น่าแปลกที่ช่วงหลังมานี้ เมื่อมีความตายที่ไปเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ทหาร เช่น กรณีการเสียชีวิตในโรงเรียนเตรียมทหาร ของ 'เมย' หรือ ภัคพงค์ ตัญกาญจน์ รวมไปถึงการเสียชีวิตของเครือข่าย 'หมอหยอง' ที่อยู่ระหว่างถูกควบคุมในเรือนจำค่ายทหาร กระบวนการพิสูจน์ทราบสาเหตุการตายมักจะเป็นไปอย่าง 'ผิดปกติ' โดยบทความนี้พยายามจะพาไปดูสิ่งแปลกปลอมในกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย
ชันสูตรศพโดยไม่แจ้งญาติ เก็บอวัยวะโดยไม่บอก
ความผิดปกติของกระบวนการชันสูตร 'เมย' หรือ ภัคพงค์ มีอย่างน้อย 2 อย่างด้วยกัน อย่างแรกคือ การชันสูตรโดยที่ญาติไม่ได้รับรู้ ทั้งที่ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญาฯ) มาตรา 150 วรรคสอง กำหนดให้ก่อนการชันสูตรต้องมีการแจ้งญาติของผู้ตายอย่างน้อยหนึ่งคนรับรู้หรือรับทราบเสียก่อน
อย่างที่สองคือการเก็บชิ้นส่วนอวัยวะไว้ แม้ตามกฎหมายจะไม่ได้ระบุว่า การเก็บชิ้นส่วนอวัยวะต้องแจ้งญาติ แต่หากทางทีมแพทย์ชันสูตรของสถาบันพยาธิวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เห็นว่ายังหาสาเหตุการตายโดยละเอียดไม่ได้ กฎหมายมาตราเดียวกันก็เปิดช่องไว้ว่า ถ้ามีความจำเป็นก็สามารถขอขยายเวลาได้ (สูงสุดไม่เกิน 60 วัน) เพื่อทำขั้นตอนดังกล่าวให้เสร็จสมบูรณ์ ขั้นตอนนี้จึงดูมีความรีบร้อนในการสรุปสาเหตุการตายและส่งศพให้ญาติไปดำเนินการเผาตามพิธีกรรมทางศาสนา
ทราบแต่สาเหตุการตาย นอกนั้นไม่ทราบอะไรเลย
จนถึงวันนี้ สังคมทราบแต่เพียงว่า 'เมย' เสียชีวิตจากสาเหตุหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งเป็นผลสรุปจากแพทย์ ซึ่งมี พ.ท.รุฏฐ์ ทองสอน ทีมแพทย์ผู้ชันสูตรศพ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นผู้ให้รายละเอียด แต่ทว่า การที่ผู้ตายเสียชีวิตด้วยสาเหตุนี้เกิดจากอะไร มีใครกระทำให้ผู้ตายเสียชีวิตหรือไม่ และหากมีใครกระทำให้ผู้ตายเสียชีวิตก็ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ทั้งนี้ ผู้กำกับ สภ.เมืองนครนายก เปิดเผยกับทีมข่าว PPTV ว่า ตอนนี้มีเพียงสำนวนชันสูตรพลิกศพเท่านั้น ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวน ส่วนการสืบพยานและหาพยานหลักฐานอยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้
ประวัติศาสตร์ซ้ำซากของกระบวนการที่ผิดปกติ
สิ่งสำคัญก็คือ กรณี 'เมย' ไม่ใช่กรณีแรก เคยมีเรื่องทำนองนี้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง ยกตัวอย่างเช่น การเสียชีวิตของ พ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา ผู้ต้องหาคดีแอบอ้างสถาบันฯ ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี (ภายในมทบ.11) และจากนั้นไม่นานก็มีข่าวคราวการเสียชีวิตของเขาออกมา โดยกรมราชทัณฑ์ออกใบแถลงข่าว ชี้แจงว่า เขาพยายามผูกคอตายในห้องขัง แม้เจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือแล้วแต่สุดท้ายไปเสียชีวิตที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
นอกจากนี้ หลังการเสียชีวิตของ พ.ต.ต.ปรากรม ก็คือ ไม่มีทราบว่าใครเป็นผู้ทำการชันสูตรศพบ้าง และยังไม่มีการไต่สวนการตายโดยศาลตามกฎหมาย อีกทั้งยังมีการออกใบมรณบัตรให้ญาติไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาโดยไม่ได้ดำเนินขั้นตอนต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
สุดท้ายก็ได้แต่หวังว่า กระบวนการเหล่านี้จะได้รับการแก้ไขบ้าง และสิ่งเหล่านั้นจะเกิดไม่ได้เลยหากไม่มีการจับตา ตั้งคำถาม และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปขนานใหญ่ ไล่ตั้งแต่วิธีคิดไปจนถึงการปฏิบัติ
บล็อกของ มนุษย์โรแมนติก
มนุษย์โรแมนติก
แม้จะมีดราม่าเข้ามารายวันแต่ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่สังคมไม่ควรพลาดก็คือ "การแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" ซึ่งน่ากลัวมากว่ามันจะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เละ! และดูเหมือนจะมีเฉพาะกลุ่มคนรักหลักประสุขภาพและองค์กรใกล้ชิดเท่านั้นที่ไหวตั
มนุษย์โรแมนติก
ข้ออ้างสำคัญของรัฐในการควบคุมสื่อคือการกล่าวหาว่า "สื่อมีเสรีภาพมากเกินไปและไร้ความรับผิดชอบ" ซึ่งบทความนี้ไม่ใช่แค่การโต้แย้งอย่างตรงไปตรงมาต่อข้อกล่าวหาข้างต้น แต่ยังชวนให้ผู้มีอำนาจคิดว่า เราไม่ได้อับจนหนทางถึงขนาดต้องมีกฎหมายควบคุมสื่อ