Skip to main content

เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา

 

Kasian Tejapira

พร้อมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์รอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา รถยนต์ได้กลายเป็นสินค้าคงทนที่กระจายกว้างจากประเทศอุตสาหกรรมร่ำรวย ไปสู่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก เช่น จีน, อินเดีย, รัสเซีย, บราซิล ก่อเกิดเป็นแนวโน้มใหม่ ๔ ประการของตลาดรถยนต์โลกปัจจุบัน กล่าวคือ

๑) ยอดขายรถยนต์ในโลกปัจจุบันส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศตลาดเกิดใหม่ จาก ๑๐ ปีก่อนที่ยอดขายรถยนต์ในประเทศตลาดเกิดใหม่เป็นแค่ ๑/๓ ของประเทศทุนนิยมก้าวหน้าตะวันตก มาบัดนี้กลับสูงกว่าฝ่ายหลังถึง ๒๐% สะท้อนการค่อย ๆ ขยับเปลี่ยนย้ายศูนย์การผลิตและความมั่งคั่งของโลก ที่ GDP ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่เพิ่มเร็วกว่าของกลุ่มประเทศทุนนิยมก้าวหน้าตะวันตกเฉลี่ยปีละ ๔% ทำให้ยอดขายรถเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าฝ่ายหลังปีละ ๑๕% ในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา

๒) อย่างไรก็ตาม ยอดขายรถยนต์ในประเทศตลาดเกิดใหม่มีแนวโน้มจะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะบรรดาผู้มีปัญญาซื้อส่วนใหญ่ (คนชั้นกลาง) ในประเทศเหล่านั้นมักซื้อรถกันไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้อัตรายอดขายรถยนต์ในประเทศตลาดเกิดใหม่ยังคงเพิ่มอยู่ แต่เหลือราว ๕ - ๖%/ปี ไม่เพิ่มด้วยอัตรา ๒ หลักเหมือนหลายปีที่ผ่านมา

๓) แต่กล่าวเฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้ารถยนต์ที่ขายในประเทศตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากเงื่อนไขเฉพาะที่ญี่ปุ่นดำเนินมาตรการส่งเสริมการซื้อรถยนต์ขนานใหญ่ และครัวเรือนอเมริกาค่อยฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยสองสามปีที่ผ่านมา จึงเริ่มซื้อรถกันอีกระลอก

๔) จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา แต่กระนั้นหากคิดเป็นจำนวนคัน จีนยังเป็นอันดับหนึ่งที่ ๑๘ ล้านคัน เหนือกว่าอเมริกาอันดับสองที่ ๑๓ ล้านคัน

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."    
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"