ความตาย-ทหาร-ความผิดปกติ

น่าแปลกที่ช่วงหลังมานี้ เมื่อมีความตายที่ไปเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ทหาร เช่น กรณีการเสียชีวิตในโรงเรียนเตรียมทหาร ของ 'เมย' หรือ ภัคพงค์ ตัญกาญจน์ รวมไปถึงการเสียชีวิตของเครือข่าย 'หมอหยอง' ที่อยู่ระหว่างถูกควบคุมในเรือนจำค่ายทหาร กระบวนการพิสูจน์ทราบสาเหตุการตายมักจะเป็นไปอย่าง 'ผิดปกติ' โดยบทความนี้พยายามจะพาไปดูสิ่งแปลกปลอมในกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย
 
ชันสูตรศพโดยไม่แจ้งญาติ เก็บอวัยวะโดยไม่บอก
 
ความผิดปกติของกระบวนการชันสูตร 'เมย' หรือ ภัคพงค์ มีอย่างน้อย 2 อย่างด้วยกัน อย่างแรกคือ การชันสูตรโดยที่ญาติไม่ได้รับรู้ ทั้งที่ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญาฯ) มาตรา 150 วรรคสอง กำหนดให้ก่อนการชันสูตรต้องมีการแจ้งญาติของผู้ตายอย่างน้อยหนึ่งคนรับรู้หรือรับทราบเสียก่อน 
 
อย่างที่สองคือการเก็บชิ้นส่วนอวัยวะไว้ แม้ตามกฎหมายจะไม่ได้ระบุว่า การเก็บชิ้นส่วนอวัยวะต้องแจ้งญาติ แต่หากทางทีมแพทย์ชันสูตรของสถาบันพยาธิวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เห็นว่ายังหาสาเหตุการตายโดยละเอียดไม่ได้ กฎหมายมาตราเดียวกันก็เปิดช่องไว้ว่า ถ้ามีความจำเป็นก็สามารถขอขยายเวลาได้ (สูงสุดไม่เกิน 60 วัน) เพื่อทำขั้นตอนดังกล่าวให้เสร็จสมบูรณ์ ขั้นตอนนี้จึงดูมีความรีบร้อนในการสรุปสาเหตุการตายและส่งศพให้ญาติไปดำเนินการเผาตามพิธีกรรมทางศาสนา
 
ทราบแต่สาเหตุการตาย นอกนั้นไม่ทราบอะไรเลย
 
จนถึงวันนี้ สังคมทราบแต่เพียงว่า 'เมย' เสียชีวิตจากสาเหตุหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งเป็นผลสรุปจากแพทย์ ซึ่งมี พ.ท.รุฏฐ์ ทองสอน ทีมแพทย์ผู้ชันสูตรศพ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นผู้ให้รายละเอียด แต่ทว่า การที่ผู้ตายเสียชีวิตด้วยสาเหตุนี้เกิดจากอะไร มีใครกระทำให้ผู้ตายเสียชีวิตหรือไม่ และหากมีใครกระทำให้ผู้ตายเสียชีวิตก็ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
 
ทั้งนี้ ผู้กำกับ สภ.เมืองนครนายก เปิดเผยกับทีมข่าว PPTV ว่า ตอนนี้มีเพียงสำนวนชันสูตรพลิกศพเท่านั้น ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวน ส่วนการสืบพยานและหาพยานหลักฐานอยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้
 
ประวัติศาสตร์ซ้ำซากของกระบวนการที่ผิดปกติ
 
สิ่งสำคัญก็คือ กรณี 'เมย' ไม่ใช่กรณีแรก เคยมีเรื่องทำนองนี้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง ยกตัวอย่างเช่น การเสียชีวิตของ พ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา ผู้ต้องหาคดีแอบอ้างสถาบันฯ ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี (ภายในมทบ.11) และจากนั้นไม่นานก็มีข่าวคราวการเสียชีวิตของเขาออกมา โดยกรมราชทัณฑ์ออกใบแถลงข่าว ชี้แจงว่า เขาพยายามผูกคอตายในห้องขัง แม้เจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือแล้วแต่สุดท้ายไปเสียชีวิตที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ 
 
นอกจากนี้ หลังการเสียชีวิตของ พ.ต.ต.ปรากรม ก็คือ ไม่มีทราบว่าใครเป็นผู้ทำการชันสูตรศพบ้าง และยังไม่มีการไต่สวนการตายโดยศาลตามกฎหมาย อีกทั้งยังมีการออกใบมรณบัตรให้ญาติไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาโดยไม่ได้ดำเนินขั้นตอนต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
 
สุดท้ายก็ได้แต่หวังว่า กระบวนการเหล่านี้จะได้รับการแก้ไขบ้าง และสิ่งเหล่านั้นจะเกิดไม่ได้เลยหากไม่มีการจับตา ตั้งคำถาม และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปขนานใหญ่ ไล่ตั้งแต่วิธีคิดไปจนถึงการปฏิบัติ

กกต. ซื่อจริง หรือแกล้งซื่อ กรณียื่นศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดสูตรคำนวณที่นั่ง ส.ส.

วันนี้ (11 เมษายน 2562) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติ ส่งเรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวนเพื่อจัดสรร จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ ที่แต่ละพรรคการเมือง จะพึงมีได้ให้ศาลรัฐธรรมนูญิพจารณาวินิจฉัย ดังที่ปรากฎตามภาพนี้
 

มาตรา 112 ยังเป็นโจทย์ที่ต้องแก้อยู่หรือเปล่า?

วันพรุ่งนี้ (22 ธันวาคม 2561) จะครบรอบการจำคุก 2 ปี ของ 'ไผ่ ดาวดิน' บัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ต้องรับปริญญาที่หน้าศาลทหารพร้อมกับชุดนนักโทษในเรือนจำ
 

Coup is a Good Business: คสช. เตรียมบูนบำเหน็จพรรคพวกตัวเองในองค์กรอิสระ

12 กรกฎาคม 2561 สนช. มีวาระการประชุมพิจารณาร่างกฎหมาย 5 ฉบับ เกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการโดยเฉพาะองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ใช่แค่เงินเดือนขึ้นแต่ยังได้เงินย้อนหลังไปจนถึงปี 57
 

ฉากและชีวิตที่ไม่ได้โรแมนติกของ ‘ทราย เจริญปุระ’

หากจะพูดถึงนักแสดงมากความสามารถ หากจะขาดชื่อ ทราย-อินทิรา เจริญปุระ ไปก็คงต้องเป็นเรื่องที่แปลกประหลาด เพราะนอกจากเธอจะเคยเป็นนักร้อง เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงแล้ว เธอยังเคยทำหน้าที่เป็นพิธีกรรายการต่างๆ ควบคู่ไปกับการเป็นคอลัมนิสต์ให้กับนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ และสำนักข่าว The Matter ด้วยเช่นกั