Skip to main content

เมื่อเวลา 10.00 – 12.00 น. ของวันนี้ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.) ได้จัดเวทีสัมมนาเรื่อง โฉนดชุมชนกับการแก้ไขปัญหาที่ดินในสังคมไทยณ ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวิทยากรมาร่วมเวที 4 ท่านคือ คุณไพโรจน์ พลเพชร จากสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) คุณเหมราช  ลบหนองบัวจากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน คุณกันยา ปันกิตติ จากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย และคุณสุรพล สงฆ์รักษ์ จากสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้
 
คุณไพโรจน์   พลเพชร ได้นำเสนอประเด็นความหมายที่แท้จริงของโฉนดชุมชน ขั้นตอนการทำโฉนดชุมชน  และคุณสมบัติขององค์กรชุมชนในการทำโฉนดชุมชนโดยได้เน้นไปที่ การให้คำนิยามของคำว่า โฉนดชุมชน ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันที่ดินหลุดมือในอนาคตของเกษตรกร หลักการสำคัญของโฉนดชุมชน คือ การให้สิทธิชุมชนในการบริหารจัดการที่ดินแบบร่วมกัน ชุมชนได้ใช้ประโยชน์และวางกติกาในการบริหารจัดการที่ดินแบบรวมหมู่ การใช้ประโยชน์ในที่ดินต้องมีการวางแผนที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในแปลงระดับปัจเจก สมาชิกแต่ละคนก็ยังสามารถเลือกที่จะวางแผนการทำการผลิตได้ด้วยตนเอง เช่น สมาชิกคนไหนจะปลูกพืชชนิใดต้องนำเสนอและได้รับความเห็นชอบจากกลุ่มเสียก่อน ซึ่งตรงนี้อาจเรียกว่า กรรมสิทธิ์รวมหมู่เหนือกรรมสิทธิ์ระดับปัจเจก ทั้งนี้เพื่อเท่ากับเป็นการป้องกันผลกระทบในทางลบที่อาจจเกิดขึ้นทั้งต่อตนเองและชุมชนในอนาคต เฉกเช่น การปลูกพืชเชิงเดี่ยวจะนำมาซึ่งหนี้สิน และท้ายที่สุดก็จะนำมาซึ่งการสูญเสียที่ดินเหมือนดังที่เคยเกิดขึ้นให้เห็นได้ทั่วไปเมื่อครั้งอดีต
นอกจากนี้แล้ว คุณไพโรจน์ ยังได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า ณ ตอนนี้ การจัดการที่ดินในลักษณะของโฉนดชุมชน ยังไม่มีรูปแบบการจัดการที่ชัดเจน เนื่องจากแต่ละชุมชนยังอยู่ในช่วงของการทดลองหาแนวทางที่สอดคล้องและเหมาะสมกับพื้นที่ของตนเองให้มากที่สุด ประเด็นสำคัญ คำว่าโฉนดชุมชนไม่ได้อยู่ที่การออกเอกสารรับรองสิทธิ์แบบโฉนดที่ดินที่มีตราครุฑทั่วไป แต่คนในชุมชนต้องมีสำนึกร่วมที่จะวางแผนการครอบครองที่ดินและแนวทางที่ชัดเจน
คุณเหมราช ลบหนองบัว  ได้นำเสนอบทเรียน 2 ปี ของการทำโฉนดชุมชนบ้านทุ่งซำเสี้ยว  ต.สระโพนทอง อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิว่า หลังจากที่ชุมชนทุ่งซำเสี้ยวซึ่งเป็นพื้นที่กรณีปัญหาการประกาศเขตที่สาธารณประโยชน์ทับที่ราษฏร พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 500 กว่าไร่ ได้ต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิในที่ดินทำกินตั้งแต่ปี 2475 เรื่อยมาจนปัจจุบัน รวมระยะเวลาเกือบ 80 ปี ชุมชนได้เรียนรู้วิธีการ แนวทางการต่อสู้หลากหลายแบบ ได้เรียนรู้ว่า การต่อสู้แบบหวังพึ่งบุคคลภายนอกให้มาช่วยแก้ไขปัญหาให้นั้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนได้จริง หลายครั้งยังพบว่า นอกจากบุคคลภายนอกจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนได้แล้วกลับสร้างปัญหาให้กับชุมชนหนักขึ้นไปอีก ดังนั้น จึงสรุปร่วมกันว่า ปัญหาของชุมชน ชุมชนต้องลุกขึ้นมาแก้ไขเอง
คุณเหมราชเล่าต่อว่า เมื่อไม่นานมานี้ ชุมชนทุ่งซำเสี้ยวได้จัดเวทีในพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การการทำโฉนดชุมชนกับชุมชนบ้านโป่ง ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่  จากประสบการณ์ครั้งนั้น ทำให้กลุ่มชาวบ้านได้กลับมานั่งคุยแลกเปลี่ยนถึงคำนำยามของคำว่าโฉนดชุมชน และเริ่มลงมือปฏิบัติการ โฉนดชุมชนทุ่งทุ่งซำเสี้ยว อย่างจริงจัง จนทุกวันนี้โฉนดชุมชนทุ่งซำเสี้ยวเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเรื่อยๆ  
 จากประสบการณ์การต่อสู้ร่วม 80 ปี สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นผลพวงจากการต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินทำกิน คือ กลุ่มชาวบ้านมีพัฒนาการอย่างเห็นได้ชัด กล้าที่จะลุกขึ้นพูดในสิ่งที่ตัวเองต้องการ กล้าที่จะเจรจาต่อรองกับเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อพบความไม่ถูกต้องในเรื่องต่างๆ เช่น กรณีโครงการกำจัดขยะของจังหวัดชัยภูมิ ได้มีการเสนอให้เทศบาลตำบลสระโพนทอง นำที่ดินบางส่วนในบริเวณพื้นที่ทุ่งซำเสี้ยวมาทำเป็นที่ทิ้งขยะ แต่กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ไม่เห็นด้วย จึงเข้าแสดงตน พร้อมทั้งอ้างสิทธิ์ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของชุมชนบ้านทุ่งซำเสี้ยว คนข้างนอกไม่มีสิทธิ์เข้าทำอะไรได้ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากชุมชน วิธีการที่ใช้ในตอนนั้นคือ การเข้าไปพูดคุยและเจรจากับนายกเทศมนตรี ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการ นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพัฒนาการดังกล่าว
 
 
ในประเด็นเรื่องโฉนดชุมชน คุณเหมราช กล่าวว่า ปัจจุบันชุมชนทุ่งซำเสี้ยวได้พยายามที่จะทำให้ สิทธิในที่ดินทำกินของชุมชนให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น กล่าวคือ การทำให้โฉนดชุมชนมีความชัดเจนมากขึ้น มีระบบการจัดการที่ดินแบบองค์รวม ทุกคนในชุมชนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ซึ่งหลักการดังกล่าวแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับโฉนดที่ดินของทางราชการ ในส่วนของระบบการผลิต ชุมชนได้มีการพูดคุยถึงแผนการจัดการที่ดิน ค้นหาวิธีการทำการผลิตในรูปแบบที่จะทำให้ชุมชนสามารถอยู่รอดได้ รวมถึงวิธีการผลิตที่ช่วยลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด ซึ่งทั้งหมดค่อนข้างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ว่า โฉนดชุมชนคือคำตอบ คือทางออกที่สามารถแก้ปัญหาที่ดินหลุดมือจากชุมชนได้
 คุณกันยา ปันกิตติ พูดคุยถึงความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัยระหว่าง เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยกับรัฐบาลในประเด็นโฉนดชุมชนว่า ความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นคือ รัฐบาลได้มีการทำงานจริง คือท่านรัฐมนตรีสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ได้ลงพื้นที่บ้านทับเขือ ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง  เพื่อตรวจสอบสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ที่เครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ ได้เสนอให้จัดทำเป็นพื้นที่นำร่องแล้ว และได้มีการประชุมติดตามความก้าวหน้าของอนุกรรมการและคณะทำงานชุดต่างๆ ส่วนปัญหาจากการดำเนินงานที่ผ่านมาดูเหมือนจะไม่ไปไหนมาไหน ชาวบ้านยังติดคดีเหมือนเดิม เจ้าหน้าที่รัฐไม่เคยเปลี่ยนทัศนคติของตนเอง เช่น ยังคงใช้มาตรการทางกฎหมายเป็นหลักในการแก้ไขปัญหา(ยึดมติ ครม. 30 มิถุนายน 2541) ชาวบ้านยังคงถูกจับกุม เฉพาะกรณีชาวบ้านในเขตเทือกเขาบรรทัด มีผู้ถูกจับกุมจำนวนถึง 70 ราย ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากและยังไม่ได้นับรวมชาวบ้านที่ถูกจับกุมในภาคอื่นๆ
สุรพล สงฆ์รักษ์ ได้นำเสนอข้อเสนอของคณะทำงานศึกษาโครงสร้างระบบภาษีที่ดิน มาตรการการเงินการคลังและแนวทางการจัดตั้งธนาคารที่ดิน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ ประการแรก รัฐบาลควรผลักดันให้มีการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอย่างจริงจัง เพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมมากขึ้นประการที่สองการจัดเก็บภาษีที่ดิน ควรจัดเก็บภาษีกับที่ดินที่ผู้เป็นเจ้าของไม่ได้ทำประโยชน์ ทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่าเป็นเวลานานในอัตราภาษีที่สูงกว่าอัตราภาษีที่ดินที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆประการที่สามควรมีการยกเว้นภาษีให้กับผู้ที่มีที่ดินถือครองในมูลค่าน้อยหรือเกษตรกรที่ยากจน เพื่อไม่ให้ภาระภาษีตกแก่กลุ่มคนที่มีฐานะยากจนและต้องอาศัยที่ดินเป็นปัจจัยการผลิตเพื่อดำรงชีพ
นอกจากนี้แล้ว เพื่อให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างแท้จริง ควรมีการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครองที่ดิน แต่ทั้งนี้ต้องมีการศึกษาว่าขนาดการถือครองที่ดินที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ในแต่ละประเภทควรจะเป็นเท่าไร จึงจะสามารถกำหนดอัตราภาษีแบบก้าวหน้าได้อย่างเหมาะสม และไม่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
ในประเด็นเรื่อง ธนาคารที่ดิน คุณสุรพล กล่าวว่า ธนาคารที่ดิน คือมาตรกรที่เสนอควบคู่มากับการปฏิรูปที่ดิน เป็นกลไกกลางในการจัดการที่ดินเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม รัฐต้องสร้างกลไกตัวนี้ขึ้นมา โดยให้ธนาคารที่ดินมีรายรับจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างร้อยละ 2 เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับจัดตั้งและบริหารจัดการของธนาคารที่ดิน เพื่อใช้ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัยต่อไป

คณสุรพลทิ้งท้ายว่า พื้นที่ของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยจำนวน 40 พื้นที่ จะมีการนำเสนอนายกรัฐมนตรีในช่วงเย็นของวันนี้(16.00 น.) รัฐบาลต้องมีการรองรับสิทธิของชุมชนเหล่านี้ เพื่อให้ชุมชนเหล่านี้ได้ปฏิบัติการและเดินตามแนวทางการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชนอย่างแท้จริง

 

บล็อกของ ontheland

ontheland
เมื่อเวลาประมาณ 06.30 น. ของวันที่ 9 สิงหาคม 2552  พล.ต.ต.เทศา ศิริวาโท ผบก.ภ.จว.สุราษฎร์ธานี ได้นำกองกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ประมาณ 40 คันรถ จาก สภ.อ.ชัยบุรี   สภ.อ.พระแสง และเมืองสุราษฎร์ธานี เข้าตรวจค้น อาวุธ ยาเสพติด ในชุมชนบ้านคลองไทร ต.ไทรงาม อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายโครงการนำร่องโฉนดชุมชน ของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.) โดยสุ่มค้น บ้านของชาวบ้านประมาณ 20 หลังคาเรือน โดยอ้างหมายศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหลักฐานในการขอเข้าตรวจค้น จนสร้างความมึนงงให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านซึ่งไม่ทราบสาเหตุในการเข้าตรวจค้นครั้งนี้…
ontheland
  12 วัน นับจากการปักหลักชุมนุมของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ กลุ่มผู้ประสบความเดือดร้อนจากปัญหาที่ดินทำกินยังคงตั้งธงเรียกร้องตามข้อเสนอเดิม คือ ต้องการให้รัฐบาลตัดสินใจยกเลิกสวนป่าแล้วนำที่ดินมาดำเนินการจัดสรรแก่เกษตรกรผู้เดือดร้อน เพื่อให้ผู้เดือดร้อนนำไปบริหารจัดการในรูปแบบของโฉนดชุมชนต่อไป แต่ ณ วันนี้ข้อเรียกร้องดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด   ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา นายสมชาย ขำวุฒิ หัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชย.4 (คอนสาร) ได้มีประกาศลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2552…
ontheland
ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดชัยภูมิ ออกแถลงการณ์สนับสนุน กลุ่มผู้เดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกินกรณีการปลูกสร้างสวนป่าคอนสารทับที่ชาวบ้านนานกว่า 30 ปี และขอให้กำลังใจในการปกป้องที่ดินจากการขับไล่ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(ออป.)       แถลงการณ์ ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ 1 สนับสนุนชุมชนตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ทวงผืนดินและสิทธิชุมชนกลับคืนสู่ชุมชน     กว่า 33 ปีที่ชุมชนเป็นฝ่ายถูกกระทำด้วยอำนาจการจัดการโดยหน่วยงานของรัฐอย่างขาดการมีส่วนร่วม  ละเมิดสิทธิชุมชน ทำลายระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์ อ้างกับสังคมในการเพิ่มพื้นที่ป่า…
ontheland
         สืบเนื่องจากที่กลุ่มชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการปลูกสร้างสวนป่าคอนสารทับที่ทำกินของชาวบ้าน ประมาณ 150 ครอบครัว ได้เข้าปักหลักชุมนุมตรวจสอบในพื้นที่ในบริเวณสวนป่าคอนสาร ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ อย่างสันติ เป้าหมายของการชุมนุมครั้งนี้คือ ต้องการปักหลักในพื้นที่ทำกินเดิมของตนเองและหาช่องทางเจรจากับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการแก้ไขปัญหา …
ontheland
ช่วงเวลาประมาณ 08.00 น. ของวันนี้ เจ้าหน้าที่สวนป่าคอนสาร อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ นำโดยหัวหน้าสวนป่าฯ ได้นำกำลังของเจ้าหน้าที่ประมาณ 20 นายเข้าไปภายในเขตสวนป่า บริเวณที่มีกลุ่มชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ผู้ประสบปัญหาที่ดินทำกินปักหลักตั้งเป็นที่พักอาศัยชั่วคราว และพยายามที่จะฝ่าจุดตรวจที่กลุ่มชาวบ้านตั้งด่านไว้เพื่อกั้นเป็นเขตรักษาความปลอดภัย โดยฝ่ายเจ้าหน้าที่อ้างว่าจะขอเข้าไปตรวจสอบความเรียบร้อยภายในพื้นที่ แต่ทางฝั่งชาวบ้านไม่ยอม ด้วยเหตุผลว่าเพื่อป้องกันความไม่ปลอดภัย จึงเกิดมีปากเสียงกัน จนในที่สุด…
ontheland
  ประมาณช่วงเที่ยงของวันนี้(18 กรกฎาคม 2552) ชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.) ผู้เดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกินกรณีสวนป่าคอนสาร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 6  หลังรวมพลกว่า 200 คนเข้าไปปักหลักในพื้นที่สวนป่าเมื่อช่วงเช้าวานนี้ เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจกับบุคคลและ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงเป้าหมายสำคัญของการเข้าตรวจสอบพื้นที่สวนป่าฯ ว่า การเข้าพื้นที่ดังกล่าว มีเป้าหมายสำคัญ เพื่อรอคำตอบจากรัฐบาลในการตัดสินใจยกเลิกสวนป่า แล้วนำที่ดินมาดำเนินการจัดสรรแก่เกษตรกรผู้เดือดร้อนในรูปแบบ “โฉนดชุมชน”…
ontheland
  เช้าตรู่วันนี้(9 กรกฎาคม 2552) กลุ่มชาวบ้านบ้านลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย กว่า 150 คน ในจำนวนนั้นมีทั้งเด็กและคนแก่ได้เดินเท้าจาก หมู่ที่10 บ้านลำนางรอง ไปยังศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์  เพื่อประท้วงผู้ว่าราชการจังหวัด ด้วยเหตุที่ผู้ว่าฯ ได้ออกประกาศจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งขัดกับนโยบายรัฐบาล และไม่เห็นด้วยกับชาวบ้านที่กำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินตามแนวทางโฉนดชุมชน   เป้าหมายของการเดินเท้าครั้งนี้ คือ ต้องการให้ยกเลิกประกาศจังหวัดบุรีรัมย์ที่มีข้อความสำคัญในประกาศว่า ให้ชาวบ้านออกนอกพื้นที่ภายใน 20 วัน หลังการประกาศ ซึ่งชาวบ้านระบุว่า…
ontheland
เมื่อเวลา 10.00 – 12.00 น. ของวันนี้ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.) ได้จัดเวทีสัมมนาเรื่อง “โฉนดชุมชนกับการแก้ไขปัญหาที่ดินในสังคมไทย”ณ ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวิทยากรมาร่วมเวที 4 ท่านคือ คุณไพโรจน์ พลเพชร จากสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) คุณเหมราช  ลบหนองบัวจากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน คุณกันยา ปันกิตติ จากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย และคุณสุรพล สงฆ์รักษ์ จากสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้   คุณไพโรจน์   พลเพชร ได้นำเสนอประเด็นความหมายที่แท้จริงของโฉนดชุมชน ขั้นตอนการทำโฉนดชุมชน  …
ontheland
หลังการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยระหว่างรัฐบาลกับเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย หนึ่งในข้อสรุปของการเจรจา คือ รัฐบาลเห็นด้วยกับข้อเสนอของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ ที่เรียกร้องให้รัฐบาลอนุมัติงบประมาณเพื่อที่อยู่อาศัย 6,000 ล้านบาท และเรื่องดังกล่าวนี้ได้มีมติ ครม.เห็นชอบเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้น ได้มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงการคลังรับเรื่องไปดำเนินการ ในการหางบประมาณมาดำเนินการในเรื่องนี้                   จากการหารือกันของทั้งสองกระทรวง…