทัศนะคติที่เลวร้ายกับสหภาพหรือที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะมหาวิทยาลัยสั่งสอนให้มองสหภาพในแง่ไม่ดีรึเปล่า แล้วถ้าไม่ใช่พวกนักศึกษาที่จบไปเป็นฝ่ายบุคคลในโรงงานนั้น เขามองสหภาพแรงงานอย่างไร เราจึงจัดทำบทสัมภาษณ์สั้นๆชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่าเขา (ว่าที่ฝ่ายบุคคล) คิดยังไงกับเรา(สหภาพแรงงาน)..

วารสารสหายแรงงาน* สัมภาษณ์นางสาวสุวิมล สะอิ้งแก้ว นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ สาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เมื่อพูดถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล เหล่าบรรดานักสหภาพแรงงานทั้งหลายคงรู้จักกันดี หลายสถานประกอบการ ฝ่ายบุคคลกับสหภาพแรงงานก็ทางานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ในขณะที่หลายสถานประกอบการ(ส่วนใหญ่)ฝ่ายบุคคลมักจะเป็นศัตรูอันดับต้นๆของสหภาพแรงงานเลยก็ว่าได้ เพราะมักใช้อำนาจหน้าที่กลั่นแกล้งโดยถูกกฏระเบียบ เพื่อทำให้สหภาพแรงงานในสถานประกอบการณ์นั้นปิดตัวลงไปให้ได้ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลบางท่านเปลี่ยนสถานประกอบการณ์มาแล้วนับไม่ถ้วน เพราะมีหน้าที่หลักคือรับจ้างปิดสหภาพแรงงานอย่างเดียว พอปิดได้ก็หมดหน้าที่ต้องย้ายสถานประกอบการณ์เพราะบริหารงานบุคคลไม่เป็น

นักสหภาพหลายๆคนมักมาสอบถามกับผู้เขียนบ่อยๆว่า ทำไมฝ่ายบุคคลมักมีทัศนะคติที่เลวร้ายกับสหภาพหรือที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะมหาวิทยาลัยสั่งสอนให้มองสหภาพในแง่ไม่ดีรึเปล่า แล้วถ้าไม่ใช่พวกนักศึกษาที่จบไปเป็นฝ่ายบุคคลในโรงงานนั้น เขามองสหภาพแรงงานอย่างไร เราจึงจัดทำบทสัมภาษณ์สั้นๆชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่าเขา (ว่าที่ฝ่ายบุคคล) คิดยังไงกับเรา(สหภาพแรงงาน)

ในฐานะที่เป็นนักศึกษาที่มีเป้าหมายในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์(HR) อยากถามคุณว่า รู้จักสหภาพแรงานหรือไม่และคิดว่ามันเกี่ยวข้องกับอาชีพในอนาคตของคุณอย่างไร?

สาหรับคนที่เรียนทางด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ แน่นอนว่าต้องรู้จักสหภาพแรงงาน เพราะสหภาพแรงงานคือการรวมตัวกันของพนักงานในองค์กร เพื่อเรียกร้อง ปกป้อง คุ้มครอง ความเป็นธรรมให้กับพนักงาน ไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ ทั้งนี้ในมุมมองของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ฝ่ายบุคคล) บางส่วนทั้งจากที่ได้เรียนหรือได้อ่านบทความ สหภาพแรงงานไม่ใช่สิ่งที่นายจ้างต้องการนักเพราะการมีสหภาพแรงงาหมายถึงอำนาจ ผลประโยชน์ของนายจ้างที่ลดลง และ HR (ฝ่ายบุคคล) เองก็ไม่แน่ใจว่าเหตุที่ตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมานั้น มีเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของพนักงานทั้งหมดหรือเพียงแค่ปกป้องกลุ่มผู้นำของสหภาพแรงงานกันแน่ บางครั้งการเรียกร้องของสหภาพแรงงานต่อนายจ้างในเรื่องต่างๆ ก็ทำให้นายจ้างมองว่าสหภาพแรงงานคือตัวปัญหาขององค์กร เพราะหากพูดกันตามจริง ปัจจุบันก็มีหลายกรณีที่พนักงานถูกเลิกจ้างเพียงเพราะเขาเข้าร่วมกับสหภาพแรงงาน แต่ก็อย่างที่กล่าวไปแล้วว่ามันเป็นเพียงมุมมองส่วนหนึ่งของคนที่ทางานทางด้านนี้ยังมีอีกหลายมุมมองของคนที่ทำงาน HR(ฝ่ายบุคคล) ที่มองสหภาพแรงงานต่างกันไป

แต่ถ้าถามในมุมมองของดิฉัน ซึ่งยังไม่ได้เผชิญสภาพการทำงานจริง หากแต่เป็นเพียงผู้ที่กำลังศึกษาด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR) ดิฉันมองว่า สหภาพแรงงาน ถือเป็นสีสันขององค์กร และเป็นเครื่องพิสูจน์ความสามารถของฝ่ายบุคคล(HR) และผู้บริหารของแต่ละองค์กร ทั้งนี้เพราะเราต้องไม่ลืมว่าแนวโน้มขององค์กรในปัจจุบัน เขาไม่ได้มองคนทางานเป็นเครื่องจักรอีกแล้ว แต่เขามองว่าคนเป็นสินทรัพย์ที่สาคัญ และจะช่วยให้องค์กรพัฒนาขับเคลื่อนต่อไปได้ ดังนั้นการประสานผลประโยชน์ระหว่างพนักงาน หรือในที่นี้อาจหมายถึงสหภาพแรงงาน กับ องค์กรให้ดี ปัญหาที่องค์กรกลัวว่าจะเกิด มันก็จะไม่เกิดขึ้น และพนักงานหรือสหภาพแรงงานเอง หากร่วมมือกับองค์กร ทำงานอย่างเต็มที่ภายใต้ข้อตกลงที่ทากันไว้ ไม่นัดหยุดงาน ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล(HR) กับ สหภาพแรงงานจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ แต่ทั้งนี้ความรู้สึกส่วนตัวของดิฉันนั้นเห็นว่าบริษัทจะต้องเป็นผู้เดินเข้าหาสหภาพแรงงานก่อนเพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจขององค์กร ปัญหาหรือมุมมองแง่ลบที่เกิดกับสหภาพแรงงานในปัจจุบันเกิดเพราะ องค์กรละเลยปัญหาในเรื่องนี้ และเห็นว่ามันไม่ใช่สิ่งสาคัญ จนทำให้ปัญหาที่ควรจะแก้ได้ง่ายๆเพียงแค่การพูดคุยกัน กลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ และแก้ไขยาก เพราะการที่องค์กรหรือฝ่ายบุคคล ละเลยปัญหาเล็กๆไป มันจะกลายเป็นการสะสมปัญหาให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเปรียบเหมือนกับระเบิดเวลาที่ค่อยๆขยายความรุนแรงมากขึ้นๆ

ความรุนแรงที่มาพร้อมกับความคิดในแง่ลบที่เกิดกับองค์กร และพอมาถึงจุดๆหนึ่ง มันก็ระเบิดออกมา กลายเป็นการนัดหยุดงานก็ดี การประท้วง ฯลฯ ทาให้องค์กรเกิดความเสียหาย ทั้งในแง่ของผลประโยชน์และภาพลักษณ์ ทั้งนี้สหภาพแรงงานเองก็ควรเปิดใจต่อนายจ้างเช่นกัน เพราะแน่นอนว่าหากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแรงปะทุของระเบิดเวลานั้นรุนแรงถึงขั้นที่ทาให้บริษัทล้ม พนักงานก็ต้องล้มตามอย่างไม่ต้องสงสัย ดังนั้นวิธีแก้ไขปัญหาที่ง่ายที่สุดระหว่างในการอยู่ร่วมกันของนายจ้างกับสหภาพแรงงานคือ การพูดคุยกัน ประสานผลประโยชน์ระหว่างกันให้ได้ พนักงานทำงานเต็มศักยภาพภายใต้สวัสดิการค่าจ้างที่เป็นธรรม ประสิทธิภาพทางการผลิต ของบริษัทก็ออกมาดี บริษัทเองก็อยู่ได้ แต่คาว่าอยู่ได้ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงอยู่ได้เพราะกำไรมหาศาล แต่หมายถึงการอยู่รอดต่อไปได้ขององค์กรอย่างยั่งยืน ทั้งนี้เพราะบริษัทต้องไม่ลืมว่าผู้บริโภค ลูกค้าในปัจจุบันไม่ได้ต้องการ สินค้าและบริการที่มีราคาถูกอีกแล้ว หากแต่ต้องการสินค้าและบริการที่ผ่านการผลิตที่ให้ความสนใจต่อ Stakeholders(หุ้นส่วนทางการผลิต) ทุกภาคส่วน และ Stakeholders(หุ้นส่วนทางการผลิต) ที่สาคัญในปัจจุบันนอกเหนือจากผู้ถือหุ้นก็คือ พนักงาน ชุมชนรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม

ถ้าหากองค์การไม่ให้ความสาคัญกับสหภาพแรงงาน ซึ่งถือเป็น Stakeholders(หุ้นส่วนทางการผลิต) ที่สาคัญลาดับต้นๆแล้ว เกิดมีพนักงานออกมาประท้วง ภาพลักษณ์ของบริษัทต่อลูกค้าหรือผู้บริโภคก็จะเสียไป นำไปซึ่งความไม่ไว้วางใจในตัวสินค้าและบริการของบริษัทในที่สุด

(*หมายเหตุ : บทความนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกใน “วารสารสหายแรงงาน” ฉบับที่ 1 ประจำเดือนกันยายน วารสารดังกล่าวถูกจัดทำขึ้นโดยการร่วมมือกันระหว่าง กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มนักศึกษาสภากาแฟ(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต) และกลุ่มประกายไฟ )

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
รายการประกายTalk โดย DJ Bus กับ ป้าอุ๊ ภรรยาอากง SMS (23-05-2012) แขกรับเชิญ ป้าอุ๊ ภรรยา ของ อากง SMS หรือ นายอำพล ทีสามีเป็นผู้ต้องขังคดี ม.112 และเสียชีวิตในคุกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus กับ สมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) 16-05-2012 แขกรับเชิญ สมบัติ บุญงามอนงค์ (ชื่อเล่น: หนูหริ่ง, หรือนามแฝงที่ใช้ในอินเตอร์เน็ท: บ.ก.ลายจุด) แกนนอนกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง พิธีกรร่วมรายการ: DJ.Bus @KonthaiUK ประเด็น การปั่นกระแส"แพงทั้งแผ่นดิน"กับการกดชีวิตอากงให้ถูก
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus "วันกรรมกรสากล" 02-05-2012 แขกรับเชิญ คุณ พัชนี คำหนัก ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย  
ประกายไฟ
เสวนาหัวข้อ "วิวัฒนาการรัฐทุนนิยมไทย" วิทยากร เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ณัฐพล ใจจริง. อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เก่งกิจ กิติเรียงลาภ กลุ่มประกายไฟ ดำเนินรายการโดย วีรนันท์ ฮวดศรี กลุ่มประกายไฟ
ประกายไฟ
เสวนาหัวข้อ “New Social Media กับการเคลื่อนไหวทางเมืองไทย” วิทยากร อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต เทวฤทธิ์ มณีฉาย กลุ่มประกายไฟ ดำเนินรายการโดย ปาลิดา ประการะโพธิ์ กลุ่มประกายไฟ ( วันเสาร์ที่ 28 ม.ค.55)   
ประกายไฟ
วันเสาร์ที่ 28 ม.ค.55 มาร์กซิสม์ 101 A ว่าด้วยทฤษฎีมาร์กซิสม์ เบื้องต้น บรรยาย เพื่อให้ความรู้พื้นฐาน มาร์กซิสต์   วิทยากร พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการ ณัชชา ตินตานนท์ กลุ่มประกายไฟ  
ประกายไฟ
  บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียงดนตรีแห่งทาสผิวดำได้ถือกำเนิดขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 19 พร้อมๆกับสถานภาพของคนผิวดำซึ่งมีสถานะ เป็นเพียงเป้าหมายของการทำให้ผู้อื่นเป็นปัจเจกชน เนื่องจากการเป็นเสรีชนและเสรีภาพในอเมริกานั้นต้องเป็นปัจเจกชนที่มีทรัพย์สินส่วนตัวและต้องเป็นพลเมืองผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง  แต่ในความเป็นจริงทาสผิวดำเป็นเพียงทรัพย์สินของนายทาส เป็นเครื่องมือของการผลิต ซึ่งส่งผลให้นายทาสเป็นปัจเจกชน คนผิวดำ จึงไม่มีศักยภาพที่จะสร้างหรือทำให้เสรีภาพแบบอเมริกันเป็นคุณสมบัติของตนเอง แม้ว่าคนผิวดำจะมีส่วนร่วมในการปฏิวัติอเมริกา…
ประกายไฟ
  "แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง" ทิพรดา ตากดำรงศ์กุลท่ามกลางข้อเสนอที่มากมาย ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือง ความล้มเหลวของระบบตัวแทน อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งวุ่นวายของการเมืองไทย เมื่อคิดถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่คอยอยู่ข้างหน้าแล้ว ข้อเสนอเกี่ยวกับต้นตอปัญหา วิธีการแก้ ผุดออกมาเป็นดอกเห็ด เป็นเรื่องของประสบการณ์ของผู้ที่อ้างตนว่าเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้ง หรือนักวิชาการต่างๆที่พยายามอธิบายด้วยนามธรรมที่ไร้ความหมาย หรือะไรที่ดูซับซ้อน บทความชิ้นนี้จึงมุ่งชี้ชวนใหเห็นว่า…
ประกายไฟ
แถลงการณ์"การเมืองใหม่ต้องเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ระบบลูกขุนลดงบประมาณทหาร และสร้างรัฐสวัสดิการ"ณ  อนุสรณ์สถาน ญาติวีรชน 14 ตุลาวันอาทิตย์ที่  28 กันยายน 2551 ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เสนอ "การเมืองใหม่" โดยอ้างว่าเป็นผู้จุดประกายการปฏิรูปการเมืองผ่าทางตัน "การเมืองแบบเก่า" ที่เต็มไปด้วยนักการเมืองซื้อเสียง การคอร์รัปชั่นกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็น "เจ้าภาพ" เพื่อการสร้างประชาธิปไตย เพราะการเคลื่อนไหวและเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรฯที่ผ่านมาล้วนลดบทบาทและไม่เชื่อมั่นในอำนาจและความคิดของประชาชนคนธรรมดา…
ประกายไฟ
  แถลงการณ์ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษาต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้1 กันยายน 2551จากเหตุการณ์การชุมนุมยืดเยื้อและความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการปะทะกันระหว่างรัฐบาลพรรคพลังประชาชน และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาอันเป็นความขัดแย้งทางการเมืองของฝ่ายชนชั้นนายทุน มิใช่การต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของชนชั้นล่างอย่างแท้จริง กลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษาที่ลงนามในแถลงการณ์ฉบับนี้มีความคิดเห็นและข้อเรียกร้องต่อสังคม ดังต่อไปนี้1. เราคัดค้านการใช้ความรุนแรงโดยรัฐ…