Skip to main content

เสร็จสิ้นคำแถลงของทนายความญาติมิตรต่างรู้ว่า ความยุติธรรมยังเดินทางมาไม่ถึงพวกเขา จะมาก็เพียงแผ่วเบาเหมือนเสียงผ่านระบบถ่ายทอดสัญญาณในวันนี้ที่ฟังแต่ไม่ได้ยิน ได้ยินแต่ไม่รู้เรื่อง นอกจากภาษาศาลจะห่างไกลความเป็นปุถุชนแล้ว เสียงของศาลห่างไกลจากความหวังของพวกเขาอย่างยิ่ง

บางคนในนั้นมองไม่เห็นที่พึ่งสำหรับคดีการเมือง หลายคนเริ่มคุยเรื่องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง
 
 
 
 
 
 
 
 
1

เสียงจากลำโพงที่พ่วงสายลงมาจากห้องพิจารณาคดีที่ 7 ศาลจังหวัดอุบลราชธานีติด ๆ ตับ ๆ เงียบเสียงแล้วมีเสียงหวีดหอน เสียง noise และเสียงซ่า ๆ แต่ทว่าไม่มีเสียงที่ประชาชนนับร้อยต้องการฟัง

เช้าวันนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 นัดผู้ต้องหา 21 คน ฟังคำตันสินคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี หลังจากที่ศาลชั้นต้นได้ตัดสินคดีนี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2011 จากนั้นพนักงานอัยการได้ยื่นอุทธรณ์

ท่ามกลางแสงแดดจัดจ้า การถ่ายทอดเสียงจากห้องพิพากษาล้มเหลว คำพิพากษาจมหายไปกับสัญญาณที่ส่งมาไม่ถึงมวลชนและคนที่เป็นญาติที่สนามหญ้าหน้าศาลจังหวัดอุบลราชธานี นายตำรวจที่เคยสั่งจับผิดตัวเมื่อพฤษภาคม 2010 ยังมีหน้าที่ผู้บังคับบัญชาแถวตำรวจที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล

 

2

“คืนพวกเขาให้ครอบครัว คืนความยุติธรรมเสมอหน้าให้สังคม” ป้ายดำตัวหนังสือแดงและขาวตะโกนมาจากรั้วศาลฝั่งทิศเหนือ ขณะที่ฝั่งทิศตะวันออกบอกว่า “ปล่อยนักโทษการเมือง FREE ALL POLITICAL PRISONERS” ขณะที่หน้าอกเสื้อของเหล่าผู้ถูกเรียกมาฟังพิพากษาบอกว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ปล่อยนักโทษการเมือง”

สุดา รังกุพันธุ์ นั่งติดลำโพงที่เสียงค่อยและเต็มไปด้วยเสียง feedback ที่สุดในโลก เพื่อรายงานคำพิพากษากะท่อนกะแท่น ส่วนมันเขียนบางถ้อยความลงบนสมุดส่วนตัว

“ความยุติธรรมไม่มีเสียง
ปกปิดตัวเองอย่างเงียบงันหน้าบัลลังก์อันคับแคบและรักษาความปลอดภัยเข้มข้น

 
ข้างนอกนั้น
ประชาชนได้แต่เปล่งเสียง
ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความอยุติธรรม
ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความอยุติธรรม
ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความอยุติธรรม”


3

ก่อนเที่ยง ผู้เข้ารับฟังคำตัดสินทยอยลงมารวมตัวกับกลุ่มมวลชน วัฒนา จันทศิลป์ ทนายความของพวกเขามาพร้อมกับข้อสรุปคำพิพากษาศาลอุทธรณ

ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องตามศาลชั้นต้น 8 คน
1. นายสีทน ทองมา
2. นายบุญเหรียญ ลิลา
3. นายชัชวาล ศรีจันดา
4. นายถาวร แสนทวีสุข
5. นายธนูศิลป์ ธนูทอง
6. จ.ส.อ.สมจิตร สุทธิพันธ์
7. นายคำพลอย นะมี
8. นายพงษ์ศักดิ์ อรอินทร์

ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นกรณีผู้ต้องหาหญิง 2 ราย
1. นางอรอนงค์ บรรพชาติ จากติดคุก 8 เดือน เพิ่มเป็น 2 ปี
2. นางสุมาลี ศรีจินดา จาก ยกฟ้อง เพิ่มเป็นจำคุก 2 ปี

ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่เหลือ

1. นายพิเชษฐ์ ทาบุดดา จำคุก 1 ปี แต่ถูกจำคุกเกินคำตัดสิน
2. นายอุบล แสนทวีสุข จำคุก 8 เดือน แต่ถูกจำคุกเกินคำตัดสิน
3. นายสุพจน์ ดวงงาม จำจำคุก 8 เดือน แต่ถูกจำคุกเกินคำตัดสิน
4. นายประดิษฐ์ บุญสุข จำคุก 2 ปี ให้ประกันตัว
5. นายลิขิต สุทธิพันธ์ จำคุก 2 ปี ให้ประกันตัว
6. นายไชยา ดีแสง จำคุก 2 ปี ให้ประกันตัว
7. นายพิสิทธิ์ บุตรอำคา จำคุก 2 ปี ให้ประกันตัว
8. นางสาวปัทมา มูลมิล 33 ปี 12 เดือน ไม่เคยได้ประกันตัวแม้แต่ครั้งเดียว
9. นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์33 ปี 12 เดือน ไม่เคยได้ประกันตัวแม้แต่
ครั้งเดียว
10. นายสนอง เกตุสุวรรณ์ 33 ปี 12 เดือน ไม่เคยได้ประกันตัวแม้แต่
ครั้งเดียว
11. นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ 33 ปี 12 เดือน ไม่เคยได้ประกันตัวแม้แต่
ครั้งเดียว

เสร็จสิ้นคำแถลงของทนายความญาติมิตรต่างรู้ว่า ความยุติธรรมยังเดินทางมาไม่ถึงพวกเขา จะมาก็เพียงแผ่วเบาเหมือนเสียงผ่านระบบถ่ายทอดสัญญาณในวันนี้ที่ฟังแต่ไม่ได้ยิน ได้ยินแต่ไม่รู้เรื่อง นอกจากภาษาศาลจะห่างไกลความเป็นปุถุชนแล้ว เสียงของศาลห่างไกลจากความหวังของพวกเขาอย่างยิ่ง

บางคนในนั้นมองไม่เห็นที่พึ่งสำหรับคดีการเมือง หลายคนเริ่มคุยเรื่องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง

มันได้แต่เดินจากบริเวณของศาล ปล่อยให้การสนทนา ปล่อยให้เสียงสะอื้น ปล่อยให้เสียงสาปแช่งด่าความอยุติธรรมของระบบยุติธรรมของประเทศนี้ถูกกักขังไว้ในสนามหญ้าหน้าศาลนั้น

2 พฤษภาคม 2013

บล็อกของ Redfam Fund

Redfam Fund
ไม่ลืม
Redfam Fund
ธี ร์ อันมัย: update ความเคลื่อนไหวประจำเดือนกุมภาพันธ' 57 - See more at: http://blogazine.in.th/blogs/redfam-fund/post/4587#sthash.YZyhBkzE.dpuf 
Redfam Fund
 ...จะต้องใช้เลือด ใช้ชีวิตและอิสรภาพของประชาชนอีกเท่าไรจึงจะพอ
Redfam Fund
อีกหนึ่งชีวิตของนักโทษการเมืองจากอุบลราชธานีที่ได้จากไปในขณะที่ความยุติธรรมยังคงเดินหลงทางและดูเหมือนว่าอาจจะไม่มีวันที่จะไล่ตามทันวันเวลาที่ลดน้อยลงของพวกเขา