Skip to main content


Kasian Tejapira(13/10/2012)

 


มีนักคิดปัญญาชนบางท่านที่ต่อต้านรัฐประหารของ คปค. เสนอว่า โลกาภิวัตน์ ไปกันได้กับ ประชาธิปไตย และ ความเป็นธรรมทางสังคม และเสนอให้ชูธงชาติไทย ๓ ผืนนี้ควบคู่กันไป ( ดู บทความ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ : ธงชาติไทยสามผืนในกระแสโลกาภิวัฒน์ )

แต่นี่เป็นความจริงหรือความฝันกันแน่?

Credit Suisse Research Institute ได้เผยแพร่รายงานประจำปีล่าสุดเรื่อง Global Wealth Report 2012 เผยให้เห็นความเหลื่อมล้ำสุดโต่งในโลกปัจจุบันภายใต้เศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ราว ๓ ทศวรรษกว่าที่ผ่านมาว่า:

หากดูจากยอดบัญชีโภคทรัพย์ (wealth) หรือนัยหนึ่งทรัพย์สิน เงินลงทุนและหนี้สินของครัวเรือนทั่วโลก ก็จะพบการกระจายตัวของโภคทรัพย์ในหมู่ประชากรผู้ใหญ่ (adults) ในโลกเหลื่อมล้ำเป็นรูปพีระมิดดังนี้

-สีดำตรงยอดสุดแทนคน ๒๙ ล้านคน คิดเป็น ๐.๖% ของประชากรโลก แต่ละคนถือครองโภคทรัพย์มูลค่ากว่า ๑ ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯขึ้นไป รวมแล้วเป็นยอดมูลค่าโภคทรัพย์ ๘๗.๕ ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง ๓๙.๓% ของโภคทรัพย์ในโลก

-สีเทารองลงมาแทนคน ๓๔๔ ล้านคน คิดเป็น ๗.๕% ของประชากรโลก แต่ละคนถือครองโภคทรัพย์มูลค่าระหว่าง ๑ แสน --> ๑ ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ รวมแล้วเป็นยอดมูลค่าโภคทรัพย์ ๙๕.๙ ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คิดเป็น ๔๓.๑% ของโภคทรัพย์ในโลก

-สีฟ้าอันดับที่สามแทนคน ๑,๐๓๕ ล้านคน คิดเป็น ๒๒.๕% ของประชากรโลก แต่ละคนถือครองโภคทรัพย์มูลค่าระหว่าง ๑ หมื่น --> ๑ แสนดอลล่าร์สหรัฐฯ รวมแล้วเป็นยอดมูลค่าโภคทรัพย์ ๓๒.๑ ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คิดเป็น ๑๔.๔% ของโภคทรัพย์ในโลก

-สีเขียวฐานล่างสุดแทนคน ๓,๑๘๔ ล้านคน คิดเป็น ๖๙.๓% ของประชากรโลก แต่ละคนถือครองโภคทรัพย์มูลค่าต่ำกว่า ๑ หมื่นดอลล่าร์สหรัฐฯ รวมแล้วเป็นยอดมูลค่าโภคทรัพย์ ๗.๓ ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คิดเป็นแค่ ๓.๓% ของโภคทรัพย์ในโลก

ในระบอบเสรีประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง เงินเป็นปัจจัยสำคัญมากในการก่อตั้งพรรคและรณรงค์หาเสียง ด้วยความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์เช่นนี้ อำนาจเสียงข้างมาก (เกือบ ๗๐% ของประชากรฐานล่าง) ย่อมถูกกีดขวางทัดทานจากอำนาจทุนมหาศาล (เกือบ ๔๐% ของโภคทรัพย์ในโลก) ของคนไม่ถึง ๑% ของประชากรในโลกบนสุด

กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด

ระบบทุนนิยมประชาธิปไตย (Democratic Capitalism) ที่แพร่หลายในโลกตะวันตกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เอาเข้าจริงจึงตั้งอยู่บนเงื่อนไขแห่งความตึงเครียดขัดแย้ง ไม่ใช่อุดหนุนคล้องจองกัน และเต็มไปด้วยวิกฤตเศรษฐกิจการเมืองครั้งแล้วครั้งเล่า จนดุลอำนาจเปลี่ยนภายใต้แนวนโยบายเสรีนิยมใหม่/โลกาภิวัตน์ กลายเป็นทุนนิยมอยู่เหนือประชาธิปไตย เป็นประชาธิปไตยที่นับวันไม่เต็มใบหรือครึ่งใบซึ่งเบ้ไปทางทุน ดังที่เห็นอยู่ในหลายประเทศที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจทุกวันนี้ (ดูบทความของ Wolfgang Streeck เรื่องนี้ได้ที่ http://newleftreview.org/II/71/wolfgang-streeck-the-crises-of-democratic-capitalism)

ยิ่งไม่ต้องพูดถึงความเป็นธรรมในสังคม ภายใต้ความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ในโลกแบบนี้ มันจะมีได้อย่างไร? เป็นฝันกลางวันแสก ๆ โดยแท้!

 

 

จากบทความเดิมชื่อ: ความเหลื่อมล้ำสุดโต่งในโลก: โลกาภิวัตน์น่ะรึจะนำไปสู่ประชาธิปไตยและความเป็นธรรมทางสังคม? 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง