- คำว่า Ochlocracy (Ochlocrat = นักกฎหมู่; Ochlocratic = แบบกฎหมู่) นี่เท่ห์ดีครับ แต่คำง่ายกว่าก็มีเช่น mob rule หรือ mobocracy แปลตรงตัวคือ “การปกครองโดยม็อบหรือมวลประชาชนทั่วไป”, “การกำราบเจ้าหน้าที่โดยชอบให้หงอกลัวหัวหด”
-Ochlocracy นับญาติกับรูปแบบการปกครองอื่นในความคิดการเมืองกรีกโบราณ กล่าวคือ: (ดูภาพตารางประกอบ)
คำอธิบายตาราง:
-ดี = การปกครองที่ยึดผลประโยชน์ของชุมชนโดยรวมเป็นที่ตั้ง
-เลว = การปกครองที่ยึดผลประโยชน์ของกลุ่มหรือบุคคลเป็นที่ตั้ง ทำให้ความยุติธรรมเสื่อมโทรมลง
-กฎหมู่ = ประชาธิปไตยที่เสื่อมทรามลงเพราะพฤติกรรมของนักกวนเมือง (demagogue), อำนาจจิตตารมณ์เหนือเหตุผล, ทรราชย์ของเสียงข้างมาก
-คณาธิปไตย = อภิชนาธิปไตยที่เสื่อมทรามลงเพราะคอร์รัปชั่น
-ทรราชย์ = ราชาธิปไตยที่เสื่อมทรามลงเพราะขาดราชธรรม
-เราอาจหยุดยั้งภัยคุกคามของกฎหมู่ต่อประชาธิปไตยได้โดยประกันว่าคนส่วนน้อยหรือปัจเจกบุคคลจะได้รับการคุ้มครองโดยหลักนิติธรรมจากพฤติกรรมกวนเมืองหรือความตื่นตระหนกทางศีลธรรมระยะสั้น แต่ก็ไม่แน่นัก เพราะกฎหมู่อาจชนะได้ถ้าหากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเอาใจออกห่างกฎหมายบ้านเมือง ไปฝักใฝ่นักกวนเมืองแทน
-กฎหมู่ต่างจากอารยะขัดขืนและสัตยาเคราะห์ตรงฝ่ายหลังยึดมั่นวิธีการที่ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ใช้กำลัง แต่กฎหมู่ไม่ยึดถือวิธีการดังกล่าว
-เจ้าหน้าที่ตำรวจนานาประเทศพยายามต่อสู้เอาชนะขบวนการกฎหมู่ด้วยการจำกัดวง/ขอบเขตขบวนการกฎหมู่ให้อยู่ในพื้นที่เฉพาะ เพื่อแยกขบวนการกฎหมู่ออกห่างจากเป้าหมายโจมตี, สาธารณชนส่วนใหญ่ทั่วไป, สื่อมวลชน ฯ จนตกไปอยู่ชายขอบ/ถูกมองข้ามละเลยไปได้ บ้างก็ใช้วิธีออกกฎบังคับให้ผู้จัดต้องขอใบอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ทางการก่อนจัดชุมนุมแสดงพลังหรือเดินขบวนในที่สาธารณะ, ในทางกลับกัน ขบวนการกฎหมู่ก็หาทางฝ่าด่านปิดล้อมทางการทั้งในแง่ข่าวสารและการเคลื่อนที่โดยอาศัยเครือข่ายไอทีสมัยใหม่และพาหนะคล่องตัว เช่น จักรยาน เป็นต้น
หมายเหตุข้อเขียนนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก 'Kasian Tejapira' เมื่อวันที่ 10 มี.ค.57
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"