Skip to main content

อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง

 
วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มิ.ย. ศกนี้ ศาลสูงสหรัฐฯลงมติเอกฉันท์ ๙: ๐ ให้บริษัท Myriad Genetics Inc. แพ้คดีที่อ้างกรรมสิทธิ์จากการจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์ที่นักวิทยาศาสตร์ของบริษัทสกัดออกมาจากตัวมนุษย์ เพื่อเอาไปทดสอบว่ามีลักษณะผิดปกติอันอาจนำไปสู่มะเร็งในมดลูกและหน้าอกของผู้หญิงหรือไม่ (การทดสอบแบบเดียวกับที่แองเจลีนา โจลีทำและตัดสินใจผ่าตัดเต้านมออกทั้งสองข้างเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็ง)
ศาลสูงแยกแยะระหว่าง [ยีนส์ของคนที่เกิดตามธรรมชาต]ิ กับ [ตัวการทดสอบและ/หรือยีนส์ที่ถูกดัดแปลงเสริมแต่งในห้องทดลองจนผิดแผกแปลกต่างไปจากธรรมชาติ], อันแรกจดสิทธิบัตรเพื่ออ้างกรรมสิทธิ์เป็นของบริษัทเอกชนไม่ได้ มันเป็นของคนที่เกิดตามธรรมชาติ บริษัทแค่ไปดึงออกมาต่างหาก, ส่วนอันหลังบริษัทยังสามารถเอาไปจดสิทธิบัตรอ้างกรรมสิทธิ์ได้ตามปกติ
 
ผู้พิพากษาคลาเรนซ์ โธมัส ซึ่งรับผิดชอบเขียนคำพิพากษาตามมติเอกฉันท์ของศาลสูงดังกล่าวระบุไว้ในคำพิพากษาตอนหนึ่งว่า:
 
“กฎธรรมชาติ ปรากฏการณ์ธรรมชาติและความคิดนามธรรมนั้นไม่อาจนำไปจดสิทธิบัตรได้
 
“เราถือว่าส่วนของ DNA ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นผลผลิตของธรรมชาติและจะเอาไปจดสิทธิบัตรเพียงเพราะมันได้ถูกดึงแยกต่างหากออกมา (จากร่างกายมนุษย์) นั้นมิได้
 
“อย่างไรก็ตาม DNA ที่สังเคราะห์สร้างขึ้นยังนำไปจดสิทธิบัตรได้เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ”
ผู้พิพากษาคลาเรนซ์ โธมัส(Clarence Thomas)
คำพิพากษานี้พลิกโค่นแบบปฏิบัติที่บริษัทเอกชนต่าง ๆ พากันยื่นจดสิทธิบัตรยีนส์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติต่อเนื่องกันมากว่า ๓๐ ปี และส่งผลสะเทือนพอสมควรต่ออุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพมูลค่ามหาศาลกำไรสูง
 
มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
 
(ภาพประกอบศาลสูงสหรัฐฯและผู้พิพากษาคลาเรนซ์ โธมัส ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่ http://www.pri.org/stories/supreme-court-human-genes-cannot-be-patented-14094.html )
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."    
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"