Skip to main content
“บ้านทีดีหาใช่แค่มีสิ่งปลูกสร้างที่มั่นคง สะดวกสบาย แต่มันต้องมีบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความรัก ความผูกพัน ของคนในครอบครัว”
 
ถอยห่างจากกรุงเทพมหานครออกไปซักสองร้อยกิโลเมตร ในบ้านหลังหนึ่งในตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยก จังหวัดกาญจนบุรี มีครอบครัวครอบครัวหนึ่งอาศัยอยู่ โดยสมาชิกในบ้านประกอบไปด้วย พ่อ ผู้เป็นนักเขียน กับ แม่ ที่เป็นผู้จัดการบ้าน และลูกอีกสามคน อาศัยอยู่ด้วยกัน
 
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับบ้านหลังนี้ก็คือ “บรรยากาศภายในบ้าน” ที่หลายสิ่งหลายอย่างช่างดูกลับหัวกลับหางจากความเชื่อปกติของสังคมที่ว่า “ชายต้องเป็นช้างเท้าหน้า” แต่ทว่า สำหรับครอบครัวนี้แล้ว แม่คือเสาหลักของครอบครัว โดยทุกเรื่องในบ้าน แม่จะคอยดูแลจัดการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนของลูก หรือแม้แต่งานช่างภายในบ้าน ถึงขนาด ลูกๆ มีภาพติดตา ที่เห็นผู้เป็นพ่อนั่งพิมพ์ดีดอยู่ ส่วนผู้เป็นแม่คือคนปีนขึ้นไปซ่อมหลังคาบ้านแทน
 
แต่ฝ่ายพ่อกลับมีบทบาทต้องคอยทำตัวเป็นน้ำเย็นลูบหลังให้ลูก ในยามที่ลูกรักถูกผู้จัดการประจำบ้านอบรมสั่งสอน หรือเวลาที่ลูกอยากได้ของบางอย่างแต่ฝ่ายแม่ไม่อนุญาต ลูกๆ ก็จะใช้วิธีการตีเนียนไปกับพ่อ เช่น การหิ้วรองเท้าเพื่อไปวิ่งกับพ่อในตอนเช้า แล้วสุดท้ายก็จะได้ของสมปรารถนา
 
นอกจากนี้ ผู้เป็นพ่อยังทำหน้าที่เป็น “เอนเตอร์เทนเนอร์” ให้ครอบครัวอีกด้วย อย่างเวลาเย็นๆ ค่ำๆ เมื่อคุณพ่อที่ชอบกินเหล้ารู้สึกกรึ่มๆ ได้ที่ คุณพ่อลูกสามก็จะสวมบทเป็นดาราตลกในทีวี อย่าง มิสเตอร์บีนบ้าง ชาลี แชปลินบ้าง แม้ครื่องแต่งกายจะมีเพียงผ้าข้าวม้าผืนเดียวเคียนเอวอยู่ ก็เพียงพอที่จะเรียกเสียงฮาจากลูกๆ และบางทีคุณแม่ที่ยืนทำกับข้าวอยู่ใกล้ๆ ก็ส่ายหัวพร้อมกับรอยยิ้มไปพร้อมกัน
 
น่าเสียดายที่ความสุขของครอบครัวมีอันต้องพลิกผัน เมื่อบุคคลสำคัญของครอบครัวอย่างแม่มาด่วนจากไปด้วยโรคร้าย ทำให้คนที่เหลือต้องปรับตัวกับการสูญเสียครั้งใหญ่ 
 
ลูกสาวคนเล็กของบ้านเล่าว่า ตอนที่คุณแม่เสีย พี่คนโตอายุได้ 23 ปี ส่วนพี่คนกลางอายุ 20 ปี และเธออายุแค่18 ปีเท่านั้นเอง โดยช่วงนั้นเป็นช่วงที่เธอกำลังจะเข้าเรียนเรียนมหาวิทยาลัย และการจากไปของแม่ทำให้ชีวิตของคนในครอบครัวยุ่งเหยิงไปหมด และต้องใช้เวลาสักพักในการปรับตัวและต้องรับผิดชอบดูแลตัวเอง
 
นอกจากการปรับตัวของคนที่บ้านแล้ว การเปลี่ยนแปลงอีกอย่างจากการสูญเสียคุณแม่ก็คือ “บ้าน” เมื่อลูกเริ่มจะไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ฝ่ายพ่อก็ตัดสินใจย้ายมาอยู่ในบ้านอีกหลังที่ครอบครัวเรียกติดปากกันว่า “ไร่” 
 
โดยบ้านใหม่ หรือ “ไร่” ที่ผู้เป็นพ่อย้ายมานั้น  เป็นที่ดินที่เขาและภรรยาเคยซื้อไว้ตั้งแต่ย้ายมาอยู่ท่าเสาใหม่ๆ แต่ปล่อยไว้เป็นเหมือนป่าไร่ แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังอัดแน่นไปด้วยความรัก ความทรงจำของสองมีภรรยา ที่ร่วมกันเก็บหอมรอมริบเงินจากการเขียนหนังสือของผู้เป็นพ่อมาต่อเติมบ้านอยู่เสมอ เวลาที่หนังสือได้ตีพิมพ์แต่ละครั้ง บ้านจะถูกต่อเติม อย่างครั้งแรกก็ได้โครงบ้าน พออีกเล่มออกมาก็ค่อยได้พื้น ได้ผนัง แต่ทว่าบ้านหลังนี้มันก็ยังต่อเติมไม่เสร็จสมบูรณ์
 
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ค่อยเปลี่ยนก็คือ “กิจวัตรของผู้เป็นพ่อ” โดยลูกสาวคนเล็กเล่าเรื่องของพ่อต่อว่า ในแต่ละวันพ่อของเธอก็ยังคงตื่นแต่เช้าไปวิ่ง ถ้าวันไหนมีผักริมทางก็จะเก็บติดไม้ติดมือกลับมาบ้าน จากนั้นก็นั่งอ่านหนังสือพิมพ์พร้อมกับจิบไวน์ พอสายๆ ก็ต้มข้าวให้หมาแมวที่ถูกทิ้งไว้ข้างวัดใกล้ๆ บ้าน ซึ่งมีจำนวนไม่ต่ำกว่าสิบตัวและกลายเป็นมิตรสหายคนสำคัญของพ่อ 
 
พอตกบ่ายก็จะเป็นเวลาทำงาน พ่อก็จะอ่านหนังสือบ้าง เขียนหนังสือบ้าง แต่บางวันก็จะแอบงีบ พอเย็นค่ำก็ทำกับข้าว ฟังเพลงและดื่มเหล้า ดื่มไวน์ เหมือนเดิม พอง่วงตรงไหนก็นอนตรงนั้น ถึงขนาดเคยไปนั่งดูดาวในสวนมืดๆคนเดียวแล้วก็นอนไปตรงนั้นเลย 
 
แต่ในภาพที่ดูแสนสำราญของพ่อนั้น แท้จริงแล้วยังมีภาพอีกมุมหนึ่งที่เป็นนักเคลื่อวไหวผู้มีอุดมการณ์เหมือนกับหนังสือที่พ่อเขียนอย่าง "ด้วยรักแห่งอุดมการณ์" ที่สะท้อนภาพของชีวิตคนหนุ่มที่ทุ่มเทลงไปกับการเคลื่อนไหวการเมือง จนบ้านและครอบครัวนี้ถูกเคลือบไปด้วยอุดมการณ์และประวัติศาสตร์ในยุคสมัยของพ่อ อีกทั้ง ผู้เป็นพ่อก็มักจะกระเตงลูกและภรรยาไปร่วมชุมนุมทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง จนบางครั้งครอบครัวก็ต้องไปรอพ่อขึ้นร้องเพลงในม็อบ หรือปราศัยบนเวที จนภาพเหล่านี้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำภายในครอบครัว
 
อย่างไรก็ดี ผลงานของพ่อก็เป็นที่จดจำของสาธารณะอยู่เสมอ อาทิ บทเพลง “จากภูพานถึงลานโพธิ์” ที่ผู้เป็นพ่อแต่งจากประวัติศาสตร์อันเจ็บปวดอย่างเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่คนธรรมดาถูกไล่ฆ่าเพียงเพราะความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมืองจนต้องหลบหนีเข้าป่าไป
 
แต่ใครเลยจะคิดว่า ครอบครัวนี้จะต้องสูญเสียครั้งใหญ่อีกครั้ง เมื่อผู้เป็นพ่อที่เคยหนีตายสมัย 6 ตุลาฯ ในวันนั้น มาจนวันนี้ก็ยังต้องลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศอีครั้ง เพราะความเห็นที่แตกต่างเหมือนอย่างเคย
 
ลูกสาวคนเล็กพูดความรู้สึกถึงพ่อของเธอว่า พ่อคงจะเหงาและคิดถึงบ้านเมื่อต้องอยู่คนเดียวในต่างแดน เพราะปกติพ่อเป็นคนที่ติดบ้านมาก ถึงขนาดว่า ต่อให้ทำธุระที่กรุงเทพฯ เสร็จ ดึกแค่ไหนก็จะขับรถ 3 ชั่วโมงกลับบ้าน แม้ว่าวันถัดไปจะมีธุระที่กรุงเทพฯอีกก็ตาม และเหตุผลสำคัญที่ทำให้พ่อผูกผันกับบ้านหลังนี้ก็เพราะ พ่อทำงานอยู่บ้านตลอด ชีวิตอยู่ที่บ้าน ครอบครัวอยู่ที่บ้าน ต่อให้ไม่มีใครอยู่แล้วก็ยังมีความรักความทรงจำอยู่
 
เมื่อคนที่รักมากที่สุดจากไปถึงสองคน บ้านทั้งสองหลังของครอบครัวนี้ก็ดูเงียบเหงาลงไปถนัดตา มีเพียงลูกชายคนโตจะคอยแวะเวียนกลับไปดูบ้านบ้าง แต่บรรยากาศแบบเดิมๆ ก็ไม่หลงหลืออยู่แล้ว ส่วนหมาแมวที่ก่อนหน้านี้เคยมีอยู่จำนวนมากก็เริ่มจะห่างหายเพราะไม่มีคนคอยให้อาหารพวกอีกมันต่อไป
 
น่าเสียดาย ที่คุณพ่อลูกสามที่ชื่อ “วัฒน์ วรรยางกูร” คนนี้ ยังกลับบ้านไม่ได้ เพราะยามนี้บ้านเกิดเมืองนอนของเขายังมีพื้นที่หัวใจไม่กว้างพอรองรับความแตกต่าง ซึ่งเราคงได้แต่หวังว่า วันหนึ่งคงกลับบ้านได้เหมือนดั่งในหนังสือนิยาย “ฉากและชีวิต” ที่เขาเคยเขียนไว้เองว่า 
 
“กระแสชีวิตพัดพาเราไปถึงไหนต่อไหน ในวันหนึ่งมันจะพัดพาเรากลับบ้านถ้ายังมีคนที่รักรออยู่” 
 
///////////////////////////////////////////////////
 
*หมายเหตุ: งานเขียนดังกล่าวเป็นต้นฉบับก่อนเผยแพร่ในนิตยสาร Mad About เล่มที่ 2 เพื่อนึกถึงบุคคลสำคัญในวงการวรรณกรรมอย่าง วัฒน์ วรรยางกูร ที่มีเหตุต้องลี้ภัยทางการเมืองตั้งแต่ คสช. เข้ายึดอำนาจ

บล็อกของ มนุษย์โรแมนติก

มนุษย์โรแมนติก
เมื่อต้องถอดบทเรียนหรือตกผลึกการลงมติ
มนุษย์โรแมนติก
วันนี้ (11 เมษายน 2562) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติ ส่งเรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวนเพื่อจัดสรร จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ ที่แต่ละพรรคการเมือง จะพึงมีได้ให้ศาลรัฐธรรมนูญิพจารณาวินิจฉัย ดังที่ปรากฎตามภาพนี้ 
มนุษย์โรแมนติก
วันพรุ่งนี้ (22 ธันวาคม 2561) จะครบรอบการจำคุก 2 ปี ของ 'ไผ่ ดาวดิน' บัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ต้องรับปริญญาที่หน้าศาลทหารพร้อมกับชุดนนักโทษในเรือนจำ ประกอบกับช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา มาตรา 112 กลับมาทำงานอีกครั้ง อย่างที่มันไม่เคยถูกใช้จาก 'ฝ่ายพลเรือน' แบบนี้มาสักพัก
มนุษย์โรแมนติก
12 กรกฎาคม 2561 สนช. มีวาระการประชุมพิจารณาร่างกฎหมาย 5 ฉบับ เกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการโดยเฉพาะองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ใช่แค่เงินเดือนขึ้นแต่ยังได้เงินย้อนหลังไปจนถึงปี 57 สำหรับเหตุผลของคสช.
มนุษย์โรแมนติก
หากจะพูดถึงนักแสดงมากความสามารถ หากจะขาดชื่อ ทราย-อินทิรา เจริญปุระ ไปก็คงต้องเป็นเรื่องที่แปลกประหลาด เพราะนอกจากเธอจะเคยเป็นนักร้อง เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงแล้ว เธอยังเคยทำหน้าที่เป็นพิธีกรรายการต่างๆ ควบคู่ไปกับการเป็นคอลัมนิสต์ให้กับนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ และสำนักข่าว The Matter ด้วยเช่นกั
มนุษย์โรแมนติก
ต้องขอจั่วหัวตั้งแต่เริ่มต้นว่า บทความนี่มีเจตนา 'ปรับทัศนคติ' ผู้แทนประชาชนในนามพรรคประชาธิปัตย์ อย่างคุณมัลลิกา บุญมีตระกูลชัย (มหาสุข) หลังออกมาแสดงความคิดเห็น
มนุษย์โรแมนติก
ผมมีโอกาสได้อ่านคำถาม 9 ข้อที่พี่ดี้ ถาม ผมคิดว่าบางคำถามนั้นดีมากๆ แต่อยากแลกเปลี่ยนมุมมองว่า จริงๆ แล้วพี่ดี้ มองข้ามคำตอบบางอย่างไปหรือเปล่า และตกหล่นข้อเท็จจริงในปัจจุบันไปหรือเปล่า จึงขอทวนคำถามและตอบคำถามทั้งหมด ดังนี้ 1.มึงจะเป็นคนเลือก…มึงจะเลือกใครวะ
มนุษย์โรแมนติก
เหตุใดการพูดเรื่อง 'ความสำเร็จ' ในสังคมไทย เราจึงเชื่อบรรดากูรูทั้งหลายที่พยายามบอกว่า ตัวแปรต้นของความสำเร็จคือความทุ่มเทพยายาม และหลายครั้งเรามักจะเอาเรื่องความสำเร็จไปผูกกับความมุมานะเสียจนมั่นใจว่าเราควบคุมตัวแปรอื่นๆ อย่างถี่ถ้วนแล้วอย่างนั้น
มนุษย์โรแมนติก
“บ้านทีดีหาใช่แค่มีสิ่งปลูกสร้างที่มั่นคง สะดวกสบาย แต่มันต้องมีบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความรัก ความผูกพัน ของคนในครอบครัว” ถอยห่างจากกรุงเทพมหานครออกไปซักสองร้อยกิโลเมตร ในบ้านหลังหนึ่งในตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยก จังหวัดกาญจนบุรี มีครอบครัวครอบครัวหนึ่งอาศัยอยู่ โดยสมาชิก
มนุษย์โรแมนติก
น่าแปลกที่ช่วงหลังมานี้ เมื่อมีความตายที่ไปเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ทหาร เช่น กรณีการเสียชีวิตในโรงเรียนเตรียมทหาร ของ 'เมย' หรือ ภัคพงค์ ตัญกาญจน์ รวมไปถึงการเสียชีวิตของเครือข่าย 'หมอหยอง' ที่อยู่ระหว่างถูกควบคุมในเรือนจำค่ายทหาร กระบวนการพิสูจน์ทราบสาเหตุการตายมักจะเป็นไปอย่าง 'ผิดปกติ' โดยบทความนี้พยายามจะพาไปดูสิ่งแปลกปลอมในกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย
มนุษย์โรแมนติก
แม้คำพิพากษาคดีจำนำข้าวจะยังไม่สะท้อนภาพการแทรกแซงการดำเนินนโยบายของรัฐบาลโดยองค์กรตุลาการอย่างเด่นชัด แต่ก็น่าตั้งข้อสังเกตว่า คดีดังกล่าวจะกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับลงโทษรัฐบาลที่ดำเนินนโยบายที่ถูกกล่าวหาว่าใช้นโยบาย 'ประชานิยม' หรือไม่ โดยเฉพาะในยุคที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้อำนาจองค์กรอิสระในการจับตารัฐบาลชุดหน้าอย่างเข้มข้น
มนุษย์โรแมนติก
เมื่อสัปดาห์ก่อน นายกฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ตาม พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ ที่ิเพิ่งประกาศใช้ ทั้งนี้ เมื่อสำรวจรายชื่อของคณะกรรมการชุดดังกล่าว พบว่า หลายคนเคยทำงานในสภาปฏิรูปมาแล้วถึงสองสมัย หลายคนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ คสช. มาก่อน นอกจากนี้ กรรมการบางคนยังมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ได้รับเสียงคัดค้านจากภาคประชาชนเป็นเครื่องการันตี จึงน่าสนใจว่าคณะทำงานชุดนี้จะพาประเทศไปทางไหนและมีบทบาทอย่างไรกันแน่