Skip to main content

ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น

ในคราวออกเสียงลงประชามติรับร่าง/ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ๕๐ นะครับ ใช้คะแนนเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติ (มาตรา ๓๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช ๒๕๔๙) นั่นคือ คิดจากฐานของ "คนที่ไปคูหา" ลงประชามติ (คนที่ไม่ไปคูหา ก็จะไม่ถูกนับรวม/ไม่ส่งผลกระทบต่อ "ผลประชามติ")
แต่ถ้าจะลงประชามติคราวนี้ ตามรัฐธรรมนูญ ๕๐ นั้น ต้องใช้เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ (มาตรา ๑๖๕ วรรคสาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย) นั่นคือ คิดจากฐานของ "คนที่ไปคูหาและไม่ไปคูหา" (การไม่ไปคูหา มีค่าเท่ากับ การปฏิเสธประชามติ ซึ่ง "ส่งผลกระทบต่อประชามติ")

ให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ สมมติ คนมีสิทธิลงประชามติ ๑๐๐ คน

ตอนปี ๔๙ โหวตชนะด้วยคะแนน ครึ่งนึงของ "คนที่ไป" ลงประชามติ = เช่น มีคนไปลงประชามติ ๑๐ คน (ทั้ง ๆ ที่ผู้มีสิทธิลงประชามติมีทั้งสิ้น ๑๐๐ คน) โหวตชนะด้วยครึ่งหนึ่งของคนที่ไป คือต้องได้ ๖ คะแนนเป็นอย่างต่ำก็ชนะแล้ว

แต่ทว่าปี ๕๐ โหวตชนะด้วยคะแนน ครึ่งนึงของ "คนที่มีสิทธิ" = คนมีสิทธิลงประชามติ ๑๐๐ คน จะต้องมี "คนไป" มากกว่า ๕๐ คน และต้องโหวตผ่าน "มากกว่า ๕๐ คน" ด้วย เช่นนี้ประชามติจึงจะผ่าน เช่น มีคนไปลงประชามติ ๑๐ คน (ทั้ง ๆ ที่ผู้มีสิทธิลงประชามติมีทั้งสิ้น ๑๐๐ คน) ผลคือ เท่ากับประชามติไม่ผ่านความเห็นชอบ (การอยู่บ้านเฉยๆ มีค่าเท่ากับไปกาไม่เห็นด้วย)

เท่ากับว่า การลงประชามติรับรัฐธรรรมนูญตอนปี ๕๐ นั้น โหวต "รับร่างรัฐธรรมนูญ" ง่ายกว่าประชามติโยนรัฐธรรมนูญปี ๕๐ ทิ้งถังขยะ ครับ

๒. ปัญหาเรื่องผลโหวตชนะประชามติหรือไม่?

ถึงแม้จะโหวตประชามติชนะ ก็จะมีปัญหาอีกล่ะครับ : คือ รัฐบาลก็โง่เอง ที่ตนมีอำนาจในการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ดันไปให้ลงประชามติก่อนที่จะได้ "ร่าง" ออกมา ซึ่งจะเกิดปัญหามองไปข้างหน้าว่า เมื่อผลการลงประชามติออกมาแล้ว เดี๋ยวก็จะมีการส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความอีกว่า คะแนนเสียงประชามติเป็นไปตามเสียงข้างมากธรรมดา ตามฐานของมาตรา ๑๖๕ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญฯ หรือไม่ และถึงแม้จะได้เสียงข้างมากออกมาแล้วศาลรัฐธรรมนูญมองว่า "ไม่ผ่าน" เช่นนี้ประชามติก็เจ๊ากันไป ถือว่าไม่เคยมีประชามติเกิดขึ้น

เรื่องราวมันก็จะกวนตีนกันไปแบบนี้น่ะครับ

๓. ยุบพรรคเพื่อไทยเพราะทำประชามติ?

ในท้ายที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญก็จะยุบพรรคเพื่อไทย ตามมาตราว่าด้วยการทำประชามติ (มาตรา ๑๖๕ วรรคสี่) ประกอบกับมาตรา ๖๘ ก็คือ เขาก็จะบอกว่า รัฐบาลจัดประชามติในเรื่องที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ เพราะคุณทำประชามติในเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งโดยธรรมชาติของการแก้รัฐธรรมนูญย่อมเป็นการขัดรัฐธรรมนูญอยู่แล้วโดยสภาพ (ไม่ได้ทำให้รัฐธรรมนูญมีเนื้อหาเหมือนเดิม) ฉะนั้นจึงเป็นการประชามติที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และพรรคเพื่อไทยดำเนินการให้มีการใช้สิทธิเสรีภาพที่ขัดรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ ต้องยุบพรรคตามมาตรา ๖๘ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

คือ น่าสมเพชมากๆ ปนกับความน่าสมน้ำหน้ารัฐบาลที่กลัวจัด ไปเดินตามคำแนะนำมั่ว ๆ ก็จะเจอ "เรื่องมั่ว ๆ" ไปเป็นทอด ๆ อย่างสนุกสนาน คือ คุณขว้างงูไม่พ้นคอหรอกครับ ถ้ามันจะ "เล่น" จริงๆ น่ะ

๔. บทส่งท้าย

หากว่า "รัฐธรรมนูญฉบับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ถูกห้ามแก้ไขหรือถูกตั้งเงื่อนไขจนไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระบบปกติ สภาวะของ "สิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงไปตามโลก" ถูกหยุดยั้งจนถึงขีดสุดของการฝืนกฎธรรมชาติของสังคม ย่อมจะนำไปสู่ "การเปลี่ยนแปลงโดยวิถีทางนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญฉบับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" นั่นหมายความว่า eternity clause (บทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ห้ามแก้ไขโดยตรงหรือโดยปริยาย) ก็จะไม่เป็นกรอบบังคับในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั่นเอง และอาจจะนำไปสู่การวางหลักมูลฐานของประเทศเป็น "หลักมูลใหม่" ไปในที่สุด - ธรรมชาติของรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากมาก ๆ หรือห้ามแก้ไขเลย ก็คือแบบที่กล่าวมานี้ครับผม

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะเรื่อง ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโตพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง 'ดาวคะนอง'พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ร่าง พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ :  ความเพิกเฉยต่อปัญหาการโยนภาระให้เอกชนแบกรับหน้าที่ให้บริการภายหลังสัญญาอนุญาตฯ/ใบอนุญาตฯสิ้นสุดเป็นการชั่วคราวพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อสังเกตบางประการ : ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลังจากที่ผมได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ( http://prachatai.org/journal/20
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๘พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
สำรวจข้อมูล : เรียน 'สาขาใด' มีโอกาสเป็น 'องคมนตรี' มากที่สุดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม.
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อพิจารณาเรื่องความผิดฐานข่มขืนและความรับผิดทางกฎหมายอาญา: วิพากษ์การดำรงอยู่ของโทษประหารชีวิต (โดยสังเขป) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล เมื่อเกิดข่าวคราวข่มขืน
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"บวรศักดิ์" โต้ "บวรศักดิ์"พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เมื่อบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ตีความเสียงหัวเราะของ เสนีย์ ปราโมช (คดีอาชญากรสงคราม ๒๔๘๙)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการปรุงนิยายให้กลายเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์: เรื่องพินัยกรรม ร.๕ คือ ให้ ร.๖ พระราชทานรัฐธรรมนูญ?พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อโต้แย้งการตราพระราชกำหนดว่าด้วยคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตอบ 'ข้อโต้แย้งของ พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ)' ภาค๒พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล