Skip to main content

ศาลไทยในยุคก่อนทำสนธิสัญญาเบาว์ริง

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

     สภาพของ "ศาลไทย" ในสมัยกฎหมายตราสามดวง ก่อนที่ต่างชาติจะเข้ามาเจรจาเรียกร้อง "สิทธิสภาพนอกอาณาเขต" (ยกเว้นอำนาจการบังคับใช้กฎหมายสยาม) ในกรุงสยาม (คือ ในกรุงเทพมหานคร) ชาวต่างชาติปฏิเสธกระบวนพิจารณาคดีของศาลไทยในยุคนั้น เรามาพิจารณาสำรวจสภาพของศาลไทย กันว่าเป็นอย่างไร

     "ในสมัยนั้นเนื่องจากข้าราชการไม่ได้รับเงินเดือน รับแต่เบี้ยหวัดซึ่งจ่ายเพียงปีละครั้ง และจำนวนเงินก็น้อย ถ้าข้าราชการขนาดชั้นเจ้ากรมรู้สึกว่ารายได้ของตนไม่ค่อยจะพอเลี้ยงบุตร ภรรยา ก็มักจะร้องเรียนให้ผู้บังคับบัญชา หรือเจ้ากระทรวงทราบ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้ร้องยากจนสมควรช่วยเหลือจริง ก็จะมอบความแพ่งหรืออาญามาให้ข้าราชการผู้นั้นชำระที่บ้าน

     การชำระความที่บ้านนั้นเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำหน้าที่ตุลาการเป็นอย่างดี เพราะคู่ความทั้งโจทก์จำเลยตลอดจนพยานจะต้องมาค้างที่บ้านตุลาการเป็นเวลา นานแรมเดือน หรือแรมปีจนกว่าตุลาการจะพิจารณาคดีเสร็จ

     ในระหว่างนี้โจทก์จำเลยและพยานต่างก็ต้องหาข้าวปลาอาหาร ตลอดจนของใช้มาส่งเสียกันเอง เพื่อเอาใจตุลาการไว้ทั้งโจทก์และจำเลยก็เลยต้องส่งเสียตุลาการด้วย ทำให้ตุลาการคลายความฝืดเคืองลงได้"

     "คู่กรณีแต่ละฝ่าย ต่างยัดเยียดเงินให้ตุลาการ...และบ่อยครั้งทีเดียว ถ้าได้รับเงินเป็นที่พอใจ ผู้กระทำความผิดอาจหลบหนีจากที่คุมขังและสาบสูญไปได้ และผู้บริสุทธิ์ก็เสียเงินทองค่าใช้จ่ายในการสู้คดีไปเปล่า ๆ เกือบจะทุกราย คดีที่ว่ากันยืดเยื้อนั้นมักจะพากันล่มจมไปทั้งสองฝ่าย จนกระทั่งว่าหมดเนื้อหมดตัวแล้ว ตุลาการก็จะทอดคดีเสีย วิธีที่ดีที่สุดที่จะชนะความก็คือ ติดสินบนด้วยเงินก้อนใหญ่ให้แก่ผู้มีอิทธิพลซึ่งคุมคดีของท่านอยู่ เกือบทั่วโลกทีเดียวทีความยุติธรรมมักจะซื้อขายกันได้ แต่ในเมืองไทยแล้วดูเหมือนจะยิ่งกว่าที่อื่น"

     "นอกจากจะทำให้[ตุลาการ]หายความฝืดเคืองดังว่านี้แล้ว ยังเป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจอันใหญ่ด้วย เพราะเมื่อพิจารณาคดีอาญาก็ต้องมีคุกมีตรางไว้ใส่พวกจำเลยเก็บไว้ที่บ้านของ ตุลาการนั้นเอง และบางทีโจทก์เองก็ถูกเก็บไว้ในคุกเหมือนกัน เมื่อมีคุกมีตรางก็ย่องมีเครื่องพันธนาการ และมีอำนาจโบยตีผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโจทก์จำเลยหรือพยาน เพื่อรักษาวินัยแห่งเรือนจำไว้"

     ด้วยเหตุนี้ เมื่อทำสนธิสัญญาเบาว์ริง แล้วบรรดา "คนในบังคับ" ของอังกฤษ (ซึ่งต่อมาชาติอื่น ๆ ก็เข้ามาทำสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันนี้ด้วย) ก็ไม่ตกอยู่ในบังคับของกฎหมายสยาม เป็นเหตุให้ชาวสยามจำนวนมากเข้าไปลงทะเบียนเป็นคนในบังคับของชาติมหาอำนาจ เหล่านี้เพื่อตนได้รับความยุติธรรมและมีสิทธิเสรีภาพมากยิ่งขึ้น ปรากฏจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีชาวสยามหรือพวกผิวเหลืองไปลงทะเบียนเป็นคนในบังคับต่างชาติ เพื่อหนีกฎหมายสยาม ว่า

     "พวกเขาเป็นชาวสยามหรือชาวต่างชาติก็ได้ ขอเพียงแต่สถานการณ์ใดเหมาะกับพวกเขา"

     สะท้อนว่า สำนึกความเป็นไทย ไม่ปรากฏในหมู่ชนชาวสยามแต่อย่างใด หากแต่ "สำนึกความเป็นไทยตามแบบฉบับทางการ" ที่เราถูกทำให้ต้องรับรู้กันอยู่ทุกวันนี้ เป็นสิ่งที่เพิ่งถูกสร้างขึ้นไม่ กี่สิบปีมานี้เอง ในสังคมสยามโดยเฉพาะชนชั้นล่าง โหยหาเสรีภาพตามธรรมชาติของมนุษย์มานมนานแล้ว จะเห็นได้ชัดจากประวัติศาสตร์เมื่อร้อยกว่าปีหย่อนเศษ รัฐชาติสยามก็เพิ่งก่อตัวมาโดยเทคนิคตามสนธิสัญญาเบาว์ริง สำเร็จในสมัยรัชกาลที่ ๕ (จาก รัฐจารีต สู่ รัฐสมัยใหม่)

     ทั้งนี้ ตามสนธิสัญญาก็ได้มีการประกันสิทธิว่าถ้าประเทศสยามปรับปรุงระบบกฎหมายและปฏิรูปการศาลให้มีอารยะทัดเทียมนานาอารยประเทศแล้ว สิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางการศาลก็จะสิ้นสุดลง อันเป็นแรงกระตุ้นจากต่างประเทศให้สยามเร่งจัดทำประมวลกฎหมายขึ้นฉบับแรก ก็คือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗, พระธรรมนูญศาลยุติธรรม, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และอาญา ทะยอยจัดทำแล้วเสร็จหลัง ๒๔๗๕ กล่าวได้ว่าเป็นคุณูปการของสนธิสัญญาเบาว์ริง อีกประการหนึ่ง ที่นอกเหนือไปจากคุณูปการด้านเศรษฐกิจเปิดการค้าเสรี และเป็นช่องว่างในการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนอันเนื่องมาจากสนธิสัญญาฉบับนี้.

_____________________

เชิงอรรถ

จักรปาณีศรีศิลวิสุทธิ์, หลวง., "เรื่องของเจ้าพระยามหิธร". ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์, พระนคร : โรงพิมพ์ตีรณสาร, ๒๔๙๙, หน้า ๑๙-๒๐.

ฌัง-บัปติสต์ ปาลเลกัวซ์., "เล่าเรื่องกรุงสยาม." (แปลโดย สันท์ ท. โกมลบุตร) พิมพ์ครั้งที่ ๓, นนทบุรี : ศรีปัญญา, ๒๕๔๙, หน้า ๒๓๘.

จักรปาณีศรีศิลวิสุทธิ์, หลวง., หน้า ๒๐.

The Bangkok Times Weekly Mail, 27 December 1898. in Hong Lysa, "Extraterritoriality in Bangkok in the Reign of King Chulalongkorn, 1868–1910: The Cacophonies of Semi-Colonial Cosmopolitanism." Itinerario, Vol.27, 02 (July 2003).

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะเรื่อง ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโตพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง 'ดาวคะนอง'พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ร่าง พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ :  ความเพิกเฉยต่อปัญหาการโยนภาระให้เอกชนแบกรับหน้าที่ให้บริการภายหลังสัญญาอนุญาตฯ/ใบอนุญาตฯสิ้นสุดเป็นการชั่วคราวพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อสังเกตบางประการ : ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลังจากที่ผมได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ( http://prachatai.org/journal/20
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๘พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
สำรวจข้อมูล : เรียน 'สาขาใด' มีโอกาสเป็น 'องคมนตรี' มากที่สุดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม.
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อพิจารณาเรื่องความผิดฐานข่มขืนและความรับผิดทางกฎหมายอาญา: วิพากษ์การดำรงอยู่ของโทษประหารชีวิต (โดยสังเขป) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล เมื่อเกิดข่าวคราวข่มขืน
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"บวรศักดิ์" โต้ "บวรศักดิ์"พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เมื่อบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ตีความเสียงหัวเราะของ เสนีย์ ปราโมช (คดีอาชญากรสงคราม ๒๔๘๙)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการปรุงนิยายให้กลายเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์: เรื่องพินัยกรรม ร.๕ คือ ให้ ร.๖ พระราชทานรัฐธรรมนูญ?พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อโต้แย้งการตราพระราชกำหนดว่าด้วยคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตอบ 'ข้อโต้แย้งของ พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ)' ภาค๒พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล