Skip to main content

โดย... นายหัว ส.

ชื่อบทความเดิม: เสื้อแดงในคุกถือคติหมากัดอย่ากัดตอบ ผิดระบอบ..เพราะเราไม่ใช่หมา !!

มีการประชุมเสื้อแดงในคุกเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในประเด็นว่า เมื่อนายสุพจน์ และนายสุพัฒน์ ศิลารัตน์  สองพี่น้องฝาแฝดถูกศาลสั่งจำคุกและถูกส่งเข้ามาในคุกจะต้อนรับอย่างไร? จะจัดหนักจัดเบาหรือส่งเข้าค่ายมวยเพื่อโชว์ฝีมือกับนักมวยในคุกในสมกับความซ่า เพราะสมาชิกเสื้อแดงแห่งสภาเสื้อแดงในคุกรู้สึกหมันไส้ในความซ่าที่พูดสัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า “ชกเพื่อความสะใจ” หรือ “อยากเตะนักข่าว” อะไรเหล่านี้ 

อาจจะมีผู้สงสัยว่า ก็เสื้อแดงย้ายไปอยู่เรือนจำชั่วคราวโรงเรียนพลตำรวจนครบาลบางเขนหมดแล้วนี่ แล้วยังจะมีสภาเสื้อแดงอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้อย่างไร ? ก็ขออธิบายว่านั่นเป็นคนเสื้อแดงที่ต้องคดีเสื้อแดง แต่ที่ยังอยู่ตั้งเป็นสภาเสื้อแดงเป็นเสื้อแดงที่ต้องคดีอื่น และเพิ่งเป็นเสื้อแดงเกิดใหม่ในคุก

สภาพในคุก็ไม่ต่างอะไรกับนอกคุก เพราะคุกก็คือสังคมย่อยในสังคมใหญ่ เมื่อสังคมใหญ่เป็นอย่างไร มีอะไรก็ย่อมแทรกซึมเข้าสู่สังคมย่อย เช่นน้ำท่วมรอบคุกก็ซึมผ่านกำแพงเข้าไปท่วมในคุก รอบคุกมีโทรศัพท์มือถือและยาเสพติด ก็ย่อมเล็ดรอดเข้าไปในคุกเป็นธรรมดา การแก้ปัญหาจึงต้องแก้ที่สังคมใหญ่เป็นหลัก ไม่ใช้แก้ที่สังคมย่อย ดังนั้น จึงขอติติงต่อรัฐบาลว่า “อย่าโหมโฆษณาเชิงลบต่อคุกให้มากเกินไป สภาเสื้อแดงในคุกไม่ค่อยสบายใจ หรือถ้ามีประเด็นสงสัยอะไรก็มาร่วมประชุมกันก็ได้” 

เรื่องการเกิดขึ้นของคนเสื้อแดงในคุกก็เช่นเดียวกัน  เมื่อในสังคมใหญ่ขอบเขตทั่วประเทศ คนเสื้อแดงเพิ่มขึ้น คนเสื้อเหลืองลดลง ยิ่งเมื่อฝ่ายเสื้อแดงคือพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลก็ยิ่งทำให้คนเสื้อสีอื่น อยากใส่เสื้อสีแดงมากยิ่งขึ้น 

ขนาดนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษที่เดิมทีใส่เสื้ออมเหลืองลายประชาธิปัตย์ เวลานี้ก็หันมาใส่เสื้อสีอมแดงลายเพื่อไทย จึงไม่ตกจากเก้าอี้ คนเสื้อแดงในคุกจึงเพิ่มขึ้นและเปิดเผยตัวอย่างโอ่อ่าเช่นเดียวกับนอกคุก

ในการเปิดประชุมของสภาเสื้อแดงในคุกอย่างไม่เป็นทางการ เพราะเป็นทางการไม่ได้ ผิดระเบียบ มีการประชุมกันอย่างกว้างขวางกรณีฝาแฝดนายสุพจน์และสุพัฒน์ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ประเด็นแรกที่ตั้งเป็นโจทย์คือจะรอดจากการติดคุกหรือไม่? มีผู้อภิปรายว่าน่าจะรอดยาก ยิ่งอ้างว่า “ทำเพราะรักในหลวง” ก็ยิ่งจะไม่มีกล้ายื่นมือเข้าไปช่วย เพราะเล่นผิดบท ผิดเวลา ใครขืนเข้าไปช่วยก็เท่ากับส่งเสริมคนบ้า  แม้แต่เสื้อเหลืองปัจจุบันก็เริ่มได้สติไม่กล้าเล่นบทนี้ นายกวีไกร โชคพัฒนเกษมสุข ที่บ้าระห่ำทุบรถของนักข่าววอยซ์ทีวีจึงถูกการ์ดพันธมิตรฯ จับตัวส่งตำรวจกลายเป็นสุนัขถูกขังกรงไม่มีใครส่งข้าวส่งน้ำ 

เวลานี้จะมีที่ชมชอบบทบาทนี้ก็คือ กลุ่มเสื้อหลากสีของเด็กใหม่อย่างหมอตุลย์ ซึ่งเป็นกลุ่มฝึกหัดการต่อสู้ ก็ปล่อยให้พยองลำพองไปสักระยะเดี๋ยวก็รู้หมู่หรือจ่า 

ผู้อภิปรายวิเคราะห์ต่อว่า คดีของนายสุพจน์ และสุพัฒน์ ศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกแล้วแต่ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์เท่ากับซื้อเวลาเท่านั้นเอง สุดท้ายศาลอุทธรณ์ก็คงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ไม่รอลงอาญาเพราะเคยทำความผิดมาก่อนเคยรอลงอาญามาแล้ว และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นก็ไม่มีสิทธิ์ฎีกาต้องเขาคุกแล้วยังจะมีคดีแจ้งความเท็จและปลอมแปลงเอกสารก็จะต้องถูกฟ้องเพิ่มและให้นับต่อจากคดีแรก คำนวณดูแล้วคนใดคนหนึ่งก็น่าจะติดคุกสัก 2-3 ปี สมกับความสะใจแน่ 

ประเด็นต่อมาตั้งเป็นโจทย์ว่า เมื่อจอมซ่าสองคนนี้เข้ามาจะจัดการต้อนรับอย่างไรให้หายซ่า มีผู้เสนอว่าให้จัดหนักโดยพาไปเวทีมวลให้พ้นจากสายตาเจ้าหน้าที่ แล้วจับเป็นเป้าล่อให้นักมวลแทนกระสอบทราย 

บางคนเสนอให้นำขึ้นเวทีมวล ซ่อมจริงกับนักมวยฝีมือดีในค่ายเพื่อทดสอบฝีมือ ดูซิว่าจะสะใจเหมือนตอนชกอาจารย์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หรือไม่ บางคนเสนอจ้างพวกซามูไรจัดการพอท้วมๆ แค่คางเหลือง

แต่สุดท้ายผู้อาวุโสเสื้อแดงหลายท่าน อภิปรายว่า พวกเราจะทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะในเมื่อเราปฏิเสธการใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา แต่กลับมาทำเสียเอง เพราะความโกรธและเกลียด พวกเราก็ไม่ต่างจากนายสุพจน์และนายสุพัฒน์  กลายเป็นคนบ้าเหมือนกัน สุดท้ายมติที่ประชุมจึงสรุปลงด้วยสุภาษิตที่ว่า 

“หมากัดอย่ากัดตอบ ผิดระบอบเพราะเราไม่ใช่หมา” 

 


หมายเหตุประชาไท: พื้นที่นี้อุทิศแด่ผู้ไม่มีโอกาสได้ส่งเสียง เพราะเสียงของเขาถูกขังอยู่ภายใต้ลูกกรง ด้วยความผิดเกี่ยวกับความคิด/การกระทำทางการเมือง ท่ามกลางสภาวะทุกข์ยากอันเงียบงัน แม้แต่ปากกาดีๆ สักด้ามเพื่อเขียนจดหมายยังเป็นสิ่งที่หาได้ยาก แต่นั่นแหละ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตต้องการส่งเสียง สื่อสารความคิดของตนเองเสมอ และเขาก็หาทางส่งเสียงออกมาจนได้ (และหวังว่าจะยังส่งมาได้เรื่อยๆ)


บล็อกของ นายหัว ส. และมิตรสหาย

นายหัว ส. และมิตรสหาย
  โดย ... นายหัว ส. ชื่อบทความเดิม: สถานการณ์ประเทศไทย ...ยุทธศาสตร์ยังไม่เปลี่ยน การปรองดองเป็นเพียงยุทธวิธีเท่านั้น
นายหัว ส. และมิตรสหาย
มีคำกล่าวที่ว่า “คุกเจริญสังคมเสื่อม คุกเสื่อมสังคมเจริญ” เป็นดัชนีชี้วัดสังคมไทยปัจจุบันอย่างหนึ่ง เพราะเวลานี้คุกของประเทศไทยเจริญรุ่งเรืองมาก มีผู้ต้องขัง 240,000 คน ล้นทุกคุก ทั้งๆ ที่เพิ่งมีการพระราชทานอภัยทาเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ที่เพิ่งผ่านมา 3 เดือนเท่านั้น