วิทยาศาสตร์ความสำเร็จอาจช่วยป้องกันความฉาบฉวย

สมัยเด็กๆ วิชาที่ผมสอบตกเป็นประจำคือ 'วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์' และผมจะปวดหัวเอามากๆ ตอนเขียนโครงงานซึ่งต้องวนเวียนอยู่กับคำสามคำที่แมร่งโคตรไม่เข้าใจ ได้แก่ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม แลตัวแปรควบคุม
 
น่าแปลก ตำราวิทยาศาสตร์สมัยนั้นเขียนเหมือนไม่อยากให้เด็กตั้งใจอ่าน วิชาโครงงานมันเป็นเหมือนรหัสลับที่พวกเด็กบ้าวิทยาศาสตร์ชอบหยิบมาพูดกัน แล้วผมก็ได้แต่งงว่า ไอ้บ้าเอ้ย นี่เขากำลังคุยเรื่องอะไรกัน 
 
แต่ถึงอย่างนั้นก็ครูพักลักจำได้ว่า ตัวแปรต้นคือสิ่งที่เราศึกษา ตัวแปรตามคือสิ่งที่ใช้อธิบายผลของสิ่งที่เราศึกษา และตัวแปรควบคุมคือสิ่งที่กำหนดให้เหมือนกัน เพื่อจะทำให้ตัวแปรต้นมีผลต่อตัวแปรตามได้อย่างแท้จริง
 
ยกตัวอย่างเช่น เราจะศึกษาว่าปุ๋ยน้ำหมักดีกว่าปุ๋ยปกติอย่างไร ตัวแปรต้นของเราจึงเป็น ปุ๋ยน้ำหนักกับปุ๋ยปกติ ส่วนตัวแปรที่เราต้องควบคุมให้ได้ก็คือ พันธ์ของต้นไม้ อายุของต้นไม้ สภาพดิน ขนาดกระถาง ระยะเวลาการให้ปุ๋ย ขนาดของปุ๋ย ฯลฯ ซึ่งเราเรียกมันว่า ตัวแปรควบคุม และตัวแปรตามในกรณีก็คือ การเจริญเติบโตของต้นไม้ ซึ่งตอนพรีเซนต์เราก็จะเถียงกันเรื่องการวัดปริมาณ การควบคุมตัวแปร ถ้าพูดแบบเท่ๆ ให้เข้ากับคุณวุฒิก็คือ เถียงกันเรื่องระเบียบวิธีวิจัย
 
วิชาโครงงานเป็นวิชาพื้นฐานที่เด็กไทยส่วนใหญ่น่าจะต้องได้ผ่านมาบ้าง แต่ใยการพูดเรื่อง 'ความสำเร็จ' ในสังคมไทย เราจึงเชื่อบรรดากูรูทั้งหลายที่พยายามบอกว่า ตัวแปรต้นของความสำเร็จคือความทุ่มเทพยายาม และหลายครั้งเรามักจะเอาเรื่องความสำเร็จไปผูกกับความมุมานะเสียจนมั่นใจว่าเราควบคุมตัวแปรอื่นๆ อย่างถี่ถ้วนแล้วอย่างนั้น
 
บางทีนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลอย่าง โจเซฟ สติกลิตซ์ คงช่วยแก้ความเข้าใจผิดเราได้ 
 
สติกลิตซ์ กล่าวว่า “การเลือกที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเราคือ การเลือกเกิดมาในพ่อแม่ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมเพียงพอที่จะสนับสนุนให้เราเป็นคนที่มีศักยภาพอย่างที่เราควรมี” 
 
หรือแปรง่ายๆ ว่า ความสำเร็จของคนคนหนึ่งไม่ได้อยู่ที่ตัวคนคนนั้นแต่เกี่ยวข้องกับสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมของครอบครัวด้วย
 
อาจารย์เดชรัตน์ สุขกำเนิด ได้ช่วยขยายประเด็นนี้ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยยกตัวอย่างว่า "ในเมืองไทยของเรา เด็กที่เกิดในครอบครัวที่รวยที่สุด 10% แรกของประเทศ สามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้เกือบร้อยละ 70 ของเด็กที่เกิดในครอบครัวร่ำรวยกลุ่มนี้ทั้งหมด ในขณะที่เด็กที่เกิดในครอบครัวที่จนที่สุด 10% สุดท้ายของประเทศ จะเข้ามหาวิทยาลัยได้เพียงร้อยละ 4 ของเด็กที่เกิดในครอบครัวที่จนที่สุดกลุ่มนี้เท่านั้น"
 
ด้วยโอกาสชีวิตที่ไม่เท่ากันเช่นนี้ แล้วความสำเร็จของคนจะเกิดจากความพยายามอย่างเดียวได้เช่นไร ในเมื่อคนรวยมีโอกาสมากกว่า เข้าถึงทรัพยากรบางอย่างได้มากกว่า แต่คนจนยังย่ำอยู่ที่เดิม
 
จริงอยู่ที่หลายคนประสบความสำเร็จด้วยความพยายาม แต่อย่าดูเบา 'โครงสร้างทางสังคม' ซึ่งเป็นปัจจัยปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง
 
ขอให้เรามีภูมิคุ้มกันมองโลกอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่ามองโลกอย่างฉาบฉวย...

กกต. ซื่อจริง หรือแกล้งซื่อ กรณียื่นศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดสูตรคำนวณที่นั่ง ส.ส.

วันนี้ (11 เมษายน 2562) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติ ส่งเรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวนเพื่อจัดสรร จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ ที่แต่ละพรรคการเมือง จะพึงมีได้ให้ศาลรัฐธรรมนูญิพจารณาวินิจฉัย ดังที่ปรากฎตามภาพนี้
 

มาตรา 112 ยังเป็นโจทย์ที่ต้องแก้อยู่หรือเปล่า?

วันพรุ่งนี้ (22 ธันวาคม 2561) จะครบรอบการจำคุก 2 ปี ของ 'ไผ่ ดาวดิน' บัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ต้องรับปริญญาที่หน้าศาลทหารพร้อมกับชุดนนักโทษในเรือนจำ
 

Coup is a Good Business: คสช. เตรียมบูนบำเหน็จพรรคพวกตัวเองในองค์กรอิสระ

12 กรกฎาคม 2561 สนช. มีวาระการประชุมพิจารณาร่างกฎหมาย 5 ฉบับ เกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการโดยเฉพาะองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ใช่แค่เงินเดือนขึ้นแต่ยังได้เงินย้อนหลังไปจนถึงปี 57
 

ฉากและชีวิตที่ไม่ได้โรแมนติกของ ‘ทราย เจริญปุระ’

หากจะพูดถึงนักแสดงมากความสามารถ หากจะขาดชื่อ ทราย-อินทิรา เจริญปุระ ไปก็คงต้องเป็นเรื่องที่แปลกประหลาด เพราะนอกจากเธอจะเคยเป็นนักร้อง เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงแล้ว เธอยังเคยทำหน้าที่เป็นพิธีกรรายการต่างๆ ควบคู่ไปกับการเป็นคอลัมนิสต์ให้กับนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ และสำนักข่าว The Matter ด้วยเช่นกั