Skip to main content

บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?)

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :

"บางโอกาสขอให้ละเมิด จะได้รู้กันว่าใครดี ใครไม่ดี...และมีแปลกๆ คราวนี้นักกฎหมายก็ชอบให้ฟ้อง ให้จับเข้าคุก อันนี้นักกฎหมายเขาสอน สอนนายกฯ บอกว่าต้องฟ้อง ต้องลงโทษ ก็ขอสอนนายกฯ ใครบอกว่าให้ลงโทษ อย่าลงโทษเขา ลงโทษไม่ดี ไม่ใช่นายกฯเดือดร้อน แต่พระมหากษัตริย์เดือดร้อน"

ถ้าเราย้อนไป ถัดจากวันที่ทรงมีพระราชดำรัสนี้ได้เพียง ๒ วัน คือ ในวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ รายงานข่าวว่า

"ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการอย่างไรเกี่ยวกับคดีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งความดำเนินคดีนายสนธิ และ น.ส.สโรชา ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นายธนา กล่าวว่า เป็นเรื่องเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดำผนินคดีไปตามกฎหมานเพราะคดีดังกล่าวเป็นความผิดต่อแผ่นดิน แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อสนองต่อพระราชดำรัส ตำรวจก็สามารถดำเนินการไปตามช่องทางที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยให้ผู้กล่าวโทษมาแจ้งความจำนงว่าไม่ประสงค์จะเอาโทษแล้ว"

เมื่อได้พิจารณาพระราชดำรัสภายใต้บริบทขณะนั้นแล้ว ซึ่งจะโดยบังเอิญหรือไม่ก็ดี จะเห็นได้ว่า เราไม่อาจ "เอาหลังพิง" หรือ "ใช้อ้างอิงจุดยืน" (ของ) ในหลวงเป็นการทั่วไป ได้เลย พึงระลึกเสมอว่าจะต้องพิจารณาถึง "บริบทแวดล้อมในขณะนั้น" ประกอบด้วย ดังที่ได้นำข้อเท็จจริงมาแสดงให้ปรากฏแล้วข้างต้น.

_____________________________________
 

เชิงอรรถ

 พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ วันอาทิตย์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ใน เว็บไซต์เครือข่ายกาญจนาภิเษก « http://kanchanapisek.or.th/speeches/2005/1204.th.html »

ดู ทนาย "ทักษิณ" ถอนฟ้อง "สนธิ" แล้ว พร้อมชี้ช่อง ตร.คดีหมิ่นเบื้องสูงยุติได้ ใน เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ « www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9480000167813 »

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะเรื่อง ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโตพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง 'ดาวคะนอง'พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ร่าง พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ :  ความเพิกเฉยต่อปัญหาการโยนภาระให้เอกชนแบกรับหน้าที่ให้บริการภายหลังสัญญาอนุญาตฯ/ใบอนุญาตฯสิ้นสุดเป็นการชั่วคราวพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อสังเกตบางประการ : ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลังจากที่ผมได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ( http://prachatai.org/journal/20
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๘พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
สำรวจข้อมูล : เรียน 'สาขาใด' มีโอกาสเป็น 'องคมนตรี' มากที่สุดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม.
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อพิจารณาเรื่องความผิดฐานข่มขืนและความรับผิดทางกฎหมายอาญา: วิพากษ์การดำรงอยู่ของโทษประหารชีวิต (โดยสังเขป) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล เมื่อเกิดข่าวคราวข่มขืน
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"บวรศักดิ์" โต้ "บวรศักดิ์"พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เมื่อบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ตีความเสียงหัวเราะของ เสนีย์ ปราโมช (คดีอาชญากรสงคราม ๒๔๘๙)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการปรุงนิยายให้กลายเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์: เรื่องพินัยกรรม ร.๕ คือ ให้ ร.๖ พระราชทานรัฐธรรมนูญ?พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อโต้แย้งการตราพระราชกำหนดว่าด้วยคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตอบ 'ข้อโต้แย้งของ พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ)' ภาค๒พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล