ประชาธิปัตย์ที่ไม่เข้าใจประชาธิปไตย?

ต้องขอจั่วหัวตั้งแต่เริ่มต้นว่า บทความนี่มีเจตนา 'ปรับทัศนคติ' ผู้แทนประชาชนในนามพรรคประชาธิปัตย์ อย่างคุณมัลลิกา บุญมีตระกูลชัย (มหาสุข) หลังออกมาแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์พรรคอนาคตใหม่เรื่องการฉีกรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญว่า ข้อวิจารณ์คุณมัลลิกามีปัญหาอยู่หลายส่วนที่ต้องทำความเข้าใจใหม่
 
ประเด็นที่หนึ่ง คุณมัลลิกาเขียนว่า “คิดจะเป็นนักประชาธิปไตยตามที่กล่าวอ้างทำไมประกาศฉีกรัฐธรรมนูญโดยที่ไม่คิดจะถามประชาชนเสียงส่วนใหญ่ที่ผ่านประชามติรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาว่าไหม?”
 
ข้อคิดเห็นนี่น่าสนใจ เพียงแต่คุณมัลลิการคงลืมไปแล้วล่ะมั้งว่า บรรยากาศการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร ผมจะเท้าความให้ฟังว่า ในช่วงที่มีการลงประชามติบรรยากาศเต็มไปด้วยความมืดมนไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการลงประชามติที่บริสุทธิ์ยุติธรรมได้เลย เนื่องจาก รัฐบาลออกกฎหมายมาควบคุมการแสดงความคิดเห็นและการรณรงค์ประชามติ มีผู้ถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับประชามติไม่น้อยกว่า 212 คน มีกิจกรรมสาธารณะเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ถูกปิดกั้นอย่างน้อย 19 ครั้ง 
 
ในขณะเดียวกันการสื่อสารเรื่องการลงประชามติของหน่วยงานที่รับผิดชอบก็มีช่องโหว่ เช่น จำนวนเอกสารร่างรัฐธรรมนูญที่นำออกไปแจกจ่ายคิดเป็นเพียง 2 เปอร์เซ็นของประชากรผู้มีสิทธิออกเสียง อีกทั้ง เอกสารสรุปสาระสำคัญก็พบว่า เนื้อหาไม่ถูกต้อง มีการตีความเพิ่ม และตกหล่นสาระสำคัญบางอย่างไป และรัฐเองก็ใช้หลายกลไกเข้าไปให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนเพียงพอแก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็น อาสาสมัครรักษาดินแดน, วิทยากรอาสาสมัครเผยแพร่ประชาธิปไตย (ครู ก. ข. ค.), รายการ 7 สิงหาประชามติร่วมใจ, การทำคลิปวีดีโอข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญ, แอพลิเคชั่นต่างๆ ฯลฯ นำเสนอข้อดีด้านต่างๆ ของร่างรัฐธรรมนูญ
 
ปฏิเสธไม่ได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มีคนเห็นชอบเป็นเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ์จริง แต่ถ้าเทียบกับผู้มีสิทธิ์จริงๆ ก็คิดเป็นเพียง 33 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่ใช่เสียงข้างมากของทั้งประเทศที่ยินยอมกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และที่สำคัญต้องอย่าลืมว่า รัฐบาลคสช. เองก็แก้กติกาปฏิเสธการนับผลแพ้ชนะจากคะแนนของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งประเทศ และให้ใช้เสียงของผู้มาใช้สิทธิ์แทน เพราะถ้าเล่นตามกติกาเดิม รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ก็ไม่มีทางได้ประกาศใช้ด้วยเสียงมหาชนอย่างแน่นอน
 
ประเด็นที่สอง คุณมัลลิกายกเรื่องข้อดีของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่เห็นความสำคัญของคนรุ่นใหม่ด้วยการเล็งเห็นสถานการณ์ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาขึ้น กองทุนนี้จะสามารถรองรับเยาวชนคนรุ่นใหม่ 4.3 ล้านคน การประกาศฉีกรัฐธรรมนูญลองถามผู้ปกครองและเยาวชนไทยที่ด้อยโอกาส 4.3 ล้านคนซึ่งเป็นเป้าหมายและมีความหวังกับอนาคตก่อนไหม?
 
ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ดีมาก และอาจจะต้องยอมรับว่านี่เป็นข้อดีของรัฐธรรมนูญฉบับนี้จริงๆ (แม้จะมีอยู่ไม่กี่มาตรา) แต่ทว่า หากเห็นมีการแก้ไขหรือยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ไม่ได้หมายความว่า ต้องยกเลิกข้อดีข้อนี้ให้หายไปเสียเมื่อไร
 
ความกังวลในประเด็นดังกล่าวของคุณมัลลิกาจึงเป็น ‘วิสัยทัศน์คับแคบ’ ที่มองไม่เห็นความเป็นไปได้ที่เราจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ดีกว่า และต้องจมอยู่กับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่มีปัญหามากมายอยู่เต็มไปหมด อย่างเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเช่น สิทธิด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม-สิทธิชุมชน สิทธิของแรงงาน หรืออย่างเรื่องเรียนฟรีหรือประเด็นศาสนา ที่ต้องมาออกมาตรา 44 ตามหลัง 
 
สำหรับผม สิ่งที่น่าตกใจมากที่สุดคือ ผู้เสนอตัวเป็นตัวแทนประชาชน โดยเฉพาะผู้แทนของพรรคที่ใช้ชื่อว่า ‘ประชาธิปัตย์’ กลับมองไม่เห็นปัญหาใหญ่ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ว่า มันกำลังพรากอำนาจอธิปไตยไปจากประชาชน 
 
แม้รัฐธรรมนูญปี 2560 จะมีสภาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่สภาดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้กลไกของผู้มีอำนาจในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ‘องค์กรอิสระ’ ที่ส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้งในยุครัฐบาลคสช. หรือ ‘สภาที่มาจากการแต่งตั้ง’ ของรัฐบาลคสช. ซึ่งกลไกเหล่านี้จะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ตัวแทนของประชาชนไม่สามารถตอบสนองหรือทำงานตามความต้องการของมหาชนได้ 
 
เท่านั้นยังไม่พอ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ยังมีการวางกลไกอย่างเช่น แผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิรูปประเทศ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ขึ้นมากำกับ ไม่ให้ตัวแทนประชาชนที่เข้ามาบริหารประเทศเดินออกนอกเส้นที่ผู้มีอำนาจในปัจจุบันตีเส้นไว้
 
ในขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ยังไม่สร้างหลักประกันในสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างดีพอ ยกตัวอย่างเช่น มาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญที่รับรองอำนาจของบรรดาประกาศ-คำสั่งของคสช. และคำสั่งหัวหน้าคสช. ทุกฉบับ ทั้งที่ บรรดาประการคำสั่งเหล่านี้หลายฉบับเป็นตัวบันทอนสิทธิเสรีภาพในทางการเมืองของประชาชนอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุม รวมถึงการทำงานหน้าที่ของสื่อ
 
การที่คุณมัลลิกา ออกมาแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์คนที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 โดยยกข้อดีเพียงเล็กน้อยของรัฐธรรมนูญ(และสามารถยกไปใส่ฉบับใหม่ได้) และอ้างกระบวนการลงประชามติที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมาอ้างเพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงเป็นทัศนคติที่ตื้นเขินต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย และไม่คู่ควรอย่างยิ่งที่จะอยู่ภายใต้ชื่อพรรคประชาธิปัตย์
 

กกต. ซื่อจริง หรือแกล้งซื่อ กรณียื่นศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดสูตรคำนวณที่นั่ง ส.ส.

วันนี้ (11 เมษายน 2562) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติ ส่งเรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวนเพื่อจัดสรร จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ ที่แต่ละพรรคการเมือง จะพึงมีได้ให้ศาลรัฐธรรมนูญิพจารณาวินิจฉัย ดังที่ปรากฎตามภาพนี้
 

มาตรา 112 ยังเป็นโจทย์ที่ต้องแก้อยู่หรือเปล่า?

วันพรุ่งนี้ (22 ธันวาคม 2561) จะครบรอบการจำคุก 2 ปี ของ 'ไผ่ ดาวดิน' บัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ต้องรับปริญญาที่หน้าศาลทหารพร้อมกับชุดนนักโทษในเรือนจำ
 

Coup is a Good Business: คสช. เตรียมบูนบำเหน็จพรรคพวกตัวเองในองค์กรอิสระ

12 กรกฎาคม 2561 สนช. มีวาระการประชุมพิจารณาร่างกฎหมาย 5 ฉบับ เกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการโดยเฉพาะองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ใช่แค่เงินเดือนขึ้นแต่ยังได้เงินย้อนหลังไปจนถึงปี 57
 

ฉากและชีวิตที่ไม่ได้โรแมนติกของ ‘ทราย เจริญปุระ’

หากจะพูดถึงนักแสดงมากความสามารถ หากจะขาดชื่อ ทราย-อินทิรา เจริญปุระ ไปก็คงต้องเป็นเรื่องที่แปลกประหลาด เพราะนอกจากเธอจะเคยเป็นนักร้อง เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงแล้ว เธอยังเคยทำหน้าที่เป็นพิธีกรรายการต่างๆ ควบคู่ไปกับการเป็นคอลัมนิสต์ให้กับนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ และสำนักข่าว The Matter ด้วยเช่นกั