12 กรกฎาคม 2561 สนช. มีวาระการประชุมพิจารณาร่างกฎหมาย 5 ฉบับ เกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการโดยเฉพาะองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ใช่แค่เงินเดือนขึ้นแต่ยังได้เงินย้อนหลังไปจนถึงปี 57
สำหรับเหตุผลของคสช. ในการผลักดันการขึ้นเงินเดือนในครั้งนี้ คือ “เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ...ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน” แต่ถ้ามองให้ลึกแล้วน่าสนใจว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับใครกันแน่?
หลังรัฐประหารเป็นต้นมา คสช. พยายามแทรกแซงองค์กรอิสระหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ #มาตรา44 ต่ออายุหรือปลด คนในองค์กรอิสระที่ทำงานให้หรือทำงานไม่ได้ดั่งใจคสช. เช่น การต่ออายุ ปปช. ซึ่งกำลังทำหน้าที่ตรวจสอบเอาผิดรัฐบาลชุดที่แล้วอย่างขมักเขม้น
หรือ การใช้สนช. หรือสภาที่คสช.เป็นคนแต่งตั้งมาช่วยทำหน้าที่คัดเลือกคนเข้าไปทำงานในองค์กรอิสระให้คสช. เช่น การแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ ซึ่งก็มีหน้าที่เป็นที่ประจักษ์ในการรับรองการใช้อำนาจอันไม่ชอบธรรมของรัฐบาล อาทิ การรับรองความชอบธรรมของ พ.ร.บ.ประชามติฯ ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือปิดปากฝ่ายรณรงค์ Vote No ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของคสช. ซึ่งที่ผ่านมามีองค์กรอิสระถึง 6 ใน 7 แห่ง ที่สนช. ได้แต่งตั้งไปแล้ว
เท่านั้นยังไม่พอ สนช. ยังแก้ไขกฎหมายสั่งเซ็ตซีโร่ องค์กรอิสระบางแห่งเพื่อเปิดทางให้คนของตัวเองเข้าไปทำหน้าที่ ส่วนที่สนช. แต่งตั้งไปแล้ว อย่างเช่น ปปช. ซึ่งมีบุคคลใกล้ชิดผู้มีอำนาจในคสช. นั่งอยู่ ก็ไม่ต้องเซ็ตซีโร่ไปด้วย ซึ่งหมายความว่า หลังยุคคสช. องค์กรอิสระทั้งหมดจากมาจาก สนช. หรือ มาจาก คสช. ทั้งหมดนั้นเอง
ที่สำคัญ ต้องทำความเข้าใจอีกว่า เหตุผลที่คสช. ต้องส่งพวกตัวเองเข้าไปอยู่ในองค์กรอิสระก็เพราะ คสช.จำเป็นจะต้องใช้องค์กรอิสระเป็นเครื่องมือในการกำหนด 'ระเบียบทางการเมือง' หลังคสช. ลงจากอำนาจ
ดูได้จากรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ได้กำหนดบทบาทให้องค์กรอิสระมีอำนาจในเชิงรุกมากขึ้นในการกำกับรัฐบาล เช่น ให้องค์กรอิสระมากำกับคุณสมบัติของนักกการเมือง เช่น ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ หรือการไม่ดำเนินการตามยุทธศาสตร์คสช. โดยจะเห็นได้ว่าขอบเขตการกำกับนั้นล้วนแล้วแต่เป็นนามธรรม แต่ทว่า โทษทัณฑ์นั้นกลับสูงจนแทบจะทำให้นักการเมืองเหล่านั้นไม่สามารถกลับมาเล่นการเมืองได้อีก
ในขณะเดียวกัน ไม่ใช่แค่การลุกไล่ฝ่ายตรงข้าม องค์กรอิสระยังมีหน้าที่ปัดป้องภัยคุกคามให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นกรณี 'แหวนแม่ นาฬิกาเพือน' ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองหัวหน้าคสช. และ กรณี 'หุ้นเมีย' ของ ดอน ปรมัตวินัย รมว.ต่างประเทศฯ ที่ถูกตรวจสอบโดย กกต. ชุดปัจจุบัน ว่ามีความผิดปกติในการยื่นชี้แจงการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งความเคลื่อนไหวของทั้งสองกรณีก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ออกมาจากองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเลย
มาถึงจุดๆ นี้ เราคงไม่ต้องถามหาความเป็นอิสระขององค์อิสระ เพราะไม่มีอยู่จริง แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้จะมองเป็นอื่นไม่ได้นอกจากเรื่อง #ผลประโยชน์ทับซ้อน หรือ #คอร์รัปชันเชิงนโยบาย อย่างแน่นอน!
////////////////////////////////
ข้อมูลอ้างอิงและอ่านประกอบ
บล็อกของ มนุษย์โรแมนติก
มนุษย์โรแมนติก
แม้จะมีดราม่าเข้ามารายวันแต่ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่สังคมไม่ควรพลาดก็คือ "การแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" ซึ่งน่ากลัวมากว่ามันจะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เละ! และดูเหมือนจะมีเฉพาะกลุ่มคนรักหลักประสุขภาพและองค์กรใกล้ชิดเท่านั้นที่ไหวตั
มนุษย์โรแมนติก
ข้ออ้างสำคัญของรัฐในการควบคุมสื่อคือการกล่าวหาว่า "สื่อมีเสรีภาพมากเกินไปและไร้ความรับผิดชอบ" ซึ่งบทความนี้ไม่ใช่แค่การโต้แย้งอย่างตรงไปตรงมาต่อข้อกล่าวหาข้างต้น แต่ยังชวนให้ผู้มีอำนาจคิดว่า เราไม่ได้อับจนหนทางถึงขนาดต้องมีกฎหมายควบคุมสื่อ