Skip to main content
ดูเหมือนสถานการณ์เสรีภาพไทยจะเลวร้ายลงเรื่อยๆ และหนึ่งผู้โชคร้ายของเกมส์นี้คือ "สื่อ"
 
รัฐยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องในการควบคุมสื่อและความพยายามล่าสุดก็คือ การพยายามเข็นกฎหมาย "ตีทะเบียนสื่อ" หรือในชื่อไพเราะเพราะพื้งว่า "พ.ร.บ. คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน" ซึ่งถูกผลักดันโดยสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
 
'สื่อมีเสรีภาพมากเกินไป' ข้ออ้างและฐานความคิดของผู้มีอำนาจ
 
อาจจะกล่าวได้ว่า 'ฐานความคิด' ของการตีทะเบียนสื่อก็คือ ความเชื่อที่ว่าสื่อมี 'เสรีภาพมากเกินไป' จนขาดไร้ซึ่งความรับผิดชอบ อันจะเห็นได้จากความคิดของระดับผู้นำรัฐบาล ยกตัวอย่างเช่น 
 
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึง ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองสื่อฯ ว่า "จะเห็นได้ว่าวันนี้หลายอย่างก็ไม่ค่อยถูกต้อง โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย ต่างคนก็ต่างเขียนโดยไม่รับผิดชอบ ทำให้ประเทศชาติมีปัญหา หลาย ๆ ประเทศที่คุยกันก็ประสบปัญหาเหล่านี้ และมีความเห็นตรงกันว่าจะต้องดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะอนาคตสิ่งเหล่านี้จะมีเพิ่มมากขึ้น และกว้างขึ้นในชีวิตประจำวัน ถ้าสิทธิเสรีภาพที่เรามีไปละเมิคคนอื่นก็ต้องกลับมาดูว่าเราจะต้องทำอย่างไร"
 
หรือ ความเห็นของหนึ่งในคนร่างกฎหมายอย่าง พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รองประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ก็ยังมองว่า สื่อมีเสรีภาพและสร้างผลกระทบในวงกว้างจนต้องมีการกำกับ เช่น การออกใบอนุญาตและมีบทลงโทษสื่อ
 
สำรวจเสรีภาพสื่อก่อนพูดว่าสื่อมีเสรีภาพมากเกินไป
 
สิ่งที่น่าประหลาดใจจากการพยายามควบคุมสื่อก็คือ ข้อเท็จจริงกับฐานความคิดของผู้มีอำนาจเป็นไปอย่างส่วนทางกัน ทั้งนี้ ไม่ปฏิเสธว่าสื่อมีอิทธิพลมากในการรับรู้ของประชาชน แต่ข้อมูลที่รัฐเห็นว่ามีปัญหาจนต้องเข้าไปปิดกั้นล้วนแล้วแต่เป็นสื่อที่ "วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่" มิใช่การนำเสนอข่าวอย่างไร้ความผิดชอบจนสร้างความเสียหาย
 
ยกตัวอย่างเช่น กรณีการระงับการออกอากาศช่องวอยซ์ ทีวี เป็นเวลา 7 วัน เนื่องจากมีเนื้อหารายการที่เข้าข่ายละเมิดประกาศ คสช. และ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงฯ โดยหนึ่งในข่าวที่เป็นปัญหาคือ การขยายประเด็นเรื่องการวิสามัญเยาวชนชาวลาหู่และท่าทีของกองทัพต่อกรณีดังกล่าว
 
ทั้งนี้ ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพที่ทำการรวบรวมขั้นตอนและการปิดกั้นเนื้อหาในสื่อโทรทัศน์ ก็ยังมีอีกหลายกรณีที่เป็นเพียงการ "วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล" แต่ก็มีการเรียกมาตักเตือนทำความเข้าใจ เช่น 
 
รายการ "คุยมันส์ทันข่าว" ที่ออกอากาศทางช่องรายการ NEWS 1 โดยเนื้อหา ส่วนใหญ่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ ตำรวจ เป็นหลัก รวมถึงการบริหารงานของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แต่ กสทช. องค์กรที่มีอำนาจในการกำกับมองว่า  มีเนื้อไม่เหมาะสม มีลักษณะที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่น ให้เกิดความขัดแย้ง และสร้างให้เกิดความแตกแยก รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
 
หรือ กรณีสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส  ออกอากาศ สกู๊ปข่าวนักศึกษากลุ่มดาวดิน เรื่อง “วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวกลุ่มนักศึกษาภายใต้การบริหารประเทศ คสช.” ในรายการ ที่นี่ ThaiPBS ก็ถูกอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ (อนุกรรมการด้านเนื้อหา) ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เรียกไปตักเตือน เนื่องจาก มีเนื้อหาไม่เหมาะสม อันอาจเป็นการปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้งหรือสร้างความแตกแยกได้ อันเป็นเนื้อหาการต้องห้ามตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 
จะเห็นได้ว่า เสรีภาพสื่อที่รัฐอ้างว่ามีมากเกินไป แท้จริงก็แทบจะไม่มี นอกจากนี้เนื้อหาที่ถูกปิดกั้นยังเป็นเนื้อหาที่มีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และถ้าหากการตีความข้อมูลในลักษณะนี้เป็นความผิดบวกกับบทลงโทษที่จะมากขึ้นในกฎหมายตีทะเบียนสื่อ แล้วเสรีภาพสื่อต่อไปจะอยู่ตรงไหน?
 
ประเทศไทยไม่ได้อับจนหนทางในการกำกับดูแลสื่อ
 
บรรทัดฐานสำคัญที่ถูกบรรจุอยู่ในกฎหมายสื่อว่า อะไรคือ 'มาตรฐานจริยธรรมของสื่อ' อาจจะพอสรุปย่อได้ว่า "สื่อต้องเสนอข่าวอย่างรอบด้านและเป็นกลาง" หรือกล่าวได้ว่านี่คือปลอกคอที่สื่อห้ามออกนอกลู่นอกทาง แต่ทว่า การกำหนดเช่นนี้ได้ลืมเลื่อนความเป็นมนุษย์ไปโดยสิ้นเชิง
 
การเป็นมนุษย์ย่อมมีฐานคติ ค่านิยม ความเชื่อที่หลากหลาย มนุษย์คนหนึ่งเติบโตโดยไม่ใช่ผ้าใบสีขาวแต่ถูกแต่งเติมไปด้วยประสบการณ์ชีวิต จึงเห็นผิดได้ เห็นถูกได้ ดังนั้น สื่อไม่จำเป็นต้องเป็นกลาง สื่อเลือกข้างได้ แต่ต้องทำให้ผู้อ่านเห็นได้ชัดว่า ผู้นำเสนอมีจุดยืนอย่างตรงไปตรงมาอย่างไร เผื่อให้ผู้รับสารตัดสินใจชั่งน้ำหนักต่อข้อมูลด้วยตนเอง และรัฐไม่ควรมีหน้าที่เข้ามาตรวจสอบความเป็นกลาง แต่รัฐมีหน้าที่ประกัน "เสรีภาพในการแสดงออกของทุกคน" ว่า เมื่อมีอีกฝ่ายหนึ่งพูด อีกฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิพูดเช่นเดียวกัน 
 
ส่วนเรื่องการนำเสนอข่าวที่ส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่นและคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่เกี่ยวข้อง รัฐมีหน้าที่ต้องส่งเสริมและออกกฎหมายเฉพาะเรื่องเพื่อคุ้มครองภาพใหญ่ ซึ่งปัจจุบันก็มีกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งก็มีเนื้อหาคุ้มครองอยู่แล้ว เช่น ข้อหาหมิ่นประมาท หรือถ้าเป็นเรื่องใหญ่กว่านั้นก็ต้องไปออกกฎหมายเพิ่ม เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
 
ซึ่งเรื่องทั้งหมดจะไปถูกจัดการผ่านกระบวนการยุติธรรม ไม่ใช่การตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมากำกับที่อาจถูกแทรกแซงโดยรัฐ โดยทุน หรือปัจจัยอื่นๆ อีกทั้ง ความคิดในการกำกับเป็นหลายส่วนแบบนี้ก็ดูผิดหัวผิดหาง เพราะแทนที่จะไปมองภาพใหญ่ในการออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ กับเอาเวลามากำกับองค์กรที่ละส่วนๆ ซึ่งเป็นเพียงภาพย่อยแทน

บล็อกของ มนุษย์โรแมนติก

มนุษย์โรแมนติก
เมื่อต้องถอดบทเรียนหรือตกผลึกการลงมติ
มนุษย์โรแมนติก
วันนี้ (11 เมษายน 2562) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติ ส่งเรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวนเพื่อจัดสรร จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ ที่แต่ละพรรคการเมือง จะพึงมีได้ให้ศาลรัฐธรรมนูญิพจารณาวินิจฉัย ดังที่ปรากฎตามภาพนี้ 
มนุษย์โรแมนติก
วันพรุ่งนี้ (22 ธันวาคม 2561) จะครบรอบการจำคุก 2 ปี ของ 'ไผ่ ดาวดิน' บัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ต้องรับปริญญาที่หน้าศาลทหารพร้อมกับชุดนนักโทษในเรือนจำ ประกอบกับช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา มาตรา 112 กลับมาทำงานอีกครั้ง อย่างที่มันไม่เคยถูกใช้จาก 'ฝ่ายพลเรือน' แบบนี้มาสักพัก
มนุษย์โรแมนติก
12 กรกฎาคม 2561 สนช. มีวาระการประชุมพิจารณาร่างกฎหมาย 5 ฉบับ เกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการโดยเฉพาะองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ใช่แค่เงินเดือนขึ้นแต่ยังได้เงินย้อนหลังไปจนถึงปี 57 สำหรับเหตุผลของคสช.
มนุษย์โรแมนติก
หากจะพูดถึงนักแสดงมากความสามารถ หากจะขาดชื่อ ทราย-อินทิรา เจริญปุระ ไปก็คงต้องเป็นเรื่องที่แปลกประหลาด เพราะนอกจากเธอจะเคยเป็นนักร้อง เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงแล้ว เธอยังเคยทำหน้าที่เป็นพิธีกรรายการต่างๆ ควบคู่ไปกับการเป็นคอลัมนิสต์ให้กับนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ และสำนักข่าว The Matter ด้วยเช่นกั
มนุษย์โรแมนติก
ต้องขอจั่วหัวตั้งแต่เริ่มต้นว่า บทความนี่มีเจตนา 'ปรับทัศนคติ' ผู้แทนประชาชนในนามพรรคประชาธิปัตย์ อย่างคุณมัลลิกา บุญมีตระกูลชัย (มหาสุข) หลังออกมาแสดงความคิดเห็น
มนุษย์โรแมนติก
ผมมีโอกาสได้อ่านคำถาม 9 ข้อที่พี่ดี้ ถาม ผมคิดว่าบางคำถามนั้นดีมากๆ แต่อยากแลกเปลี่ยนมุมมองว่า จริงๆ แล้วพี่ดี้ มองข้ามคำตอบบางอย่างไปหรือเปล่า และตกหล่นข้อเท็จจริงในปัจจุบันไปหรือเปล่า จึงขอทวนคำถามและตอบคำถามทั้งหมด ดังนี้ 1.มึงจะเป็นคนเลือก…มึงจะเลือกใครวะ
มนุษย์โรแมนติก
เหตุใดการพูดเรื่อง 'ความสำเร็จ' ในสังคมไทย เราจึงเชื่อบรรดากูรูทั้งหลายที่พยายามบอกว่า ตัวแปรต้นของความสำเร็จคือความทุ่มเทพยายาม และหลายครั้งเรามักจะเอาเรื่องความสำเร็จไปผูกกับความมุมานะเสียจนมั่นใจว่าเราควบคุมตัวแปรอื่นๆ อย่างถี่ถ้วนแล้วอย่างนั้น
มนุษย์โรแมนติก
“บ้านทีดีหาใช่แค่มีสิ่งปลูกสร้างที่มั่นคง สะดวกสบาย แต่มันต้องมีบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความรัก ความผูกพัน ของคนในครอบครัว” ถอยห่างจากกรุงเทพมหานครออกไปซักสองร้อยกิโลเมตร ในบ้านหลังหนึ่งในตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยก จังหวัดกาญจนบุรี มีครอบครัวครอบครัวหนึ่งอาศัยอยู่ โดยสมาชิก
มนุษย์โรแมนติก
น่าแปลกที่ช่วงหลังมานี้ เมื่อมีความตายที่ไปเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ทหาร เช่น กรณีการเสียชีวิตในโรงเรียนเตรียมทหาร ของ 'เมย' หรือ ภัคพงค์ ตัญกาญจน์ รวมไปถึงการเสียชีวิตของเครือข่าย 'หมอหยอง' ที่อยู่ระหว่างถูกควบคุมในเรือนจำค่ายทหาร กระบวนการพิสูจน์ทราบสาเหตุการตายมักจะเป็นไปอย่าง 'ผิดปกติ' โดยบทความนี้พยายามจะพาไปดูสิ่งแปลกปลอมในกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย
มนุษย์โรแมนติก
แม้คำพิพากษาคดีจำนำข้าวจะยังไม่สะท้อนภาพการแทรกแซงการดำเนินนโยบายของรัฐบาลโดยองค์กรตุลาการอย่างเด่นชัด แต่ก็น่าตั้งข้อสังเกตว่า คดีดังกล่าวจะกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับลงโทษรัฐบาลที่ดำเนินนโยบายที่ถูกกล่าวหาว่าใช้นโยบาย 'ประชานิยม' หรือไม่ โดยเฉพาะในยุคที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้อำนาจองค์กรอิสระในการจับตารัฐบาลชุดหน้าอย่างเข้มข้น
มนุษย์โรแมนติก
เมื่อสัปดาห์ก่อน นายกฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ตาม พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ ที่ิเพิ่งประกาศใช้ ทั้งนี้ เมื่อสำรวจรายชื่อของคณะกรรมการชุดดังกล่าว พบว่า หลายคนเคยทำงานในสภาปฏิรูปมาแล้วถึงสองสมัย หลายคนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ คสช. มาก่อน นอกจากนี้ กรรมการบางคนยังมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ได้รับเสียงคัดค้านจากภาคประชาชนเป็นเครื่องการันตี จึงน่าสนใจว่าคณะทำงานชุดนี้จะพาประเทศไปทางไหนและมีบทบาทอย่างไรกันแน่