Skip to main content

 "...ถ้ารัฐไม่มีหน้าที่บริการประชาชน มหาวิทยาลัยก็จะทำให้เป็นของเอกชน โรงพยาบาลก็จะเป็นเอกชน รถเมล์ น้าประปา ไฟฟ้า ก็จะต้องเป็นของเอกชน แล้วเราจะมีรัฐไปทำไม” เก่งกิจ กิติเรียงลาภ กล่าว

 

ความรู้กลายเป็นสินค้าที่ต้องมีเงินเท่านั้นถึงจะจับจองได้ ระบบทุนนิยมสุดขั้วได้กระโดดข้ามรั้ว เข้ามาในสถานศึกษา มหาวิทยาลัยสมัยใหม่คุ้นเคยกับการเปิดประตูอ้าแขนรับเฉพาะ ลูก-หลาน ผู้มีอันจะกิน เมื่อรัฐได้ตัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ควรให้บริการประชาชน ด้วยการเปลี่ยนสถานะมหาวิทยาลัยของรัฐด้วยการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบอย่างต่อเนื่อง แม้บางช่วงอาจต้องชะลอไว้ด้วยกระแสคัดค้าน ของนักศึกษาและข้าราชการมหาวิทยาลัย ถึงกระนั้นก็ตาม ล่าสุดผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังได้เห็นชอบตามให้มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยในกากับของรัฐ หรือ ออกนอกระบบ เป็นลาดับที่ 16 แม้จะมีกระแสคัดค้านเหมือนสถาบันการศึกษาอื่นๆ

โดยฝ่ายที่สนับสนุนมองว่าหากมหาวิทยาลัยออกนอกระบบจะทำให้การบริหารมหาวิทยาลัยคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (ถึงแม้รัฐบาลอาจสนับสนุนงบประมาณจากัด) ขณะที่บุคลากรที่มาทางานกับมหาวิทยาลัยนั้นต้องเปลี่ยนสถานนะจาก “ข้าราชการ” มาเป็น “พนักงาน” เป็นที่แน่นอนว่าสวัสดิการต่างๆย่อมไม่เหมือนระบบข้าราชการ

อีกฝ่ายที่คัดค้านนั้นกลับมองว่าการออกนอกระบบด้วยวัตถุประสงค์ข้างต้น จะทำให้ปรัชญาดั้งเดิมของมหาวิทยาลัยที่มุ่งผลิตบัณฑิตออกมารับใช้สังคม เปลี่ยนไปเป็นการปล่อยให้มหาวิทยาลัยมุ่งทำกำไรจากธุรกิจการศึกษา ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนยากจน และส่งผลเสียต่อคุณภาพของบัณฑิตที่จะจบออกมา เพราะทุกคนต้องจ่ายเงินลงทุนในการเรียนเป็นจำนวนมหาศาลต้องตั้งหน้าตั้งตาเรียนไม่สามารถเอาเวลามาเรียนรู้สังคมได้

ในด้านความเป็นเลิศทางวิชาการที่อ้างว่าการออกนอกระบบนั้น มหาวิทยาลัยจะมีความคล่องตัวมากขึ้นในการบริหารและนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ เพราะมีอิสระในการดาเนินการเพิ่มขึ้น ยังคงคลุมเครือ เพราะอยู่ในระบบก็ทำให้คล่องตัวได้ แต่ถ้าออกนอกระบบไปแล้วการบุคลากรต้องถูกประเมินโดยผู้บริหาร(เหมือนการให้เกรดของคนงานในโรงงาน)ก่อนหมดสัญญาจ้างเพื่อพิจารณาว่าจะให้ต่ออายุสัญญาหรือไม่ ถ้าอาจารย์มีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับผู้บริหารในเชิงวิชาการ เขาจะมีอิสระในการนำเสนอจริงหรือไม่

แต่คำถามที่ไม่มีผู้ที่สามารถตอบได้อย่างชัดเจนว่ามหาวิทยาลัยออกนอกระบบใครกันที่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อการอุดหนุนของรัฐที่ให้ต่อมหาวิทยาลัยน้อยลง อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้เพราะในบางประเทศก่อนเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบก็ร่างกฎหมายเป็นอย่างดี ว่ารัฐจะอุดหนุน ซึ่งทางปฏิบัติก็เริ่มจากการทยอยลดงบประมาณสนับสนุน จนในที่สุดก็ไม่จ่ายเงินสนับสนุนเลย ซึ่งในประเทศไทยจะเป็นอย่างนี้แน่นอน

 

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ ภาพจาก sarakadee.com

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ[1] ให้สัมภาษณ์กับ นิตยสารสารคดี เมื่อปี 2549 ว่า

“การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดเสรีนิยมใหม่ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ทศวรรษ ๑๙๗๐ โดยหลักการสำคัญคือ รัฐต้องการลดสวัสดิการที่พึงให้แก่ประชาชนทุกด้าน ให้ประชาชนรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น เป็นแนวคิดเดียวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คือให้กลไกตลาดมาจัดการชีวิตคน ตามหลักนี้รัฐมองว่ามหาวิทยาลัยต้องหาเงินเอง ภาระการศึกษาเป็นของนักศึกษา สิ่งนี้ส่งผลต่อคนยากจนทั่วโลกที่ต้องการศึกษาในระดับอุดมศึกษา”

“แต่ถ้าในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ ประชาชนต้องได้รับการศึกษาฟรีโดยถ้วนหน้า แต่กลับกันในประเทศไทยกลับสนับสนุนให้กู้ยืมเรียน นักศึกษาทุกคนมีสิทธิ์ได้เรียนโดยถ้วนหน้า แต่พ่วงด้วยหนี้ก้อนโตหลังจบการศึกษายกตัวอย่างเช่นถ้าคุณเรียนมหาวิทยาลัยรามคาแหงซึ่งหน่วยกิตถูกที่สุด ถ้าใช้เวลาเรียนตามปกติ(4ปี) จะใช้เงินประมาณหลักแสนบาท เมื่อจบออกมาทางานแล้ว แรงงานมือใหม่จะต้องผ่อนจ่ายหนี้ในการศึกษาทุกเดือน กว่าหนี้จะหมด(หลักแสน)ต้องใช้เวลายาวนานเท่าไหร่ บวกดอกเบี้ยเข้าไปเป็นจานวนเท่าไหร่ กว่าจะได้เริ่มสร้างเนื้อสร้างตัวต้องรอจนอายุเท่าไหร่”

“ถ้ามองในแง่ของความเท่าเทียม รัฐควรให้หลักประกันแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในด้านปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น หลักประกันด้านสุขภาพ ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับบริการป้องกันและรักษาโรคฟรี หลักประกันด้านการศึกษา ทุกคนควรมีโอกาสได้รับการศึกษาตามความสามารถโดยได้รับทุนการศึกษาฟรีจนทำงานได้ตามความสามารถในการเรียน แต่ถ้ารัฐบอกว่าการเรียนระดับมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องที่คนอยากเรียนต้องรับผิดชอบเองก็อาจตีความได้ว่าการศึกษาไม่มีความสำคัญกับพลเมืองในประเทศนี้ เพราะรัฐจ่ายให้เรียนฟรีแค่ 12 ปี ซึ่งขัดกับความเชื่อที่เราทุกคนรู้กันโดยจิตสานึกอยู่แล้วว่ามนุษย์จะถูกพัฒนาได้ด้วยการศึกษาเรียนรู้ อีกคำถามที่ต้องตั้งกันก็คือ เราจ่ายเงินภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมไปเพื่ออะไร ถ้ารัฐไม่มีหน้าที่บริการประชาชน มหาวิทยาลัยก็จะทำให้เป็นของเอกชน โรงพยาบาลก็จะเป็นเอกชน รถเมล์ น้าประปา ไฟฟ้า ก็จะต้องเป็นของเอกชน แล้วเราจะมีรัฐไปทำไม”

20 ก.ค.55 ที่ผ่านมา สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้ comment ความเห็นในเฟชบุคแฟนเพจ แนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้าน ม.นอกระบบ ที่ได้มีการนำ Quote ของ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ ที่ลงในประชาไท เมื่อ ธันวาคมปี 49 ในบทสัมภาษณ์ว่า คุยกับ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ : เสรีนิยมใหม่ ทำไมมันจึงเลวร้ายสำหรับการศึกษา? โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล Comment ว่าไม่เห็นด้วยกับการออกนอกระบบ และไม่เห็นด้วยกับการทำให้การศึกษาเป็นทุนนิยม เพราะมีปัญหาในประเด็นเรื่องความเป็นธรรมต่อราษฎร ที่จะได้มีโอกาสการศึกษา ปัญหา เรื่อง การตัดสินให้ความสำคัญของวิชาทีให้ ถ้าเป็นกลไกตลาด วิชาจำนวนมาก ที่คน "ไม่สนใจ" หรือ "ไม่รับใช้ตลาด" จะไม่ได้รับการเปิด เป็นต้น และสมศักดิ์ ยังเสริมด้วยว่า

เรื่องทำงานหนักขึ้น อันนี้ ในทุกวันนี มหาลัยเอกชน อาจารย์ทำงานหนัก กว่า มหาลัยรัฐบาล (แต่ค่าตอบแทนจะสูงกว่า) อันนี้ ก็มีส่วนอยู่ แต่วา ถ้ามหาลัยรัฐ ตอนนี้ เปล่ยนเป็นนอกระบบ อันนี ไม่แน่ ว่าจะจริง ว่า อาจารย์จะทำงานหนักขึน โอกาส ทำงานน้อยลง เปรียบเทียบกับค่าตอบแทน ก็มีอยู่

ทั้งหมดนี ต้องย้ำว่า ไม่ได้แปลว่าเห็นด้วยกับการทำให้การศึกษา เป็นทุนนิยม ("เสรีนิยมใหม่" นี่ ผมว่า เป็นคำที่กว้างไป) เพียงแต่เสนอว่า ถ้าจะให้เหตุผลประกอบในการคัดค้าน จะต้องให้เหตุผลที่รัดกุมกว่านี้

ปัญหาใหญ่สุด เรื่อง การออกนอกระบบ หรือเรื่อง "ทุนนิยม" (ขึ้นกับตลาด) ในความเห็นของผม คงไมใช่เรือ่ง งานหนัก สวัสดิการ บริการ หรืออะไรพวกนี้

แต่ปัญหาใหญ่ มีอยุ่ 2 อย่าง

1. เรื่อง "ความเป็นธรรม" ในแง่โอกาสทางการศึกษาสำหรับคนที่มีปัญหาด้านฐานะ (ต่อให้มีโปรแกรมในการ "กู้ยืม" ก็ตาม) นี่คือเรื่องปัญหา "ค่าเล่าเรียนแพง"  

2. เรื่องการจัดความสำคัญของวิชา เอาตัวอย่างง่ายๆ ทุกวันนี้ ผมมีบางวิชา มีนักศึกษาลงทะเบียนแค่ 2-3 คน หรือคนเดียวก็มี ถ้าใช้ระบบตลาดล้วนๆ วิชาพวกนี้ เปิดไม่ได้ เพราะไม่คุ้ม ... วิชา หรือหลักสูตร จำนวนมาก ก็เหมือนกัน ในระบบปัจจุบัน เราถือว่า วิชาหรือหลักสูตร ให้จัด โดยดูทีความสำคัญในแง่วิชาการ ในแง่หลักการ เป็นหลัก แต่ถ้าใช้ระบบตลาด มันจะกลายเป็นว่า ต้องดูว่า วิชา หรือหลักสูตรไหน "คุ้ม" ไหม ทีจะเปิด อะไรแบบนั้น

-----

เชิงอรรถ

[1] Sarakadee สารคดี, อ่านเอาเรื่อง : มหาวิทยาลัยนอกระบบ “แสงสว่าง” หรือ “ทางตัน” ของการอุดมศึกษาไทย ? สุเจน กรรพฤทธิ์ : รายงาน / ประเวช ตันตราภิรมย์ : ถ่ายภาพ

 

(*หมายเหตุ : บทความนี้มีการปรับแก้และเสริมเนื้อหาในส่วนความเห็นของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จากเดิมที่เคยถูกเผยแพร่ครั้งแรกใน “วารสารสหายแรงงาน” ฉบับที่ 1 ประจำเดือนกันยายน วารสารดังกล่าวถูกจัดทำขึ้นโดยการร่วมมือกันระหว่าง กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มนักศึกษาสภากาแฟ(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต) และกลุ่มประกายไฟ )

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
รายการประกายTalk โดย DJ Bus กับ ป้าอุ๊ ภรรยาอากง SMS (23-05-2012) แขกรับเชิญ ป้าอุ๊ ภรรยา ของ อากง SMS หรือ นายอำพล ทีสามีเป็นผู้ต้องขังคดี ม.112 และเสียชีวิตในคุกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus กับ สมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) 16-05-2012 แขกรับเชิญ สมบัติ บุญงามอนงค์ (ชื่อเล่น: หนูหริ่ง, หรือนามแฝงที่ใช้ในอินเตอร์เน็ท: บ.ก.ลายจุด) แกนนอนกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง พิธีกรร่วมรายการ: DJ.Bus @KonthaiUK ประเด็น การปั่นกระแส"แพงทั้งแผ่นดิน"กับการกดชีวิตอากงให้ถูก
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus "วันกรรมกรสากล" 02-05-2012 แขกรับเชิญ คุณ พัชนี คำหนัก ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย  
ประกายไฟ
เสวนาหัวข้อ "วิวัฒนาการรัฐทุนนิยมไทย" วิทยากร เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ณัฐพล ใจจริง. อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เก่งกิจ กิติเรียงลาภ กลุ่มประกายไฟ ดำเนินรายการโดย วีรนันท์ ฮวดศรี กลุ่มประกายไฟ
ประกายไฟ
เสวนาหัวข้อ “New Social Media กับการเคลื่อนไหวทางเมืองไทย” วิทยากร อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต เทวฤทธิ์ มณีฉาย กลุ่มประกายไฟ ดำเนินรายการโดย ปาลิดา ประการะโพธิ์ กลุ่มประกายไฟ ( วันเสาร์ที่ 28 ม.ค.55)   
ประกายไฟ
วันเสาร์ที่ 28 ม.ค.55 มาร์กซิสม์ 101 A ว่าด้วยทฤษฎีมาร์กซิสม์ เบื้องต้น บรรยาย เพื่อให้ความรู้พื้นฐาน มาร์กซิสต์   วิทยากร พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการ ณัชชา ตินตานนท์ กลุ่มประกายไฟ  
ประกายไฟ
  บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียงดนตรีแห่งทาสผิวดำได้ถือกำเนิดขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 19 พร้อมๆกับสถานภาพของคนผิวดำซึ่งมีสถานะ เป็นเพียงเป้าหมายของการทำให้ผู้อื่นเป็นปัจเจกชน เนื่องจากการเป็นเสรีชนและเสรีภาพในอเมริกานั้นต้องเป็นปัจเจกชนที่มีทรัพย์สินส่วนตัวและต้องเป็นพลเมืองผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง  แต่ในความเป็นจริงทาสผิวดำเป็นเพียงทรัพย์สินของนายทาส เป็นเครื่องมือของการผลิต ซึ่งส่งผลให้นายทาสเป็นปัจเจกชน คนผิวดำ จึงไม่มีศักยภาพที่จะสร้างหรือทำให้เสรีภาพแบบอเมริกันเป็นคุณสมบัติของตนเอง แม้ว่าคนผิวดำจะมีส่วนร่วมในการปฏิวัติอเมริกา…
ประกายไฟ
  "แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง" ทิพรดา ตากดำรงศ์กุลท่ามกลางข้อเสนอที่มากมาย ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือง ความล้มเหลวของระบบตัวแทน อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งวุ่นวายของการเมืองไทย เมื่อคิดถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่คอยอยู่ข้างหน้าแล้ว ข้อเสนอเกี่ยวกับต้นตอปัญหา วิธีการแก้ ผุดออกมาเป็นดอกเห็ด เป็นเรื่องของประสบการณ์ของผู้ที่อ้างตนว่าเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้ง หรือนักวิชาการต่างๆที่พยายามอธิบายด้วยนามธรรมที่ไร้ความหมาย หรือะไรที่ดูซับซ้อน บทความชิ้นนี้จึงมุ่งชี้ชวนใหเห็นว่า…
ประกายไฟ
แถลงการณ์"การเมืองใหม่ต้องเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ระบบลูกขุนลดงบประมาณทหาร และสร้างรัฐสวัสดิการ"ณ  อนุสรณ์สถาน ญาติวีรชน 14 ตุลาวันอาทิตย์ที่  28 กันยายน 2551 ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เสนอ "การเมืองใหม่" โดยอ้างว่าเป็นผู้จุดประกายการปฏิรูปการเมืองผ่าทางตัน "การเมืองแบบเก่า" ที่เต็มไปด้วยนักการเมืองซื้อเสียง การคอร์รัปชั่นกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็น "เจ้าภาพ" เพื่อการสร้างประชาธิปไตย เพราะการเคลื่อนไหวและเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรฯที่ผ่านมาล้วนลดบทบาทและไม่เชื่อมั่นในอำนาจและความคิดของประชาชนคนธรรมดา…
ประกายไฟ
  แถลงการณ์ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษาต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้1 กันยายน 2551จากเหตุการณ์การชุมนุมยืดเยื้อและความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการปะทะกันระหว่างรัฐบาลพรรคพลังประชาชน และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาอันเป็นความขัดแย้งทางการเมืองของฝ่ายชนชั้นนายทุน มิใช่การต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของชนชั้นล่างอย่างแท้จริง กลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษาที่ลงนามในแถลงการณ์ฉบับนี้มีความคิดเห็นและข้อเรียกร้องต่อสังคม ดังต่อไปนี้1. เราคัดค้านการใช้ความรุนแรงโดยรัฐ…