สมัยเด็กๆ วิชาที่ผมสอบตกเป็นประจำคือ 'วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์' และผมจะปวดหัวเอามากๆ ตอนเขียนโครงงานซึ่งต้องวนเวียนอยู่กับคำสามคำที่แมร่งโคตรไม่เข้าใจ ได้แก่ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม แลตัวแปรควบคุม
น่าแปลก ตำราวิทยาศาสตร์สมัยนั้นเขียนเหมือนไม่อยากให้เด็กตั้งใจอ่าน วิชาโครงงานมันเป็นเหมือนรหัสลับที่พวกเด็กบ้าวิทยาศาสตร์ชอบหยิบมาพูดกัน แล้วผมก็ได้แต่งงว่า ไอ้บ้าเอ้ย นี่เขากำลังคุยเรื่องอะไรกัน
แต่ถึงอย่างนั้นก็ครูพักลักจำได้ว่า ตัวแปรต้นคือสิ่งที่เราศึกษา ตัวแปรตามคือสิ่งที่ใช้อธิบายผลของสิ่งที่เราศึกษา และตัวแปรควบคุมคือสิ่งที่กำหนดให้เหมือนกัน เพื่อจะทำให้ตัวแปรต้นมีผลต่อตัวแปรตามได้อย่างแท้จริง
ยกตัวอย่างเช่น เราจะศึกษาว่าปุ๋ยน้ำหมักดีกว่าปุ๋ยปกติอย่างไร ตัวแปรต้นของเราจึงเป็น ปุ๋ยน้ำหนักกับปุ๋ยปกติ ส่วนตัวแปรที่เราต้องควบคุมให้ได้ก็คือ พันธ์ของต้นไม้ อายุของต้นไม้ สภาพดิน ขนาดกระถาง ระยะเวลาการให้ปุ๋ย ขนาดของปุ๋ย ฯลฯ ซึ่งเราเรียกมันว่า ตัวแปรควบคุม และตัวแปรตามในกรณีก็คือ การเจริญเติบโตของต้นไม้ ซึ่งตอนพรีเซนต์เราก็จะเถียงกันเรื่องการวัดปริมาณ การควบคุมตัวแปร ถ้าพูดแบบเท่ๆ ให้เข้ากับคุณวุฒิก็คือ เถียงกันเรื่องระเบียบวิธีวิจัย
วิชาโครงงานเป็นวิชาพื้นฐานที่เด็กไทยส่วนใหญ่น่าจะต้องได้ผ่านมาบ้าง แต่ใยการพูดเรื่อง 'ความสำเร็จ' ในสังคมไทย เราจึงเชื่อบรรดากูรูทั้งหลายที่พยายามบอกว่า ตัวแปรต้นของความสำเร็จคือความทุ่มเทพยายาม และหลายครั้งเรามักจะเอาเรื่องความสำเร็จไปผูกกับความมุมานะเสียจนมั่นใจว่าเราควบคุมตัวแปรอื่นๆ อย่างถี่ถ้วนแล้วอย่างนั้น
บางทีนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลอย่าง โจเซฟ สติกลิตซ์ คงช่วยแก้ความเข้าใจผิดเราได้
สติกลิตซ์ กล่าวว่า “การเลือกที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเราคือ การเลือกเกิดมาในพ่อแม่ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมเพียงพอที่จะสนับสนุนให้เราเป็นคนที่มีศักยภาพอย่างที่เราควรมี”
หรือแปรง่ายๆ ว่า ความสำเร็จของคนคนหนึ่งไม่ได้อยู่ที่ตัวคนคนนั้นแต่เกี่ยวข้องกับสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมของครอบครัวด้วย
อาจารย์เดชรัตน์ สุขกำเนิด ได้ช่วยขยายประเด็นนี้ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยยกตัวอย่างว่า "ในเมืองไทยของเรา เด็กที่เกิดในครอบครัวที่รวยที่สุด 10% แรกของประเทศ สามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้เกือบร้อยละ 70 ของเด็กที่เกิดในครอบครัวร่ำรวยกลุ่มนี้ทั้งหมด ในขณะที่เด็กที่เกิดในครอบครัวที่จนที่สุด 10% สุดท้ายของประเทศ จะเข้ามหาวิทยาลัยได้เพียงร้อยละ 4 ของเด็กที่เกิดในครอบครัวที่จนที่สุดกลุ่มนี้เท่านั้น"
ด้วยโอกาสชีวิตที่ไม่เท่ากันเช่นนี้ แล้วความสำเร็จของคนจะเกิดจากความพยายามอย่างเดียวได้เช่นไร ในเมื่อคนรวยมีโอกาสมากกว่า เข้าถึงทรัพยากรบางอย่างได้มากกว่า แต่คนจนยังย่ำอยู่ที่เดิม
จริงอยู่ที่หลายคนประสบความสำเร็จด้วยความพยายาม แต่อย่าดูเบา 'โครงสร้างทางสังคม' ซึ่งเป็นปัจจัยปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง
ขอให้เรามีภูมิคุ้มกันมองโลกอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่ามองโลกอย่างฉาบฉวย...
บล็อกของ มนุษย์โรแมนติก
มนุษย์โรแมนติก
แม้จะมีดราม่าเข้ามารายวันแต่ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่สังคมไม่ควรพลาดก็คือ "การแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" ซึ่งน่ากลัวมากว่ามันจะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เละ! และดูเหมือนจะมีเฉพาะกลุ่มคนรักหลักประสุขภาพและองค์กรใกล้ชิดเท่านั้นที่ไหวตั
มนุษย์โรแมนติก
ข้ออ้างสำคัญของรัฐในการควบคุมสื่อคือการกล่าวหาว่า "สื่อมีเสรีภาพมากเกินไปและไร้ความรับผิดชอบ" ซึ่งบทความนี้ไม่ใช่แค่การโต้แย้งอย่างตรงไปตรงมาต่อข้อกล่าวหาข้างต้น แต่ยังชวนให้ผู้มีอำนาจคิดว่า เราไม่ได้อับจนหนทางถึงขนาดต้องมีกฎหมายควบคุมสื่อ