Skip to main content

..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..

 

Kasian Tejapira(10/11/55)

อาจารย์ Sawatree Suksri ตั้งคำถามบ่น ๆ เบื่อ ๆ ไว้ในสเตตัสว่า:

"ทำไมประเทศนี้ต้องคอยสร้าง "พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์" ชนิดที่วิจารณ์ไม่ได้ ล้อเล่นไม่ได้ มีอารมณ์ขันด้วยไม่ได้ ให้.....เต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด ?"

ผมทดลองตอบว่า:

มันเป็นแบบวิธีเก่าจากอดีตที่ถูกหยิบข้ามภพมาเป็นเครื่องมือจัดการกับสภาพความแตกต่างหลากหลายและขัดแย้งกันของชีวิตสังคมสมัยใหม่และสะท้อนการเปลี่ยนผ่านที่ไม่เสร็จสมบูรณ์จากราชอาณาจักรแต่เดิมมาสู่รัฐชาติสมัยใหม่ของมวลชน

แต่การสวมครอบองค์รวมเอกภาพจากอดีตในจินตนาการ ลงบนพื้นที่สังคมเศรษฐกิจวัฒนธรรมสมัยใหม่ซึ่งมีการแตกแยกเป็นเสี่ยง ความแปลกหน้าไม่รู้จัก แปลกแยกต่างตรรกะดำเนินชีวิตเป็นสรณะและปกติธรรมดานั้น มันไม่ฟิต ไม่ลงตัว ผลก็คือเกิดการไม่ยอมรับ อิดเอื้อน ที่บางแบบวิถีชีวิต บางวัฒนธรรม บางสถานะสังคมและชนชั้นเศรษฐกิจได้รับการยกให้สูงขึ้นและกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือส่วนอื่น

ดังนั้น ส่วนอื่นที่เหลือต่างก็พยายามยกตัวขึ้นสู่สถานะศักดิ์สิทธิ์เดียวกันนั้นบ้างด้วยแบบวิธีต่าง ๆ กัน เช่น ยืมพลังถ่ายทอดพลัง, ตั้งตนเป็นเทพเจ้าเข้าทรง ฯลฯ

ผลก็คือในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน นี่นับเป็นภาวะที่ยากจะประคับประคองให้ยั่งยืนต่อไปได้โดยไม่กร่อนกลวงเหลือแต่รูปแบบเปล่า ๆ ไม่มีฉันทมติจริงรองรับข้างใน มีแต่ต้องใช้อำนาจบังคับค้ำจุนไว้มากขึ้นทุกที

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."    
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"