วันนี้ (11 เมษายน 2562) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติ ส่งเรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวนเพื่อจัดสรร จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ ที่แต่ละพรรคการเมือง จะพึงมีได้ให้ศาลรัฐธรรมนูญิพจารณาวินิจฉัย ดังที่ปรากฎตามภาพนี้
จากรายละเอียดที่ปรากฎนี้ ผมพอจะสรุปความเข้าใจจากภาษาราชการได้ 3 ข้อ ดังนี้
(1) สำนักงาน กกต. ได้ลองคำนวณที่นั่ง ส.ส. ตามที่ กรธ. แนะนำแล้ว พบว่า ถ้าคำนวณต่อตามมาตรา 128 (5) ของ พ.ร.ป.การเลือกตั้งฯ จะมีพรรคการเมืองหลายพรรคที่มี ส.ส. พึงมีต่ำกว่า 1 คน ได้รับการจัดสรรที่นั่งให้
หรือหมายความว่า พอคำนวณตามที่ กรธ. แนะนำ โดยตีความ พ.ร.ป.เลือกตั้งฯ มาตรา 128 (5) จะมี 27 พรรคในสภา จะมีพรรคที่ได้ 1 ที่นั่ง อย่างน้อย 11 พรรค
(2) จากการคำนวณตาม ข้อ (1) มีผลขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 91 (2 ) และ (4) เนื่องจากมีพรรคการเมืองที่มี ส.ส. พึงมี ต่ำกว่า 1 ที่ ได้รับการจัดสรรให้ ส.ส. 1 คน ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญที่ห้ามมีพรรคการเมืองไหนได้ ส.ส. เกิน ส.ส. พึงมี แต่ ถ้าไม่ดำเนินการตามข้อ (1) หรือการเกลี่ยที่นั่งให้พรรคที่มี ส.ส. พึงมีต่ำกว่า 1 ที่นั่ง ก็จะมี ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ไม่ถึง 150 คน
หรือหมายความว่า ยังไงก็ขัดรัฐธรรมนูญ แต่ กกต. อ้างว่า ไม่มีวิธีอื่นแล้วที่จะคำนวณให้ได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ครบ 150 คน
ข้อสูดท้าย ข้อที่ (3) จาก ข้อ (1) และ (2) กกต. เลยอยากให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่า ที่ กกต. คำนวณตามข้อ 1 ทำได้หรือไม่ ทำแล้วชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 91 หรือเปล่า
ในมุมมองส่วนตัว ผมคิดว่า ความเห็นของ กกต. ที่ยื่นศาลรัฐธรรมนูญมีความ 'พึลึกพิลั่น' อย่างน้อย 2 ข้อ ได้แก่
1) จากคำชี้แจง กกต. ข้อที่ (1) กกต. ทราบแล้วว่า สูตรคำนวณตามคำแนะนำของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่เกลี่ยที่นั่งให้พรรคการเมืองรวมกันในสภาได้ถึง 27 พรรค เป็นสูตรที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (2) และ (4) แล้วเพราะอะไรถึงไม่แย้งกับ กรธ. ให้จบแต่แรก และทำไมถึงดึงดันจะเอาสูตรดังกล่าวมาคำนวณ
2) จากคำชี้แจง กกต. ข้อที่ (2) กกต. อ้างว่า ถ้าไม่ดำเนินการตามข้อ (1) หรือการเกลี่ยที่นั่งให้พรรคที่มี ส.ส. พึงมีต่ำกว่า 1 ที่นั่ง ก็จะมี ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ไม่ถึง 150 คน ซึ่งคำชี้แจ้งดังกล่าว 'ไม่เป็นความจริง' หากใช้สูตรอีกวิธีหนึ่งที่ใช้การคิดจากว่า 'พรรคที่ได้ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ คือ พรรคที่ได้ส.ส.พึงมี อย่างน้อย 1 ที่นั่ง' ก็จะพบว่า เราสามารถจัดสรรที่นั่ง ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ ได้ครบ 150 คน โดยไม่มีทางขัดรัฐธรรมนูญ ได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 นำคะแนนเสียงรวมของทุกพรรคการเมืองที่ส่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อมาหารด้วย 500 ซึ่งเป็นจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อหาค่าเฉลี่ยคะแนนเสียง ต่อ ส.ส. 1 คน (รัฐธรรมนูญมาตรา 91 (1) และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 (1))
คิดเป็นสมการคือ คะแนนเสียงรวมของทุกพรรคการเมืองที่ส่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ / 500 = ค่าเฉลี่ยคะแนนเสียง ต่อ ส.ส. 1 คน
เมื่อแทนค่าลงไป จะได้ผลเท่ากับ 35,528,749/500 = 71,057.498
ขั้นตอนที่ 2 นำตัวเลข ‘ค่าเฉลี่ยคะแนนเสียง ต่อ ส.ส. 1 คน’ ไปหารคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคได้รับ ซึ่งตัวเลขที่ได้มา จะเรียกว่า “จำนวน ส.ส.พึงมี” (รัฐธรรมนูญมาตรา 91 (2) และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 (2))
จากนั้น นำจำนวน ส.ส.พึงมี ของแต่ละพรรค ลบด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละพรรคการเมืองได้ เพื่อหา จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับเบื้องต้น (รัฐธรรมนูญมาตรา 91 (3) และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 (3)) จะได้ผล ดังนี้
ชื่อพรรค | คะแนนดิบ | ส.ส. พึงมี | ส.ส.เขต | ส.ส.บัญชีรายชื่อ |
พลังประชารัฐ | 8,433,137 | 118.6805 | 97 | 21.6805 |
เพื่อไทย | 7,920,630 | 111.4679 | 137 | – |
อนาคตใหม่ | 6,265,950 | 88.1814 | 30 | 58.1814 |
ประชาธิปัตย์ | 3,947,726 | 55.5568 | 33 | 22.5568 |
ภูมิใจไทย | 3,732,883 | 52.5333 | 39 | 13.5333 |
เสรีรวมไทย | 826,530 | 11.6318 | 0 | 11.6318 |
ชาติไทยพัฒนา | 782,031 | 11.0056 | 6 | 5.0056 |
เศรษฐกิจใหม่ | 485,664 | 6.8348 | 0 | 6.8348 |
ประชาชาติ | 485,436 | 6.8316 | 6 | 0.8316 |
เพื่อชาติ | 419,393 | 5.9022 | 0 | 5.9022 |
รวมพลังประชาชาติไทย | 416,324 | 5.8590 | 1 | 4.8590 |
ชาติพัฒนา | 252,044 | 3.5470 | 1 | 2.5470 |
พลังท้องถิ่นไท | 213,129 | 2.9994 | – | 2.9994 |
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย | 136,597 | 1.9223 | – | 1.9223 |
พลังปวงชนไทย | 81,733 | 1.1502 | – | 1.1502 |
พลังชาติไทย | 73,871 | 1.0396 | – | 1.0396 |
ประชาภิวัฒน์ | 69,417 | 0.9769 | – | 0.9769 |
พลังไทยรักไทย | 60,840 | 0.8562 | – | 0.8562 |
ไทยศรีวิไลย์ | 60,421 | 0.8503 | – | 0.8503 |
ประชานิยม | 56,617 | 0.7968 | – | 0.7968 |
ครูไทยเพื่อประชาชน | 56,339 | 0.7929 | – | 0.7929 |
ประชาธรรมไทย | 47,848 | 0.6734 | – | 0.6734 |
ประชาชนปฏิรูป | 45,508 | 0.6404 | – | 0.6404 |
พลเมืองไทย | 44,766 | 0.6300 | – | 0.6300 |
ประชาธิปไตยใหม่ | 39,792 | 0.5600 | – | 0.5600 |
พลังธรรมใหม่ | 35,533 | 0.5001 | – | 0.5001 |
ไทรักธรรม | 33,748 | 0.4749 | – | 0.4749 |
เพื่อแผ่นดิน | 31,307 | 0.4406 | – | 0.4406 |
ทางเลือกใหม่ | 29,607 | 0.4167 | – | 0.4167 |
ภราดรภาพ | 27,799 | 0.3912 | – | 0.3912 |
พลังประชาธิปไตย | 26,617 | 0.3746 | – | 0.3746 |
เพื่อคนไทย | 26,598 | 0.3743 | – | 0.3743 |
พลังไทสร้างชาติ | 23,059 | 0.3245 | – | 0.3245 |
กรีน | 22,662 | 0.3189 | – | 0.3189 |
แผ่นดินธรรม | 21,463 | 0.3021 | – | 0.3021 |
มหาชน | 17,867 | 0.2514 | – | 0.2514 |
พลังสังคม | 17,683 | 0.2489 | – | 0.2489 |
เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย | 17,664 | 0.2486 | – | 0.2486 |
แทนคุณแผ่นดิน | 17,112 | 0.2408 | – | 0.2408 |
สยามพัฒนา | 16,839 | 0.2370 | – | 0.2370 |
เพื่อธรรม | 15,365 | 0.2162 | – | 0.2162 |
รวมใจไทย | 13,457 | 0.1894 | – | 0.1894 |
คลองไทย | 12,946 | 0.1822 | – | 0.1822 |
ผึ้งหลวง | 12,576 | 0.1770 | – | 0.1770 |
ภาคีเครือข่ายไทย | 12,268 | 0.1726 | – | 0.1726 |
ประชากรไทย | 11,839 | 0.1666 | – | 0.1666 |
ประชาไทย | 11,043 | 0.1554 | – | 0.1554 |
ชาติพันธุ์ไทย | 9,757 | 0.1373 | – | 0.1373 |
พลังไทยรักชาติ | 9,685 | 0.1363 | – | 0.1363 |
พลังศรัทธา | 9,561 | 0.1346 | – | 0.1346 |
ความหวังใหม่ | 9,074 | 0.1277 | – | 0.1277 |
เพื่อไทยพัฒนา | 8,095 | 0.1139 | – | 0.1139 |
ถิ่นกาขาวชาววิไล | 6,799 | 0.0957 | – | 0.0957 |
พลังครูไทย | 6,398 | 0.0900 | – | 0.0900 |
ไทยธรรม | 5,942 | 0.0836 | – | 0.0836 |
กลาง | 5,447 | 0.0767 | – | 0.0767 |
สังคมประชาธิปไตยไทย | 5,334 | 0.0751 | – | 0.0751 |
สามัญชน | 5,321 | 0.0749 | – | 0.0749 |
ฐานรากไทย | 4,786 | 0.0674 | – | 0.0674 |
พลังรัก | 4,624 | 0.0651 | – | 0.0651 |
พลังแผ่นดินทอง | 4,568 | 0.0643 | – | 0.0643 |
ไทยรุ่งเรือง | 4,237 | 0.0596 | – | 0.0596 |
ภูมิพลังเกษตรกรไทย | 3,535 | 0.0497 | – | 0.0497 |
รักท้องถิ่นไทย | 3,254 | 0.0000 | – | 0.0000 |
พลังแรงงานไทย | 2,951 | 0.0415 | – | 0.0415 |
พลังไทยดี | 2,536 | 0.0357 | – | 0.0357 |
คนธรรมดาแห่งประเทศไทย | 2,353 | 0.0331 | – | 0.0331 |
พลังสหกรณ์ | 2,343 | 0.0330 | – | 0.0330 |
เพื่อชีวิตใหม่ | 1,595 | 0.0224 | – | 0.0224 |
พัฒนาประเทศไทย | 1,079 | 0.0152 | – | 0.0152 |
เพื่อสหกรณ์ไทย | 905 | 0.0127 | – | 0.0127 |
มติประชา | 791 | 0.0111 | – | 0.0111 |
ยางพาราไทย | 610 | 0.0086 | – | 0.0086 |
ประชาธิปไตยเพื่อประชาชน | 562 | 0.0079 | – | 0.0079 |
รักษ์ธรรม | 446 | 0.0000 | – | 0.0000 |
อนาคตไทย | 198 | 0.0000 | – | 0.0000 |
กสิกรไทย | 183 | 0.0026 | – | 0.0026 |
คนงานไทย | – | 0.0000 | – | 0.0000 |
ไทยรักษาชาติ | – | 0.0000 | – | 0.0000 |
พลังคนกีฬา | – | 0.0000 | – | 0.0000 |
เพื่อนไทย | – | 0.0000 | – | 0.0000 |
ขั้นตอนที่ 3 เนื่องจาก พ.ร.ป.การเลือกตั้ง มาตรา 128 (4) ระบุว่า ภายใต้ (5) ให้จัดสรรจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจะได้รับให้ครบ 150 คน โดยจัดสรรให้พรรคการเมืองตามผลลัพธ์ตาม พ.ร.ป.การเลือกตั้ง มาตรา 128 (3) เป็นจํานวนเต็มก่อน
หากยังไม่ครบจํานวน 150 คน ให้พรรคการเมืองที่มีเศษจากการคํานวณมากที่สุดได้รับการจัดสรรจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีกหนึ่งคนตามลําดับจนครบ
ดังนั้น การจะเริ่มจัดสรรที่นั่ง ส.ส. ตาม พ.ร.ป.การเลือกตั้ง มาตรา 128 (4) ต้องไปดู พ.ร.ป.การเลือกตั้ง มาตรา 128 (5) ก่อน ซึ่งมาตราดังกล่าวสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (4) ที่ระบุว่า ห้ามมีพรรคการเมืองใด มี ส.ส. ในสภา เกินจำนวน ส.ส.พึงมี ยกเว้น กรณีที่พรรคการเมืองนั้น ได้ ส.ส.เขต มากกว่า ส.ส. พึงมี และจะไม่ได้รับ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเพิ่ม
ดังนั้น พรรคที่ได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ คือ พรรคที่ได้ ส.ส.พึงมี อย่างน้อย 1 ที่นั่ง ซึ่งจะมีเพียง 16 พรรคการเมืองเท่านั้น ที่มีโอกาสได้รับการจัดสรร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ดังนี้
ชื่อพรรค | คะแนนดิบ | ส.ส. พึงมี | ส.ส.เขต | ส.ส.บัญชีรายชื่อ |
พลังประชารัฐ | 8,433,137 | 118.6805 | 97 | 21.6805 |
เพื่อไทย | 7,920,630 | 111.4679 | 137 | – |
อนาคตใหม่ | 6,265,950 | 88.1814 | 30 | 58.1814 |
ประชาธิปัตย์ | 3,947,726 | 55.5568 | 33 | 22.5568 |
ภูมิใจไทย | 3,732,883 | 52.5333 | 39 | 13.5333 |
เสรีรวมไทย | 826,530 | 11.6318 | 0 | 11.6318 |
ชาติไทยพัฒนา | 782,031 | 11.0056 | 6 | 5.0056 |
เศรษฐกิจใหม่ | 485,664 | 6.8348 | 0 | 6.8348 |
ประชาชาติ | 485,436 | 6.8316 | 6 | 0.8316 |
เพื่อชาติ | 419,393 | 5.9022 | 0 | 5.9022 |
รวมพลังประชาชาติไทย | 416,324 | 5.8590 | 1 | 4.8590 |
ชาติพัฒนา | 252,044 | 3.5470 | 1 | 2.5470 |
พลังท้องถิ่นไท | 213,129 | 2.9994 | – | 2.9994 |
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย | 136,597 | 1.9223 | – | 1.9223 |
พลังปวงชนไทย | 81,733 | 1.1502 | – | 1.1502 |
พลังชาติไทย | 73,871 | 1.0396 | – | 1.0396 |
ทั้งนี้ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 (4) กำหนดว่า ให้จัดสรรจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง ให้กับพรรคการเมืองต่างๆ ตามจำนวนเต็มก่อน ให้ครบ 150 คน หากยังมีที่ว่างค่อยใช้เศษทศนิยมภายหลัง แต่ทว่า หากดำเนินการตาม มาตรา 128 (4) แล้ว เกิดมีจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ เกิน 150 คน มาตรา 128 (7) ให้เทียบบัญญัติไตรยางค์ใหม่อีกครั้งและหากได้เศษทศนิยม ก็ให้ใช้จำนวนเต็มก่อน
เมื่อดึงจำนวนเต็มจากจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคควรจะได้ ผลปรากฏว่า มีจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ เกิน 150 คน จึงต้องเทียบบัญญัติไตรยางค์ใหม่อีกครั้งและหากได้เศษทศนิยม ให้พิจารณาจัดสรรที่นั่งจากจำนวนเต็มก่อน และเรียงลำดับตามจุดทศนิยมจนครบ 150 คน ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่นั่งของ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคควรได้ ดังตารางนี้
จากตารางอันสุดท้าย จะเห็นได้ว่า ถ้าเราดูที่นั่งรวม ที่แต่ละพรรคการเมืองได้ จะไม่มีพรรคการเมืองไหน ได้ ส.ส. รวมกันมากกว่า ส.ส. พึงมี ซึ่งต่างกับสูตรที่ กกต. ใช้คำนวณตามคำแนะนำของ กรธ. ดังนั้น ในคำชี้แจงที่ กกต. ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่เป็นความจริง และมีความน่ากังวลว่า จะเป็นการยื่น ให้ศาลรัฐธรรมนูญ 'ประทับตราความชอบธรรม' การดำเนินการที่ขัดรัฐธรรมนูญ
บล็อกของ มนุษย์โรแมนติก
มนุษย์โรแมนติก
เมื่อต้องถอดบทเรียนหรือตกผลึกการลงมติ
มนุษย์โรแมนติก
วันนี้ (11 เมษายน 2562) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติ ส่งเรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวนเพื่อจัดสรร จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ ที่แต่ละพรรคการเมือง จะพึงมีได้ให้ศาลรัฐธรรมนูญิพจารณาวินิจฉัย ดังที่ปรากฎตามภาพนี้
มนุษย์โรแมนติก
วันพรุ่งนี้ (22 ธันวาคม 2561) จะครบรอบการจำคุก 2 ปี ของ 'ไผ่ ดาวดิน' บัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ต้องรับปริญญาที่หน้าศาลทหารพร้อมกับชุดนนักโทษในเรือนจำ ประกอบกับช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา มาตรา 112 กลับมาทำงานอีกครั้ง อย่างที่มันไม่เคยถูกใช้จาก 'ฝ่ายพลเรือน' แบบนี้มาสักพัก
มนุษย์โรแมนติก
12 กรกฎาคม 2561 สนช. มีวาระการประชุมพิจารณาร่างกฎหมาย 5 ฉบับ เกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการโดยเฉพาะองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ใช่แค่เงินเดือนขึ้นแต่ยังได้เงินย้อนหลังไปจนถึงปี 57 สำหรับเหตุผลของคสช.
มนุษย์โรแมนติก
หากจะพูดถึงนักแสดงมากความสามารถ หากจะขาดชื่อ ทราย-อินทิรา เจริญปุระ ไปก็คงต้องเป็นเรื่องที่แปลกประหลาด เพราะนอกจากเธอจะเคยเป็นนักร้อง เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงแล้ว เธอยังเคยทำหน้าที่เป็นพิธีกรรายการต่างๆ ควบคู่ไปกับการเป็นคอลัมนิสต์ให้กับนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ และสำนักข่าว The Matter ด้วยเช่นกั
มนุษย์โรแมนติก
ต้องขอจั่วหัวตั้งแต่เริ่มต้นว่า บทความนี่มีเจตนา 'ปรับทัศนคติ' ผู้แทนประชาชนในนามพรรคประชาธิปัตย์ อย่างคุณมัลลิกา บุญมีตระกูลชัย (มหาสุข) หลังออกมาแสดงความคิดเห็น
มนุษย์โรแมนติก
ผมมีโอกาสได้อ่านคำถาม 9 ข้อที่พี่ดี้ ถาม ผมคิดว่าบางคำถามนั้นดีมากๆ แต่อยากแลกเปลี่ยนมุมมองว่า จริงๆ แล้วพี่ดี้ มองข้ามคำตอบบางอย่างไปหรือเปล่า และตกหล่นข้อเท็จจริงในปัจจุบันไปหรือเปล่า จึงขอทวนคำถามและตอบคำถามทั้งหมด ดังนี้ 1.มึงจะเป็นคนเลือก…มึงจะเลือกใครวะ
มนุษย์โรแมนติก
เหตุใดการพูดเรื่อง 'ความสำเร็จ' ในสังคมไทย เราจึงเชื่อบรรดากูรูทั้งหลายที่พยายามบอกว่า ตัวแปรต้นของความสำเร็จคือความทุ่มเทพยายาม และหลายครั้งเรามักจะเอาเรื่องความสำเร็จไปผูกกับความมุมานะเสียจนมั่นใจว่าเราควบคุมตัวแปรอื่นๆ อย่างถี่ถ้วนแล้วอย่างนั้น
มนุษย์โรแมนติก
“บ้านทีดีหาใช่แค่มีสิ่งปลูกสร้างที่มั่นคง สะดวกสบาย แต่มันต้องมีบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความรัก ความผูกพัน ของคนในครอบครัว” ถอยห่างจากกรุงเทพมหานครออกไปซักสองร้อยกิโลเมตร ในบ้านหลังหนึ่งในตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยก จังหวัดกาญจนบุรี มีครอบครัวครอบครัวหนึ่งอาศัยอยู่ โดยสมาชิก
มนุษย์โรแมนติก
น่าแปลกที่ช่วงหลังมานี้ เมื่อมีความตายที่ไปเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ทหาร เช่น กรณีการเสียชีวิตในโรงเรียนเตรียมทหาร ของ 'เมย' หรือ ภัคพงค์ ตัญกาญจน์ รวมไปถึงการเสียชีวิตของเครือข่าย 'หมอหยอง' ที่อยู่ระหว่างถูกควบคุมในเรือนจำค่ายทหาร กระบวนการพิสูจน์ทราบสาเหตุการตายมักจะเป็นไปอย่าง 'ผิดปกติ' โดยบทความนี้พยายามจะพาไปดูสิ่งแปลกปลอมในกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย
มนุษย์โรแมนติก
แม้คำพิพากษาคดีจำนำข้าวจะยังไม่สะท้อนภาพการแทรกแซงการดำเนินนโยบายของรัฐบาลโดยองค์กรตุลาการอย่างเด่นชัด แต่ก็น่าตั้งข้อสังเกตว่า คดีดังกล่าวจะกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับลงโทษรัฐบาลที่ดำเนินนโยบายที่ถูกกล่าวหาว่าใช้นโยบาย 'ประชานิยม' หรือไม่ โดยเฉพาะในยุคที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้อำนาจองค์กรอิสระในการจับตารัฐบาลชุดหน้าอย่างเข้มข้น
มนุษย์โรแมนติก
เมื่อสัปดาห์ก่อน นายกฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ตาม พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ ที่ิเพิ่งประกาศใช้ ทั้งนี้ เมื่อสำรวจรายชื่อของคณะกรรมการชุดดังกล่าว พบว่า หลายคนเคยทำงานในสภาปฏิรูปมาแล้วถึงสองสมัย หลายคนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ คสช. มาก่อน นอกจากนี้ กรรมการบางคนยังมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ได้รับเสียงคัดค้านจากภาคประชาชนเป็นเครื่องการันตี จึงน่าสนใจว่าคณะทำงานชุดนี้จะพาประเทศไปทางไหนและมีบทบาทอย่างไรกันแน่