Skip to main content

ใช่แล้วครับ Android เวอร์ชั่นต้นน้ำ หรือที่เรียกว่า Android Open Source Project (AOSP) นั้นสร้างและพัฒนาโดย Google ที่ต่อมาจัดตั้งองค์กร Open Handset Alliance ขึ้นมาเพื่อรวมพันธมิตรในกิจการโทรคมนาคม ในการวางมาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ Android

ซึ่ง AOSP นั้นเป็นระบบปฏิบัติการแบบโอเพ่นซอร์ส กล่าวคือ ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน สามารถเอาระบบปฏิบัติการ Android ไปใช้งานได้เลย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากทำตามกฎ กติกา แบบโอเพ่นซอร์สที่ AOSP กำหนดไว้

แล้ว Google จะสร้างรายได้จาก AOSP ได้อย่างไร?

จุดสำคัญในการพัฒนา AOSP ของ Google นั้นคือการแยก ระบบปฏิบัติการ กับ แอปพลิเคชั่น แยกออกจากกัน

ในการใช้งานทั่วไป AOSP ก็สามารถใช้งาน โทรศัพท์ รับสาย ส่งข้อความ และใช้งานพื้นฐานที่จำเป็นได้ แต่จะไม่มีบริการที่เป็นของ Google ติดตั้งมาด้วย

บริการของ Google เรียกรวมๆ ว่า Google Mobile Services (GMS)

แอป และ บริการต่างๆ ของ Google ที่เรียกรวมๆ ว่า Google Mobile Services หากผู้ผลิตมือถือ ต้องการติดตั้ง GMS เพิ่มเติมเข้าไปใน AOSP จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการติดตั้ง - ช่องทางที่ 1 ในการสร้างรายได้ของ Google ใน Android

รายชื่อ แอป และ บริการ ของ Google ใน GMS

  • Google Chrome
  • Google Search
  • YouTube
  • Google Play Store
  • Gmail
  • Google Drive
  • Google Duo
  • Google Maps
  • Google Photos
  • Google Play Music
  • Google Play Speech

ค้นหาข้อมูลทุกอย่าง วิ่งเข้าเว็บ Google.com

แอปเว็บเบราเซอร์เริ่มต้น ใน Android + GMS คือ Google Chrome ที่ช่องค้นหา จะไปเรียกข้อมูลจากเว็บ Google.com เป็นค่าพื้นฐาน ซึ่งเมื่อผู้ใช้งาน ค้นหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นอะไร ก็จะต้องมองเห็นโฆษณา ที่ปรากฎในด้านบนของผลการค้นหาเสมอ - ช่องทางที่ 2 ในการสร้างรายได้ของ Google ใน Android

อีกทั้ง Google ยังไปทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับผู้พัฒนาเบราเซอร์รายอื่นๆ ให้ช่องค้นหา ใช้การค้นหาจาก Google.com

เรียกว่า กวาดคนเข้าไปที่ Google.com เพื่อดูโฆษณาให้ได้มากที่สุด นั่นเอง

รายได้จากโฆษณาในแอป

แนวทางหนึ่งในการสร้างรายได้ของผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นในมือถือ คือ ติดตั้งแบนเนอร์โฆษณาในแอป โดยผู้ให้บริการระบบกระจายโฆษณารายใหญ่ในมือถือ Android ก็คือ Google AdMob นั่นเอง

เมื่อแอปมีผู้ใช้งานจำนวนมากขึ้น โฆษณาก็ถูกแสดงให้เห็นมากขึ้น Google ก็ได้ส่วนแบ่ง ค่าบริการในการเผยแพร่โฆษณา - ช่องทางที่ 3 ในการสร้างรายได้ของ Google ใน Android

ค่าธรรมเนียมในการใช้จ่ายผ่าน Google Play Store

เมือผู้ผลิตเลือกติดตั้ง GMS มาในมือถือ ก็จะได้ Google Play Store มาด้วย

และทุกการชำระเงินผ่าน Google Play Store บริษัท Google ก็จะคิดค่าธรรมเนียมจากผู้พัฒนาแอปต่างๆ - ช่องทางที่ 4 ในการสร้างรายได้ของ Google ใน Android

ที่นำเสนอไปข้างต้น เป็นเพียงบางส่วนที่ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ได้โดยตรงจากการใช้งานมือถือ Android ซึ่ง Google อาจจะมีรายได้แฝงอีกจำนวนมากที่มองไม่เห็น

Android สนับสนุนให้รายได้ส่วนอื่นเพิ่มขึ้น

นอกจากรายได้ ที่เกิดจากตัว AOSP + GMS ที่ผู้ใช้รับทราบแหล่งรายได้ของ Google เบื้องต้น ตัวระบบปฏิบัติการ Android ก็ยังไปส่งเสริมให้ ผลิตภัณฑ์ตัวอื่นของ Google ถูกใช้งานเพิ่มเขึ้นไปอีก เช่น

โฆษณาในแอป YouTube

รายได้จาก YouTube เป็นอัตราส่วนรายได้ของ Google ที่มีนัยยะสำคัญ เพราะยิ่งมีคนดู YouTube มากขึ้น โฆษณาก็จะมากขึ้น รวมถึงค่าบริการ YouTube พรีเมียมในการปิดโฆษณา

แพคเกจ Google 1

ผู้ใช้งานทุกคน ที่สมัครเปิดบัญชี Google Account (Gmail) จะได้รับพื้นที่ในการเก็บข้อมูล จดหมายอีเมล พื้นที่ไดรฟ์ และ ที่เก็บรูปภาพ รวมกัน 15GB และสามารถนำมาเป็นส่วนสำคัญในการสำรองข้อมูล ในมือถือ Android ที่จะเชื่อมการทำงานกับ Gmail, Google Drive และ Google Photos

ในช่วงเริ่มต้น การสำรองข้อมูลเข้า Google Account ก็ดูเหมือนจะราบรื่น ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลใน Google Drive หรือ รูปภาพที่เก็บไว้ใน Google Photos

แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง พื้นที่สำหรับใช้สำรองข้อมูล 15GB ก็จะเริ่มไม่เพียงพอ พื้นที่เก็บข้อมูลในมือถือสมัยนี้ขั้นต่ำก็เป็น 128GB แล้ว

ผลิตภัณฑ์ Google 1 จึงได้รับผลดีตามไปด้วย โดยแพคเกจเริ่มต้นของ Google 1 คือ พื้นที่ 100GB ราคา 70 บาทต่อเดือน หรือ ถ้าจ่ายแบบรายปี ได้ส่วนลดเหลือ 700 บาท

บล็อกของ เว็บมาสเตอร์ 24 ชั่วโมง

เว็บมาสเตอร์ 24 ชั่วโมง
ใช่แล้วครับ Android เวอร์ชั่นต้นน้ำ หรือที่เรียกว่า Android Open Source Project (AOSP) นั้นสร้างและพัฒนาโดย Google ที่ต่อมาจัดตั้งองค์กร Open Handset Alliance ขึ้นมาเพื่อรวมพันธมิตรในกิจการโทรคมนาคม ในการวางมาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ Android
เว็บมาสเตอร์ 24 ชั่วโมง
AI = Artificial intelligence (ปัญญาประดิษฐ์) เข้าไปอยู่ในส่วนต่างๆ ทั้งใน อินเทอร์เน็ต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และมือถือ
เว็บมาสเตอร์ 24 ชั่วโมง
สำหรับคนที่ไม่ได้ติดตามข่าวสัญญาสัมปทาน การให้สิทธิในการให้บริการระบบโทรศัพท์มือถือบนคลื่นความถี่ 1800 MHz (เมกกะเฮิร์ส) ก็อาจจะไม่ทราบว่า สิทธิการใช้งาน (สัมปาน) ที่ กสท.โทรคมนาคม หรือ CAT Telecom  ได้มอบให้กับ TrueMove (สมัยที่ยังเป็น TrueMove ไม่ H หรือ TA Orange เดิม) และ Digital PCN1800 (GSM 1800) จะครบกำหนดอายุสัญญาในวันที่ 15 กันยายน 2556 ที่จะถึงนี้ทั้งนี้ CAT ได้มีสัญญาสัมปทานกับ DTAC ด้วยเช่นกัน แต่จะครบกำหนออายุสัมปทาน ในปี 2561 (ในอีก 5 ปี)