Skip to main content
วันนี้ (11 เมษายน 2562) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติ ส่งเรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวนเพื่อจัดสรร จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ ที่แต่ละพรรคการเมือง จะพึงมีได้ให้ศาลรัฐธรรมนูญิพจารณาวินิจฉัย ดังที่ปรากฎตามภาพนี้
 
 
 
จากรายละเอียดที่ปรากฎนี้ ผมพอจะสรุปความเข้าใจจากภาษาราชการได้ 3 ข้อ ดังนี้
 
(1) สำนักงาน กกต. ได้ลองคำนวณที่นั่ง ส.ส. ตามที่ กรธ. แนะนำแล้ว พบว่า ถ้าคำนวณต่อตามมาตรา 128 (5) ของ พ.ร.ป.การเลือกตั้งฯ จะมีพรรคการเมืองหลายพรรคที่มี ส.ส. พึงมีต่ำกว่า 1 คน ได้รับการจัดสรรที่นั่งให้ 
 
หรือหมายความว่า พอคำนวณตามที่ กรธ. แนะนำ โดยตีความ พ.ร.ป.เลือกตั้งฯ มาตรา 128 (5) จะมี 27 พรรคในสภา จะมีพรรคที่ได้ 1 ที่นั่ง อย่างน้อย 11 พรรค
 
(2) จากการคำนวณตาม ข้อ (1) มีผลขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 91 (2 ) และ (4) เนื่องจากมีพรรคการเมืองที่มี ส.ส. พึงมี ต่ำกว่า 1 ที่ ได้รับการจัดสรรให้ ส.ส. 1 คน ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญที่ห้ามมีพรรคการเมืองไหนได้ ส.ส. เกิน ส.ส. พึงมี แต่ ถ้าไม่ดำเนินการตามข้อ (1) หรือการเกลี่ยที่นั่งให้พรรคที่มี ส.ส. พึงมีต่ำกว่า 1 ที่นั่ง ก็จะมี ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ไม่ถึง 150 คน
 
หรือหมายความว่า ยังไงก็ขัดรัฐธรรมนูญ แต่ กกต. อ้างว่า ไม่มีวิธีอื่นแล้วที่จะคำนวณให้ได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ครบ 150 คน
 
ข้อสูดท้าย ข้อที่ (3) จาก ข้อ (1) และ (2) กกต. เลยอยากให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่า ที่ กกต. คำนวณตามข้อ 1 ทำได้หรือไม่ ทำแล้วชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 91 หรือเปล่า
 
ในมุมมองส่วนตัว ผมคิดว่า ความเห็นของ กกต. ที่ยื่นศาลรัฐธรรมนูญมีความ 'พึลึกพิลั่น' อย่างน้อย 2 ข้อ ได้แก่
 
1) จากคำชี้แจง กกต. ข้อที่ (1) กกต. ทราบแล้วว่า สูตรคำนวณตามคำแนะนำของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่เกลี่ยที่นั่งให้พรรคการเมืองรวมกันในสภาได้ถึง 27 พรรค เป็นสูตรที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (2) และ (4) แล้วเพราะอะไรถึงไม่แย้งกับ กรธ. ให้จบแต่แรก และทำไมถึงดึงดันจะเอาสูตรดังกล่าวมาคำนวณ
 
2) จากคำชี้แจง กกต. ข้อที่ (2) กกต. อ้างว่า ถ้าไม่ดำเนินการตามข้อ (1) หรือการเกลี่ยที่นั่งให้พรรคที่มี ส.ส. พึงมีต่ำกว่า 1 ที่นั่ง ก็จะมี ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ไม่ถึง 150 คน ซึ่งคำชี้แจ้งดังกล่าว 'ไม่เป็นความจริง' หากใช้สูตรอีกวิธีหนึ่งที่ใช้การคิดจากว่า 'พรรคที่ได้ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ คือ พรรคที่ได้ส.ส.พึงมี อย่างน้อย 1 ที่นั่ง' ก็จะพบว่า เราสามารถจัดสรรที่นั่ง ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ ได้ครบ 150 คน โดยไม่มีทางขัดรัฐธรรมนูญ ได้ดังนี้ 
 
ขั้นตอนที่ 1 นำคะแนนเสียงรวมของทุกพรรคการเมืองที่ส่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อมาหารด้วย 500 ซึ่งเป็นจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อหาค่าเฉลี่ยคะแนนเสียง ต่อ ส.ส. 1 คน (รัฐธรรมนูญมาตรา 91 (1) และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 (1))
 
คิดเป็นสมการคือ คะแนนเสียงรวมของทุกพรรคการเมืองที่ส่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ / 500 = ค่าเฉลี่ยคะแนนเสียง ต่อ ส.ส. 1 คน
 
เมื่อแทนค่าลงไป จะได้ผลเท่ากับ 35,528,749/500 = 71,057.498
 
ขั้นตอนที่ 2 นำตัวเลข ‘ค่าเฉลี่ยคะแนนเสียง ต่อ ส.ส. 1 คน’ ไปหารคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคได้รับ ซึ่งตัวเลขที่ได้มา จะเรียกว่า “จำนวน ส.ส.พึงมี” (รัฐธรรมนูญมาตรา 91 (2) และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 (2))
 
จากนั้น นำจำนวน ส.ส.พึงมี ของแต่ละพรรค ลบด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละพรรคการเมืองได้ เพื่อหา จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับเบื้องต้น (รัฐธรรมนูญมาตรา 91 (3) และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 (3)) จะได้ผล ดังนี้
 
ชื่อพรรค
คะแนนดิบ
ส.ส. พึงมี
ส.ส.เขต
ส.ส.บัญชีรายชื่อ
พลังประชารัฐ
8,433,137
118.6805
97
21.6805
เพื่อไทย
7,920,630
111.4679
137
อนาคตใหม่
6,265,950
88.1814
30
58.1814
ประชาธิปัตย์
3,947,726
55.5568
33
22.5568
ภูมิใจไทย
3,732,883
52.5333
39
13.5333
เสรีรวมไทย
826,530
11.6318
0
11.6318
ชาติไทยพัฒนา
782,031
11.0056
6
5.0056
เศรษฐกิจใหม่
485,664
6.8348
0
6.8348
ประชาชาติ
485,436
6.8316
6
0.8316
เพื่อชาติ
419,393
5.9022
0
5.9022
รวมพลังประชาชาติไทย
416,324
5.8590
1
4.8590
ชาติพัฒนา
252,044
3.5470
1
2.5470
พลังท้องถิ่นไท
213,129
2.9994
2.9994
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย
136,597
1.9223
1.9223
พลังปวงชนไทย
81,733
1.1502
1.1502
พลังชาติไทย
73,871
1.0396
1.0396
ประชาภิวัฒน์
69,417
0.9769
0.9769
พลังไทยรักไทย
60,840
0.8562
0.8562
ไทยศรีวิไลย์
60,421
0.8503
0.8503
ประชานิยม
56,617
0.7968
0.7968
ครูไทยเพื่อประชาชน
56,339
0.7929
0.7929
ประชาธรรมไทย
47,848
0.6734
0.6734
ประชาชนปฏิรูป
45,508
0.6404
0.6404
พลเมืองไทย
44,766
0.6300
0.6300
ประชาธิปไตยใหม่
39,792
0.5600
0.5600
พลังธรรมใหม่
35,533
0.5001
0.5001
ไทรักธรรม
33,748
0.4749
0.4749
เพื่อแผ่นดิน
31,307
0.4406
0.4406
ทางเลือกใหม่
29,607
0.4167
0.4167
ภราดรภาพ
27,799
0.3912
0.3912
พลังประชาธิปไตย
26,617
0.3746
0.3746
เพื่อคนไทย
26,598
0.3743
0.3743
พลังไทสร้างชาติ
23,059
0.3245
0.3245
กรีน
22,662
0.3189
0.3189
แผ่นดินธรรม
21,463
0.3021
0.3021
มหาชน
17,867
0.2514
0.2514
พลังสังคม
17,683
0.2489
0.2489
เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
17,664
0.2486
0.2486
แทนคุณแผ่นดิน
17,112
0.2408
0.2408
สยามพัฒนา
16,839
0.2370
0.2370
เพื่อธรรม
15,365
0.2162
0.2162
รวมใจไทย
13,457
0.1894
0.1894
คลองไทย
12,946
0.1822
0.1822
ผึ้งหลวง
12,576
0.1770
0.1770
ภาคีเครือข่ายไทย
12,268
0.1726
0.1726
ประชากรไทย
11,839
0.1666
0.1666
ประชาไทย
11,043
0.1554
0.1554
ชาติพันธุ์ไทย
9,757
0.1373
0.1373
พลังไทยรักชาติ
9,685
0.1363
0.1363
พลังศรัทธา
9,561
0.1346
0.1346
ความหวังใหม่
9,074
0.1277
0.1277
เพื่อไทยพัฒนา
8,095
0.1139
0.1139
ถิ่นกาขาวชาววิไล
6,799
0.0957
0.0957
พลังครูไทย
6,398
0.0900
0.0900
ไทยธรรม
5,942
0.0836
0.0836
กลาง
5,447
0.0767
0.0767
สังคมประชาธิปไตยไทย
5,334
0.0751
0.0751
สามัญชน
5,321
0.0749
0.0749
ฐานรากไทย
4,786
0.0674
0.0674
พลังรัก
4,624
0.0651
0.0651
พลังแผ่นดินทอง
4,568
0.0643
0.0643
ไทยรุ่งเรือง
4,237
0.0596
0.0596
ภูมิพลังเกษตรกรไทย
3,535
0.0497
0.0497
รักท้องถิ่นไทย
3,254
0.0000
0.0000
พลังแรงงานไทย
2,951
0.0415
0.0415
พลังไทยดี
2,536
0.0357
0.0357
คนธรรมดาแห่งประเทศไทย
2,353
0.0331
0.0331
พลังสหกรณ์
2,343
0.0330
0.0330
เพื่อชีวิตใหม่
1,595
0.0224
0.0224
พัฒนาประเทศไทย
1,079
0.0152
0.0152
เพื่อสหกรณ์ไทย
905
0.0127
0.0127
มติประชา
791
0.0111
0.0111
ยางพาราไทย
610
0.0086
0.0086
ประชาธิปไตยเพื่อประชาชน
562
0.0079
0.0079
รักษ์ธรรม
446
0.0000
0.0000
อนาคตไทย
198
0.0000
0.0000
กสิกรไทย
183
0.0026
0.0026
คนงานไทย
0.0000
0.0000
ไทยรักษาชาติ
0.0000
0.0000
พลังคนกีฬา
0.0000
0.0000
เพื่อนไทย
0.0000
0.0000
ขั้นตอนที่ 3 เนื่องจาก พ.ร.ป.การเลือกตั้ง มาตรา 128 (4) ระบุว่า ภายใต้ (5) ให้จัดสรรจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจะได้รับให้ครบ 150 คน โดยจัดสรรให้พรรคการเมืองตามผลลัพธ์ตาม พ.ร.ป.การเลือกตั้ง มาตรา 128 (3) เป็นจํานวนเต็มก่อน
 
หากยังไม่ครบจํานวน 150 คน ให้พรรคการเมืองที่มีเศษจากการคํานวณมากที่สุดได้รับการจัดสรรจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีกหนึ่งคนตามลําดับจนครบ
 
ดังนั้น การจะเริ่มจัดสรรที่นั่ง ส.ส. ตาม พ.ร.ป.การเลือกตั้ง มาตรา 128 (4) ต้องไปดู พ.ร.ป.การเลือกตั้ง มาตรา 128 (5) ก่อน ซึ่งมาตราดังกล่าวสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (4) ที่ระบุว่า ห้ามมีพรรคการเมืองใด มี ส.ส. ในสภา เกินจำนวน ส.ส.พึงมี ยกเว้น กรณีที่พรรคการเมืองนั้น ได้ ส.ส.เขต มากกว่า ส.ส. พึงมี และจะไม่ได้รับ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเพิ่ม
 
ดังนั้น พรรคที่ได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ คือ พรรคที่ได้ ส.ส.พึงมี อย่างน้อย 1 ที่นั่ง ซึ่งจะมีเพียง 16 พรรคการเมืองเท่านั้น ที่มีโอกาสได้รับการจัดสรร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ดังนี้
 
ชื่อพรรค
คะแนนดิบ
ส.ส. พึงมี
ส.ส.เขต
ส.ส.บัญชีรายชื่อ
พลังประชารัฐ
8,433,137
118.6805
97
21.6805
เพื่อไทย
7,920,630
111.4679
137
อนาคตใหม่
6,265,950
88.1814
30
58.1814
ประชาธิปัตย์
3,947,726
55.5568
33
22.5568
ภูมิใจไทย
3,732,883
52.5333
39
13.5333
เสรีรวมไทย
826,530
11.6318
0
11.6318
ชาติไทยพัฒนา
782,031
11.0056
6
5.0056
เศรษฐกิจใหม่
485,664
6.8348
0
6.8348
ประชาชาติ
485,436
6.8316
6
0.8316
เพื่อชาติ
419,393
5.9022
0
5.9022
รวมพลังประชาชาติไทย
416,324
5.8590
1
4.8590
ชาติพัฒนา
252,044
3.5470
1
2.5470
พลังท้องถิ่นไท
213,129
2.9994
2.9994
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย
136,597
1.9223
1.9223
พลังปวงชนไทย
81,733
1.1502
1.1502
พลังชาติไทย
73,871
1.0396
1.0396
ทั้งนี้ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 (4) กำหนดว่า ให้จัดสรรจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง ให้กับพรรคการเมืองต่างๆ ตามจำนวนเต็มก่อน ให้ครบ 150 คน หากยังมีที่ว่างค่อยใช้เศษทศนิยมภายหลัง แต่ทว่า หากดำเนินการตาม มาตรา 128 (4) แล้ว เกิดมีจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ เกิน 150 คน มาตรา 128 (7) ให้เทียบบัญญัติไตรยางค์ใหม่อีกครั้งและหากได้เศษทศนิยม ก็ให้ใช้จำนวนเต็มก่อน
 
เมื่อดึงจำนวนเต็มจากจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคควรจะได้ ผลปรากฏว่า มีจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ เกิน 150 คน จึงต้องเทียบบัญญัติไตรยางค์ใหม่อีกครั้งและหากได้เศษทศนิยม ให้พิจารณาจัดสรรที่นั่งจากจำนวนเต็มก่อน และเรียงลำดับตามจุดทศนิยมจนครบ 150 คน ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่นั่งของ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคควรได้ ดังตารางนี้
 
 
จากตารางอันสุดท้าย จะเห็นได้ว่า ถ้าเราดูที่นั่งรวม ที่แต่ละพรรคการเมืองได้ จะไม่มีพรรคการเมืองไหน ได้ ส.ส. รวมกันมากกว่า ส.ส. พึงมี ซึ่งต่างกับสูตรที่ กกต. ใช้คำนวณตามคำแนะนำของ กรธ. ดังนั้น ในคำชี้แจงที่ กกต. ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่เป็นความจริง และมีความน่ากังวลว่า จะเป็นการยื่น ให้ศาลรัฐธรรมนูญ 'ประทับตราความชอบธรรม' การดำเนินการที่ขัดรัฐธรรมนูญ 

 

บล็อกของ มนุษย์โรแมนติก

มนุษย์โรแมนติก
แม้จะมีดราม่าเข้ามารายวันแต่ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่สังคมไม่ควรพลาดก็คือ "การแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" ซึ่งน่ากลัวมากว่ามันจะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เละ! และดูเหมือนจะมีเฉพาะกลุ่มคนรักหลักประสุขภาพและองค์กรใกล้ชิดเท่านั้นที่ไหวตั
มนุษย์โรแมนติก
ข้ออ้างสำคัญของรัฐในการควบคุมสื่อคือการกล่าวหาว่า "สื่อมีเสรีภาพมากเกินไปและไร้ความรับผิดชอบ" ซึ่งบทความนี้ไม่ใช่แค่การโต้แย้งอย่างตรงไปตรงมาต่อข้อกล่าวหาข้างต้น แต่ยังชวนให้ผู้มีอำนาจคิดว่า เราไม่ได้อับจนหนทางถึงขนาดต้องมีกฎหมายควบคุมสื่อ