Skip to main content

รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย!
 

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organisation - ILO) สังกัดสหประชาชาติเผยแพร่รายงาน Global Wage Report 2014/15 เมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้ว่าการเติบโตของค่าจ้างที่แท้จริง (real wage growth) หลังหักอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วเกือบจะไม่ขยับขึ้นเลย ขณะบรรดาประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาเป็นที่มาด้านหลักของการเติบโตของค่าจ้างในโลก การเติบโตของค่าจ้างในโลกยังต่ำกว่า 3% อันเป็นอัตราเติบโตของค่าจ้างในโลกก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยใหญ่ทั่วโลกในปี ค.ศ. 2008 ค่าจ้างเติบโตชะลอลงจนเกือบเป็น 0% ในบรรดาประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ค่าจ้างโตขึ้น 6% ในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาเช่นจีนและประเทศอื่นในเอเชีย ค่าจ้างในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลางก็เติบโตขึ้นเกือบจะเท่ากับ 6% เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ค่าจ้างในประเทศที่มั่งคั่งยังสูงกว่าค่าจ้างในประเทศยากจนประมาณ 3 เท่าตัว คนงานในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ค่าจ้างเฉลี่ย 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ/เดือน เทียบกับแค่ 1,000 ดอลล่าร์ฯ/เดือนสำหรับคนงานในประเทศกำลังพัฒนา

แซนดรา โพลาสกี้ รองผู้อำนวยการใหญ่ด้านนโยบายของ ILO  ระบุว่าค่าจ้างส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำแตกต่างกันไปในประเทศที่มีเศรษฐกิจต่างกัน เธอกล่าวว่า:

รายงานแสดงให้เห็นว่าในหลายประเทศ ค่าจ้างเป็นแหล่งรายได้ใหญ่ที่สุดของครอบครัวที่มีสมาชิกอยู่ในวัยทำงานอย่างน้อยหนึ่งคน ในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว ค่าจ้างคิดเป็นราว 60-80% ของรายได้ทั้งหมดของครอบครัวก่อนเสียภาษี ส่วนในประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนา ค่าจ้างคิดเป็นราว 30-60% ของรายได้ทั้งหมดของครอบครัว”

ประเทศที่พัฒนาแล้วเหลื่อมล้ำกันยิ่งขึ้นเนื่องจากคนตกงานและความแตกต่างเหลื่อมล้ำอย่างยิ่งระหว่างผู้ได้ค่าจ้างอัตราสูงสุดกับต่ำสุด ความแตกต่างระหว่างผู้ได้ค่าจ้างอัตราสูงสุดกับต่ำสุดลดน้อยถอยลงในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาบางประเทศ

ILO ชี้ว่าการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสามารถแสดงบทบาทอย่างเข้มแข็งในการจัดการปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำได้ แซนดรา โพลาสกี้เห็นแย้งพวกนักวิจารณ์หัวอนุรักษนิยมที่คัดค้านนโยบายกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยอ้างว่าการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้การจ้างงานลดลง เธอกล่าวว่า:

หลักฐานแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำในระดับและขอบเขตที่เราได้พบเห็นกันมาในทางเป็นจริงนั้นไม่ว่าในสหรัฐฯหรือประเทศอื่น ๆ เอาเข้าจริงไม่ได้ส่งผลด้านลบต่อการจ้างงานดังว่าเลย ตรงกันข้าม นายจ้างต่างหาวิธีชดเชยได้ผ่านการเพิ่มผลิตภาพและปรับองค์การทำงานใหม่ ให้ดีขึ้น ฯลฯ”

ILO ยังชี้ว่าการบั่นทอนอำนาจการต่อรองรวมหมู่ของคนงานในหลายประเทศส่งผลกระทบเสียหายต่อค่าจ้าง ผลิตภาพของแรงงานยังคงเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าการขึ้นค่าจ้างในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่งผลให้คนงานและครอบครัวได้ดอกผลตอบแทนน้อยกว่าเจ้าของทุน

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง