Skip to main content

จอห์น วิญญู, 14 ม.ค.58 กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น 142 ตอน เจาะร่าง พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์

 

ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law)

 

ในทางรัฐศาสตร์ หลักนิติธรรม หรือ the rule of law ไม่ใช่แค่คอหยัก ๆ สักแต่ว่าเป็นกฎหมายซึ่งออกโดยผู้มีอำนาจนิติบัญญัติในทางเป็นจริง ที่ไม่ว่าท่านจะถ่มถุยอะไรออกมาอย่างไรก็ใช้ได้ทั้งนั้น แต่มีหลักการที่มาบางอย่างกำกับเป็นบรรทัดฐานอยู่

 

วิญญาณของหลักนิติธรรมในรัฐสมัยใหม่คือการปกครองที่มีอำนาจจำกัด (limited government) ที่มันถูกจำกัด เพราะผู้คนพลเมืองไม่ใช่ไพร่ข้าตัวเปล่าเล่าเปลือย หากกลายเป็นพลเมืองผู้ทรงสิทธิเสรีภาพเหนือร่างกายชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง (self-ownership ชีวิตเราเป็นของเรา ไม่ใช่ของผู้ปกครองหรือรัฐหรือเทวดาจากไหน นับตั้งแต่อวสานของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อ ๒๔ มิ.ย. ๒๔๗๕ เป็นต้นมาแล้วครับ)

 

ในเมื่อสิทธิเสรีภาพเป็นของประชาชนพลเมือง ผู้เดียวที่มีอำนาจจำกัดสิทธิเสรีภาพนั้นได้ ก็คือประชาชนพลเมืองผู้เป็นเจ้าของมันนั้นเอง กล่าวคือประชาชนพลเมืองอาจยินดีและยินยอมจำกัดสิทธิเสรีภาพของตัวเองเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคม โดยออกกฎหมายมาจำกัดมัน อาจออกเอง (ประชาธิปไตยทางตรง ในชุมชนเล็ก ๆ) หรือเลือกตั้งตัวแทนโดยชอบของตนไปออกกฎหมาย (สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง)

 

กฎหมายที่ออกโดยสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งจึงเป็นเส้นจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมืองโดยชอบธรรม เพราะเจ้าของเลือกตั้งตัวแทนมาจำกัดสิทธิเสรีภาพของตนเองโดยยินยอม รัฐต้องเคารพเส้นนั้นและจำกัดอำนาจรัฐเองลงตรงเส้นคั่นสิทธิเสรีภาพของผู้คนพลเมืองนั้น

 

ศาลตุลาการอิสระที่ยึดถือมาตรฐานเดียว (ไม่ใช่ศาลตามใบสั่งและสองหรือสามมาตรฐาน) เป็นกรรมการกำกับเส้นกฎหมาย ไม่ให้รัฐข้ามเส้นกฎหมายที่จำกัดอำนาจรัฐไปล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมือง และขณะเดียวกันก็ไม่ให้ประชาชนพลเมืองข้ามเส้นที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของตนไปบุกรุกขัดขวางก่อกวนทำลายการทำหน้าที่ของรัฐโดยมิชอบ

 

เนื้อแท้ของพรบ.คอมพิวเตอร์ที่กำลังเสนอโดยรัฐบาลปัจจุบันก็คือรัฐกำลังขยับเส้นจำกัดอำนาจรัฐดังกล่าวและเบียดบังเข้าไปในพื้นที่สิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมืองโดยพลการอีกแล้วครับท่านนั่นเอง

 

หมายเหตุ : บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก ‘Kasian Tejapira’ เมื่อวันที่ 16 ม.ค.2558

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง