Skip to main content

ตอบ แคเธอรีน บาววี เรื่องสิทธิเลือกตั้งสตรี ร.ศ.๑๑๖

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

เนื่องจาก ศาสตราจารย์ แคเธอรีน บาววี ตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงให้สิทธิเลือกตั้ง แก่เพศชายและเพศหญิงโดยเท่าเทียม[๑] เผยแพร่ในเว็บไซต์ประชาไทนั้น

ผมเห็นว่า การไม่พิจารณารายละเอียดของ 'ตัวบท' ตลอดจนบริบทความคิดและการควบคุมสังคมสยาม ณ ช่วงเวลาที่บังคับใช้กฎหมายฉบับซึ่งเธอได้อ้างอิงถึงนั้น ทำให้เกิดคำถามเช่นว่านี้ขึ้นมา อันที่จริงเป็นเช่นใด ผมจะได้อธิบายโดยสังเขป ดังนี้นะครับ

ควรเริ่มต้นก่อนว่า การเลือกตั้งตาม "พระราชบัญญัติลักษณปกครองท้องที่ ร.ศ.๑๑๖" เป็นการเลือกตั้งที่ "ปราศจากทางเลือก" ครับ เห็นภาพง่ายๆ คือ เหมือนการเลือกตั้งของ ส.ป.ป. ลาว ครับ (ในทางสากล เราไม่ถือว่าการเลือกตั้งลักษณะนี้เป็นการเลือกตั้งตามคติของประชาธิปไตย) คือ การให้สิทธิที่เลือกบุคคลดำรงตำแหน่ง ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า บุคคลที่จะถูกเลือกต้องได้แก่สมาชิกที่พรรคคอมมิวนิสต์คัดสรรแล้ว (มีพรรคคอมพรรคเดียว) คือ จะเลือกใครก็ไม่มีผลอะไรที่แตกต่างกัน เป็นประการหนึ่ง

ทำนองเดียวกัน พิจารณาตามกฎหมายดังกล่าว การเลือกตั้งตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ ก็เป็นการเลือกตั้งภายใต้การบงการของ "รัฐบาลกลาง" กล่าวคือ ภายใต้การเห็นชอบของนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งมีอำนาจล้มการเลือกตั้งได้เสมอ (มาตรา ๑๐) และถูกเด้ง (ถูกโยกย้าย) ออกจากตำแหน่งได้ตลอดเวลา ผ่านการโยกย้ายตำแหน่ง (มาตรา ๑๖ ข้อ ๓)

จะเห็นได้ว่า การเลือกตั้งแบบนี้ไม่มีความสำคัญใดเลย เพียงแต่เป็นการควบคุมพลเมืองโดยแทรกแซงอำนาจรัฐเข้าไปใน 'ท้องที่' เพื่อสอดส่องการเกิด 'ผีบุญ' หรือ 'ผู้มีบุญ' (บุคคลซึ่งเป็นที่เคารพของชาวบ้าน) ขึ้นมาโดยปราศจากการจับตาความเคลื่อนไหวจาก "ส่วนกลาง" ได้อย่างเดิมอีกแล้ว ในขณะนั้น รัฐบาลกลางประสบปัญหาการเกิดกบฏผู้มีบุญขึ้นบ่อย ๆ ต้องยกกองกำลังไปปราบปรามเสมอ (ตามคติการปกครองสยาม การมี 'บุญ' หมายถึง การมี 'อำนาจ' คำว่า บุญและอำนาจ มีความหมายเดียวกัน)[๒]

ใครก็ตามที่ "เป็นที่นิยมหรือเคารพ" ของท้องที่ ก็จะได้ถูก 'ตีทะเบียน' โดยอนุญาตจากส่วนกลาง ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาจาก 'ส่วนกลาง' พวกเขาไม่อาจประกาศตัวเป็น 'ผู้มีบุญ' (โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย/โดยเป็นกบฏ)ได้อีก หากแต่มีหน้าที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทเท่านั้น เหล่านี้เป็นความพยายามแยก 'อำนาจ' ออกจากเรื่อง 'ผู้มีบุญ'[๒] (ใครจะมี 'บุญ' ก็เป็นเรื่องของการสั่งสมและเกิดมาเท่านี้ ส่วนจะมี 'อำนาจ' ก็แต่โดยสันตติวงศ์ จะไม่มี 'ผู้มีบุญ' นอกพระบรมมหาราชวัง ได้อีกต่อไป (ตามคติ 'บุญ' และ 'อำนาจ' อย่างเก่า)

การจะ 'ตรวจสอบความคิด' ของไพร่ฟ้าหน้าใส (อย่าลืมว่าสมัยนั้นยังไม่เลิกทาสด้วยซ้ำไป) จึงต้องให้ชายหญิง ซึ่งมีสถานะเป็น 'แรงงาน' ทุกคน เปิดเผย บุคคลที่ตนเคารพนับถือในหมู่บ้าน และในตำบล เมื่อบุคคลใดได้รับเลือกก็จะเข้าไปอยู่ในอาณัติของ 'ส่วนกลาง' (อำนาจและบุญ ถูกผนวกโอนสู่พระบรมโพธิสมภาร)

ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีจำเป็นใดที่จะต้อง 'จำกัดเพศ' เพราะการจำกัดเพศทำให้ไม่อาจตรวจสอบ 'กำลัง/จำนวนความนิยม' ที่แท้จริงในแต่ละท้องที่ได้

ไอเดียเรื่องการเลือกตั้งนี้ ไม่ใช่การเลือกตั้งตามคติที่เข้าใจในปัจจุบัน (สิทธิพลเมือง : เพราะสมัยนั้น ไม่มีคำว่า "สิทธิ" สำหรับมนุษย์ทุกคน เพราะ "สิทธิ" ตามกฎหมายสยามในยุคเผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้สงวนไว้แก่ "พระเจ้าแผ่นดิน" เท่านั้น) หรือตามคติประชาธิปไตย ครับ.
_______________________

เชิงอรรถ

[๑] สุลักษณ์ หลำอุบล (รายงาน), แคเธอรีน บาววี: ข้อท้าทายของประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยสิทธิการเลือกตั้งสตรีไทย. ใน http://prachatai.com/journal/2013/08/48151

[๒] ดู ชาร์ลส์ เอ็ฟ คายส์, "ผู้มีบุญ." [วารุณี โอสถารมย์, แปล], ใน พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล, อัจฉราพร กมุทพิสมัย บรรณาธิการ, ความเชื่อพระศรีอาริย์" และ "กบฏผู้มีบุญ" ในสังคมไทย, พิมพ์ครั้งที่ ๑, กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์, ๒๕๒๗, หน้า ๕๖.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะเรื่อง ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโตพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง 'ดาวคะนอง'พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ร่าง พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ :  ความเพิกเฉยต่อปัญหาการโยนภาระให้เอกชนแบกรับหน้าที่ให้บริการภายหลังสัญญาอนุญาตฯ/ใบอนุญาตฯสิ้นสุดเป็นการชั่วคราวพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อสังเกตบางประการ : ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลังจากที่ผมได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ( http://prachatai.org/journal/20
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๘พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
สำรวจข้อมูล : เรียน 'สาขาใด' มีโอกาสเป็น 'องคมนตรี' มากที่สุดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม.
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อพิจารณาเรื่องความผิดฐานข่มขืนและความรับผิดทางกฎหมายอาญา: วิพากษ์การดำรงอยู่ของโทษประหารชีวิต (โดยสังเขป) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล เมื่อเกิดข่าวคราวข่มขืน
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"บวรศักดิ์" โต้ "บวรศักดิ์"พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เมื่อบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ตีความเสียงหัวเราะของ เสนีย์ ปราโมช (คดีอาชญากรสงคราม ๒๔๘๙)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการปรุงนิยายให้กลายเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์: เรื่องพินัยกรรม ร.๕ คือ ให้ ร.๖ พระราชทานรัฐธรรมนูญ?พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อโต้แย้งการตราพระราชกำหนดว่าด้วยคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตอบ 'ข้อโต้แย้งของ พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ)' ภาค๒พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล