Skip to main content

เรนโบว์ วอร์ริเออร์ลอยลำประท้วงโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มาบตาพุด

 เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกร่วมกับกรีนพีซตะวันออกเฉียงใต้..แถลงค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินในระยอง..แฉ โกลว์บิดเบือนข้อมูล 

 green01

วันนี้ 16 กรกฎาคม  2551 เวลา 13.00 น. โรงแรมระยองเพรสซิเดนท์  อำเภอเมืองระยอง  จังหวัดระยอง  นายธารา  บัวคำศรี  ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  พร้อมด้วย  นางสาวสายรุ้ง  ทองปลอน ผู้จัดการสหพันธ์องค์ผู้บริโภค และคณะทำงานในคณะกรรมาธิการธรรมาภิบาล วุฒิสภา  นายสุทธิ  อัชฌาศัย  ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก และกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา  ได้ร่วมกันแถลงข่าว  หลังจากการณรงค์ของเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ เพื่อคัดค้านการขยายโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดระยองเมื่อวานนี้ (15 ก.ค. 2551) ส่งผลให้กรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา และตัวแทนคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา  ออกโรงร่วมแถลงไม่เห็นด้วยกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เก็คโค่-วัน และวิจารณ์นโยบายด้านพลังงาน กระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายและแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้า (PDP) ของรัฐบาล พร้อมผลักดันให้มีพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดในประเทศไทย

บริษัทโกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน ได้ออกแถลงการณ์ณ์ยืนยันว่า โรงไฟฟ้าแห่งใหม่นี้สะอาดและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ทั้งๆที่มีเท็จจริงคือถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่สกปรกที่สุดในบรรดาเชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมด  ถึงแม้เราจะนำไปผ่านกระบวนการใดๆก็ตาม  แม้แต่การดักจับคาร์บอนหรือฝังกลบใต้ธรณี ก็ยังไม่สามารถกำจัดความสกปรกและสารพิษของถ่านหินได้  วิธีการดังกล่าวเป็นเพียงข้ออ้างของผู้สนับสนุนถ่านหินเท่านั้น  ถ่านหินยังทำลายสภาพภูมิอากาศและส่งผลกระทบด้านสารพิษไปยังชุมชน แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงเดินหน้าสนับสนุนให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่อีก 31 โรง

นายสุทธิ  อัชฌาศัย  ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก และกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา  กล่าวถึงกระบวนการขยายโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทยว่า " การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเก็คโค่ - วัน จะต้องหยุดดำเนินการทันที  จนกว่าจะมีการพิจารณาถึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ สิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ "

นางสาวสายรุ้ง  ทองปลอน ผู้จัดการสหพันธ์องค์ผู้บริโภค และคณะทำงานในคณะกรรมาธิการธรรมาภิบาลวุฒิสภา  กล่าวถึงข้อบกพร่องของแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้า (PDP) ที่เน้นถ่านหินและนิวเคลียร์ รวมทั้งสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินมากขึ้นโดยไม่จำเป็น " เราต้องการเห็นรัฐบาลเป็นผู้ปูทางพลังงานหมุนเวียนให้แก่อนาคตของประเทศ เราต้องการให้รัฐบาลเปลี่ยนการใช้งบประมาณเพื่อผลักดันให้เกิดโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ เพื่อมุ่งสู่พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและประสิทธิภาพพลังงาน  ยกร่างกฎหมายเพื่อส่งเสริมนักลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนด้วยผลตอบแทนที่มั่นคง และสามารถคาดการณ์ได้ เพื่อรับประกันว่าผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะได้รับความสำคัญในการเข้าถึงสายส่งไฟฟ้าก่อน  และการยกร่างให้มีมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานที่เข้มงวดและโครงการการจัดการด้านความต้องการไฟฟ้า และพลังงานหมุนเวียนสามารถแข่งขันได้  เพียงแต่รัฐบาลลดละเลิกการอุดหนุนถ่านหินและนิวเคลียร์ "

หลักการ " ผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย" ที่ผ่านมา พลังงานฟอสซิลและนิวเคลียร์นั้นได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลอยู่ราว 250 พันล้านเหรียญต่อปี   " เราควรเปลี่ยนแปลงการลงทุนดังกล่าวนั้น  มาให้กับแหล่งพลังงานที่จะช่วยเรายุติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นอันตราย "นายธารา  บัวคำศรี  ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

ขณะนี้มีผู้ร่วมลงชื่อคัดค้านถ่านหิน นิวเคลียร์ และเชื้อเพลิงฟอสซิล และสนับสนุนให้มีการลงทุนเพื่อพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยแล้ว 3,000 คน เพื่อส่งไปยังกระทรวงพลังงาน สามารถร่วมลงชื่อผลักดันพลังงานหมุนเวียนได้ที่ http://www.greenpeace.or.th/  

หลังจากการรณงค์ในนิวซีแลนด์และฟิลิปปินส์ เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ได้มุ่งหน้ามายังประเทศไทยเพื่อรณรงค์ " หยุดถ่านหิน ก้าวสู่การปฏิวัติพลังงาน" ซึ่งมีจุดประสงค์สนับสนุนทางอออกเพื่อกู้วิกฤตโลกร้อน นั่นคือ การปฏิวัติพลังงานซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไปสู่เส้นทางพลังงานหมุนเวียนเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานและสันติภาพ  กรีนพีซนั้นทำงานการรณรงค์ด้วยการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธี นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพฤติกรรม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และสันติภาพ

 

green02

green

เรนโบว์ วอร์ริเออร์ จอดทอดสมออยู่ท่าเรือมาบตาพุด ระยอง

บล็อกของ kanis

kanis
สวัสดีblogazine prachataiดีใจที่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกของบ้านหลังนี้  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการต้อนรับที่อบอุ่น ข้อมูล ข้อเท็จจริงจากพื้นที่มาบตาพุด ระยอง และฝั่งทะเลตะวันออก  คงได้หลั่งไหลสู่พี่น้องที่นี่ให้ได้รับรู้  และร่วมกันปกป้องทรัพยากรไว้ให้ลูกหลานเราในอนาคต24 มิถุนายน 2551 กนิษฐ์  พงษ์นาวินมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พัทยา